หลังคาโซลาร์เซลล์ทางเลือกหลักในการประหยัดพลังงานที่ยั่งยืนของครัวเรือน

wipawan khampuwiang 20 July, 2021 at 14.36 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ ทำให้หลายบริษัทหันมาให้พนักงานทำงาน Work From Home มากขึ้น และเมื่อต้องอยู่บ้านทั้งวันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทางได้เยอะ สมาชิกภายในบ้านได้อยู่ด้วยกันแบบพร้อมหน้า ส่วนข้อเสียก็จะเป็นค่าไฟที่แพงขึ้นเพราะเมื่อทุกคนอยู่บ้านก็ต้องมีการใช้ไฟไปกับหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การดูทีวี ชาร์จแบตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เปิดแอร์ เปิดพัดลม เปิดคอมพิวเตอร์ ล้วนต้องใช้ไฟฟ้าทั้งนั้น

 

แน่นอนว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่มองหาวิธีในการประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าไฟให้ได้มากที่สุด ซึ่งแนวทางโดยทั่วไปก็จะเป็นการถอดปลั๊กทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า พัดลม หรือแม้กระทั่งทีวี เพราะการเสียบปลั๊กทิ้งไว้ แม้ว่าจะไม่ได้ใช้งาน แต่พลังงานยังคงสูญเสียไปอย่างต่อเนื่อง, ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์ ไม่ควรเปิดแอร์ฯ ทิ้งไว้เป็นเวลานานเพราะจะทำให้กินไฟเป็นอย่างมาก และควรตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส เพราะเป็นอุณหภูมิที่กำลังพอดี ไม่เปิดตู้เย็นบ่อย เนื่องจากอยู่บ้านทั้งวัน เวลาเบื่อๆ บางคนก็มักเปิดตู้เย็นเล่นโดยไม่ได้นำอะไรในตู้เย็นออกมาเลย และอย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็นทันที รอให้หายร้อนก่อน เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานเพิ่มขึ้น กินไฟมากขึ้นนั่นเอง

ภาพจาก : https://pixabay.com/users/colin00b-346653/

 

และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น รวมไปถึงการคิดค้นอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านได้ เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในการจัดการหมุนเวียนพลังงาน และยังช่วยแบ่งเบาในเรื่องของค่าไฟได้เป็นอย่างมาก อย่าง Solar Rooftop หรือหลังคาโซล่าร์เซลล์ คือ อุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยพลังงานไฟฟ้านี้จะเป็นพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสตรง DC ที่มีขั้วบวกและขั้วลบ แผงโซล่าร์เซลล์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน โดยแผงโซล่าร์เซลล์ที่มีวัตต์สูงสามารถชาร์จได้เร็ว และแผงที่มีวัตต์ต่ำจะชาร์จได้ช้า

ซึ่งทุกวันนี้คนนิยมติดแผงโซล่าร์เซลล์กันมาก ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือโรงงานที่มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก ก็จะช่วยในเรื่องของการประหยัดไฟได้มากขึ้น แถมยังมีราคาที่ถูกลงกว่าเมื่อก่อนที่คนยังไม่นิยมใช้กัน สามารถเลือกได้ตามความต้องการ และยังนำสินค้าจากหลายบริษัทมาเทียบราคาเพื่อดูความคุ้มทุนให้แก่ตัวเอง หากถูกใจของที่ไหนมากกว่าค่อยตัดสินใจซื้อ พร้อมการติดตั้งที่ทำได้ง่ายมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมจำนวนไม่น้อยที่เลือกติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ไว้ในส่วนต่างๆ ของบ้านโดยเฉพาะหลังคา เพื่อให้แผงสามารถรับแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่และแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ประเภทของแผงโซล่าร์เซลล์

มีหลักๆ ด้วยกัน 3 แบบ คือ

แบบโมโนคริสตัลไลน์ ซิลิคอน (Monocrystalline Silicon)

เป็นแผงโซล่าร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีในพื้นที่ที่มีแดดจัด สามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ควบคุมและวงจรไฟฟ้าได้หลากหลาย แผงโซล่าร์เซลล์ชนิดโมโนทำมาจากแท่งซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยเริ่มมาจากการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมและลบมุมทั้ง 4 ออกเพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด สังเกตุได้ง่ายๆ คือ แผงโซล่าร์เซลล์แบบโมโน จะมีรอยจุดต่อกันระหว่างแผ่น

ภาพจาก : https://mmcsolarfarm.com/topic-5-view.html

 

แบบโพลีคริสตัลไลน์ ซิลิคอน (Polycrystalline Silicon)

แบบโพลี เป็นแผงโซล่าร์เซลล์ที่คุณภาพเกือบเทียบเท่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ ทำมาจากซิลิคอนเช่นเดียวกับแบบโมโน แต่ชนิดของซิลิคอนที่ใช้นั้นบริสุทธิ์น้อยกว่าแบบโมโน โดยแผงประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่แดดน้อย หรือฝนตกชุกตลอดทั้งปี เพราะแผงโซล่าร์เซลล์แบบนี้มีความไวในการจับแสงได้น้อย ลักษณะของแผงโซล่าร์เซลล์แบบโพลี จะมีลักษณะเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงต่อกัน

ภาพจาก : https://kgsolar.com/

 

แบบอะมอร์ฟัส (Amorphous)

กระบวนการผลิตแผงโซล่าร์เซลล์แบบอะมอร์ฟัส มีความแตกต่างจากแบบโมโนและโพลี โดยกระบวนการผลิตฟิล์มบางเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ ได้รับความนิยมในโซล่าร์ฟาร์มขนาดใหญ่และพื้นที่มีอาจจะมีแสงแดด น้อย มีหมอกปกคลุม หรือมีฝนตกบ่อย เพราะมีความไวในการจับแสงดีมาก ส่วนที่อยู่อาศัยจะไม่ค่อยใช้แผงประเภทนี้ มีประสิทธิภาพเฉลี่ยในการผลิตพลังงานคือ 7-13% โดยจุดสังเกตุของแผงโซล่าร์แบบอะมอร์ฟัส จะมีลักษณะเป็นแผ่นฟิลม์บางเรียบไปตลอดทั้งแผ่น มีราคาค่อนข้างแพงและมีความบอบบางมาก ไม่สามารถใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้าแบบอื่นได้มากเท่าประเภทอื่น

ภาพจาก : www.หลังคาเหล็กเมทัลชีท.net

ตัวอย่างการติดแผงโซล่าร์เซลล์

โซล่าร์รูฟท็อป ปกติจะเห็นได้ตามหลังคาบ้านทั่วไป

โซล่าร์ฟาร์ม นิยมใช้ในโรงงาน หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก

ถ้าใครอยากติดแผงโซล่าร์เซลล์ไว้บนหลังคาบ้าน หรือที่เรียกกันว่า โซล่าร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) เพื่อช่วยในการประหยัดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ก็ต้องลองหาข้อมูลจากหลายๆ แหล่งว่าแผ่นโซล่าร์เซลล์ประเภทไหนตอบโจทย์การใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของทุกคนมากที่สุด โดยราคาของโซล่าร์เซลล์ก็จะมีทั้งการขายปลีกแบบเป็นแผ่น มีราคาเริ่มต้นที่แผ่นละ 1,000 บาทเป็นต้นไป ราคาถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับประเภทของแผ่นโซล่าร์เซลล์ด้วย และการขายแบบครบชุดพร้อมติดตั้งการใช้งาน ลูกค้าสามารถเลือกประเภทของแผ่นโซล่าร์เซลล์, เลือกแปลงพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าร์เซลล์ว่าจะให้จ่ายไฟด้วยระบบไหน เช่น Off Grid, On Grid หรือ Hybrid Grid และขนาดกิโลวัตต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานไฟฟ้าในบ้าน โดยราคาจะเริ่มต้นที่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านก็ยังมี แต่ราคาจะขึ้นอยู่กับระบบติดตั้งและขนาดกิโลวัตต์ที่เลือกใช้

 

ส่วนใครอยากติดโซล่าร์เซลล์ก็สามารถหาซื้อได้ง่ายๆ เพียงแค่ Search หาข้อมูลใน Google ก็มีให้ดูเพียบ ไหนจะเลือกดูงานตัวอย่าง รายละเอียดของแผ่นโซล่าร์เซลล์แต่ละประเภท อีกทั้งราคาที่ต้องการก็ยังได้ หรือจะสั่งซื้อจากแพลตฟอร์มออนไลน์ของบริษัทขายวัสดุ อุปกรณ์ อย่าง SCG และ Home Pro ก็มีของให้เลือกมากมายเช่นกัน

 

SCG

ซึ่งหลักการทำงานของโซล่าร์รูฟท็อป ก็จะเป็นการนำเอาแผงโซล่าร์เซลล์มาติดตั้งเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ โดยตัวแผงจะผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสตรง ส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าแบบ Inverter ชนิดเชื่อมต่อกับสายส่งของการไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับแบบ AC โดยที่จะมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าทำหน้าที่ในการควบคุมและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้าน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ก็พร้อมนำกระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ทีวี พัดลม ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ ได้แล้ว

ภาพจาก : https://srw888trading.com/product-detail.php?pageid=Mg==&dir=Nw==&proid=MzA=

 

อีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับคนที่อยากติดโซล่าร์เซลล์ แต่ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ อาจจะเป็นพื้นที่ที่การไฟฟ้าเข้าไม่ถึง บางบ้านอยากจะเก็บพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์มาไว้ใช้ในช่วงกลางวันหรือกลางคืนก็สามารถเลือกได้ อีกทั้งการเก็บพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ไว้ในแบตเตอรี่สำรองเพื่อที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน หลักๆ แล้วจะมี 3 ระบบ ด้วยกัน คือ

 

ระบบออนกริด (On Grid)

ระบบนี้จะเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า จึงไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ทำให้มีการใช้ไฟจากทั้งโซล่าร์เซลล์และไฟจากการไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าในระบบนี้จะถูกใช้อยู่ตลอด เพราะไฟบ้านจะไหลเข้ามาเสริมจากโซล่าร์เซลล์ที่หายไปตลอดเวลา ระบบนี้เป็นที่นิยมใช้มาก ไม่ว่าจะใช้ในบ้าน หรือโรงงานขนาดใหญ่ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ไฟโซล่าร์เซลล์ในช่วงกลางวันที่มีการใช้ไฟในการทำกิจกรรมต่างๆ เยอะ และเปลี่ยนมาใช้ไฟบ้านในช่วงกลางคืนแทน ไม่เพียงเท่านั้นระบบนี้ยังคุ้มสุดๆ สำหรับไฟฟ้าที่ผลิตเหลือจากการใช้ในแต่ละวัน สามารถขายคืนให้กับทางภาครัฐได้ ใครที่สนใจสามารถติดต่อ PEA เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://forms.gle/zHXxDFPt4LBubENRA และสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองบริการธุรกิจจัดการพลังงานและดิจิทัล โทร. 0-2009-6701 และ 0-2009-6703 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. โดยรัฐจะรับซื้อคืนในราคา 2.20 บาท/หน่วย ทำให้มีรายได้เข้าสู่ครอบครัวอีกด้วย

 

ระบบออฟกริด (Off Grid)

ระบบนี้จะไม่เชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้า เหมาะกับพื้นที่ที่การไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือสำรองไฟไว้ใช้ตอนไฟดับ สามารถใช้ร่วมกับแบตเตอรี่หรือไม่ร่วมกับแบตเตอรี่ก็ได้ หากใช้ร่วมกับแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัว Charge controller เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ และระบบนี้ต้องอาศัยการคำนวณที่ถูกต้องของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้าน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน

 

ระบบไฮบริด (Hybrid Grid)

ระบบนี้มีคนใช้น้อย เนื่องจากมีราคาสูง แต่เป็นระบบที่มีความเสถียรมาก เพราะจะนำเอาระบบออฟกริดและระบบออนกริดเข้ามารวมกัน เหมือนกับมีแหล่งจ่ายไฟ 3 แหล่ง คือ โซล่าเซลล์, แบตเตอรี่ และไฟบ้าน สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ไว้ใช้สำรองในแบตเตอรี่ได้ จนเต็มความจุก็จะหยุดผลิต และจะจ่ายไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ภายในบ้านอีกครั้ง สามารถนำไฟสำรองที่ถูกเก็บไว้มาใช้ตอนกลางคืนหรือในเวลาที่ไฟฟ้าดับได้

 

หากใครที่ไม่อยากยุ่งยากในเรื่องของการติดตั้งเอง กำลังมองหาตัวเลือกที่มีทั้งบริการติดตั้งและบริการหลังการขาย ที่สามารถไว้ใจได้ ช่วยคำนวณในเรื่องค่าใช้จ่าย และคอยให้คำแนะนำต่างๆ กับลูกค้า โดยทาง SCG ก็มีสินค้าเกี่ยวกับโซล่าร์เซลล์ให้ได้เลือกซื้อเช่นกัน ซึ่งจุดเด่นของ SCG ที่มีบริการแก่ลูกค้าเมื่อต้องการอยากติดโซล่าร์เซลล์ ก็จะเป็น ตรวจสุขภาพหลังคาก่อนติดตั้ง เพิ่มความมั่นใจและความปลอดภัยแก่เจ้าของบ้าน, ออกแบบการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ให้มีประสิทธิภาพการผลิตไฟสูงสุด, ดำเนินการเรื่องเอกสารขออนุญาตติดตั้งกับภาครัฐตลอดทั้งกระบวนการ, ติดตั้งโดยทีมช่างมืออาชีพ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหลังคารั่วซึม และมั่นใจด้วยบริการหลังการขายที่คอยดูแลให้คำแนะนำ ตรวจเช็คระบบ ตลอดอายุการใช้งาน พร้อมรับประกัน 25 ปีโดย SCG

 

นอกจากนี้ SCG Solar Roof Solutions ก็มีเลือกหลากหลายถึง 8 แพ็กเกจ ให้เจ้าของบ้านได้เลือกติดตั้งตามความเหมาะสม เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมมีตัวอย่างการเทียบจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับแพ็กเกจต่างๆ ให้ง่ายต่อการเลือกใช้ รวมไปถึงรายละเอียดของพื้นที่หลังคาที่ต้องใช้ในการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์อีกด้วย

ใส่ข้อมูลและกดเช็คราคา จะได้คำตอบว่าที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานเหมาะสำหรับการติดตั้งแพ็กเกจใด และค่าไฟเฉลี่ยต่อเดือนหลังจากติดระบบหลังคาโซล่าร์เซลล์ของ SCG

คลิกลิ้งค์คำนวณงบประมาณ : https://scgsolarroof.com/?utm_source=solar_microsite_res&utm_medium=solar_microsite_res_linktoestimate_banner_web&utm_campaign=solar_microsite_res_linktoestimate_banner_web_0120#/

 

อีกทั้งบริษัทชั้นนำอย่าง Tesla ที่พัฒนาเกี่ยวกับรถยนต์และนวัตกรรมสุดไฮเทค ก็มี Product ที่มีดีไซน์สุดล้ำออกมาหลายตัว เช่น

 

Solar Roof เป็นการร่วมงานกันระหว่าง Tesla และ SolarCity เป็นกระเบื้องหลังคาโซล่าเซลล์ มีการฝังเทคโนโลยีโซล่าร์เซลล์ไว้ในแผ่นกระเบื้องเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการติดตั้ง สามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำงานร่วมกับแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพ ส่วนกระจกโซล่าร์ของกระเบื้องรับประกันตลอดชีพ มีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ แบบลอนมาตรฐาน, แบบผิวลาย, แบบหิน และแบบผิวเรียบ ราคาประมาณ 21.88 ดอลลาร์สหรัฐ/ตารางฟุต

Tesla Powerwall แบตเตอรี่ที่สามารถรองรับการเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าร์เซลล์ มีหม้อแปลงไฟกระแสตรงเป็นกระแสสลับมาในตัว รวมถึงการทยอยสำรองชาร์จไฟส่วนเกินเก็บไว้ในช่วงที่มีผู้ใช้งานน้อย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ประหยัดค่าไฟได้มาก มีความจุ 14 กิโลวัตต์ชั่วโมง รับประกัน 10 ปี สามารถติดตั้งได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง ราคา 5,500 ดอลลาร์สหรัฐ

และสำหรับใครที่อยากจะหาบ้านใหม่ ที่มาพร้อมกับ Solution แบบนี้ ตอนนี้ก็มีหลายโครงการบ้านจัดสรรที่นำเอาโซล่าร์เซลล์มาติดตั้งไว้ให้พร้อมใช้งานเลย ได้แก่

 

บ้านนวัต รามคำแหง 118

บ้านเดี่ยว 3 ชั้น เนื้อที่โครงการ 8-0-40.7 ไร่ จำนวน 23 ยูนิต มีบ้าน 3 Type ขนาดพื้นที่ใช้สอย 617 – 460 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 26.1 ล้านบาท ติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้ลูกบ้านทุกหลัง ใช้ได้เฉพาะเวลากลางวัน เพราะเป็นแบบที่ไม่มีแบตเตอรี่สำรอง นอกจากการให้ความสำคัญต่อแบบบ้านแล้ว นวัตกรรมหลากหลายที่ทำให้ โครงการบ้านนวัต มีความแตกต่างอย่างเหนือชั้นเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการบ้านจัดสรรอื่นๆ

เสนาพาร์ควิลล์ รามอินทรา บ้านเดี่ยว 2 ชั้น 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 2 ที่จอดรถ เนื้อที่โครงการ 38-2-92.5 ไร่ มีบ้าน 2 แบบ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 135 – 157 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 6 ล้านบาท โดย เสนาฯ ได้เข้าไปร่วมลงทุนกับ บริษัท เอท โซลาร์ จำกัด หรือ WE Solar เดิม โดยมีผู้บริหารและทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมติดตั้งโซล่าร์รูฟ พัฒนาให้มีการติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปถึง 10 โครงการ ทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและที่พักอาศัย ให้ลูกบ้านได้รับประโยชน์จากการติดตั้งระบบไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าภายในครัวเรือนและส่วนกลาง โดยใช้เทคโนโลยีผ่านแอพพลิเคชั่น 360 องศา เพื่อความสะดวกแก่ลูกบ้านในการติดตามปริมาณการผลิตไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้นภายในบ้าน รวมถึงการซ่อมบำรุงแผงโซล่าร์อีกด้วย

ส่วนของทางโครงการอื่นก็จะเป็นการนำระบบโซล่าร์เซลล์มาติดใช้กับส่วนกลางมากกว่า เช่น ไฟส่องสว่างตามทางเดินหมู่บ้าน จะเป็นระบบไฟทางที่ไม่ต้องเดินสาย สามารถเก็บสำรองพลังงานไว้ในแบตเตอรี่เพื่อนำมาใช้ในช่วงกลางคืน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในโครงการได้ และมีบางโครงการที่มีการแนะนำให้ลูกค้าลงทุนติดตั้งโซล่าร์รูฟเองเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าภายในบ้าน โดยการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 2 – 6 แสนบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2 – 10 กิโลวัตต์ และสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 2,000 – 6,000 บาท/เดือน เท่ากับคืนทุนภายใน 8 – 9 ปี ช่วยแบ่งเบาภาระในการจ่ายค่าไฟของลูกบ้านได้เป็นอย่างมาก

wipawan khampuwiang

wipawan khampuwiang

จบทางด้านภาษาไทยและชอบงานเขียน ชอบอ่านและดูรูปภาพรีวิวบ้าน คอนโดต่างๆ เบื่อกับการอยู่ห้องทั้งวันแบบไม่มีอะไรทำ ฉะนั้นงานอดิเรกก็เลยชอบหาที่เที่ยวและถ่ายภาพ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง