สรุปประเด็นเด็ด From Zero to Hero #เอพีสายซัพฯ ถ้าฝันอยากทำ Startup ให้เป็นจริง ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์แล้วก็ได้!

ต่อทอง ทองหล่อ 27 June, 2023 at 10.23 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


AP ใจดีเปิดบ้านรับสมัคร AP Innovation Dream Team ได้เงินเดือน ได้เงินทุน พาลุยตลาดจริง พร้อมที่ปรึกษาครบ คอนเซปต์นี้มันคืออะไร?

 

สวัสดีครับทุกคน วันนี้ทีมงาน Propholic.com ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสุดยอดรวมไอเดียการตลาด การบริหารคน และแนวทางจุดประกายริเริ่มความคิดสร้างสรรค์จากงาน CTC2023 Festival ผมพบว่าหนึ่งใน session ที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับคนที่อยากทำธุรกิจ มีไอเดีย แต่ไม่มีเงินทุนและไม่มีคอนเนคชั่น ผมขอแนะนำว่าต้องไม่พลาดโอกาสนี้ที่คุณวิทการ จันทวิมล ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ จาก AP Thailand มานำเสนอในหัวข้อ From Zero to Hero เรามาดูกันว่าคอนเซปต์การสร้างสตาร์ทอัปแบบใหม่นี้จะเป็นอย่างไร มาเริ่มกันเลยครับ

 

เอพี ออกจากกรอบเดิม ปั้น AP Innovation Dream Team ใหม่

หลายคนคงรู้จัก AP Thailand ในฐานะบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของไทยที่มีมูลค่าธุรกิจกว่า 50,000 ล้านบาท แต่ว่า next step หลังจากทำอสังหาฯ แล้วต้องทำอะไรต่อไป เอพีต้องทำอะไรใหม่ๆ ที่พ้นการคิดนอกกรอบจากธุรกิจเดิมที่ถนัดการซื้อที่ดิน พัฒนาอสังหา สร้างบ้านและคอนโดมิเนียมขาย เอพีจึงหันกลับมาถามตัวเองว่าแล้วเอพีต้องทำอะไรมากกว่านี้อีกหรือเปล่านะ

 

เอพีตัดสินใจออกจากกรอบความคิดเก่าๆ โดยริเริ่มทำโครงการให้พนักงานภายในองค์กรช่วยกันคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ใครมีไอเดียก็จะส่งเสริมให้เปลี่ยนจากไอเดียมาเป็นลงมือทำจริง โดยปัจจุบันเอพีจัดตั้งหน่วยงานหนึ่งชื่อว่า Claymore Innovation Lab เพื่อเป็นเหมือน talent seeker มองหาคนที่มีไอเดีย มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเป็นผู้ประกอบการในหัวใจมาร่วมเป็นหนึ่งในทีม AP Innovation Dream Team เพื่อทำ Internal Startup หรือสตาร์ตอัปภายใต้ร่มบริษัทใหญ่ (Big Corporation) นั่นเอง เป็นรูปแบบสตาร์ตอัปอีกรูปแบบที่น่าสนใจโดยคนทำงานมีความเป็นกึ่งพนักงานประจำและกึ่งคนทำสตาร์ตอัป

โดยทางเอพีที่มีความถนัดในธุรกิจดั้งเดิม อาจจะไม่ได้ถนัดเรื่องเทคโนโลยี deep tech มากขนาดนั้น แต่เอพีมีเงินทุน มีกลุ่มลูกค้า มีกลุ่มตลาดที่คอยสนับสนุน เอพีทำตัวเหมือนพี่เลี้ยง ชวนคนที่มีไอเดียและมีแพชชั่นในการทำธุรกิจให้เดินเข้ามาคุยกับเอพี และเอพีจะช่วยกันจนกระทั่งประสบความสำเร็จ ช่วยทำให้งานของสตาร์ตอัปนั้นง่ายขึ้น แม้คนสตาร์ตอัปมาจากศูนย์ก็จริง มาแค่ไอเดียตัวเปล่าๆ แต่ถ้ามาอยู่กับเอพีก็ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์อีกต่อไป เป็นการแบ่งงานกันทำ เอพี “เติบโตและชำนาญ” ในธุรกิจอสังหา ส่วนสตาร์ตอัปจะทำหน้าที่ “ค้นหา” โมเดลธุรกิจใหม่ และหาหนทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้ลูกค้า

 

นวัตกรรมที่ดีหน้าตาเป็นอย่างไร

นวัตกรรม (Innovation) เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็พูดออกมาได้ แต่ทำให้เกิดจริงและรอดได้นั้นไม่ง่าย เพราะนวัตกรรมที่จะประสบความสำเร็จต้องมี 3 องค์ประกอบสำคัญได้แก่

1. นวัตกรรมที่ดีต้องมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และตอบโจทย์ธุรกิจ

2. นวัตกรรมที่ดีต้องมาจากความต้องการลึกจริงแท้ของลูกค้า (Deep Insight) ต้องสืบมาจนรู้ว่าเป้าหมายของลูกค้าเป็นยังไง

3. นวัตกรรมที่ดีต้องมีโมเดลแผนธุรกิจรองรับ (Business Model) หมายถึง ต้องทำเงินได้และมีคนยอมจ่ายจริงเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้

 

สรุปว่า นวัตกรรมที่ดีต้องไม่ใช่แค่คิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ความฝันเฉยๆ แต่ต้องตอบโจทย์ธุรกิจได้ด้วย ซึ่งด้านธุรกิจทางเอพีมีความเชี่ยวชาญและถนัดมากและจะช่วยส่งเสริมกับคนที่สนใจมาเป็นสตาร์ตอัป กับเอพีให้หา Business Model ของตัวเองให้เจอ นอกจากนี้ด้วยความที่เอพีเป็นองค์กรใหญ่จึงมีทรัพยากรบุคคลด้านอื่นๆ ที่จำเป็นกับการทำธุรกิจเช่น ฝ่ายการเงิน บัญชี จึงสามารถแบ่งปันทรัพยากรเหล่านี้มาช่วยได้อีกด้วย

 

ปัจจุบันผลงานของ Claymore ที่เป็น internal startup มักโฟกัสไปที่การเพิ่มมูลค่าและเพิ่มบริการต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ pain point ที่เป็นปัญหาให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจอสังหาซึ่งเป็นกลุ่มหลักเพื่อตอกย้ำแบรนด์ของเอพีที่ว่า ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังพัฒนาและมองหาธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย

 

เพราะเอพีไม่ได้มองว่าขายบ้านแล้วจบ แต่สิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องคือการมองไปถึงคุณภาพชีวิตของคน ชุมชน สังคม โดยให้บริการหรือแอปเซอร์วิสต่างๆมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้อยู่อาศัยซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำเพื่อลูกค้าของเอพีเท่านั้น แต่ทำเพื่อตอบโจทย์สังคมโดยรวมได้ด้วย

กระบวนการสร้างนวัตกรรมด้วยสตาร์ตอัปที่เอพีทำนั้นมีขั้นตอนอย่างไร

หลักการทำงานคือ “บ่มเพาะด้วยกัน ปั้นไอเดียให้เกิดขึ้นจริง” โดยไอเดียจะมาจากสตาร์ตอัปที่เก่งเทคโนโลยีและความรู้เฉพาะทาง มาผนวกกับความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจของเอพี ร่วมกันปั้นให้กลายเป็นนวัตกรรมที่ดีและมีผู้ใช้งานได้ในที่สุด

 

Process การบ่มเพาะสตาร์ตอัปจะมี 4 ขั้นหลัก ได้แก่


1. Set up เริ่มก่อตั้ง คุยกันเรื่องทิศทางการทำงาน ทีม และเอพีมี ecosystem อะไรให้ใช้บ้าง

2. Ideation เป็นเรื่องเกี่ยวกับไอเดียธุรกิจ ทำความเข้าใจลูกค้า แล้วรู้ว่าจะทำอะไร

3. Validation เป็นขั้นตอนตรวจสอบว่าไอเดียที่เลือกไว้จะทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน

4. Scale เมื่อรู้ว่าทำได้จริง ขั้นต่อไปคือขยายออกสู่ตลาดและการบริหารจัดการนวัตกรรมนั้นๆ

งานที่เอพีช่วยทำคือการทำตัวคล้ายๆ Angel Investor ที่ช่วยบ่มเพาะสตาร์ตอัปภายในองค์กร โดยก่อนที่จะบ่มเพาะก็มีกระบวนการ pitching เพื่อคัดเลือกหาทีมที่มีเป้าหมายร่วมกันกับเอพีที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้สอดคล้องกันว่าผู้ลงทุน (เอพี) กับสตาร์ตอัปกำลังเดินไปทิศทางเดียวกันหรือเปล่า พิจารณาถึง passion ของสตาร์ตอัปที่เข้ามาร่วมด้วยเพื่อไม่ให้หลุดโฟกัสและป้องกันการไม่เข้าใจกัน และเมื่อหลังจากสตาร์ทอัปทำงานไปสักพักถ้าทีมใดมีศักยภาพสูงก็สามารถออกไปทำธุรกิจของตัวเองได้

 

สิ่งที่เอพีแบ่งปันให้ได้คือฐานกลุ่มลูกค้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานจริง เช่น เอพีมีทีม Property Management ที่บริหารโครงการที่พักอาศัยอยู่แล้ว เอพีสามารถแนะนำหรือพาสตาร์ตอัปเข้าไปคุยไปเจอและสัมภาษณ์หา insight จากลูกค้าได้

 

ดังนั้นเอพีสามารถช่วยสนับสนุนให้ไอเดียต่างๆ เปลี่ยนเป็นของจริงได้เร็วขึ้น

 

นอกจากนี้เอพียังสนับสนุนงบประมาณ (Budget) ในการเริ่มต้นสตาร์ตอัปโดยจะให้เงินเป็นช่วงๆ  (phase) ถ้าเวิร์กก็ให้เงินเพิ่มไปทีละขั้น และสนับสนุนด้านการเงิน (Finance) รวมถึงความรู้การจัดการต่างๆ อีกด้วย เช่น ช่วยให้คำแนะนำว่าจะเล่าให้นักลงทุนฟังอย่างไร, ให้คำแนะนำว่าจะทำธุรกิจให้สามารถทำเงินได้จริงอย่างไร จากประสบการณ์พบว่าบางคนตกม้าตายแบบง่ายๆ อาจมองเห็นโอกาสแล้ว แต่พอมาตรวจสอบ (Validation) แล้วพบว่าธุรกิจยังไม่ดีพอ

 

อีกปัญหาใหญ่ของสตาร์ตอัปคือสร้างสรรค์ขึ้นมาแล้วไม่มีตลาด ไม่เจอกลุ่มตลาดของตัวเอง ทำให้จึงทดสอบสินค้าหรือบริการของตัวเองไม่ได้สักที แต่ถ้ามาร่วมงานกับโครงการ Internal Startup ของเอพีนั้นจะพบว่ามีตลาดรออยู่แล้ว เอพีจะพาเข้าไปเจอลูกค้าโดยตรง เอพีทำหน้าที่เหมือน Business Incubator ช่วยบ่มเพาะธุรกิจ สาเหตุที่ทำเพราะทีมผู้บริหารของเอพีมีความตั้งใจอยากจะช่วยสตาร์ตอัปจริงๆ

 

หลายครั้งที่เห็นว่าสตาร์ตอัปไม่ทำ feasibility ไม่ได้คิดความเป็นไปได้ของโครงการ หรือทำดีแล้วแต่ไม่สามารถขยายได้ scale ไม่ขึ้น เมื่อเจอปัญหานี้ทีมงานของเอพีก็จะมาช่วยกันคิดปรับปรุงใหม่ ต้องกลับไปขั้นตอนปรับไอเดีย (Ideation) วนไปวนมาหลายรอบจนกระทั่งบางทีเปลี่ยนรูปแบบไปเลย (Pivot)

 

ข้อได้เปรียบของ Internal Startup กับเอพีอยู่ที่การมีทรัพยากรช่วยเหลือ มีกลุ่มลูกค้าให้คุยให้ทดสอบ แถมมีเรื่อง Business Management เช่น ทีมไอที ทีมการเงิน ทีมบัญชี และความรู้การจัดการธุรกิจให้ด้วย ดังนั้นสตาร์ตอัปที่มาอยู่กับเอพีจะเริ่มเติบโตจากวงของเอพีก่อน แล้วค่อยไปโตข้างนอก โดยจะประสบความสำเร็จต้องมีการทำงานร่วมกัน เอพีเหมือนเป็นพี่เลี้ยง ช่วยเริ่มตั้งแต่การเซ็ตอัป การสร้างไอเดีย การตรวจสอบว่าไอเดียมันใช่กับตลาด พร้อมมีเงินทุนให้ทดสอบจริง และช่วย scale up ขยายธุรกิจ ถ้าขยายได้ เหมือนเริ่มจากศูนย์ที่เอพีก็กลายเป็นฮีโร่ได้ (From Zero to Hero)

 

ทั้งหมดนี้คือกระบวนการพัฒนาสตาร์ตอัปในสไตล์ Internal Startup ของเอพี

 

อย่างไรก็ตามแม้เอพีจะช่วยปูทางสตาร์ตอัปมาให้ แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะความยากของการพัฒนาสตาร์ตอัปคือมีอัตราความสำเร็จที่น้อย ประสบการณ์ทำมาสามปีเอพีพบว่ามีคนไม่ไปต่อมากถึง 90% ดังนั้นคนที่เข้ามาอยู่กับ Internal Startup จำเป็นต้องมีความอดทน ลุย และต้องมี Passion มากถึงจะสำเร็จ

 

งานที่เอพีต้องทำคือการค้นหาและช่วยพัฒนาให้สตาร์ตอัปประสบความสำเร็จ และนี่คือความท้าทายที่เจอ

ปัจจุบันมีสตาร์ตอัปที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จไปอีกขั้นหนึ่งก็มีอยู่บ้าง โดยเอพีจะมี 2 runway ให้สตาร์ตอัปไป ได้แก่ Internal Runway สำหรับสตาร์ตอัปที่มีศักยภาพที่จะให้บริการลูกค้าของเอพีที่มีอยู่แล้ว ก็จะให้เป็นส่วนหนึ่งของบริการภายใต้เอพีใหญ่ เช่น ให้บริการที่สตาร์ตอัปทำมาเป็นบริการส่วนหนึ่งของ Property Management (นิติฯ หมู่บ้าน นิติฯ คอนโด) อีกเส้นทางคือ Scale Up Runway คือถ้าสตาร์ตอัปใดมีแววเติบโตด้วยลูกค้าภายนอกในระดับภาพกว้างได้ก็จะตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา ทำการแยกบริษัทไปเลยเพื่อให้เติบโตเองได้

 

ตัวอย่างความสำเร็จของ Internal Startup ของเอพี

ปัจจุบันจาก Internal Startup ที่ทำสินค้าบริการสู่ตลาดจริงแล้วก็มีล่าสุดอย่างเช่น FitFriend www.fitfriend.co เป็นบริการแนว Trainer Delivery

สตอรี่เริ่มต้นจากช่วงโควิด ผู้คนอยากออกกำลังกายแต่ฟิตเนสปิดและอยากให้มีเทรนเนอร์มาสอนถึงที่ บริการ FitFriend เป็นเหมือน MatchMaker ให้ลูกค้าเจอกับเทรนเนอร์ได้โดยตรง สอนถึงบ้านเลย เช่น วันนี้อยากเทรนชกมวย ก็มาถึงที่ หรือจะให้มาที่คอนโดมิเนียมหรือออฟฟิศก็ได้หมด เทรนเดี่ยว เทรนกลุ่ม เทรนทั้งองค์กรก็ได้ เทรนเนอร์มีอุปกรณ์ไปให้ด้วย บริการนี้เริ่มใช้ได้จริงแล้ว และถ้าใครเป็นลูกบ้านเอพีและใช้แอป Smart World อยู่แล้วก็มีบริการ FitFriend นี้ให้ด้วย แม้บริการนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับความเป็นธุรกิจอสังหาฯ ของเอพีโดยตรง แต่มันคือไลฟ์สไตล์ที่เติมเต็มความต้องการของผู้พักอาศัยได้ ซึ่งมาจากการพูดคุยและหา insight ลูกค้า

Internal Startup อีกอันที่นำออกตลาดจริงแล้วคือคัตสัน KATSAN LIVING SECURITY www.katsan.co เป็นระบบควบคุมการรักษาความปลอดภัย มีฟังก์ชั่นที่ช่วยกลั่นกรองข้อมูลที่มีเยอะมาก เช่น ไลฟ์สไตล์คนทุกวันนี้ทำให้มีคนภายนอกเข้ามาในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียมเป็นจำนวนมาก เช่น ไรเดอร์เดลีเวอรี่ แขกของลูกบ้าน มีรถมาจอดหน้าบ้านกันเยอะขึ้นซึ่งทั้งหมดนี้อาจเกิดปัญหาได้ ซึ่ง Katsan จะเป็นระบบช่วยแจ้งว่ามีใครเข้ามาบ้าง มีรถตู้ทึบส่งเข้ามาจอดนานแค่ไหน นานผิดปกติไหม ถ้าจอดนานผิดปกติก็จะให้พนักงานรปภ.เข้าไปตรวจดู หรือแม้กระทั่งปัญหาการจอดหน้าบ้าน จะทำให้รู้ว่ารถของใคร รถมาบ้านหลังไหน นอกจากนี้มีระบบ e-stamp ใครจะเข้ามาแล้วบอกบ้านเลขที่มั่วๆ ไม่ได้อีกแล้ว เพราะต้องมีลูกบ้านกด Approve ก่อนว่ามาบ้านหลังนั้นจริงๆ ถึงจะเอารถออกจากโครงการได้ Katsan เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่มากกว่าแค่กล้องวงจรปิด แต่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยี ขั้นสูงด้วย

นอกจากการช่วยรักษาความปลอดภัยแล้ว KATSAN ก็ยังเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกบ้าน

เช่นมีระบบแอปพลิเคชั่นให้ลูกบ้าน Pre-register แจ้งเลขทะเบียนรถของแขกที่จะมาเยี่ยมได้ล่วงหน้า ทำให้แขกรับเชิญที่จะเข้ามาไม่ต้องบอกเลขที่บ้านไม่ต้องลืมเลขที่บ้านแล้วต้องโทรหาเพื่อน จนทำให้รถติดยาวหน้าหมู่บ้าน ไม่ต้องแลกบัตรประจำตัวกันแล้ว ผ่านป้อมยามเข้าไปได้เลย นี่คือจุดเด่นที่ Katsan ทำได้ ซึ่งระบบนี้ก็มีลูกค้าที่ไม่ใช่โครงการของเอพี แต่เป็นของที่อยู่อาศัยอื่นๆ รวมถึงกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมก็เริ่มนำระบบของ Katsan เข้าไปใช้แล้ว นี่เป็นตัวอย่างของ Internal Startup จากเอพีที่ขยายธุรกิจออกไปสู่วงกว้าง

 

Innovator ที่มาทำสตาร์ตอัปร่วมกันในโครงการ Internal Startup กับเอพีจะได้รับประโยชน์อะไรที่ดีกว่าทำเองคนเดียวบ้าง?

 

สำหรับ Innovator ที่สนใจร่วมงานในโครงการ Internal Startup กับทางเอพีจะได้ประโยชน์ร่วมกันนั่นคือ

1. ได้เรียนรู้วิสัยทัศน์ของเอพีและเอพีช่วยหาโอกาสเพื่อเติมสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้าได้ของสตาร์ตอัปได้ด้วยไม่ได้ให้แค่เงิน แต่ช่วยกันคิดกันร่วมกัน

 

2. ได้เงินเดือน ตรงนี้คือสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เอพีมองว่าทุกวันนี้สตาร์ตอัปดีๆ ตายไปจากวงการเยอะเพราะแค่ขาดเงินเลี้ยงชีพ เราเห็นปัญหาตรงนี้ก็เลยให้เงินเดือนกับ Innovator ที่มาทำสตาร์ตอัปกับเรา เงินเดือนเล็กๆ นี้เหมือนเงินเลี้ยงชีพรายเดือนซึ่งแม้จะไม่ได้สูงมาก แต่อย่างไรก็ตามงานหลักของสตาร์ตอัปก็ยังเป็นการทำธุรกิจให้เวิร์กและสร้างรายได้ด้วยตัวเองอยู่ดี ถือว่าเป็นสตาร์ตอัปที่มีเงินเดือน ซึ่งเป็นหนึ่งโมเดลที่น่าสนใจ

 

3. ได้เงินทุนอีกก้อนเพื่อทดสอบธุรกิจ ทดสอบตลาด เพราะเอพีมองว่าสตาร์ตอัปมีไอเดีย มีความตั้งใจ มีพลัง แต่ขาดเรื่องเงินทุน เอพีจึงจัดสรรเงินทุนให้เป็นเฟสๆ แต่ละช่วง ค่อยๆ พัฒนาไปจากเล็กไปหาใหญ่

 

4. ได้รับการฝึกอบรม มีการเทรนนิ่งหลากหลาย ถ้า Innovator อยากเรียนอะไรก็สนับสนุนให้ไปเรียน อยากไปศึกษาดูงานก็ทำได้ ยกตัวอย่าง เอพีสนับสนุนคนที่มีศักยภาพสูงจริงๆ เพื่อเรียนต่อปริญญาโทที่ Kellogg ในต่างประเทศ, พาไปศึกษาดูงานแสดงเกี่ยวกับเทคโนโลยี CES (Consumer Electronic Show) ในต่างประเทศ

 

5. ได้พื้นที่ทำงาน มีออฟฟิศให้ใช้ด้วย ซึ่งทางเอพีสนับสนุนพื้นที่ไว้ให้

 

6. ได้ทำธุรกิจสตาร์ตอัปโดยรับการสนับสนุนจากเอพี ได้เงินจริง พาทำจริง และเมื่อธุรกิจเติบโตจะแยกบริษัท
ทางเอพีก็ยินดีเป็นผู้ลงทุนถือหุ้นร่วมด้วย เติบโตไปด้วยกัน

 

สเปคของ Innovator ที่เอพีกำลังมองหาเป็นแบบไหน

ถ้าผู้อ่านหรือใครก็ตามที่อยากมีส่วนร่วมกับการทำ Internal Startup กับทางเอพี ต่อไปนี้คือสิ่งที่เอพีกำลังมองหาครับ

 

1. Direction ความคิด วิสัยทัศน์และทิศทางคิดต้องไปด้วยกันได้

ทางเอพีมองว่าคอนเซปต์หลักของเอพีคือ “ชีวิตดีๆ ต้องเลือกเองได้”  ดังนั้นสิ่งที่จะมาทำร่วมกับเอพีต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่ไปคนละทิศทาง  และควรสอดคล้องกับเทรนด์หลัก เช่น ปัจจุบันปัญหาสังคมของเรามีมากมาย เช่น Aging Society คนสูงวัยมีเยอะขึ้น เด็กจำนวนน้อยลง หรือแม้ปัญหาทางจิตใจของวัยรุ่น มี Pain point มีโจทย์ให้แก้ไขกันเยอะแยะที่น่าสนใจ มีปัญหาใกล้ตัวอะไรที่อยากจะทำเพื่อให้ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมได้อีกบ้าง มีอะไรที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเอพีบ้าง

 

2. Pitching เมื่อทิศทางแนวคิดตรงกันก็ต้องมีแข่งขัน

แข่งขันเพื่อคัดสรรอย่างเข้มข้น เพราะเอพีต้องการคนที่มีพลัง มีแพชชั่นที่อยากจะทำสตาร์ตอัปให้สำเร็จจริงๆ ไม่มาทำเล่นๆ  ต้องไม่ลืมว่าเงินเลี้ยงชีพที่ให้ไปนั้นไม่ใช่เงินเดือน ไม่ใช่งานชิลล์ๆ ไม่ใช่มาในฐานะพนักงาน แต่มาในฐานะผู้ประกอบการตัวจริง ต้องมีสปริตแห่งความเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นก่อนที่จะให้มาเข้าโครงการจึงต้องทดสอบให้ดีก่อนรับ ซึ่งทางเอพีรับจำนวนจำกัด มีกระบวนการคัดสรรว่าสตาร์ตอัปใดมีโอกาสที่ดีมากน้อยแค่ไหน

 

3. Timeframe เรื่องของกรอบเวลากำหนดการปล่อยสินค้าบริการออกสู่ลูกค้า
ทางเอพีวางไว้ว่าภายใน 6 เดือนต้องมองเห็นภาพชัดเจน และเอพีปักธงไว้ว่าภายใน 12 เดือน Internal Startup ต้องมีการ Launch สินค้าบริการออกให้ได้ (บอกแล้วว่า ไม่ใช่งานชิลล์ๆ) ก่อนสนับสนุนเอพีจะให้ลงตลาดจริงตั้งแต่วันแรกแล้วว่าเจอลูกค้าจริงที่ยอมใช้แบบจ่ายเงินหรือเปล่า ดู business traction ว่ามีแนวโน้มที่คนจะจ่ายเงินให้จริง ไม่ใช่แค่ใช้ฟรี เพราะฟรีใครก็เอา ของฟรีไม่มีในโลก ฟรีเป็นแค่ภาพลวงตา ไม่นับของฟรี เพื่อให้คนอยู่บนฐานความเป็นจริง

 

สรุป เอพีกำลังมองหาคนมาทำ Internal Startup ที่มีไอเดียสนุกๆ มีศักยภาพตลาดที่น่าสนใจ และผ่านการทดสอบไอเดียว่าเป็นธุรกิจจริงได้ ระหว่างทางการสร้างสตาร์ตอัปก็มีรายได้เงินเลี้ยงชีพให้ด้วย มีเงินทุนเริ่มต้นธุรกิจให้และสนับสนุนงานเบื้องหลังรวมถึงงานพัฒนาให้ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม พื้นที่ทำงาน และวิสัยทัศน์ด้านการบริหารจัดการ ให้คำปรึกษากับงาน Back office เช่น งานไอที บัญชี การเงิน เอพีทำหน้าที่เหมือน Business Incubator ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เป็นเหมือนพี่เลี้ยงก่อนขยายธุรกิจให้เติบโต และท้ายสุดยินดีร่วมลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นกับสตาร์ตอัปด้วยอีกทาง 

 

เอพีเปิดบ้านต้อนรับเหล่านักคิด นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่มาร่วม AP Innovation Dream Team ไปด้วยกัน  ปล่อยแสง ปล่อยไอเดีย  หรือส่ง proposal แนะนำตัวมาได้ที่ INBOX Facebook เพจ AP THAI (https://www.facebook.com/APthai )

 

#APThai #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #APThaiUpdate2023 #CTC2023

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง