Retail Store Disruption จะรุนแรงแค่ไหนหลังจบโควิด-19

Pawida W. 03 August, 2020 at 14.32 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


เดินทางมาเกินครึ่งปีแล้ว สำหรับปี 2020 เป็นปีที่ Retail Store ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 กันถ้วนหน้า ถึงเวลาแล้วที่จะอัพเดตสถานการณ์ Retail Store ให้หอมปากหอมคอกันหน่อย เพราะการตีตลาดด้วย E-commerce ดูจะกลายเป็นอีกทางเลือกที่ละสายตาไปไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วง Work From Home ที่ทำให้หลายคนต้องพึ่งการซื้อของออนไลน์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า E-commerce จะมาแย่งส่วนแบ่งตลาดได้ 100% เพราะหลังจากการปลดล็อก Retail Store อย่างเต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคมนี้ทำให้หลายคนคิดถึงการ Shopping ข้างนอก ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าที่ลดกระหน่ำไม่เว้นแต่ละวัน เพื่อต้อนรับลูกค้ากลับมาสู่ออ้อมอกอีกครั้ง รวมไปถึง Siam Premium Outlet และ Luxury Retail Store อื่นๆทั้งหลายที่เปิดตัวได้อย่างสวยงามพร้อมลูกค้าที่ตั้งใจต่อคิวยาวจนล้นหน้าร้าน แต่ Retail Store จะปรับตัวและไปต่อได้สวยงามขนาดไหนนั้นก็คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยเราจะโฟกัสที่ธุรกิจเสื้อผ้า Luxury Brands และ Fast Fashion  ZARA retail store ภาพจาก Harper Bazaar.co.th

 

เมื่อ Retail Store หลายๆแห่งได้รับผลกระทบจากการ Work From Home เป็นเหตุให้ต้องหันมาเพิ่ง E-commerce อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนคิดว่า Digital Platform จะต้องครองตลาดแทนการเปิดขายหน้าร้านแน่ๆล่ะ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้และเป็นไปแล้วอย่างเห็นได้ชัดด้วยการแข่งขันที่สูงมากในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ที่เป็นผู้ครองตลาด E-commerce ในภูมิภาคเอเชียมาก่อนจะมีการระบาดของโควิด 19 เสียอีก ซึ่งถ้าเทียบกับ E-commerce ในประเทศไทยแล้ว เรายังคงตามหลังเขาอยู่ แถมยังมีโครงการ Shopping Mall ใหม่ๆที่กำลังจะเปิดตัวในอนาคตอีก  เราก็คงต้องปรับแผนการบริหาร Retail Store ใหม่นี้อย่างจริงจังตามสถานการณ์ที่แปรผันไป เพราะหากมองข้ามคลื่นลูกใหม่อย่าง E-commerce ไปก็อาจจะเสียชั้นเชิงในการทำธุรกิจ Retail Store ได้ แฟลกชิปสโตร์ Victoria’s Secret ที่นิวยอร์ก ภาพจาก HARPER BAZAAR  

 

Event เล็กใหญ่ทั้งหมดที่ถูกเลื่อนออกไปอย่างไร้กำหนด จึงส่งผลให้เกิด New Normal ต่างๆนานา และพบว่า Retail Store บางแห่งได้จะหายไปอย่างถาวร ไม่เว้นแม้กระทั่ง Luxury Retail Store และ High Street Brand ต่างๆ ซึ่งการปิดหน้าร้านครั้งนี้ก็เพื่อลดต้นทุนลงในช่วงที่ยอดขายตกและพยุงธุรกิจให้คงอยู่ต่อไป ต้นทุนที่ว่านี้ก็ได้แก่ ค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงานขาย และค่าใช้จ่ายในการการบริการลูกค้าที่กลายเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็นลงไปในช่วงที่ทำยอดขายได้ไม่ค่อยดีในรอบนี้ โดยผลการทบครั้งนี้จะทำให้ยอดคนตกงานโดยเฉพาะใน USA ทะยานพุ่งสูงขึ้น ซึ่งสวนกับนโยบายที่ President Trump พยายามลดยอดผู้ว่างงานให้ต่ำลงมาตลอด ทั้งนี้ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นจะเป็น USA เพราะ Retail Store ส่วนใหญ่ที่ปิดตัวลงคือ สาขาที่สหรัฐทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ZARA, Victoria Secret และ H&M ที่ประกาศปิดหน้าร้านเหมือนตัดเยื่อใยอย่างสิ้นเชิงและปิดชั่วคราวไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในขณะที่ Luxury Brand ทั้งหลายก็ชวด Fashion Week 2020 เพราะ Event นี้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่ต่อให้ไม่ยกเลิก Fashion Week ก็ไม่ได้ช่วยให้การผลิตสินค้า Season ใหม่กระเตื้องขึ้นได้ และยังรวมไปถึงการส่งออกสินค้าที่ล่าช้ากว่าปกติ พูดง่ายๆว่าเลื่อนแล้วเลื่อนอีก จนขาช้อปปิ้งต้องผิดหวังไปตามๆกันไปทั่วโลก

ปรับแผนการตลาดครั้งใหม่ เปิดกว้างให้โลกออนไลน์มากขึ้น E-commerce กลายเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และสำคัญมากในช่วงการ Lock Down ครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม Siam Premium Outlet และคู่แข่งอย่าง Central Village Luxury Outlet ก็ยังคงขับเคี้ยวกันสุดชีวิตด้วยโปรโมชั่นต่างๆนานาตั้งแต่วันที่รัฐบาลอนุมัติให้กลับมาเปิดห้างได้อีกครั้ง ซึ่งก็รวมไปถึงห้างเล็กห้างใหญ่อื่นๆทั่วประเทศอีกด้วย จึงทำให้การ Shopping ได้คึกคักไปด้วยลูกค้าอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ทำให้ทุกฝ่ายประสบความสำเร็จ จึงได้รับผลตอบรับที่น่าพอใจจากลูกค้าที่เฝ้ารอวันเปิดห้างมาเป็นเวลา 2 เดือนเต็ม ซึ่งนั่นก็เป็นสัญญาณที่ดีมากสำหรับ Retail Store เพราะยิ่งมีลูกค้ามาอุดหนุนที่หน้าร้านมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการที่เช่าหรือเป็นเจ้าของ Retail Store ได้ดำเนินการค้าแบบมีหน้าร้านต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้นนี่ก็เป็นเพียงการกลับมาของ Retail Store ที่เพิ่งผ่านมาได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น จึงไม่ได้หมายความว่าลูกค้าที่เราเห็นยืนรอต่อคิวกันอยู่หน้าร้านจะเลือกกลับมาซื้อที่ Retail Store บ่อยแค่ไหนหลังจากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ เพราะพฤติกรรมนี้อาจะเกิดจึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ หรืออาจเพราะการออกโปรโมชั่นหวือหวาพร้อมๆกันทั่วประเทศ จึงยังคงต้องใช้เวลาศึกษากันต่อไปอีกสักพัก เพื่อให้เจ้าของ Retail Store นั้นได้วางแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความเป็นไปได้ที่ COVID-19 จะกลับมาระบาดอีกครั้งในไทย, การรับมือกับ New Normal Behaviour และแผนการรับมือกับ E-commerce ที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นในช่วงนี้

ภาพจำลองบรรยากาศ Central Village จาก https://www.facebook.com/CENTRALVILLAGEfanpage

Siam Premium Outlets Bangkok ภาพจาก  https://www.siampremiumoutlets.com/en

 

ยิ่งเตรียมพร้อมรับมือเร็ว ยิ่งทำให้ได้เปรียบกว่าคู่แข่ง Luxury Brand ต่างพากันปรับเปลี่ยนนโยบายการตลาดและการบริหารทรัพยากรบุคคล จนอาจทำให้บางคนปรับตัวไม่ทันหรืออาจไม่ทันตั้งตัวด้วยซ้ำ หลายบริษัทที่เคยมีหน้าร้านจึงจำเป็นต้องปิดหน้าร้านอย่างถาวรไปและตามด้วยการลดจำนวนพนักงานลง ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีนโยบายแตกต่างกันไป

Burberry Headquarter ที่กรุงลอนดอน ภาพจาก   https://www.burberryplc.com/en/contacts.html

 

เริ่มจาก Burberry ที่เป็น Luxury Brand ระดับโลกของอังกฤษ แม้ว่ายอดขายของปีนี้จะเป็นไปตามเป้า แถมยังได้ยอดขายจากฝั่งจีนและเกาหลีใต้เพิ่มจากเดิม 30% จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่แน่นอนเสมอไป ทางแบรนด์จึงได้ออกมาตรการการรับมือและปรับตัวตามแนวโน้มความไม่แน่นอนนี้ เพื่อเตรียมรับมือกับเศรฐกิจที่ไม่ค่อยแน่นอนในช่วงเวลานี้ นั่นคือ การลดจำนวนพนักงานลง 500 คนทั่วโลก คิดเป็น 5% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดที่เคยมี 10,000 คน Live Steam Fashion Show คือ อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญที่ Christian Dior จัดงานได้อย่างไร้ที่ติจนเป็นที่พูดถึงไปทั้งวงการแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็นนักดนตรีเล่นสด นักเต้น Contemporary Dancer มุมกล้องที่คนดูได้ดูเต็มตายิ่งกว่าอยู่ Front Row และเหล่านางแบบนายแบบที่พกความมืออาชีพมาพรีเซ็นท์เสื้อผ้าได้มีสีสันจนคนดูอาจละสายตาไปไม่ได้ ตามมาติดๆด้วย GUCCI ที่ประกาศลดการจัดแฟชั่นโชว์จนเหลือปีละ 2 ครั้งเท่านั้น โดยจะไม่มีการระบุซีซั่น ซึ่งก็ไม่ต่างกันกับ Dries van Noten และ Saint Laurent ที่ต่างต้องยกเลิก Fashion Show กันไปอย่างน่าเสียดาย

Dior Cruise 2020 ภาพจาก Giovanni Giannoni/ WWD สามารถคลิกชม Dior’s Cruise 2021 Fashion Show Online ย้อนหลังได้ที่ https://wwd.com/fashion-news/fashion-scoops/dior-cruise-2021-fashion-show-live-stream-1203684252/ Gucci Fall Winter 2020 Men’s Fashion Show ภาพจาก GUCCI Official YouTube Channel

 

“ต่อด้วย ZARA ที่ทำยอดขายออนไลน์ระหว่าง Lock Down พุ่งสูงถึง 95% จึงทำให้บริษัทหันไปโฟกัสที่การทำตลาดออนไลน์หรือ E-commerce อย่างจริงจังแทน โดยมีคำแถลงจาก Pablo Isla ประธานกรรมการบริหารของ Inditex ประกาศก้องว่า “ในตอนนี้จนถึงปี 2022 คือการเร่งดำเนินงานที่จะพัฒนาคอนเซ็ปท์ใหม่ของรูปแบบของการตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง” (credit: Zara แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นเจ้าใหญ่ เตรียมปิดหน้าร้านจำนวน 1,200 สาขาทั้วโลก. Harper Barzaar.co.th)” ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับตลาด E-commerce และนักช้อปออนไลน์ แต่นี่คงเป็นฝันร้ายของพนักงานประจำหน้าร้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังพอมีเวลาเหลือให้พนักงานประจำหน้าร้านได้เตรียมตัวกันก่อนที่ ZARA จะมาตีตลาดออนไลน์อย่างจริงจัง เพื่อฟาดฟันกับคู่แข่ง ในขณะที่ HERMES Retail Store สาขากวางโจว ที่ทุบสถิติด้วยยอดขายสูงสุดภายในหนึ่งวันของจีน ด้วยยอดขายจำนวน 2.7 USD ในวันที่ได้กลับมาเปิดร้านใหม่หลังจากการ Lock Down สุดเข้มงวด หากเรามองจากตัวเลขแล้วก็ถือว่าได้รับผลตอบรับที่ดีเกินคาดจนน่าตกใจ และยังดูเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจและ Retail Store ได้อย่างน่าทึ่งที่สุด ความดีความชอบทั้งหมดนี้ก็หนีไม่พ้นการตลาดสุดเทพของ HERMES ที่เปิดตัวสินค้า Exclusive Limited Edition ในร้าน ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า และ กระเป๋า Birkin ที่ได้แรงบันดาลใจการออกแบบจากแจ็คเก็ตของ the Imperial Guard of Napoleon III โดยใช้จังหวะนี้เป็นตัวช่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ลูกค้าได้มาซื้อของที่ร้านกันอย่างถล่มทลาย สำหรับจีนแล้ว ไม่เพียงแต่จะขายดิบขายดีที่หน้าร้านเท่านั้น เพราะตลาดออนไลน์ของจีนก็เติบโตขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่ในช่วงการ Lock Down ที่ผ่านมามากกว่าก่อนช่วงที่เปิดประเทศเสียอีก ซึ่งนี่ก็นับว่าเป็นบรรยากาศ ที่สดใสและน่าชื่นชมมากๆ

 


HERMES Flagship ภาพจาก luxuo.com

 

โลกที่เปลี่ยนไปกับความหวังใหม่ในรูปแบบ Digital Platform เห็นภาพได้ชัดเจนแค่ไหนกัน? หลังจากที่ได้ศึกษาสถานการณ์ของ Retail Store ในช่วงนี้จากหลากหลาย Business Consults ไม่ว่าจะเป็น Savills Research หรือ PWC ต่างก็พบว่า เมื่อนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยที่ผ่านมานั้นได้ช่วยสร้างรายได้ให้สินค้าใน Luxury Retail ลดหายไป จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ให้มีส่วนลดน้อยลงตามไป ซึ่งก่อนหน้าที่ Luxury Retail Store ก็เผชิญหน้ากับยอดขายที่ไม่ค่อยตามเป้ากันอยู่แล้ว การเจอ New Normal, Lock Down และนโยบายการเว้นระยะห่างนี้จึงยิ่งตอกย้ำความล้มเหลวให้เร็วขึ้น แต่กลับมียอดขายจาก E-commerce ที่เพิ่มขึ้นกว่า 80% ถ้วนหน้าในช่วงนี้ นั่นหมายความว่า ความจริงแล้วคนที่มีกำลังซื้อสินค้า Luxury ก็ยังคงมีกำลังจับจ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยนี้ได้อยู่ เพียงแค่ธุรกิจ Luxury ต้องปรับการตลาดให้เข้ากับสถานการณ์และกลุ่มเป้าหมายให้ได้ตรงจุดก็เท่านั้นเอง ซึ่งการปรับตัวที่กล่าวมานี้ก็รวมไปถึงการปรับราคาสินค้าให้จับต้องได้ง่ายขึ้นอีกนิดก็น่าจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย หรืออาจจะบุกตลาดไอที อุปกรณ์กีฬา และเฟอร์นิเจอร์ด้วยการนำแบรนด์ของตนเองมาประยุกต์ก็ถือเป็นไอเดียที่น่าสนใจในช่วงที่กระแส Work From Home กำลังมาแรงโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในระหว่างรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้ทางฝั่งเอเชียได้ฟื้นตัวแซงหน้าฝั่งยุโรปและอเมริกาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วจ้า ในช่วงเวลาที่กำลังเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เกิดการปรับตัวและพัฒนาขึ้นนี้ นับเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของหลายๆธุรกิจอย่างไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้นการทำความเข้าใจลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของตัวเองอย่างถ่องแท้จึงยิ่งเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาทุกๆธุรกิจให้ก้าวไปต่อได้อย่างมั่นคงโดยไม่พ่ายแพ้ให้กับ Digital Disruption ในยุคนี้

 

เมื่อนำข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของทั้ง Retail Store และ E-commerce มาขบคิดดูแล้ว เราได้ข้อสรุปดังนี้ 1. ผู้บริโภค = นักรีวิวสินค้า(New Service and Experience Provider) พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปแล้ว พวกเขาสามารถสร้างกระแสจนทำให้สินค้าโด่งดังได้ภายในชั่วข้ามคืนและยังทำให้ชื่อเสียงของสินค้าพังพินาศได้เช่นกันโดยการใช้ Power of Social Media เผยแพร่ประสบการณ์และความรู้สึกที่ได้รับนำกลับมาสร้างคอนเท้นท์ใหม่ๆ หรือแม้แต่เจ้าของธุรกิจก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันด้วยการใช้เทคนิคที่เข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง เพื่อให้เห็นประสบการณ์ทางอ้อมจากคนอื่นที่จะกระตุ้นให้เกิดความรู้ อยากลองจนถึงกับต้องมาที่ร้านค้าด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้รับรู้ประสบการณ์การบริการและความประทับใจที่ Retail Store ที่หาจากการบริการออนไลน์ไม่ได้

 

2. รวมโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเป็น Functional Products ที่ประสบความสำเร็จ แต่ Luxury Products เช่น เสื้อผ้า High-end ที่มีราคาสูงจะขายออกผ่าน E-commerce ได้น้อยกว่า Functional Products ดังนั้น Luxury Products จึงยังจำเป็นต้องมีหน้าร้านไว้ขายการบริการ เพื่อให้ได้รับความ VIP แบบที่จะไม่ได้รับในการซื้อทางออนไลน์เด็ดขาด แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมี Digital Platform มาช่วยทำยอดขายอีกแรง เพื่อไม่ให้แพ้แบรนด์ Fast Fashion ที่ทำยอดขายออนไลน์ได้ดีกว่าหน้าร้านเสียอีก เราจึงนำเคสที่ผสมผสานการขายบน Digital Platform และ Retail Store ได้ลงตัวมาเป็นตัวอย่างดังนี้ – Central Chat & Shop ที่เข้าถึงประสบการณ์ตรงให้ลูกค้าได้ผ่านทาง Line Chat ที่สามารถคุยกับเซลได้โดยตรง พร้อมทั้งสั่งซื้อผ่านช่องทาง Line ได้ในคราวเดียวกัน และยังให้ลูกค้าได้ไปรับของที่ร้านด้วยตัวเองได้อีกด้วย ซึ่งก็ใกล้เคียงกับการบริการที่ Retail Store แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะคุยอะไรมากมายก่อนจะคลิกซื้อของ เพราะเป้าหมายการขายออนไลน์ คือ ความสะดวกรวดเร็ว ถ้ามัวแต่รอเซลตอบข้อความอยู่อาจจะไม่ทันใจลูกค้า

 

3. การเอาผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง (Consumer-oriented) เราจำเป็นต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้รู้ทิศทางของการค้าว่าเขาจะต้องทำอย่างไรกับ Loyalty Costumer ของเราให้ดี ด้วยการเก็บข้อมูลที่เขาสนใจและประทับใจในสินค้าให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนของธุรกิจ ซึ่งสิ่งนี้สำคัญมากกับการกำหนดทิศทางของแบรนด์ในปัจจุบันและอนาคตต่อไปโดยเฉพาะกับ Luxury Product ที่สร้างภาพลัษณ์ของแบรนด์ด้วยความน่าเชื่อถือที่ไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ Generation ก็ยังคงมีลูกค้าที่เหนียวแน่นในชื่อของแบรนด์นี้อยู่ในใจเสมอ เช่น – UNIQLO ประสบความสำเร็จในการขายหน้าร้านและออนไลน์ได้อย่างไม่มีปัญหา แถมยังขายหน้ากาก Air Rism ได้อย่างเทน้ำเทท่าในเวลาที่ใช่ เพราะผ้าชนิดนี้คือจุดขายของแบรนด์ที่เป็นเอกลักษณ์นั่นเอง แน่นอนว่า Loyalty Costumer มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ยั่งยืนซึ่งความรู้สึกและประสบการณ์ในการบริการที่ Retail Store ย่อมแตกต่างจากการบริการออนไลน์อย่างชัดเจน เพราะลูกค้าต้องได้รับการส่งผ่าน Message ที่เป็น Identity หรือ เอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละแบรนด์ที่ต่างกัน จึงได้มี Loyalty Costumer ที่แตกต่างกันนั่นเอง – Member Benefits/ VIP Benefits ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์พิเศษกว่าแบรนด์อื่นๆ ทุกครั้งที่ได้ซื้อสินค้าของแบรนด์นั้นๆ เช่น Swarovski Crystal Society เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมในสินค้าชิ้นพิเศษ การบริการสุดพิเศษ รวมไปถึงโครงการต่างๆที่สร้างประโยชน์กลับคืนสู่สังคม โดยมีลูกค้าของแบรนด์นี้เท่านั้นที่ได้รับสิทธิพิเศษเหล่านี้

Swarovski Crystal Society ภาพจาก swarovski.com  

 

ดังนั้นการสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าจึงเป็นเสน่ห์ของตัวแบรนด์เองที่จะดึงดูดให้ลูกค้าเก่ายังคงอยู่ต่อไปและดึงดูดลูกค้าใหม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเข้ามาให้ได้รับความพิเศษนี้นั้นสำคัญพอๆกับการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์การตลาดเพื่อให้ Retail Store ยังคงเป็นที่ต้องการของลูกค้าต่อไป และเปิดโอกาสให้บริการความสะดวกสบายผ่าน E-commerce เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าโดยตรงถึงบ้าน แต่ดูแล้วก็ยังไม่สามารถทดแทนกันได้ 100% ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายถือเป็นหัวใจหลักที่มองข้ามไปไม่ได้

 

#digitalplatform #luxuryretailstore #fashionretail #covid19 #stayhome #socialdistancing #luxuryoutlet #economic2020   #ecommerce   #COVID19   #Digitaldisruption   #ecommerce  

 

Resources:

harpersbazaar.co.th, bangkokpost.com, marketingoops.com, forbes.com, bangkokbiznews.com, thestandard.co, luxuo.com, PWC, Savills Research blog.smile.io

Pawida W.

Pawida W.

นักเขียน Gen Y โลกสวยที่เชื่อว่า การออกแบบที่ดีจะทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ผังเมือง การเมือง สังคม หรือแม้แต่การออกแบบชีวิตของตัวเอง มีความคาดหวังที่จะได้ใช้โอกาสของการเป็นนักเขียนมาเขียนเล่าถึงการออกแบบที่ทันสมัยและการออกแบบของหมวดอสังหาฯ ให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง