ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปี คนไทยกระทบอะไรบ้าง??

นเรศ เหล่าพรรณราย 24 December, 2018 at 11.12 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


การตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 1.5% สู่ระดับ 1.75% ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในรอบกว่า 7 ปีที่ดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่ได้ปรับขึ้นเลย จากนี้ไปคนไทยโดยเฉพาะคนที่ผ่อนเงินกู้บ้านอยู่หรือกำลังจะซื้อต้องเตรียมรับมือกับ “ดอกเบี้ย” ที่มีแนวโน้ม “แพงขึ้น”

ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของดอกเบี้ยนโยบายกันก่อน ง่ายๆคือเป็นตัวเลขที่นำมาใช้บ่งบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศตอนนี้กำลัง “ดี” หรือ “ไม่ดี” ถ้าเศรษฐกิจกำลังเติบโต มีการจับจ่ายซื้อของ จ้างงาน ลงทุนเพิ่มขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ “เงินเฟ้อ” ถ้าหากเงินเฟ้อมากเกินไปจะส่งผลเสียทางเศรษฐกิจได้ การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก็คือการช่วยชะลอการเติบโตที่อาจร้อนแรงเกินไปและควบคุมเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินไป

เพราะหากธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้ต้นทุนทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่ปล่อยสินเชื่อและรับฝากเงินประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงต้องปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากตามให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

แต่หากเศรษฐกิจไม่ดี การใช้จ่าย การจ้างงาน การลงทุน ลดลง ธนาคารกลางจะต้องปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยตาม เมื่อดอกเบี้ยลด ต้นทุนการกู้เงินจะลดลง ประชาชนและภาคธุรกิจจะตัดสินใจกู้เงินมาใช้จ่ายหรือลงทุนได้ง่ายขึ้น

ปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้ประเทศไทยต้องมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย อาจไม่ใช่ปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศเพียงอย่างเดียวแต่จำเป็นต้องดำเนินการตามเศรษฐกิจโลกด้วย โดยเฉพาะสองสามปีที่ผ่านมา ดอกเบี้ยนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกมีแนวโน้มขาขึ้นมาโดยตลอดหลังจากลดลงไปจนถึงระดับใกล้เคียง 0% เพราะประสบปัญหา Sub Prime Crisis ในปี 2008 จนทำให้ดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกปรับตัวลดลงด้วย โดยไทยเองก็ลดจากระดับ 3% มาจนเหลือ 1.5%

 

แต่พอเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มฟื้นตัว จึงมีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (ความจริงแล้วการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯทำให้ตลาดหุ้นขึ้นมากกว่าเศรษฐกิจจริงฟื้น) ทำให้เกือบทุกประเทศทั่วโลกต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม เพราะไม่เช่นนั้นกระแสเงินทุนของต่างชาติจะไหลออกไปอยู่ในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าทันที ผลก็คือค่าเงินของประเทศนั้นๆจะมีค่าลดลงและจะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ยกเว้นภาคการส่งออกที่ได้ประโยชน์ ปีที่แล้วประเทศอื่นๆในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ ต่างได้ทะยอยขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปก่อนหน้านี้แล้ว จนกระทั่งถึงตาประเทศไทยที่ไม่อาจต้านทานกระแสได้จนต้องขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด

การขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปีครั้งนี้ถือเป็นการตัดสินใจที่มีความคิดเห็น “ขัดแย้ง” ค่อนข้างมาก เพราะจุดประสงค์หลักของการขึ้นดอกเบี้ยก็เพื่อสะกัดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้ ถ้าถามประชาชนทั่วไปว่าเศรษฐกิจดีไหม คำตอบส่วนใหญ่น่าจะออกไปในแนวทางบอกว่า “แย่” มากกว่า นี่คือสาเหตุที่กระแสสังคมส่วนใหญ่ออกไปในแนวทางไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ เพราะจะยิ่งทำให้ประชาชนไม่กล้าจับจ่ายซื้อของและภาคธุรกิจไม่กล้าลงทุนมากขึ้น

 

แต่ผู้ดูแลการเงินของประเทศนั่นคือธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไม่มี “ทางเลือก” มากนัก เพราะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของทุกประเทศบนโลกกำลังอยู่ในทิศทางขาขึ้น หากประเทศไทยสวนทิศทางส่วนใหญ่ด้วยการคงดอกเบี้ย อาจทำให้เงินทุนไหลออกจนส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม

ในส่วนของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ทางทฤษฎีต้องบอกว่าการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้กระทบทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม!!

เริ่มตั้งแต่ Developer ผู้พัฒนาโครงการที่มีสายป่านไม่ยาวมาก แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่คือเงินกู้ธนาคาร (รายใหญ่ที่อยู่ในตลาดหุ้นอาจจะออกหุ้นกู้ได้หรือกู้ธนาคารได้ดอกเบี้ยพิเศษ) หากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น ต้นทุนการกู้ก็จะสูงขึ้น จนอาจจะต้องผลักภาระมาที่ผู้ซื้อบ้าน

ส่วนผู้กู้ซื้อบ้าน แน่นอนว่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย MLR ที่เป็นแบบลอยตัว (แม้ว่าช่วงสามปีแรกของการกู้มักจะได้อัตราดอกเบี้ยคงที่) หากธนาคารที่ยื่นกู้ไว้ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ ต้นทุนของผู้กู้ก็จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามจำนวนเงินที่ผ่อนชำระในแต่ละงวดจะยังเท่าเดิม แต่ส่วนของเงินต้นจะน้อยลง มีส่วนของดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เท่ากับว่าระยะเวลาของการเป็นหนี้จะยาวนานขึ้น

 

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าเมื่อดอกเบี้ยนโยบายขึ้นแล้ว ดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะขึ้นตามทันที ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารฯว่าจะเลือกช่วยเหลือผู้กู้ด้วยการคงดอกเบี้ยหรือเลือกโฟกัสที่ผลกำไรด้วยการขึ้นดอกเบี้ย

 

อย่างไรก็ตาม หากไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจหรือผลกระทบร้ายแรง มีแนวโน้มที่ค่อนข้างชัดว่าดอกเบี้ยของไทยน่าจะเป็นขาขึ้นแน่นอน สำหรับภาคธุรกิจและผู้ที่เป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่แล้วหรือสนใจที่จะกู้เงินคงต้องตัดสินใจด้วยความรอบคอบ ที่สำคัญต้องสำรวจความพร้อมของตัวเองเป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจกู้เงิน

นเรศ เหล่าพรรณราย

นเรศ เหล่าพรรณราย

นเรศ เหล่าพรรณราย FB:Gap Theory Twitter:@Nares_sd28 Chief Operation Officer Stock Quadrant (Thailand) Co.Ltd กรรมการ สมาคมฟินเทคประเทศไทย คนสื่อที่มีประสบการณ์ในแวดวงข่าวเศรษฐกิจโดยเฉพาะวงการตลาดหุ้นนานกว่า10ปี อยู่เบื้องหลังหนังสือด้านการลงทุนและธุรกิจมามากกว่าสิบเล่ม เคยทำงานหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจอันดับหนึ่ง ปัจจุบันทำงานในบริษัทสื่อที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีความเชื่อว่าการเงินไม่ใช่เรื่องไกลตัวและทุกคนต้องรู้

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง