บทสนทนาเฉพาะกิจ! กับพี่กอล์ฟ CMO อนันดาฯ ย้อนเส้นทางกว่าจะมาเป็นแบรนด์ไอดีโอ

เกริก บุณยโยธิน 25 June, 2023 at 15.46 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


[Advertorial]

ยามเย็นฝนพรำวันหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่วงเวลาสุดแสนทรมานของผมกับการนั่งกระสับกระส่ายอยู่บนรถที่ติดแบบนิ่งสนิทมาหลายชั่วโมงบนถนนพหลโยธิน ใจนึงก็อยากจะแวะเข้าไปนั่งพักสงบสติอารมณ์ในห้างข้างหน้าสักพักก่อนเหลือเกิน แต่อีกใจนึงก็คิดว่าอย่าเพิ่งดีกว่าเพราะกำลังลุ้นหนักว่าน้ำมันจะเหลือพอให้ไถรถตัวเองให้ไปได้ถึงปั๊มที่ห่างออกไปเพียงแค่ไม่กี่ช่วงถนนได้หรือเปล่า ในห้วงเวลานั้น ถนนพหลโยธินเหมือนกับลานจอดรถขนาดใหญ่ มีความเคลื่อนไหวให้เห็นเพียงแค่มอเตอร์ไซค์ที่วิ่งโฉบไปมา และกลุ่มฝูงชนที่เดินลงมาจากสถานีรถไฟฟ้าเพื่อวิ่งหลบฝนเข้าคอนโด และห้างโดยรอบทั้งนั้น

 

ไม่เคยรู้สึกอิจฉาคนอยู่คอนโดติดรถไฟฟ้ามากขนาดนี้มาก่อนเลยในชีวิต” ผมได้แต่รำพึงเบาๆอยู่ในใจ พลางหันไปสังเกตเห็นที่ดินติด BTS สะพานควายของอนันดา ที่ ถูกล้อมรั้วเอาไว้นานแล้ว พลางคิดในใจว่าถ้าโครงการตรงนี้เปิดขายใหม่คงตื่นเต้นไม่น้อย

ช่วงจังหวะจราจรสุดโหดแยกนรกแบบนี้น่าจะมีคนใช้รถแบบเราไม่น้อยเลยที่อยากจะเดินเข้าไปซื้อที่นี่ให้มันจบๆไป” บางทีคำตอบที่พึงปรารถนามากที่สุด อาจไม่ได้เกิดจากการพยายามเสาะหาหลายๆที่ แต่มักมาจากสถานการณ์เฉพาะหน้าที่บีบคั้นจิตใจเราสุดๆแบบนี้ล่ะครับ

 

ไม่รู้ว่าเป็นเหตุบังเอิญ หรือฟ้าฝนดลใจ ในเสี้ยวนาทีนั้นเองก็มีไลน์เด้งขึ้นมาพร้อมกับข้อความว่า “พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ตอนบ่ายสาม ว่างมั้ยพี่เกริก ? จะชวนมาจิบกาแฟกัน มีเรื่องคุยด้วยคับ” ซึ่งคนที่ส่งมาก็ดันเป็นพี่กอล์ฟ พงศ์อนันต์ สุขเกษม ผู้เป็น CMO (Chief Marketing Officer) แห่งอนันดาฯ นั่นเองครับ…ต้องบอกว่าหากเป็นเมื่อช่วงสักเกือบ 10 ปีที่แล้ว ผมกับพี่กอล์ฟก็คุยกันประจำในเรื่องานนี่ล่ะครับ เดินไปหาได้เลยเพราะทำงานอยู่ที่เดียวกัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องการวางแผนทำแคมเปญเพื่อเปิดตัวโครงการใหม่ หรือทำ Brand Communications ให้กับสารพัดแบรนด์ของอนันดาฯ แต่หลังจากที่ผมออกมาทำธุรกิจของตัวเองแล้ว ต้องบอกว่านาน น้าน นานทีจะได้มีโอกาสเจอตัวพี่เค้า ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเจอแค่ตามงานอีเว้นท์ใหญ่ๆของอนันดาฯ หรือไม่ก็งานแถลงข่าวประจำปีของอนันดาฯ ล่ะครับ โดยหากเป็นการทักทางไลน์แบบนี้นั้น ส่วนมากจะทักมาปรึกษากับถามเรื่องเกี่ยวกับ ทำเลที่พี่กอล์ฟสนใจจะซื้อ “เกริกพี่สนใจทำเลนี้เป็นไง หรือช่วงนี้มีที่ไหนน่าซื้อเก็บบ้าง ” ใช่ครับ มีแค่นี้จริงๆ ดังนั้นเมื่อพี่กอล์ฟบังเอิญทักมาในช่วงที่ผมกำลังรถติดอยู่หน้าไซต์นั้นของอนันดาพอดี นับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ผมจะได้ล้วงลึกข้อมูลบางอย่างออกมาได้ จะเป็นข้อมูลอะไรก็ไม่รู้แหละ รู้แต่ว่ามันต้องน่าสนใจ และก็น่าจะมีชุดข้อมูลที่ดีๆหลุดออกมาบ้างจากหัวเรือใหญ่ด้านการตลาดของอนันดาฯผู้ที่อยู่มานานสุดๆถึง 17 ปีเข้าไปแล้ว!

ผมก็เลยตอบตกลงและถามกลับไปว่าเป็นเรื่องอะไร ซึ่งคำตอบที่ได้ก็นับว่าเข้าทางในระดับหนึ่ง คือทางพี่กอล์ฟเค้าอยากจะรับฟังมุมมองของการเปิดตัวโครงการใหม่ และความคิดเห็นบางอย่างที่มีต่อแบรนด์ไอดีโอ เช่นเดียวกับอยากจะให้ผมช่วยสื่อสารในเรื่องของทิศทางการสร้างแบรนด์ไอดีโอในเฟสถัดไป ที่จะมีกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อสร้าง Brand Evolving ให้มากยิ่งขึ้น…รวมถึง IDEO Unboxing โครงการต่างๆที่เป็น Highlight เด็ดๆของปีนี้ ที่เรียกว่าฮอตฮิต ติดลมบนกันอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นที่มาของบทสนทนาเฉพาะกิจแบบคุยกันเรื่อยๆตามสบายระหว่างผมกับพี่กอล์ฟ ที่ผมหยิบมาฝากกันในบทความนี้ล่ะครับ

 

จริงๆแล้วหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าผมกับพี่กอล์ฟ นี่ค่อนข้างจะคุ้นเคยรู้จักกันเป็นอย่างดีครับ คือถ้าจะนับระยะเวลาที่รู้จักกันก็คือน่าจะ 15 ปีได้แล้ว ตั้งแต่ช่วงที่ทางอนันดาเริ่มรุกตลาดคอนโดติดรถไฟฟ้าใหม่ๆเลย ตอนนั้นผมยังทำงานอยู่ใน Branding Agency แล้วก็บังเอิญต้องมารับบรีฟงานจากพี่กอล์ฟ จากนั้นก็อีกสัก 2 ปีได้มั้งก็ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในอนันดาก็เลยได้มารู้จักกัน นี่ต้องบอกเลยว่าพี่อยู่อนันดาได้นาน สุดๆเลยนะครับ ไม่แน่ใจว่าอยู่มากี่ปีแล้ว แล้วยัง Happy หรือมี Passion ในการทำงานมากน้อยแค่ไหนครับ? และพี่มีสูตรสำเร็จอะไรในการทำงานบ้างไหมครับ

พี่กอล์ฟ: จริงๆ ต้องบอกว่าไม่ค่อยได้นับเวลาเลยหลังจากมันผ่าน 10 ปีมาแล้ว ในฐานะ Professional หรืออาจเรียกง่ายๆว่ามนุษย์เงินเดือนเนี่ยแหละ ก็ไม่เคยคิดว่าจะอยู่ที่ไหนนานเกิน 3 ปี เลยนะ คิดว่าเราก็ต้องตามหาความท้าทายใหม่ๆตลอดเวลา ตอนแรกมาอยู่อนันดาก็ไม่รู้ว่าอนันดาจะมาไกลกันขนาดนี้ในฐานะผู้นำคอนโดติดรถไฟฟ้า ที่เป็นช่องว่างของตลาดที่เราเป็นคน create ขึ้นมาเป็นคนแรกๆ (Fist Mover) จนกลายมาเป็น (Market Leader) จนถึงปัจจุบันนี้ เพราะตอนนั้นอนันดายังไม่มีคอนโดแท่งแรกเลย ช่วงนั้นอนันดาเน้นทำบ้านเดี่ยวแถวสุวรรณภูมิ ออฟฟิศก็อยู่ที่ Windmill ตรงบางนาเกือบๆถึงกิ่งแก้วแล้ว ต้องขับรถจาก Mid Sukhumvit มาแถวสุวรรณภูมิทุกวัน โดยก่อนหน้านั้นพี่ทำงานอยู่ในเมืองแบบจ๋าๆเลย คือตรงอโศกเลย แล้วย้ายมาอนันดาก็ต้องไปทำที่ออฟฟิศตรงบางนา ซึ่งเรารู้สึกได้ว่ามันไกลจากในเมืองมากในตอนนั้นนะ เพราะบีทีเอสตอนนั้นถึงแค่สถานีอ่อนนุชเอง แต่เราก็ต้องขับรถไง ขับถึงแยกบางนาก็ยังต้องขับไปอีก 10.5 กม. สมัยนั้นยังไม่มี Mega Bangna นะ เพิ่งจะเริ่มสร้างเองมั้ง คือตอนนั้นเวลาตื่นมาตอนเช้าไม่อยากไปเลยแต่ก็คิดได้ว่ามันเป็นการฝึกทำสมาธิไปในตัว เหมือนกับหนังจีนที่เราต้องออกเดินทางไกลทุกเช้าเพื่อไปฝึกวิชากับปรมาจารย์ในที่ห่างไกล และหลังจากนั้น 4-5 ปี เราก็เข้ามาอยู่ที่อโศกที่ตึกเลค รัชดา แล้วตอนนี้ก็อยู่ที่ตึก FYI Center ก็กลายเป็นชีวิตเมืองแล้ว กลับมาใช้ชีวิตตาม Lifestyle เราอีกครั้ง 555 แต่เราก็คิดอยู่แล้วว่าวันนึงมันต้องมาตรงนี้ ต้องมาอยู่ในเมือง เพราะว่าแบรนด์เรา บริษัทเรามันเป็นแบรนด์ของคนเมือง มีสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง มันสื่อถึงความเป็นคนเมืองชัดเจนมาก จำได้ว่า ไอดีโอตัวแรกมันเกิดตอนปี 2007 พี่ต้องเข้ามาเตรียมพัฒนาก่อน ซึ่งตอนนี้ก็ผ่านมาเกือบ 17 ปีแล้ว รู้สึกว่ามันเร็วมากๆ เหตุผลเพราะว่าทุกวัน ทุกเดือน มันมี Project มี Assignment อะไรใหม่ๆตลอดจากคุณโก้ ที่มาพร้อมความท้าทายที่แตกต่างกันออกไป เอาเข้าจริงๆ เราเหมือนไปที่ใหม่ทุกเดือน มันเป็น 17 ปีที่เหมือนกับ 17 เดือน มันมีความรู้สึกแบบนั้น เพราะถ้าเกิดเบื่อมันคงเบื่อตั้งแต่เดือน 1 2 3 4 แล้ว ดังนั้นเวลาที่ผ่านมา มันก็เป็นเวลาที่เราได้ทำอะไรใหม่ๆ แปลกๆ ตลอดเวลา บางที Passion ของเรากับของอนันดามันคงคล้ายกัน มันคง Click กันในหลายๆเรื่อง ซึ่งมันก็ Drive ให้เรามาถึงจุดนี้ เราไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือใช้ความพยายามมากว่าเราอยากเป็นคนเมือง เรารู้ว่าคนเมืองต้องการอะไร ประมาณไหน ใช้ชีวิตแบบไหน และเราอยู่ในเมืองจ๋ามาก เราเอาความเป็นเมืองของตัวเรามาประกอบในการทำงาน มันก็เลยรู้สึกว่าส่วนหนึ่งเราก็ทำงานให้ตัวเอง และยังส่งพลังออกมาข้างนอกให้ได้รู้ว่าชีวิตคนเมืองก็มีหลายมิติ หลากเซกเมนต์ หลายวิธีคิด เราก็เอาพลังเหล่านั้นลงไปสู่คนเมืองให้มากขึ้นแล้วเราเองก็ได้พลังบวกเหล่านั้นสะท้อนกลับมาด้วย ทำให้เรายังรู้สึกสนุกในทุกวัน และเป็นความท้าทายที่ต้องพยายามหา Solutions ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์คนเมืองตลอดเวลา

แต่ถ้าจะให้พูดถึงสูตรสำเร็จนั้นไม่มี เชื่อว่าทุกคนที่ทำงานแบบลูกจ้างมืออาชีพ จะไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวหรอก แต่หัวใจสำคัญคือต้องมีความเป็น Professional สูง มี discipline ในการทำงานตลอดเวลา แต่ถ้าถามว่าอะไรที่เป็นตัวยึดเหนี่ยวทำให้เราสามารถดูแลการทำงานและส่งเรื่องดีๆ ออกไปข้างนอก โดยตอบง่ายๆ แบบคนทำงานละกัน เราน่าจะได้นายที่ดี ซึ่งในที่นี้ตอบได้ 2 – 3 มิติ มิติแรก พี่อาจจะโชคดีหน่อยที่ เคมีอาจจะใกล้เคียงกัน สไตล์การทำงานของพี่เอง กับสไตล์การทำงานของคุณโก้ มันเป็นแบบสไตล์ฝรั่ง คือเล่า Vision บอกโจทย์มาว่าอยากได้อะไร ที่เหลือเดี๋ยวเราไปจัดการให้ ไปหา Solutions มาให้ สร้าง Alternative ในการตัดสินใจให้ มันค่อนข้างจะ Productive และ Efficiency สูงมาก เราก็สบายใจ นายก็สบายใจ หากเคมีไม่ตรงกันเดือนสองเดือนก็ไม่ไหวละ ซึ่งก็ไม่ง่ายที่เคมีจะตรงกัน แต่มันก็คงไม่ใช่แค่เคมี หรือสไตล์การทำงานอย่างเดียวนะ มันก็มีหลายๆองค์ประกอบรวมๆกัน ยังไงเราก็ต้องทำให้ดีที่สุดในฐานะ Professional อันที่สองคือ คุณโก้เองนอกจากจะเป็นบอสแล้ว เค้าเป็นเหมือนคนที่แฮคชีวิตให้มี Productivity ที่ดีขึ้นตลอดเวลา คอยกระตุ้นให้เราต้องยกระดับขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เหมือนนอกจากเราทำงานให้เค้าแล้วแลกกับเงินเดือน เราก็ได้พัฒนาชีวิตตัวเอง ตามสิ่งที่เป็นความคิดของเค้าที่เค้าแฮคชีวิตมาแล้ว การดำรงชีวิต แฮคชีวิตการกิน แฮคชีวิตการออกกำลังกาย แฮควิธีคิด เหล่านั้นเหมือนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ฟรีๆ โดยไม่ต้องไปลงคอร์สเสียตังค์ ได้ทั้งพัฒนาตัวเองและพัฒนาทีม พัฒนาน้องๆรุ่นใหม่ๆ ข้อนี้อาจจะเป็นข้อนึงที่ทำให้ 17 ปี เหมือน 17 เดือน เพราะเราได้แบบนี้ทุกวัน เราได้ทุกครั้งที่ประชุมกัน Brainstorming กัน Share Idea / Share Creative ไปมาระหว่างกัน มีพลังบวกทุกวัน

เรื่องที่สาม คือเรื่องของ Culture ของทีมที่เราบิ้วกันมานี่แหละ เราเริ่มจากทีมเล็กๆที่มีกันอยู่ 4-5 คน เป็นทีม Marketing รวม ที่ต้องทำทุกอย่าง ไม่ได้แบ่งเป็นทีมย่อยๆ และมันก็ถูกทำให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทุกคนในทีมก็มีพลังของความเป็นคนเมืองเต็มที่ มีความคิดในแบบคนเมืองที่แตกต่างกันออกไปตามความชอบ ซึ่งเมื่อนำมารวมกันก็เกิดเป็นไอเดียใหม่ๆที่ช่วยผลักดันมาสู่การพัฒนาโครงการหรือ Solutions ใหม่ๆได้ ซึ่งเป็นความท้าทายที่ไม่รู้จบ

 

มันจะมีอยู่ยุคนึงที่หากเห็นที่แปลงว่างๆติดรถไฟฟ้าที่ไหน ให้เดาไว้ก่อนเลยว่าเป็นไอดีโอ” ผมชิงพูดเปิดประเด็นหยั่งเชิงไว้ก่อนเลย โดยที่พี่กอล์ฟยังไม่ทันได้ตั้งตัว “แต่ตอนนี้อาจไม่ใช่แบบนั้นอีกแล้ว พี่ว่ามันจริงไหม” ผมเริ่มเปลี่ยนโทนของคำถามให้ดูจริงจังมากขึ้น โดยที่พี่กอล์ฟยังไม่ทันได้ตั้งตัว จนต้องหันไปถามหาเมนูเครื่องดื่มจากพนักงานของทาง LYF Sukhumvit 8 หนึ่งใน Serviced Apartment สุด Hip! ใจกลางเมืองของอนันดาฯ สถานที่ๆเรามาพูดคุยกันวันนี้ ก่อนที่จะร่ายยาวคำตอบออกมาในแบบ Non-Stop ตามนี้เลยครับ

พี่กอล์ฟ: โครงการไอดีโอของเราเกิดมาตั้งแต่ช่วง 2007 – 2008 มีออกมาเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้อาจจะมี Pause ไปบ้างในช่วงโควิด ซึ่งคำถามคือมีเพื่อนมาแย่งชิง position เรามีมุมมองยังไง พี่จะตอบในมุมมองลูกค้าก่อน เป็นข้อดีของลูกค้าที่ลูกค้าได้มีตัวเลือกที่หลากหลายขึ้น ว่าอยากอยู่โลเคชั่นแบบไหน ยังไง สเตชั่นไหน อยากอยู่กลางเมือง อยากอยู่รถไฟฟ้าที่กำลังจะเปิดหรือยังไม่เปิด หรือยังไม่เริ่มสร้าง ก่อนหน้านั้นสถานีรถไฟฟ้ามีประมาณ 64 สถานีก่อนเปิดโครงการไอดีโอ ซึ่งตอนนี้มันมากกว่าตอนนั้นเยอะ (กว่า 140 stations เข้าไปแล้ว) และเป็นข้อดีของลูกค้าคนเมืองที่ได้มีโอกาสเลือกสินค้าที่หลากหลายและมีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกัน ในหลากหลายดีเวลลอปเปอร์ หลากหลายสไตล์ หลากหลาย Character เรามองว่าเขาเป็นเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมนะ ก็ช่วยกันพัฒนากันไป ช่วยทำให้เมืองดีขึ้นกันไป ทำ affordable บ้าง ให้คนเมืองสามารถเลือกซื้อได้ ทำพรีเมี่ยมบ้างให้คนมีศักยภาพมีที่อยู่อาศัยที่ตอบ social status ของเค้า นั่นเป็นเรื่องดีของลูกค้าอยู่แล้ว

 

ไอดีโอ ลาดพร้าว 17 คอนโดโครงการแรกของอนันดาฯ เมื่อปี 2007

ในพาร์ทของเราเอง เขาแย่ง position เรามั้ย ถ้าตอบในเชิงคอนโดติดรถไฟฟ้า มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่ามันก็เป็นคู่แข่งกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่การแข่งขันที่สำคัญที่สุดนะ คือการแข่งกันพัฒนาคุณสินค้าและบริการ พัฒนาคุณภาพชีวิตคน ให้ตอบโจทย์ลูกค้าให้ดีที่สุด ถ้าเป็นเราก็ต้องให้ตอบโจทย์คนเมืองให้ได้มากที่สุดแหละ อนันดาก็ถือว่าเป็นท็อปเทียร์ หรือเรียกว่ากลุ่มผู้นำของการพัฒนาเซกเมนต์นี้แล้วกัน เพราะเราชำนาญ และเรา Focus ใน Segment ที่เราถนัดมากที่สุด แต่หลายๆ แบรนด์เข้ามาพี่ว่ามันอยู่ที่ว่าคาแรคเตอร์และรูปแบบในสิ่งที่เรานำเสนอตั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและต่อไปนี้ เรายังสามารถรักษาจุดแข็งตรงนั้นได้มั้ย ไอดีโอก็มีการสร้าง Brand Evolving เพื่อพัฒนาจุดแข็งไปเรื่อยๆทั้งในเรื่องของงานดีไซน์ รูปแบบห้อง และนวัตกรรมการอยู่อาศัยที่ตอบเทรนด์ของคน Gen C อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ส่วนการพัฒนา Brand Platform เพื่อต่อยอด Brand Value ของไอดีโอ ให้เข้าไปอยู่ในทุก Stage of Life ของ Gen C คือแก่นของแบรนด์ไอดีโอมากกว่า อย่างทำเลใกล้รถไฟฟ้าเหมือนกัน แต่ถ้าอยู่คนละสถานีกันก็มีความแตกต่างกันในเชิงวิถีชีวิตนะ คือวิธีคิดของไอดีโอ ไม่ได้คิดว่าให้ทุกคนมาอยู่ติดรถไฟฟ้าแล้วมานั่งอยู่ในห้อง แล้วก็อยู่ 24 ชม. อยู่ 48 ชม. ในนั้น ไม่ใช่นะ purpose ของอนันดาจริงๆ หรือแบรนด์ DNA หรือวิธีคิดของมันจริงๆ คือ เราอยากให้โครงการไอดีโอหรือโครงการติดรถไฟฟ้าแบรนด์อื่นๆ ของเรา เป็นเครื่องมือในการใช้ชีวิตตามแบบฉบับคนเมือง ที่มาอยู่ตรงนี้มีความสะดวกสบาย Control เวลาได้ มี creativity ในการใช้ชีวิต แต่มากกว่านั้นคือ ให้เค้าได้ใช้ชีวิตเมืองได้เต็มที่ ถ้าอยู่ข้างนอกห้องก็มี facilities พร้อมเพรียง อยู่ในห้องก็มี space efficiency เต็มที่ แต่เราไม่ได้ต้องการให้เข้ามาอยู่ในห้องตลอด แค่ให้เข้ามารีชาร์จ มาเติมพลัง ได้ชีชีวิตที่สะดวกสบายเวลาที่กลับมาที่คอนโด แล้วออกไปลุยกันต่อ ไปใช้ชีวิตกันต่อ ในที่นี้คือไปตามฝัน ตาม Passion ไปสร้างความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะคุณจะเป็น youtuber เป็น entrepreneur เป็น Office Worker หรือเป็นน้องๆนิสิต นักศึกษา ซึ่ง DNA และวิธีคิดเหล่านั้น มันลงไปสู่ในวิธีการพัฒนาสินค้าของไอดีโอ มันลงไปสู่ภาพโฆษณาของไอดีโอ มันลงไปสู่วิธีพูด วิธีคิด หรือแม้กระทั่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น สระว่ายน้ำที่มีลูกเล่น ไม่ใช่แค่ตรงอย่างเดียว มีเกมส์ให้เล่น เพิ่มความสนุกสีสัน มีสไลด์เดอร์ มีความเป็นศิลปะช่วยกระตุ้นความครีเอทีฟ คำถามคือ พวกนี้จำเป็นต่อการใช้ชีวิตหรือเปล่า maybe not แต่มันจำเป็นต่อการสปาร์คไอเดียของคนอยู่นะ ประเด็นคือห้องคือที่อยู่อาศัย ใช้นอน ใช้กิน ใช้อยู่กับครอบครัว อาจจะไม่เพียงพอ แต่คน Gen C ต้องการออกมาใช้ชีวิตข้างนอกห้องในโซน Facilities เพื่อให้สปาร์คไอเดีย ซึ่งไอดีโอก็ช่วย empower เค้า นั่นคือ DNA ที่แตกต่างของแบรนด์ไอดีโอที่เราอยากยืดมั่นในตรงนี้มากในตอนที่เราพัฒนาสินค้าและบริการ

พูดถึง Gen C คือตอนนี้ผมคิดว่ามันมีประเด็นในเรื่องของการสื่อสารระหว่างคำว่า Gen C ซึ่งเป็นนิยมของกลุ่มเป้าหมายที่ทางอนันดาฯเป็นคนกำหนดขึ้นมา ซึ่งบังเอิญมาพ้องเสียงกับคำว่า Gen Z ซึ่งเป็น Universal Generic Name สำหรับการเรียกกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีอายุอายุระหว่าง 18-24 ปี ตรงนี้พี่กอล์ฟมองว่ามันมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 

Gen C Lifestyle

พี่กอล์ฟ: นิยามคำว่า Gen C ของอนันดา ไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากการแบ่งตาม Demographic Segmentation ตาม Range ของอายุแบบ Baby Boomer, Gen X, Gen Y (Millennials) และ Gen Z แต่เป็นการอิงตามหลักการของ Psychographic Segmentation และ Behavioral Segmentation ผสมกัน คือเน้นในเรื่องของ Emotional / Mindset และ Lifestyle เนื่องจากแบรนด์ไอดีโอนั้นรู้ดีว่าการสร้าง emotional appeal นั้นมันจับใจกลุ่มลูกค้ามากกว่าทั้งในด้านของปริมาณ และคุณภาพ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าไปจับกลุ่มลูกค้าในทำเลทองหล่อ มันก็จะได้แต่ทองหล่อ แต่ถ้าไปจับใจลูกค้าที่มีพฤติกรรมแบบ Gen C มันก็จะได้ลูกค้าจากทุกทำเลทั่วโลก ที่มี emotional และ lifestyle ในแบบ Gen C โดยที่มันก็เป็นเรื่องบังเอิญว่าพฤติกรรมของ Gen C ที่เราวางไว้คือ กลุ่มผู้บริโภคในยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารเป็นหลัก (Connected) เป็นกลุ่มคนที่ฉลาดในการบริหารเงิน (Cash Smart) รักความสะดวกสบาย (Convenience) สนใจสิ่งที่มีสไตล์เฉพาะตัว (Casual Lifestyle) มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ชอบที่จะจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง (Control) รู้จักสร้างสมดุลของการใช้ชีวิตระหว่างงานและเรื่องส่วนตัว (LIVE-WORK-PLAY-LEARN) รวมถึงชอบติดตามข่าวสารออนไลน์ ทำให้เป็นคนที่ดูทันสมัยเท่าทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา นั่นคือ Gen C ที่เราวางกรอบตอนแรก ซึ่งมันก็มีบางแง่มุมที่คล้ายๆกับเทรนด์ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของ Thinking Mindset ในขณะเดียวกัน Gen Z เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ demographic อายุเป็นหลัก ไล่จาก Gen X, Y มาถึง Gen Z และมี Gen Alpha ด้วยซ้ำ มันคือการแบ่งด้วยอายุ ถามว่ามีความเหมือนหรือความต่าง ซึ่งจะเหมือนก็ได้ต่างก็ได้แล้วแต่จะตีความ ความเหมือนคือ Gen Z เป็นคนรุ่นใหม่ และกลุ่มนี้ก็เป็นหนึ่งใน Target Persona ของการพัฒนาโปรดักส์อยู่แล้ว โดยในมุมมองของกลยุทธ์แบรนด์ก็คือ Gen Z ที่คนทั่วไปรู้จักกันก็ถูกจัดเข้าอยู่ในกลุ่มย่อย ของ Gen C ตาม Stage of Life ที่แบ่งออกเป็น Baby Gen C, Bachelor Gen C และ Marriage Gen C ที่ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหนก็ล้วนแล้วแต่แชร์ emotional & lifestyle ในแบบเดียวกัน ซึ่งเหตุผลที่เราวางกรอบแบบนั้นเพราะว่าสินค้าที่เรานำสู่ตลาดในปี 2007 คือคอนโดติดรถไฟฟ้าเซกเมนต์ใหม่ ไม่ค่อยมีใครทำ การที่จะอยู่ติดรถไฟฟ้าแน่นอนว่า Benefit หลักคือ มันเดินทางสบาย แต่ด้วยการที่ทำเลติดรถไฟฟ้านั้นมันมีเยอะ การสร้างความแตกต่างในเชิงทำเลอาจไม่เพียงพอ เราจึงจำเป็นต้องกำหนด Brand Persona ให้ชัดเจนแต่แรกว่า กลุ่มคนแบบไหนที่เป็น Target Gen C ตามแบบฉบับของแบรนด์ไอดีโอ ซึ่งก็ส่งผลบวกต่อ Perception ของแบรนด์ไอดีโอในปัจจุบันว่าไม่ใช่แค่มีดีที่ทำเล แต่ยังมีอีกหลายองค์ประกอบในวิธีคิด ใน character ในมุมมองการแสดงออก ที่โดนใจคน Gen C เช่นกัน

เรียกได้ว่าเดิมที Gen C เกิดมาเพื่อแบรนด์ไอดีโอเป็นหลัก แต่เมื่อบริษัทฯอนันดาใหญ่ขึ้น มีโครงการหลากหลายขึ้น ก็มีแบรนด์ใหม่เข้ามาเพิ่มเติมมากมาย แต่คำว่า Gen C ก็ยังคงถูกใช้เป็น Pillar ของทุกแบรนด์ภายใต้อนันดาอยู่ แล้วตอนนี้พี่กอล์ฟมองว่าอัตลักษณ์ (Brand Identity) ที่จับต้องได้มากที่สุดของไอดีโอ ที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆไม่ว่าจะเป็น ASHTON, Q, Elio คืออะไรครับ

 

พี่กอล์ฟ: ไอดีโอมันเกิดมาเป็นแบรนด์แรก จริงๆ แทบจะเรียกได้ว่า DNA ของไอดีโอ = DNA ของอนันดาตอนเริ่มต้นเลย ตอนแรกคนไม่รู้ว่าอนันดาคืออะไร เป็นอนันดา เอฟเวอริ่งแฮมหรือเปล่า แต่ตอนนี้คงไม่ใช่แล้ว (แต่เอาจริงๆ research ที่เราทำมาเมื่อปลายปีที่แล้ว เค้ามองว่า Image ของอนันดา ส่วนนึงเค้าให้ Image เหมือนกับอนันดา เอฟเวอริ่งแฮมนะ ซึ่งเค้าให้ความหมายว่า “เราดูมีเอกลักษณ์ เท่ๆ ดูมีความไฮโซหน่อยๆ แต่ราคาไม่สูงเกินไป” ซึ่งก็ดีนะ เท่ห์ดี หล่อด้วย ก็ยังดูสนุก และเข้าถึงได้ ซึ่งเรา อนันดาฯ เองก็ประมาณนั้นแหละ ดูจากคุณโก้ ชานนท์ก็ได้ :)) พอแบรนด์ไอดีโอเป็นแบรนด์แรกแล้วเนี่ยมันเป็นที่จดจำได้ง่าย จนเรียกได้ว่าเป็น Flagship Brand ของอนันดาที่เป็น Generic Name แทนชื่อบริษัทไปแล้วในยุคแรกๆ ไอดีโอยุคแรกๆตอนนั้นเราเปิดทีนึง 4 – 5 โครงการรวดเดียว หรือแม้กระทั่งอีเว้นท์เราก็ใช้ชื่อ Ideo Urban Pulse ถามว่าแตกต่างจากแบรนด์อื่นยังไง อย่างแรกต้องตอบถึงความคล้ายกันก่อน ก็คือในเรื่องของ Physical จับต้องได้คือความใกล้สถานีรถไฟฟ้าเหมือนกัน ส่วนความแตกต่างก็จะเป็นในแง่ของ Soft Side กับต้นทุนในการพัฒนาโครงการ เพราะแต่ละแบรนด์ก็ถูกจัดไปอยู่ในกลุ่มที่มี Pricing Segmentation ต่างกัน

 

Facilities ที่อนันดาออกแบบให้ตอบรับกับความต้องการของ Gen C


ซึ่งแบรนด์ไอดีโอจะมี Perception ในเรื่องของความ Energetic สูงมาก สร้างพลังในการใช้ชีวิต อยู่แล้วมี Energy อยู่แล้ว Inspired Creativity ได้ อยู่แล้วพักผ่อน หรือ recharge ก็ได้นะ ขยายทุกมิติของชีวิตเวลาอยู่ที่ IDEO และที่สำคัญ คือ Drive พลังบวก พลังในการใช้ชีวิต มีการใส่ความเป็น Energetic ให้สูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ผ่านงานดีไซน์ สีสัน พื้นที่ส่วนกลาง บรรยากาศโดยรวม เพื่อ Spark Idea Create Creativity ซึ่งเป็นจุดแข็งของแบรนด์ไอดีโอ ผู้อยู่อาศัยจะรู้สึก Proud ทุกครั้งที่บอกคนอื่นว่าอยู่ไอดีโอ และที่สำคัญที่สุด คือไอดีโอมีราคาที่จับต้องได้ คนเมืองต้องสามารถเป็นเจ้าของได้ ไม่ยากเกินไป

ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ แอชตันต่างกับไอดีโอแน่นอน เพราะแอชตัน เรา Set in Premium ในเชิง Segment ในเชิง Positioning ซึ่งมันก็สะท้อนในเชิงราคา package price หรือ price per sqm ด้วยเช่นกัน ในเชิงการนำเสนอ facilities บางอย่าง ในเชิง location ที่เรียกได้ว่าเป็น Super Prime Location ทั้ง สุขุมวิท สีลม อโศก-พระราม9 เพราะเรา set it premium ต้องมีสุนทรียะในการอยู่อาศัย อย่างแอชตันคนนั่งจิบไวน์ชิลๆ แต่ไอดีโอคือคนที่ต้องใช้ชีวิต control เวลา ซึ่งไอดีโอมี Energy สูง เราอยาก empower เค้าในการอยู่อาศัย ให้ไม่ใช่แค่เป็นที่อยู่อาศัย ให้เป็น Tool ที่ดีในการใช้ชีวิต สุดท้ายเพื่อให้คุณไปใช้ชีวิตได้เต็มที่ ตาม Brand Idea คือ คิดเพื่อขยายมิติชีวิต ซึ่งนั่นคือ Brand Purpose หลักของเราเลย และมันเป็น DNA ของไอดีโอที่แตกต่างกับแบรนด์อื่น อย่างค่อนข้างชัดเจน

 

เมื่อช่วงต้นเรามีพูดถึงคำว่า Brand Evolving ไปแล้วบ้าง? ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นกับแบรนด์ไอดีโอในยุคต่างๆมากมาย เท่าที่จำได้ก็คือ ยุคแรกตอน Ideo LP17 ต่อเนื่อง Ideo Blucove Sathorn มาจนถึง Ideo Ratchada HK และ Ideo Sathorn Taksin เราเห็นจุดเด่นเรื่องของงานดีไซน์เลย์เอาท์ห้อง 1 นอน 35 ตรม.ที่นอกจากจะจัดว่าเล็กในตอนนั้นแล้วยังเป็น Double Skin Façade ที่มีระเบียงแบบเปิดปิดได้เป็นพื้นที่ Semi Outdoor เรามีโอกาสได้เห็นห้องเพดานสูงสไตล์ Loft เป็นแห่งแรกที่ Ideo Morph Sukhumvit 38 ถัดมาก็จะเป็นในยุคของ Ideo Mobi ห้องเล็กกว่าเดิมอีก 21 ตรม.แต่มี Flexible Furniture มาให้ แล้วก็มาเป็นยุคของห้องหน้ากว้างสุดๆอย่าง Ideo Mobi Asoke มาจนถึงยุคหลังๆที่เราได้เห็น Feature หลักเป็นห้องรูปแบบ Hybrid กันเกือบทุกที่เลย….แล้วสำหรับโครงการล่าสุดในปีนี้อย่าง Ideo พหลฯ สะพานควาย หรือแบรนด์ Ideo อื่นๆต่อจากนี้ไปนี้เราจะได้เห็นอะไรครับ นี่เราจะได้เห็นอะไรครับ

พี่กอล์ฟ: แอบถามโครงการใหม่ปะเนี่ยพี่เกริก ก็อย่างที่เรา Press Con ไปตอนต้นปีแหละ โครงการ 0 เมตร ติด BTS สะพานควายเป็นโครงการที่มีแผนว่าจะเปิดตัวปลายปีนี้ ทุกคนเฝ้ารอคอยโครงการนี้ ทุกคนอยากรู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ ทุกอยากรู้ว่าเป็นแบรนด์อะไร ทุกคนอยากรู้ว่าราคาจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ในช่วงพัฒนาในระยะสุดท้ายกันอยู่ครับ แต่ต้องบอกว่า น่าจะออกมาแซบแน่นอน (พูดแบบพี่เล็ก-ประเสริฐ CEO Property ของอนันดาฯ ที่กล่าวไว้ในงานแถลงข่าว) แต่ก็ต้องบอกก่อนว่าอันเดิมคือแบรนด์ ไอดีโอ คิว  ที่เราเคยเปิดตัวไปช่วงปี 2019 ตอนนั้นอนันดาเลือกเอาไอดีโอ คิว ลงไปในตลาด ซึ่งก็เป็นเซกเมนต์รุ่นน้องแอชตันเลยนะ ช่วงนั้น ไอดีโอ คิว ราชเทวี พีคมาก เราก็อยากมาทำต่อที่สะพานควาย ซึ่งเป็นแอเรียใกล้ๆ กัน พอเอาคิวลงมา คิวมาด้วยสเปคและดีไซน์ แบบเจมส์บอนด์เลย มีความเรียบ นิ่ง เท่ห์ ติดรถไฟฟ้า 0 ม. ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก ตอนนั้นเราทำ Sales Gallery เป็นเหมือน Gentlemen Club เลย ภายใต้ Quintessentially มั้ง ถ้าจำไม่ผิดนะ (James Bond) ลุคเลย เท่ห์มาก มีลูกค้า Walk in แทบจะตลอดเวลา แต่สุดท้ายเราเห็น data บางอย่างว่ามันไป
ไม่เร็วอย่างที่คิด คนเข้ามาเยอะจริง แต่ปิดการขายยาก ทุกคนที่เข้ามา Visit คือชอบหมด แต่เกือบทั้งหมดก็ติดในเรื่องของราคาเพียงอย่างเดียวเช่นกัน ทีมผู้บริหารเลยมาคุยกันว่าต้องตัดสินใจแล้วว่าไม่น่าจะเป็นโปรดักส์ที่ถูกต้องในตลาดนั้น เราก็เลือกที่จะถอยก่อนดีกว่า ขอถอยมาตั้งหลัก เรียกว่ามันก็เป็น learning ของความผิดพลาดทำให้เรียนรู้ แบบตรงไปตรงมา มาถึงตอนนี้มันจะเป็นสินค้าอะไร ตอบได้ว่า จะถูกพัฒนาให้ affordable แน่นอน คนเมือง คน Gen-C ต้องจับต้องได้ง่าย 0 ม. ดีอยู่แล้ว เราแทบไม่ต้องไปทำอะไรกับมันเลย เราแค่เอาโปรดักส์ที่ fit-in พร้อมกับคอนเซปต์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง ลงไปใน 0 ม. ให้ได้ ส่วนเรื่องแบรนด์ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นแบรนด์ไอดีโออยู่สูงมากนะ เพราะ DNA มันชัดมากๆ มันเรียกว่าต้อง IDEO เท่านั้นเลยก็ว่าได้

 

ปีนี้นับๆดูแล้วไอดีโอมีหลายโครงการที่กำลังโอนอยู่อย่าง Ideo Chula – Samyan, Ideo Rama 9 – Asoke รวมไปถึงอีกเล็กน้อยอย่าง Ideo Charan 70 – Riverview เมื่อรวมกับโครงการที่กำลังเปิดใหม่ในปีนี้ กับแบนด์อื่นๆแล้วจะมีจัดงาน Ananda Urban Pulse ที่พารากอนอีกไหมครับ

 

ไอดีโอ จุฬา – สามย่าน : คอนโดใหม่พร้อมอยู่ 400 ม.* จาก MRT สามย่าน
ลงทะเบียนรับข้อเสนอพิเศษ : https://anan.ly/3r2YzqB

ไอดีโอ พระราม 9 อโศก : คอนโดพร้อมอยู่ใจกลาง NEW CBD เพียง 400.* จาก MRT พระราม 9 ลงทะเบียนรับข้อเสนอพิเศษ : https://anan.ly/3XmtdHK

ไอดีโอ จรัญฯ 70 – ริเวอร์วิว : คอนโดใหม่พร้อมอยู่สุดแรร์กับวิวแม่น้ำทุกห้อง 295 ม.* จาก MRT บางพลัด
ลงทะเบียนรับข้อเสนอพิเศษ : https://anan.ly/42WoOwc

พี่กอล์ฟ: ในมุมมองของอนันดาคืออยากขาย อยากทำอีเว้นท์อยู่แล้ว แต่ประเด็นคือว่า เราไปเพื่อสะท้อนว่านี่คือคาแรคเตอร์แบบเรา นี่คือ DNA เรา นี่คืออนันดา นี่คือไอดีโอ ตรงนั้นคือจุดสำคัญนะ มันเหมือนวิธีคิดของอนันดา ของไอดีโอที่ได้บอกไปว่าเรา empower คน เราให้ inspire คน การจัดงานของเราก็เหมือนกัน นอกจากไปขายได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เราต้องการให้คนออกมาใช้ชีวิต อย่างน้อย moment ณ ตรงนั้นถ้าเรามา เพื่อนมา ก็มาพูดคุยกับน้องเซลล์ คุยกับผู้บริหารหรือกับใครก็ได้ที่อยู่ในนั้น และจะเห็นว่าเรามีอะไร offer บ้าง โดยสิ่งที่นำเสนอแต่ละครั้ง มันไม่ใช่การนำเสนอว่า คอนโดกี่ที่ x บาท มีอะไรบ้าง เราเสนอไลฟ์สไตล์ แนวคิด วิธีในการใช้ชีวิต เมื่ออยู่ในงานเค้าจะได้คาแรคเตอร์บางสิ่งบางอย่างและได้ Energy กลับไป ให้ความ Happy แบบคนเมืองกลับไปหนะ ซึ่งเพลงที่เราเปิด เรา Craft เพลงที่จะใช้เปิดในงานมากๆนะ คือต้องเป็นบีทแบบคนเมือง ต้องเป็นจังหวะที่ไปตรงกับจังหวะบีทของหัวใจหน่อยๆ เป็นจังหวะของ Urban Soul หนะ อะไรประมาณนั้น (ยิ้ม…)

 

เราเอาตัวตนของเรามาบอกกล่าวกับคนเมือง ว่าถ้าคุณเป็นคนมีวิธีคิดแบบนี้ ลักษณะรูปแบบนี้ ลองเข้ามาดูสิ เผื่อจะเจอบางสิ่งบางอย่าง เจอ Tool ในการใช้ชีวิต ที่คุณเองก็เฝ้าตามหา ที่คุณคิดว่ามันเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เราเลยอยากทำแบบนั้น นั่นเลยเป็นที่มาของอีเว้นท์แต่ละอันของอนันดาที่มันจะมีคาแรคเตอร์ที่ชัด

โดยที่พารากอน เรียกว่าเป็น Iconic Event แล้วกัน เพราะเวลาเราไปเราก็ไปด้วยสีสัน ไปด้วยพลัง ไปด้วยรอยยิ้ม ไปทำให้คนเมืองมีความสนุกสนานกัน ไปแต่ละทีก็เป็นประสบการณ์ในการไปเจอคนเมือง และคนเมืองก็ได้มาเจอกับสินค้าที่ตอบโจทย์ หลากหลายรูปแบบ หลากหลาย Segment ที่ตรงตามแต่ละ Persona ต่างๆกัน ก็เข้ามาดูก่อน จริงๆ อยากจัด แต่ขอดูเวลา ขอดูอะไรก่อน ซึ่ง Ananda Urban Pulse จัดหรือไม่จัด เดี๋ยวรู้กัน แต่อยากจัดนะ ส่วนตัวอยากจัดมากกก สนุกดี ชอบ ได้เจอคนเมือง ได้เจอลูกค้า ได้เจอเพื่อนๆเยอะแยะ (เผื่อทีมจะเข้ามาอ่าน 555) แต่สิ่งที่จัดแน่ๆ ที่เป็น Direction ของบริษัทฯ ปีนี้ คือ Ananda Urban Caravan 27-30 มิย.นี้ ที่ Terminal 21 Asoke อันนี้ก็ใช้แนวคิดของ Ananda Urban Pulse มาสู่สเกลที่ย่อมลงมาหน่อยบนคอนเซปท์ Urban Caravan มีสินค้าหลัก คือ ห้องสวย พร้อมอยู่เฟอร์ฯครบ คุณภาพจัดเต็ม ที่เราออกแบบ Collection ให้ใหม่หมด ตามแต่ character ของแต่ละ Brand ตามแต่ละ Persona ของลูกค้าที่แตกต่างกัน เรียกได้ว่าเป็น THE ALL NEW COLLECTION สามารถลากกระเป๋าเข้าอยู่ได้เลย ตอบโจทย์คนเมืองแน่นอน ในงาน Ananda Urban Caravan ก็จะมีกิจกรรมที่ดู Lively น่าเดิน อยากให้รู้สึกว่าได้มาคล้ายๆ งานวัดใน look อินเตอร์หน่อยๆ ซึ่ง Caravan คำนี้น่าจะดูเหมาะดี ช่วง Q1 เราไปมาแล้วที่งานมหกรรมบ้านและคอนโด บูธเราแตกต่างจากที่อื่น เน้นสีสัน เน้นคาแรคเตอร์ เน้นสินค้าพร้อมเข้าอยู่ มาเสริฟคนเมืองแบบถึงที่ ไปมาสะดวกสบาย สถานที่จัดงานมาง่าย รถไฟฟ้าถึงแบบเชื่อมต่อเลย

ANANDA URBAN CARAVAN ครั้งที่ 2 อีกหนึ่ง Event ใหญ่เพื่อคนเมือง

มาครั้งนี้ Q2 ที่ Terminal 21 Asoke และ Q3 – Q4 ก็ถูกวางไว้อีก ซึ่งแต่ละครั้งจะเป็น Event นอกสถานที่จะฟีลงานวัด ฟีลคาราวาน อยากให้คนมารู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ มีลูกเล่น ของเล่นต่างๆ นานา มีเกมส์ แต่ที่สำคัญคือเรามีโปรดักส์ที่เป็น all new collection ใหม่หมดเลย เป็นห้องที่แบบ Fully Furnished ที่ใส่ม่าน ฟูก ผ้าปู พยายามจะมีให้หมดอ่ะพูดตรงๆ พูดง่ายๆ คือลูกค้ามองเข้าไปเห็นอะไรก็ได้แบบนั้น เหตุผลเพราะว่าเราอยากสร้างความสะดวกสบายให้คนเมืองที่คุณโก้ให้ความสำคัญมากที่สุด ซึ่งชุดเฟอร์ฯก็เป็น all new collection ของเราเกือบทุกแบรนด์ มากกว่า 15 collections ทำใหม่หมด ทำจำนวนจำกัดด้วย สมมุติ collection นี้เป็น Concept แคมป์ปิ้ง ไม่ได้ทำแบบครบทั้งหมดนะ มีแค่ 10 – 15 ยูนิต จะสลับสับเปลี่ยนให้มันมี Evolvement เรื่อยๆ ซึ่งคนเมืองขี้เบื่อ เราก็ต้องนำเสนออะไรที่มันครีเอทีฟไปเรื่อยๆ กลุ่ม Luxury เราก็มีของที่สะท้อน Lifestyle สำหรับ Premium Segment แหละ จะเป็น Dior’s Style / Gucci Deco / Hermes เราก็มีให้พร้อมกับห้องนั้นไปเลยนะ ซึ่งจะไม่เน้นการขายแบบลดราคาเยอะๆ มีส่วนลดให้พอสมควร แต่เราต้องการนำเสนอด้วยการเพิ่ม Value Added แต่ key word ที่สำคัญกว่านั้นคือ เราต้องเข้าใจใน Customer Persona ในแต่ละทำเล ในแต่ละแบรนด์ โดย Persona ไอดีโอ แตกต่างจาก Persona แอชตันนะ ซึ่งให้ไอดีโอสะท้อนความเป็นคนเมือง สะท้อนแบรนด์ และ Luxury ก็จะเป็นอีกแบบนึง มันจะเป็น emotional มากกว่าจะถามถึงรายละเอียดต่างๆ คือต้องเดินเข้าไปแล้วบ่งบอกความเป็นตัวคุณได้เลย ทำแบบ 3-4 collections ต่อ 1 โครงการ ให้ลูกค้า ให้คนเมืองได้เลือกในแบบที่เป็นตัวตนของตัวเองที่สุดได้เลย

 

ปีนี้ธุรกิจอสังหาฯจัดว่าเป็นธุรกิจที่อยู่บนคลื่นของความเปลี่ยนแปลง บริษัทไหนที่ยังอยากอยู่ต่อคงไม่สามารถพัฒนาสินค้าในแบบ One Size Fit All หรือการเน้นไปที่สินค้าประเภทเดียวได้อีกแล้ว ซึ่งอันนี้ผมว่าทางคุณโก้ และพี่เล็กรู้ดี เพราะเมื่อต้นปีอนันดาก็เพิ่งจัดงานแถลงข่าวภายใต้ชื่อ Ride The Wave ที่มุ่งเร่งสปีดทำกำไรให้เร็วขึ้นจาก Profit Center ทั้ง 4 แหล่ง อันประกอบด้วย Core Business คือ Real Estate, The Works, The Agent/ Management Fee จาก JV และ APSMC/ Recurring Income จาก Serviced Apartments และ/ New Business จาก Education Technology โดย XLAB Digital…พี่ในฐานะที่ต้องดู Corporate Marketing โดยรวม มองความท้าทายในการทำงานอย่างไร และการทำงานร่วมกันกับคนที่คิดเร็ว ทำไว ถึง 2 คนในองค์กรอย่างคุณโก้ และพี่เล็ก มีความยากง่ายแค่ไหน ความซับซ้อนในการทำงานมีมากแค่ไหน หรือว่ามีมุมมองในการบริหารทีมอย่างไร เพื่อให้ทีมการตลาดของพี่ได้ Align ไปในทิศทางเดียวกันกับส่วนอื่นๆครับ

พี่กอล์ฟ: ตอบหลาย Business อาจจะไม่สนุก วันนี้เรามาคุยกันแบบ Chill Chill งั้นพี่ตอบในมุมของพี่กอล์ฟที่ทำงานกับคุณโก้และพี่เล็ก ในแบบที่ไม่เคยแชร์ที่ไหนมาก่อน  พี่อยู่กับคุณโก้มานานตั้งแต่วันแรกที่เริ่มสร้างไอดีโอ เราอยู่มา 16 – 17 ปี ตลอดเวลาที่ผ่านมาคุณโก้คือคนที่ Inspire ในเรื่องของวิธีคิดและการทำงาน ให้เราและทีม Challenge ตัวเองอยู่เสมอ ที่สำคัญ เคมีตรงกัน รู้สไตล์การทำงานระหว่างกันอยู่แล้ว บอกเลยว่าคุณโก้เป็น BIG BOSS ที่เราชื่นชมและเป็น Idol ทั้งการทำงานและการใช้ชีวิต พอมีพี่เล็ก-ประเสริฐ เข้ามา พูดตรงๆ นะ ถ้าจำไม่ผิด 2 ปีครึ่งหรือ 3 ปีไม่ชัวร์ ตอนช่วงโควิดแหละ ก่อนที่พี่เล็กเข้ามาตั้งแต่วันที่รู้ข่าว กังวลนะ เพราะนั่นก็เบอร์ต้นๆ ของอุตสาหกรรมนะ แต่พอมาได้ร่วมงานจริงๆ มันเหมือนเอา key strengths ของแต่ละคนมาให้เราเรียนรู้ได้ทุกวัน มันเป็นการส่งเสริมไปมาระหว่างกันแบบลงตัวมากๆเลย สำหรับพี่นะ คุณโก้มุมมองนึงคือ owner โดย key strengths ที่คุณโก้มีคือ visionary เค้ามองไปข้างหน้าก่อนคนอื่น แล้วเค้าถอยกลับมาว่าเราจะเดิน 1,2,3 ยังไง ซึ่งมุมมองพี่เล็กวันแรกเรายังไม่รู้ แต่พอทำงานไปด้วยกัน พี่ว่าพี่อยากแชร์ 2 – 3 เรื่องเกี่ยวกับพี่เล็ก เรื่องแรกคือประสบการณ์ (Experience) เค้ารุ่นเก๋าแล้วอ่ะ ประสบการณ์ผ่านมาทุกรูปแบบของปัญหา การบริหาร และแนวทางการแก้ไข อันนี้ดี เราเรียนลัดเลย นั่นคือสิ่งที่พี่เล็กเอามาให้เราในอนันดาทั้งหมดคือประสบการณ์ความเก๋า สองคือ ระบบ (Systematic) วางโครงสร้างระบบ วางจุดที่มันสำคัญ วาง operation ที่มันแน่น จะเห็นว่า Ananda Sure ที่เราสื่อสารออกไปข้างนอก เรากล้าบอกว่าเรามีอนันดาชัวร์ เรามี operation system ในการดูตลอด แล้วพี่เล็กดูเองทุกอันเหมือนกัน แต่มันถูกเอาเข้าที่เข้าทางมากขึ้น เรื่องที่สามเรื่องคน (People) เค้าสามารถอยู่กับคนที่หลากหลาย เค้ารู้วิธีการบริหารเค้าต้องทำยังไง เรามีหน้าที่ผสมผสานทั้ง visionary ทั้ง System ทั้ง marketing และอีกหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน แล้วนำไปบริหารทีมงาน ไปกำหนด direction กำหนด objective ในแต่ละเรื่อง ในแต่ละช่วงเวลาให้ชัด แล้วก็ support team / empower team ให้ deliver ให้ดีที่สุด ให้ได้ตาม commitment และที่สำคัญ ให้สามารถเข้าถึงหัวจิตหัวใจของคนเมือง ของ Gen-C ให้ได้มากที่สุด ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ดีที่สุด ซึ่งสิ่งที่มันได้มากกว่านั้นคือ มันได้ความสมดุลในการต้องตัดสินใจ การ manage ในแต่ละเรื่อง เพราะฉะนั้นการทำงานกับทั้งพี่โก้ และพี่เล็ก เรียกได้ว่าได้เรียนฟรี เรียนลัด ให้เราได้เรียนรู้ตลอดเวลาเลย ซึ่งแน่นอนมันก็ทำให้เราโตขึ้น เข้าใจในภาพกว้าง และภาพลึกมากขึ้น in the same time ทำให้เรามีประสบการณ์และมีความเก๋ามากขึ้นนั่นแหละ ได้ทั้งหยิน ทั้งหยาง แบบนี้ ไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหนละนะ (ยิ้ม….)

อีกเรื่องที่เป็นประเด็นพูดถึงกันมากสำหรับแบรนด์ไอดีโอ ก็คือเรื่องของบริการหลังการขาย เข้าใจว่าตอนนี้อนันดาฯมีเทคโนโลยีมาปรับใช้มากขึ้นทั้ง Ananda Sure ที่เน้นบริหารงานคุณภาพการก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น และทำให้ลูกบ้านที่มีปัญหาสามารถเข้าถึงการบริการแจ้งซ่อม ร้องเรียนต่างๆนานได้ง่ายขึ้น อยากให้ลองอธิบาย Ananda Sure ในแบบเข้าใจง่ายๆหน่อย ว่ามันสำคัญอย่างไร

พี่เล็กประเสริฐ (CEO Property) ผู้อยู่เบื้องหลังมาตรฐาน ANANDA SURE

พี่กอล์ฟ: เรื่องของการดูแลหลังการขาย สำหรับอสังหาฯหรือที่อยู่อาศัยมันคือสิ่งสำคัญมากๆอยู่แล้ว หลายๆอย่างมันคือส่วนรับผิดชอบอยู่ใน Area ของ Property management ของแต่ละโครงการ ทีนี้เวลาแตะ Property management ก็อาจจะยากนิดนึง มีหลายหน่วยงาน มีหลายบริษัทที่เข้ามาดูแล แตกต่างกันไปตามแต่ละโครงการ ซึ่งอำนาจหน้าที่หลายๆอย่างมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับอนันดา มันขึ้นอยู่กับกรรมการ และผู้จัดการนิติของแต่ละโครงการ พี่เชื่อว่าอันนี้ทุกคนทราบดี แต่ด้วยความที่เราเป็น Developer เจ้าของ Brand ที่ลูกค้ามีความไว้ใจ ในการเลือกซื้อ เลือกเข้ามาใช้ชีวิตที่นี่ เราปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้หรอก เราก็ต้องดูแลลูกบ้าน ผู้อยู่อาศัยให้ดีที่สุดในขอบข่ายที่เราจะสามารถทำได้ ในแต่ละเคสๆไป โดย Platform ของ Ananda Sure จะเป็น Platform ที่เรานำมาดูแลลูกค้า นำมาบริหารทีมงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ให้เราสามารถควบคุมได้ บริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเราเอามาจับเรื่องที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการบริหารงานหลังการขายตั้งแต่ก่อสร้าง เกิดเรื่องร้องเรียน ดูแลในแบบ Preventive ไปจนถึงการแจ้งซ่อม ภายใต้ Module หลักคือ Response – Service – Solution -Commitment ที่ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนสามารถติดตามผลไปได้พร้อมกัน พูดง่ายๆก็คือ ถ้าลูกบ้านรายไหนต้องการเซอร์วิส ไม่ว่าจะแจ้งซ่อม หรือร้องเรียน ฯลฯ หากโทรมาแล้วต้องมีคนมารับเรื่องนะ และสามารถบอกกับลูกค้าได้ว่าจะเข้ามาให้บริการวันไหน เวลาไหน แล้วพอเข้ามาถึงแล้วจะเสร็จภายในกี่วัน คุณแค่ทำให้ได้ตาม commitment ลูกบ้านก็จะพอใจแล้ว

 

ส่วนในพาร์ทข้างในเรากันเองคือมี Operational excellence เพียบเลย เรื่องพวกนี้มันมี dashboard ดูสถานะของปัญหาหมดเลย แล้วเรามีการบริหารสถานะตลอด เขียว เหลือง แดง เขียวผ่านง่ายเพราะไม่มีอะไร แล้วเหลืองแดงเกิดไรขึ้น เอาให้แดงน้อยสุด และถ้าแดงอย่าไปแดงเรื่องเดิม มันควรจะเป็นแดงเรื่องใหม่บ้าง แสดงว่าคุณไม่ได้เอาตรงนี้ไปเรียนรู้และแก้ไขเลย แต่สุดท้ายนะลูกค้าไม่จำเป็นต้องสนใจข้างในที่เรามี คุณสนใจแค่ว่าผลลัพธ์เป็นยังไง ถูกใจหรือเปล่า มี Hard Side กับ Soft Side Hard Side คือการแก้ไข การสื่อสาร การให้คำมั่นสัญญาต่างๆ  Soft Side คือการพูดคุย คนพูดดีมีเสน่ห์ มีศิลปะในการพูด จากที่ Complain หนักๆ ก็เบาลง ก็สบายใจมากขึ้น และที่เหลือก็ทำตาม Commitment บอกอะไรไปทำให้ได้ตามนั้น ลูกค้าผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการต่างๆของอนันดาฯ ก็จะเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ประทับใจ สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายใจมากที่สุด ก็คงเหมือนกับ Slogan ของ ANANDA SURE ที่บอกว่า “เราใส่ใจ คุณภาพชีวิต” นั่นแหละ เราอยากให้ลูกบ้าน SURE ได้เลยเวลาตัดสินใจเลือกโครงการต่างๆของเรา เพราะเราจะดูแลให้เต็มที่แบบสุดๆแน่นอน (พี่เล็ก confirm!!!)

ประเด็นในเรื่องของความยั่งยืน ที่ครอบคลุมในมิติของสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมภิบาล รวมไปถึงเทรนด์ Net Zero ใช้พลังงานสะอาดทดแทนอย่างยิ่งยืน กลายเป็นประเด็นหลักที่ธุรกิจอสังหาฯรายใหญ่ๆหันมาใส่ใจอย่างจริงจัง บางรายถึงกับใช้เป็นจุดขายหลักเลย ไม่แน่ใจว่าทางแบรนด์ไอดีโอ หรือแบรนด์แม่อย่างอนันดา มีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง นอกจากการพัฒนาแบรนด์ใหม่อย่าง CULTURE ขึ้นมาเพื่อขานรับเทรนด์ดังกล่าว

 

พี่กอล์ฟ: จริงๆแล้วแบรนด์ CULTURE คือตอบโจทย์ชัดเจนมากที่สุด มันพิสูจน์ได้ว่าเราเริ่มลงมือทำ เดินก้าวแรกไปแล้ว ซึ่งนอกจากแบรนด์ CULTURE แล้ว ก็มี Urban Living Solutions อื่นๆที่กำลังจะถูกนำมาใช้กับโครงการใหม่ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำวัสดุ Recycle มาใช้ สำหรับ Direction ของตัวคุณโก้เอง เค้าไม่อยากให้วัสดุทุกอย่างใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งหมด เราควรเป็นผู้พัฒนาที่ดีด้วยการสร้างโลกและสังคมให้คงอยู่สวยงามกับเรา ไม่ใช่ยิ่งสร้างยิ่งทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าส่วนไหนในโครงการที่สามารถใช้ recycle materials ได้ ก็อยากให้เกิดการพัฒนาต่อยอดขึ้น PD คนที่พัฒนาโปรดักส์ หรือ MD ที่รับผิดชอบเรื่องนั้น ควรจะต้องนำเสนอเรื่อง และระดมสมองให้เกิดขึ้นจริงในโครงการต่างๆ Sustainable ต้องทำแน่ๆ แต่ก็ต้องบาลานซ์ด้วยนะ ไม่ใช่ว่าคุณเอาความ Sustainability มาลงแต่บวกราคเพิ่ม 50% ก็ไม่ไหว มันก็ต้องบาลานซ์กัน

เรื่องที่สอง เราก็ต้องดูไลฟ์สไตล์คนเมืองที่เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น การใช้รถ EV ก็ต้องดูว่ารถ EV มีล็อตเสียบที่ชาร์จพอหรือเปล่า อันนี้ไม่ใช่เฉพาะคอนโดหรือบ้านนะ อันนี้โครงสร้างของเมืองเรา จริงๆ มันยังไม่พอ ปั๊มน้ำมันมี 1 ห้างฯ เยอะหน่อย เพราะมีสปอนเซอร์ คุณไม่มีช่องฟรีให้ใส่เข้าไปหรอก เพราะการเติบโตของตลาดรถ EV มันนำไปก่อนการปรับสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อให้รองรับจุดชาร์จสาธารณะ หน้าที่เราก็ต้องไปดูถึงความเหมาะสมของ แต่ละเซกเมนต์ แต่ละแบรนด์ แต่ละโลเคชั่นว่าช่องชาร์จ 2 ช่องไม่น่าพอหรือเปล่า มันต้อง 4 หรือมันต้อง 6 ถ้าคุณอยากได้เยอะสุดสามารถทำได้แต่ก็ต้องมาพร้อมกับรายจ่ายเพิ่มขึ้น มันก็ต้องดูการดีเวลลอปว่าเป็นยังไง แบบไหน ซึ่งโครงการในระดับ 0 ม.หรือโครงการที่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้ามันก็ช่วยในระดับนึงแล้วนะ สรุปทุกอย่าง เวลาโปรดักส์ดีเวลลอปทุกอย่างคือการบาลานซ์ บาลานซ์วัสดุที่เหมาะสม บาลานซ์ความเป็น Eco & Sustainability บาลานซ์อินโนเวชั่นสมัยใหม่ๆ ไปตามจังหวะของคนและเมืองที่มันเปลี่ยนไป เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน Brand Agenda ของอนันดา

เมื่อช่วงต้นเดือนมิย.ที่ผ่านมาทาง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินตลาดอาคารชุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 66 หดตัว 8.4-12.5% จากกำลังซื้อหลักเข้าสู่ยุค “ZxRent Generation” ที่รับแรงกดดันจากกลุ่มผู้ซื้อ Gen Z ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งในประเด็นพฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่ไม่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ และมีข้อจำกัดทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ปรับเพิ่มตามต้นทุนอย่างต่อเนื่องทำให้เข้าสู่ยุค Generation Rent ที่เน้นการเช่ามากกว่าซื้อ แม้ว่ากลุ่มคน Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 14-28 ปี ในตอนนี้จะยังไม่ใช่กลุ่มผู้บริโภคหลักของตลาดคอนโด แต่ในนิยาม Gen C ของอนันดา ก็จัดกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ใน Baby Gen C ด้วยพี่กอล์ฟมองว่าตอนนี้ควรต้องเริ่มพัฒนาอะไรเพิ่มมากขึ้นให้ตอบโจทย์กำลังซื้อของคนกลุ่มนี้แล้วหรือยัง หรือควรรอไปก่อน เพราะตอนนี้ก็เห็นมีหลายเจ้าแล้วนะที่เริ่มทำคอนโดเพื่อปล่อยเช่าออกมา ทดแทนการขาย

พี่กอล์ฟ: ขอตอบแบบรวมๆเพื่อให้คิดต่อสัก 2-3 อย่างแล้วกัน ข้อ 1 ถ้ามีคน Gen Z มาเช่ามากขึ้นก็ต้องมีคนปล่อยเช่ามากขึ้นตามด้วย เรื่องของการปล่อยเช่า ถ้าคุณเป็น investor ระยะยาว แล้วคุณมองสินค้าเราว่าเหมาะกับการปล่อยเช่า ตอบเทรนด์ แล้วคุณมีกำลังทรัพย์เพียงพอแปลว่าคุณเป็นฝั่งของซัพพลาย ก็ซื้อเพื่อปล่อยเช่าแทน สิ่งนี้เป็น Opportunity ที่ใหญ่มาก สำหรับคน Cash Smart อยากจะลงทุนในแบบ long-term แต่ถ้ามีแต่คนอยากเช่าแต่ไม่มีคนปล่อยเช่าเลย หรือไม่มีคนมาซื้อเลย อันนี้คือปัญหาแน่นอน

 

ส่วนข้อ 2 อนันดาก็สามารถจะคิดสินค้าหรือ Solution ที่สอดรับกับตลาดเองได้ ที่ผ่านมาเราก็ทำร่วมกับ The Agent ในการให้ห้องพร้อมขายมือหนึ่งมาเป็นห้องที่มีคนรอเช่าพร้อมแล้ว หากคุณเป็น Long term investor ก็ซื้อเพราะต้องการหาผู้เช่าอยู่แล้ว ซื้อปั๊บได้เงินเลยเดือนแรก ยังไม่ได้เริ่มผ่อนเลยก็ได้ผลตอบแทนแล้ว อนันดาก็อาจจะมี Solution ประมาณนี้ออกมาสู่ตลาดเรื่อยๆ เยอะน้อยไม่รู้ขึ้นอยู่กับโลเคชั่น เพราะต้องหาผู้เช่าก่อน อนันดาในฐานะดีเวลลอปเปอร์ก็ต้องทรานสฟอร์มตัวเอง เราต้องคอยดูจังหวะและทิศทางให้ดีว่าควรจะต้องหา Solution ไหนมาพัฒนาโครงการเพื่อให้โดนใจทั้ง Customer และ End User ในแบบองค์รวมมากที่สุด

 

พี่กอล์ฟมองภาพ Brand Journey ของไอดีโอว่าจะต้องเดินไปในทิศทางไหนต่อไปครับ แม้ที่ผ่านมาค่อนข้างจะเดินมาได้ตรงความต้องการของกลุ่ม Investor แล้ว แต่จากความไม่แน่นอนของสภาพเศรษฐกิจ ทำให้กลุ่ม Investor ที่เป็นฐานสำคัญในการสร้างกระแสให้กับโครงการเริ่มเลือนหายลงไป กลายเป็น Real Demand ที่รอตึกเสร็จค่อยอยู่เอง เป็นกลุ่มผู้ซื้อหลัก อนาคตอาจจะต้องขยายมิติของ Gen C ให้ลงลึกถึง Real Demand กลุ่มใหม่ๆมากกว่าเดิมหรือเปล่า

 

Collection จากโครงการ ยูนิโอ เอช ติวานนท์             

Collection จากโครงการ แอชตัน อโศกพระราม 9

Collection จากโครงการ ไอดีโอ คิว สุขุมวิท 36             

Collection จากโครงการ ไอดีโอ จุฬา – สามย่าน

พี่กอล์ฟ: อย่างแรกก่อน สินค้าพร้อมอยู่ตอนนี้ที่เราบอกว่ามี THE ALL NEW COLLECTION คือคอนโดพร้อมอยู่ที่มีห้องตกแต่งใหม่หมด ใหม่เอี่ยม ลูกค้าได้อย่างที่เห็นทุกอย่างเลยภายในห้อง คือเหมือนห้องตัวอย่าง สามารถใช้ชีวิตได้เลย  มีไอดีโอพร้อมอยู่ 3 โครงการ อันนั้นอ่ะสำหรับคนพร้อมอยู่เลย เน้นไปที่คนอยู่จริงเป็น Real Demand แต่จริงๆแล้วมันก็ตอบโจทย์ได้หลายอย่างนะ ถ้าคุณเป็นคนอยากอยู่เลย คุณซื้อปั๊บคุณได้อยู่เลย แต่ในขณะเดียวกันถ้าคุณเป็น Investor ระยะยาว เพราะสินค้ามันเสร็จแล้ว คุณซื้อปั๊บคุณปล่อยเช่าได้เลย คือเรารองรับในความสะดวกของทุกคนต่างกัน และที่สำคัญกว่านั้นคือ เราพยายามทำให้แต่ละโครงการตอบโจทย์แต่ละ persona ที่มีแนวคิดการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป

ในฐานะนักการตลาด เราผลิตคาแรคเตอร์ของ Gen C มาได้เพียบเลย โดยนำ Gen C ไปบวกกับอื่นๆ ก็จะได้คาแรคเตอร์ที่ไม่เหมือนกัน นักการตลาดก็จะใช้คำหมุนไปหมุนมาเพื่อความสละสลวย ความสดใหม่ในการสื่อสาร ในขณะเดียวกันในฐานะของนักสร้างแบรนด์ก็ต้องอย่าลืมว่าบทบทของแบรนด์ไอดีโอนั้น มาจากส่วนผสมของ Archetype ที่เป็น Sage และ Change Master มารวมกัน ซึ่งข้อดีก็คือเราสามารถขยายมิติของแบรนด์ออกไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าวันหนึ่ง Gen C เกิดเปลี่ยน Mindset เหล่านั้นแล้ว เราก็ต้องมาคิดแล้วว่ามันจะมี Mindset ใหม่อะไรเพิ่มเติม มี Mindset อะไรที่ Gen C มาเกี่ยวพันด้วย อย่าลืมนะว่าหาก Gen C อายุมากขึ้น เค้าก็ยังเป็น Gen C อยู่นะ เพราะ Lifestyle และการใช้ชีวิตของ Gen C มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ ตามที่เราคุยกันไปในตอนต้น เราเป็นนักพัฒนา (Developer) ก็ต้องคอยดู คอยคิด พัฒนา สินค้า บริการ ที่อยู่อาศัย ที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาให้ได้แหละ พยายามให้ดีที่สุดที่ทำให้ Brand IDEO เป็น Solutions ที่แท้จริงของคนเมือง และถ้าวันนึงนิยามเมืองเปลี่ยนไปไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง พี่ก็เชื่อว่าวันนั้น IDEO ก็จะอยู่ตรงนั้น ข้างๆกับนิยามใหม่ๆของเมือง หรือของคนเมืองไปตลอดด้วยเหมือนกันนะ มันเป็น Commitment ของ Brand หละเกริก เป็นหน้าที่ของอนันดาในฐานะ Developer ในฐานะที่เราเป็น Brand ของคนเมือง

 

สุดท้ายแล้วพี่กอล์ฟมีอะไรอยากจะแชร์เพิ่มเติมมั้ย ว่าตลอดช่วงเวลาตั้งแต่เป็น Marketing Manager จนมาถึง CMO ในตอนนี้ มีช่วงเวลาไหนที่ชอบ หรือช่วงเวลาไหนที่ผิดหวังมากที่สุด และมองภาพตัวเองในอนาคตว่าจะไปถึงจุดไหน

 

พี่กอล์ฟ: พูดตรงๆ ช่วงไม่อยากมาทำงานไม่มีเลย น้อยมาก โอเคมีวันที่ตื่นแล้วเหนื่อยแน่นอน แต่ช่วงไม่อยากมาทำงานไม่มี แต่ช่วงที่เจออะไรที่มันแบบเป็น crisis ใหญ่ๆ ก็แอบซึมไปบ้างเหมือนกันเป็นเรื่องปกติ อย่างตอนที่เราตัดสินใจ Launch “Ananda Online Booking” ในครั้งแรก ซึ่งน่าจะเป็นเจ้าแรกๆสำหรับตลาดอสังหาฯเลยมั้ง ที่มีระบบให้ลูกค้า Booking โครงการใหม่ผ่านทางออนไลน์ได้ บอกตรงๆเลยว่าตอนนั้นพี่กับทีมก็ใหม่ในเรื่องนี้ และอย่างที่เกริกรู้การเปิด Platform ครั้งแรกของเราก็ “ล่ม” เลย ตอนนั้นคุณโก้ต้องออกมา LIVE บน Facebook เพื่อ Say Sorry กับลูกค้าด้วยซ้ำ นั่นแหละก็ถือเป็นช่วงเวลาที่พี่ก็ Fail ไปเหมือนกัน แต่ปีถัดมาเราก็สามารถกลับมา Launch Platform นี้ได้ และก็ได้ Develop จนกลายมาเป็น “Ananda iStore” Platform Online Booking ที่สร้างความสะดวกสบายให้กับ GEN C ในการเลือกซื้อคอนโดและบ้านพร้อมอยู่ทุกโครงการจากอนันดา

 

แต่ว่าต้องบอกแบบนี้ มีสองอย่างที่คนพูดกันว่า การเป็นมาร์เก็ตติ้งอสังหาฯ หรือการเป็นมาร์เก็ตติ้งรีเทล ถ้าเราเป็นมาร์เก็ตติ้ง 2 อันพวกนี้แล้ว มันก็จะอยู่ในแต่วงการนี้แหละ เพราะว่ามันมีเสน่ห์ของมัน เสน่ห์ของอสังหาฯ คือ คุณเจอโปรดักส์ใหม่ตลอดเวลา โปรดักส์ใหม่ไม่สำคัญเท่ากับแต่ละโลเคชั่นที่เข้าไปพัฒนา คุณเจอของกินใหม่ในละแวกนั้น คุณเจอ environment ใหม่ๆ คุณเจอ culture ใหม่ๆ บริบทใหม่ๆ ย่านแต่ละย่านมันต่างกันนะ แบบนั้นมันทำให้คุณเหมือนไปเที่ยวต่างประเทศอ่ะ ไปญี่ปุ่น ไปสิงคโปร์ ไปอเมริกา มันคาแรคเตอร์ต่างกันนะ เพราะฉะนั้นคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกันมันฮีลจิตใจ มันเป็นเสน่ห์ในการทำให้การตลาดอสังหาฯ ของคุณมันไม่น่าเบื่อ มันไปได้ทุกวัน เมื่อก่อนเราอาจเน้นดูป้าย OHM Media เป็นหลัก แต่พอมันเป็น Digital Age ปั๊บ มันยิ่งทำให้เราต้องดู ต้อง Explore มากกว่าเดิม เพราะป้ายมันคือ Localized Media ที่สำคัญมากๆ มันเป็นที่มาของปัจจุบันเมื่อเราขับรถไปไหนก็ยังดูป้ายเลย การดูป้ายเราทำให้เปิดกว้าง มันทำให้เราเห็นวิถีของคน วิถีของเมืองที่สามารถมาคุยกับทีมได้ เช่นเดียวกับสื่อ Digital พี่เองก็ไม่เคยใช้พรีเมียม เพื่อให้ไม่มีโฆษณา โอเคกับการมี pop up โฆษณา หลายโฆษณาเรากดข้ามเพราะมันอาจไม่ตรงกับความสนใจ แต่หลายโฆษณาคือปล่อยไหลเลย แล้วกดแชร์ให้ทีมต่อเลย มันก็ทำให้เราเห็นอีกโลกนึง เหล่านี้เทิร์นกลับมามันก็เป็นเสน่ห์ของอสังหาฯ

 

อีกสิ่งนึงคือพี่อยากจะ Explore สิ่งใหม่ๆร่วมกับทีมให้มากที่สุด เพราะต้องยอมรับว่าน้องๆใน ทีมเด็กรุ่นใหม่เค้ามีมุมมองหรือไอเดียที่รอวันตกผลึกอยู่เยอะมาก พี่อยากให้การทำงานระหว่างพี่กับทีมมัน Creative และสนุกให้มากที่สุด อย่างช่วงนี้น้องๆก็ให้พี่มาลองทำ TIKTOK ก็สนุกดี ได้สื่อสารกับคนเมืองในช่องทางใหม่ๆ เอ๊ะ..หรือว่าพี่จะลองผันตัวเองไปเป็น Blogger อสังหาฯดี พี่เกริกว่าไง …

 

@ananda_development #ชาวจุฬา ห้ามพลาด✋???? กับคอนโดใหม่ ใกล้จุฬาฯ เดินทางสะดวก ที่โครงการ “ไอดีโอ จุฬาฯ – สามย่าน” ครบจบที่เดียว Co-living ให้ทำงานอ่านหนังสือได้ตลอด 24 ชม. และยังมีห้องแต่งให้ครบได้ตามที่เห็น เริ่ม 4.99 ล.* #ideo #ideochula #ideosamyan #anandadevelopment ♬ original sound – ANANDA Development

@ananda_development แต่งครบ จบทุกชิ้น ได้ตามที่เห็น!! #ชาวจุฬา ห้ามพลาด คอนโดใหม่ ใกล้จุฬาฯ เดินทางสะดวก ที่โครงการ “ไอดีโอ จุฬาฯ – สามย่าน” ทำเลดี แถมยังแต่งให้ครบ แบบ All YOU CAN GET เริ่ม 4.99 ล.* ##ideo##ideochula##ideosamyan#AnandaDevelopment #tiktokแต่งห้อง ♬ original sound – ANANDA Development

แม้ว่าเราอาจจะยังไม่ได้เห็นข้อมูลเบื้องลึกเกี่ยวกับโครงการคอนโดเปิดใหม่ของแบรนด์ไอดีโอมากนักในบทสนทนาแบบไม่เป็นทางการในวันนี้ แต่เชื่อแน่ว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่เราได้เรียนรู้ก็คือเรื่องราวของแบรนด์ไอดีโอตั้งแต่จุดเริ่มต้น วิธีคิดในแบบคนเมือง เพื่อคนเมืองอย่างแท้จริง จากปากของบุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ปลุกปั้นแบรนด์ไอดีโอมากับมือร่วมกับคุณโก้ ชานนท์ มาอย่างยาวนานกว่า 17 ปี ซึ่งก็ค่อนข้างจะเป็นสัญญาณที่ชัดเจนเลยครับว่า แบรนด์ไอดีโอ Active ตลอดเวลา มีโครงการที่ตอบโจทย์ Gen C ในทุกยุคทุกสมัย และกำลังจะ Transform ตัวเองไปสู่อีกระดับหนึ่ง ในการเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอเรื่องราวสิ่งใหม่ๆให้กับคนเมืองในฐานะเจ้าพ่อคอนโดติดรถไฟฟ้าอย่างแน่นอนครับ

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง