อะไรคือก้าวต่อไปของธุรกิจ Shopping mall

เกริก บุณยโยธิน 07 October, 2014 at 09.23 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


สวัสดี ปีใหม่ครับคุณผู้อ่านทุกคน ขอให้มีความสุขสมหวัง เฮงๆ รวยๆ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ตลอดทั้งปีนะครับ…ช่วงนี้ผมสังเกตเห็นว่า กลุ่มธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะในส่วนของ shopping mall, convenience store และ lifestyle mall มีคนเดินเยอะขึ้น (ชาวต่างชาติ ยิ่งโดยเฉพาะชาวจีนก็ปาเข้าไปครึ่งนึงแล้ว) และยอดขายเพิ่มขึ้นมากกกกกจริงๆนะครับ ถ้าประมาณการณ์ด้วยสายตาของผม ผมว่าลูกค้าเยอะกว่าปีที่แล้วบานเลยอ่ะครับ…แต่ร้าน retail นานาชนิดก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดเหมือนกันครับ ว่าแล้ววันนี้ผมก็เลยเขียนเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มตลาด shopping Mall เลยแล้วกันครับ

ก่อน อื่นผมคงต้องขอเกริ่นถึง สัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับการ over supply ของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก กัน ก่อนครับ (อันนี้ขอจำกัดแค่ในกลุ่มตลาด shopping mall รวมถึง community mall นะครับ) ข้อมูลนี้นำมาจากหนังสือพิมพ์ โพสท์ ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2555 ซึ่งเค้ามีการไปสัมภาษณ์ผู้บริหารที่คร่ำหวอดมายาวนานในวงการค้าปลีก จากทางฝั่ง CPN และ K Village มาครับ น่าสนใจทีเดียว

“คอม มูนิตี มอลล์ (Community Mall) หรือพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ใกล้แหล่งชุมชน ซึ่งเกิดขึ้นราวดอกเห็ดช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา นับเป็นร้านค้าปลีกประเภทหนึ่งที่มาแรง ซึ่งคนที่อยู่นอกวงการแห่เข้ามาเปิดกันมากจนปัจจุบันเริ่มมีการกังขากันแล้ว ว่าปริมาณที่เกิดขึ้นถึงขั้นล้นความต้องการตลาด หรือโอเวอร์ซัพพลายหรือยัง

 

เพื่อ ให้เห็นภาพดังกล่าวชัดทศ จิราธิวัฒน์กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น(ซีอาร์ซี) ผู้บริหารค้าปลีกเซ็นทรัลกล่าวว่า ร้านค้าปลีกประเภทศูนย์การค้าที่จะเติบโตน้อยต่อจากนี้ จะเป็นคอมมูนิตี มอลล์ ที่มีโอกาสถึง 50% จะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีจำนวนมากในตลาด และกลุ่มที่เข้ามาลงทุนจะเป็นเจ้าของที่ดินพัฒนาโครงการเอง ซึ่งอาจไม่มีความเชี่ยวชาญทำศูนย์การค้า ส่วนภาพรวมธุรกิจศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานคร (กทม.)ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัวใน 1-2 ปีข้างหน้าตามที่หลายฝ่ายระบุไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องทุกปีและมีนักท่องเที่ยว ต่างชาติเข้ามาในไทยจำนวนมาก ประกอบกับกำลังซื้อในประเทศขยายตัวดีอยู่

“คอม มูนิตี มอลล์ที่เกิดขึ้นในตลาดปัจจุบันมีโอกาสล้มเหลวได้ 50%เพราะธุรกิจศูนย์การค้าทำยาก และประสบความสำเร็จยาก เห็นได้จากในปัจจุบันมีคอมมูนิตี มอลล์หลายแห่งที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีที่ดินของตัวเองก็เข้ามาพัฒนาโครงการเอง แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญพัฒนาศูนย์การค้าประกอบกับคอมมูนิตี มอลล์ในไทย จะเป็นแบบเปิดโล่ง เมื่อเกิดปัญหาฝนตกบ่อยครั้งก็กระทบให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการน้อยลง และร้านค้าก็ได้รับผลกระทบด้วย” ทศ ให้ความเห็น

ทั้ง นี้ ซีอาร์ซีมีศูนย์การค้าในรูปแบบคอมมูนิตี มอลล์ โดยทำมานาน 20 ปีแล้ว คือ โฮมเวิร์ค ราชพฤกษ์ มีขนาดเล็ก เพื่อจับกลุ่มลูกค้าในชุมชนและอีกแห่งโมเดลใกล้เคียงคอมมูนิตี มอลล์คือ บิ๊กซี วงศ์สว่าง ที่จะหมดสัญญากับบิ๊กซีในอีก 3 ปีข้างหน้า และอยู่ระหว่างพิจารณาจะปรับปรุงเป็นโครงการแบบใด เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้น

ด้าน ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่เข้ามาทำคอมมูนิตี มอลล์ ร.อ.อติชาติ อรรถกระวีสุนทรผู้ร่วมบริหารโครงการ เอ สแควร์ ภายใต้บริษัทอรรถกระวี กล่าวว่า แนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกรูปแบบศูนย์การค้าชุมชน (คอมมูนิตี มอลล์) ในเขต กทม.โดยรอบ มีอัตราการขยายตัวสูงมากโดยเฉพาะการขยายพื้นที่ค้าปลีกไปยังซูเปอร์มอลล์ ขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและมีความน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตจะเกิดขึ้นเกินความต้องการของ ตลาด(โอเวอร์ซัพพลาย) ในอนาคตหาก มีนักลงทุนสนใจเข้ามาดำเนินธุรกิจคอมมูนิตี มอลล์ในขณะนี้ จำเป็นต้องปรับรูปแบบ (ฟอร์แมต) การให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกสำหรับร้านค้าให้มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมกลุ่ม เป้าหมายผู้อยู่อาศัยโดยรอบโครงการใหม่ๆ

ขณะ ที่โครงการอสังหาริมทรัพย์ค้าปลีกภายใต้ชื่อ”เอ สแควร์” ของกลุ่มอรรถกระวี ถือเป็นโครงการค้าปลีกรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิดศูนย์รวมร้านค้า ที่รวบรวมร้านอาหารและธุรกิจบริการประเภทต่างๆ 10 แบรนด์หลัก ภายใต้งบลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า1,200 ล้านบาท บนพื้นที่ 16 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 26 โดยปรับรูปแบบการให้บริการในลักษณะการให้สิทธิการเช่าพื้นที่กับผู้ประกอบ การร้านค้าเป็นระยะเวลา 10-15 ปี แนวคิดดังกล่าวเพื่อให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถพัฒนาโครงการและออก แบบร้านค้าได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างไปจากค้าปลีกประเภทอื่นที่ผู้เช่าร้านค้าต้องเช่าพื้นที่ภายใน แต่ละโครงการ และต้องปฏิบัติหรือดำเนินการออกแบบร้านค้าตามรูปแบบที่เจ้าของโครงการค้า ปลีกกำหนดไว้ เป็นต้น

ร.อ.อติ ชาติ กล่าวว่า ช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้กลุ่มบริษัท อรรถกระวีได้พัฒนาโครงการคอมมูนิตี มอลล์ภายใต้ชื่อเค วิลเลจ ตั้งอยู่บนทำเลถนนสุขุมวิท 26 ติดกับถนนพระราม 4 ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีจำนวนปริมาณลูกค้าหมุนเวียน (ทราฟฟิก) ลดลงราว 5%เมื่อเทียบกับช่วงแรกๆที่เปิดให้บริการซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีคอมมูนิตี มอลล์เกิดขึ้นมากนักในปัจจุบัน

“ไม่ ใช่แค่เฉพาะการเกิดขึ้นจำนวนมากของคอมมูนิตี มอลล์ในขณะนี้ แต่พบว่าในช่วง 1-2 ปีนี้ที่ผ่านมายังมีการขยายตัวของศูนย์การค้าแห่งใหม่ๆ เปิดให้บริการเป็นจำนวนมากในทำเลต่างๆทั่ว กทม.ด้วยเช่นกัน ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตอาจเกิดโอเวอร์ซัพพลายด้านค้าปลีกได้เช่นกัน” ร.อ.อติชาติกล่าว”

…เป็น ไงครับ จากความเห็นของทั้งสองท่านดังกล่าวก็จะเห็นได้ว่า การทำ community mall นั้นไม่ใช่แค่มีที่ดิน ก็สามารถทำได้นะครับ มันต้องดูทั้ง consumer insight ของทั้งแถบ neighborhood ด้วยกันเอง และดูถึงขีดความสามารถในการแข่งขันกันกับ คู่แข่งแถวนั้นด้วยนะครับ ซึ่งปัจจุบันนี้ developer ส่วนใหญ่ที่คิดทำ community mall มักจะมีความคิดยึดติดอยู่ในหัว หรือมองแค่ปัจจัย 4 – 5 อย่างต่อไปนี้ในการ เริ่มต้นพัฒนาโครงการครับ

1. พื้นที่แค่นิดเดียว ไม่ถึง 10,000 ตารางเมตร ก็ทำได้แล้ว

2. อยู่ใกล้แหล่งชุมชน หรืออยู่ในแหล่งท่องเที่ยวก็ทำได้แล้ว (เพราะอย่างงี้ตามหัวเมืองต่างๆ หรือระหว่างทางเข้าเมืองท่องเที่ยว ยิ่งมีเพียบ)

3. สร้างแบบ open space ไม่ต้องทำโครงสร้างมิดชิด มากนักก็ทำได้ ประหยัด

4. เน้นแค่คนละแวกนี้ แวะมากินข้าวก็พอ ก็เลยไม่ต้องใช้สื่ออะไรในการโปรโมตมาก

5. รายได้หลักก็เก็บเอาจากค่าเช่าของร้านค้า หรืออาจจะเป็นการเซ้งระยะยาว

6. ทำ Landscape สวยๆหน่อย ให้คนมาถ่ายรูป เดี๋ยวก็มีคนพากันมาเองแหละ

ถ้า คุณผู้อ่านคนไหนเริ่มต้นที่จะทำ community mall แล้วคิดแบบนี้เหมือนกัน… ผมว่าอันตรายมากนะครับ เพราะว่าไอ้ที่คิดแบบนี้มันมีหลายสิบที่เลยแหละครับ ซึ่งมันก็ยากมาก หากต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามที่ฝันเอาไว้

แนวทางปฏิบัติ ที่ทางผมอยากจะขอแนะนำให้กับผู้ประกอบการทุกท่านก็มีดังนี้ครับ

  • อย่ามองเห็นกลุ่มเป้าหมายเป็นเพียงแค่ neighborhood  >> อันนี้ผมเคยกล่าวเอาไว้ส่วนหนึ่งในบทความ Nostragic Marketing ว่า สิ่งที่ชี้วัดถึงความสำเร็จของธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์การตลาดถวิลหาอดีต อย่างเช่น Asiatique The River Front ไม่ใช่เพียงแค่การมีกลุ่มคนสูงวัย + คนละแวกนั้น มาเที่ยวเท่านั้น แต่ต้องมาจากการบอกต่อปากต่อปาก และแวะมาเยี่ยมชมด้วยตาตัวเอง ของกลุ่มคนจากละแวกอื่นๆครับ

เพราะ ฉะนั้น เราก็ไม่ควรที่จะทำธุรกิจอย่างง่ายๆ เช่น ทำที่จอดรถน้อยๆ ไม่มีที่ให้รถทัวร์ลง ไม่มีรถ รับส่ง จากภายนอก มาภายในโครงการ หรือมองหาร้านค้าเพียงแค่ร้านอาหารเท่านั้นก็พอครับ

  • การสร้าง landscape ควรที่จะสร้างให้ครบตามหลักการทำ Holistic Branding ไม่ใช่ว่าสัก แต่การสร้างสัญลักษณ์ จุดถ่ายภาพ หรือชื่อคอนเซฟท์ของโครงการ

หลายๆ โครงการมักจะตกม้าตายตรงจุดนี้น่ะครับ ผมยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ถึง shopping mall สองห้างนะครับ ห้างหนึ่งวาง positioning เป็น Japanese Shopping Mall แถวๆเอกมัย (แหม พูดแบบนี้ใครๆก็รู้ว่าเป็น Gateway) อีกห้างหนึ่งวาง positioning ว่าเป็น Worldwide Market Street แถวๆแยกอโศก (ใครๆก้รู้อีกว่าเป็น Terminal 21)

643602caf

SONY DSC

ในแง่การวาง Positioning > อันนี้ผมว่า Gateway ดูเผินๆจะได้เปรียบมากนะครับ เพราะว่าทำเลแถวนั้น มันช่างถูกใจคนญี่ปุ่นซะเหลือเกิน และกำหนด Positioning ในแบบที่หาคู่แข่งยากมากครับ เรียกได้ว่าห้างญี่ปุ่นในเมืองไทย มีแค่ Isetan และ Tokyu เท่านั้น แถมทั้งสองห้างก็ไม่ได้เป็นรูปแบบ stand alone ซะด้วย…ส่วน Terminal 21 ตอนแรกที่ผมคิด ผมคิดว่ามันจะเป็นออกแนว Union Mall ซะมากกว่าน่ะครับ แต่ปรากฎว่าผลที่ออกมามันไม่ใช่ครับ >>> หากใครได้มีโอกาส ไปเดินดูทั้งสองห้าง จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยครับ ว่าทั้งในแง่การสร้าง Brand experience และในแง่ทราฟฟิค Terminal 21 กินขาดเลยอ่ะครับ??? จริงอยู่ที่ทำเลที่เป็นจุดเชื่อมต่อ BTS & MRT อาจจะดูได้ เปรียบมากกว่า แต่อย่าลืมว่านั่นคือแยกอโศก สุขุมวิท แยกที่หลายๆคนรู้ดีว่านั่นไม่ใช่ Shopping area แต่เป็น Working area ครับ >> คุณผู้อ่านลองคิดตามนะครับ Gateway มีอะไรที่เป็นญี่ปุ่นมั่งอ่ะครับ ผมเห็นแค่ชั้น 1 ชั้นเดียวที่มีร้านอาหารญี่ปุ่น ยิ่งชั้นใต้ดิน แทนที่จะเอาร้านเครื่องเขียนเจ๋งๆจากประเทศญี่ปุ่นมา ดันเอา Office Depot มาซะอีก และยิ่งเป็นชั้นบนๆ ไหงกลายเป็นพันธ์ทิพไปซะหยั่งงั้นอ่ะครับ มีแผนโปรแกรมขายอีกต่างหาก!?! ในทางตรงกันข้ามคนที่เดิน Terminal 21 กลับรู้สึกถึงความเพลินในการเดิน สนุกกับการถ่ายภาพ landscape ที่เป็นสัญลักษณ์ market street จากประเทศต่างๆ ทั้งๆที่ในทาง Operation แล้ว Terminal 21 นั้นมีการทำงานที่ยากกว่าด้วยซ้ำ เพราะจำนวนร้าน retail มากกว่าเยอะ  แต่ร้านเหล่านั้น แบรนด์เหล่านั้น กลับสามารถถูกวางครอบเอาไว้โดย master brand ที่เป็น market street ของแต่ละชั้น ได้อย่างเนียนตา และสัมผัสได้ถึงประสบการณ์การช้อป ในประเทศต่างๆที่ทางเจ้าของห้างอยากให้เป็นได้อย่างดีเยี่ยม!!!

  • ควรมี Magnet เป็น well known specialty stores มากกว่า 1 อย่าง เช่น เสนาเฟสท์มี Villa market, Terminal 21 มี Gourmet Market และ SF รวมถึง Service Hotel อย่าง Centerpoint และจามจุรีสแควร์มี Banking Zone

อัน นี้หลายคนอาจจะบอกว่า อ้าวก็ฉันมีพื้นที่น้อยนี่หน่า ลำพังแค่ร้าน retail + ร้านอาหารอย่างเดียวก็แทบจะไม่มีที่เหลือแล้ว จะไปเอาร้านพวกนี้มาได้ยังไงอ่ะครับ >> หากเป็นเช่นนี้ผมขอให้กำหนด Positioning ของคุณให้ชัดเจนนะครับ ว่าคุณสร้างห้างนี้มาเพื่อ Who What Where Why Where? >> ผมขอยกตัวอย่าง Neighborhood Mall แห่งหนึ่งที่กรุงโซล เกาหลีใต้ ที่ชื่อว่า Ssamzigil ครับ ห้างเล็กนี้ตั้งอยู่ในเขต Insadong ซึ่งเป็นเขตศิลปะวัฒนธรรม (ย่านนี้ Museum + Art Gallery เยอะมากครับ) รวมถึงเป็นย่าน พระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงโซล รูปแบบการวาง Position ของเค้า มันช่างเหมาะสมกันกับย่านนั้นเหลือเกินครับ นั่นคือเค้าทำเป็น Open space ลานกว้างเป็นไข่ดาวตรงกลางเพื่อเป็นลานแสดงศิลปะ ของศิลปินที่อยากจะมาอวดผลงาน ส่วน retail shop โดยรอบก็เป็นร้านที่ขายของแนวอาร์ตๆ สวย เก๋ แต่แบรนด์ไม่ดัง โดยที่ไม่มี retail chain ที่เป็น magnet store ใดๆอยู่ในนั้นเลยครับ

64360c177

64360d32e

เมื่อ ไม่นานมานี้มี case study เก๋ๆจาก landloard ชื่อดังของเมืองไทยอย่างสำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการเปิดตัว Neighborhood commercial space ที่ชื่อว่า ZY Walk บนทำเลจุฬา ซอย 5 ภายใต้แนวคิดชิโนโปรตุกีส หรือสถาปัตยกรรมลูกครึ่งจีน-โปรตุเกส เพื่อหวังให้เป็นไชน่าทาวน์แห่งที่ 2 ของกรุงเทพฯ ด้านโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย อาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้น จำนวน 7 อาคาร มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 200 ตร.ม. จำนวนทั้งสิ้น 124 ยูนิต แบ่งเป็น โซนแฟชั่น สุขภาพและความงาม ธนาคาร สถานกวดวิชา อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น >> โครงการนี้มีพื้นที่ทั้งโครงการขว้างขวางพอสมควรครับ (ประมาณ 10 ไร่) จุดเด่นของเค้านอกจากในแง่ทำเล และ landscape แล้ว ก็น่าจะเป็นการคัดเลือกผู้ทำการค้าพอสมควรนะครับ เนื่องจากเป็นรูปแบบการเซ้งระยะเวลา 20 ปีด้วยจำนวนเงิน 12 ล้านบาท…ซึ่งก็น่าติดตามกันต่อไป มากๆครับ ว่าเมื่อโครงการสร้างเสร็จแล้วจะ ‘โดนใจ’ กลุ่มลูกค้า มากน้อยแค่ไหน

64360cbd9

643606a81

64360339b

643601248

  • ควรปรับเปลี่ยน revenue model ซะใหม่ ให้มันแตกต่างจากตลาดส่วนใหญ่

โดย ปกติแล้วรายได้ของ mall ต่างๆมักจะมาจากการเก็บค่าเช่าของร้านค้าต่างๆครับ ยิ่งร้านใหญ่ก็จะได้ค่าเช่ามาก หรือร้าน chain magnet บางแบรนด์ที่ใหญ่มากๆ ก็มักจะได้อัตราค่าเช่าที่ถูกครับ ซึ่ง landlord ก็มักจะได้รายได้ที่ค่อนข้าง fix ในแต่ละเดือน >> ในจุดนี้ผมขอแนะนำ revenue model ในแบบ hybrid ครับ โดยแบ่งเป็นเทศกาล หากว่าเป็นช่วง low season ก็ควรที่จะเปลี่ยนแปลง package ค่าเช่า เช่น คิดเป็น revenue sharing แทนค่าเช่าแบบ fix รายเดือน…ผมลองมานั่งคิดเล่นๆนะครับ ว่าย่านประตูน้ำของเราเนี่ย ในแง่สินค้าและ traffic นี้ไม่ได้ด้อยไปกว่าฮ่องกง หรือโซล เลยนะครับ นักท่องเที่ยวเยอะแยะทั้งไทยและเทศ มาช้อปที่นี่ผมว่าวันนึงมี billing รวมกันหลายร้อยล้านบาท แต่ไหงปิดกันหมดตั้งแต่หกโมงเย็น…คนต่างชาติส่วนใหญ่มาแล้วก้งงกันหมดครับ ซื้อของไม่ทัน >> ฮ่องกงร้านค้าปิด เที่ยงคืน โซลบางย่านปิดตีห้า…อันนี้ผมก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเจ้าของร้านมองว่าไม่คุ้ม หรือว่าคนไทยขี้เกียจขายของ หรือว่าเอารายได้กันแค่พอเพียง กันแน่ครับ? ถ้าผมเป็นเจ้าของห้างใหญ่แถวนั้น ผมจะรวบรวมกำลังพลไปต่อรองกับรัฐบาลเลยครับ ว่าขอลดภาษี + ค่าไฟ ให้กับทุกร้านค้าที่เปิดตลอด 24 ชม. แล้วเจ้าของห้างก็เก็บเงินค่าเช่าเพิ่มเป็นชั่วโมงที่เปิดเกินกว่า 2 ทุ่มตามจริง มันจะแฟร์กับเจ้าของร้าน และมันจะดีกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมากกว่าที่เป็นอยู่ไหมครับ?

  • อย่าให้ retail space ของคุณอยู่นิ่งๆว่างๆ ตลอดเวล

ใคร มันจะอยากมาเดินห้างที่ไม่มีอีเวนท์ หรือกิจกรรมลดแลก แจกแถม อะไรเลยอ่ะครับ? ในฐานะที่เป็นเจ้าของพื้นที่ แล้วยังอยากที่จะให้ลูกค้ามาเช่าพื้นที่คุณให้นานๆ คุณก็อย่าลืมที่จะจัดกิจกรรมที่จะ draw คนเข้ามาในห้างของคุณด้วยนะครับ ตัวอย่างกิจกรรมการตลาดที่ควรจะจัดอย่างสม่ำเสมอก็มีอย่างเช่น (ผมขออนุญาติ quote จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีกดังนี้ครับ)

o   เพิ่มการจัดอีเวนท์หรือกิจกรรมต่างๆให้ถี่ขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเฉพาะช่วงเทศกาล โดยมีการหมุนเวียนสินค้าและบริการให้หลากหลาย และน่าสนใจมากขึ้น พร้อมทั้งใช้กลยุทธ์ลด แลก แจก แถม ควบคู่ไปด้วย

o   ดึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ให้เข้ามาจัดกิจกรรมภายในห้างสรรพสินค้าบ่อยครั้งขึ้น เพื่อให้มีการใช้พื้นที่แสดงสินค้าภายในศูนย์การค้าอยู่ตลอด แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องปรับลดค่าเช่าพื้นที่ และต้องประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆให้ลูกค้าได้รับรู้

o   เนรมิตพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าและบริเวณโดยรอบให้เข้ากับบรรยากาศ Themes งานมากขึ้น เช่น มีการจัด Window display เป็นต้น

o   การปรับปรุงพื้นที่ (Renovate) เพื่อสร้างบรรยากาศ และภาพลักษณ์ของธุรกิจให้ทันสมัย และสดใสอยู่เสมอ

o   การเป็นพันธมิตรร่วมกับบัตรเครดิต นอกจากจะให้สิทธิผ่อน 0% นานขึ้นแล้ว ยังสามารถใช้คะแนนสะสมภายในบัตรแลกรับโปรโมชั่นพิเศษเพิ่มขึ้น อาทิ ส่วนลดเพิ่มขึ้น แพคเกจท่องเที่ยว เช็คของขวัญเงินสด

o   การประชาสัมพันธ์และทำการตลาดผ่านทางอินเทอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์ค และร่วมสนุกเพื่อรับบัตรกำนัล หรือคูปองส่วนลด

เจอ กันใหม่เดือนหน้านะครับ หากเพื่อนๆหรือคุณผู้อ่านคนไหนอยากให้ผมเขียนเรื่องอะไร และจะแนะนำติชมอะไรขอให้ส่งเมลมาได้ที่ kirk.bu@gmail.com นะครับ อะไรที่หามาได้ ก็จะเอามาเขียนตอบแน่นอนครับ ส่วนอะไรที่ตอบไม่ได้ก็รอไปก่อนนะครับ แต่สัญญาว่าจะหามาให้ได้ครับ

 

บทความโดย เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง