Real Estate Unmet Need

เกริก บุณยโยธิน 07 October, 2014 at 08.31 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


สวัสดีไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ครับคุณผู้อ่านทุกท่าน ปีนี้เวลาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน เผลอแปปเดียวจะย่างเข้ากลางปีแล้ว หลายๆคนที่ทำงานในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ก็เข้าใจว่าคงจะได้กรำงานหนักมาแล้วตั้งแต่ช่วงต้นปี สังเกตได้จากงานอีเวนท์เกี่ยวกับอสังหาฯ นับตั้งแต่ต้นปีมีเข้ามาแทบจะสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นงานแบบ Stand Alone ของดีเวลลอปเปอร์ หรืองานแบบ Specialty ที่จัดโดยบรรดาสมาคมต่างๆ ผมลองมานับเล่นๆไล่เรียงดู ก็เห็นจะมีงานอีเวนท์ของกลุ่มอนันดาฯ เอพี แสนสิริ ศุภาลัย เมเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ กลุ่ม Harrison กล่ม CBRE งานมหกรรมบ้านและคอนโด  งาน Bangkok Post Exclusive Property ฯลฯ อันนี้ยังไม่รวมงานเปิดตัวโครงการ หรืองาน Event Party Ready To Move In และงาน Welcome party วันโอนอะไรอีกสารพัดที่จะจัดเป็นประจำตามโครงการทุกสัปดาห์นะครับ

ในฐานะที่ผมทำงานด้านการสื่อสารการตลาดและวงการโฆษณามาตลอด ก็ต้องยอมรับครับว่าช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมานี้ วงการอสังหามีการเปลี่ยนแปลง หรือยกระดับ Trend การใช้สื่อที่แตกต่าง หรือดีขึ้นกว่าแต่ก่อนครับ เมื่อก่อนเอะอะ อะไรก็ใช้ป้ายโฆษณาเพียงอย่างเดียว วัดผลจากยอด Walk in ล้วนๆ ชนิดที่ว่าใครทำป้ายหน้าโครงการใหญ่กว่า สีสันฉูดฉาดกว่า ก็ย่อมได้เปรียบคู่แข่ง แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้วครับ ข้อมูลสถิติจากหลายๆสำนักบ่งชี้ให้เห็นว่า Trend การบริโภคสื่อสำหรับกลุ่ม เป้าหมายของตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น พุ่งตรงดิ่งไปที่สื่อดิจิตอลครับ….นั่นหมายความว่าอะไรรู้ไหมครับ >>>> ผมตั้งสมมติฐานไว้ดังนี้

 

อสังหาริมทรัพย์จัดว่าเป็น High Involvement Product ที่ผู้ซื้อต้องใช้เวลาในการตัดสินใจ ศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน ปรึกษาเพื่อนฝูง และกลุ่ม influencerหลายต่อหลายคนกว่าจะซื้อได้ก็ปาเข้าไปบางรายเป็นเดือนก็ยังมี

เมื่อก่อนกลุ่มผู้ซื้อบ้านและคอนโดอาจจะขับรถ survey ไปตามแอเรียต่างๆที่ตัวเองถูกใจ เมื่อเห็นป้ายไหนเด่นๆ ราคาโดนๆก็จะแวะเข้าไปเยี่ยมชมโครงการ ถูกไหมครับ?ดังนั้นยอด Walk in เมื่อก่อนก็จะสูงมาก หรือสูงน้อยแปรผันไปตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันอย่างปริมาณคู่แข่ง และโปรโมชั่นที่แต่ละเจ้านำเสนอ >>> แต่อย่าลืมครับ เมื่อก่อนกลุ่มคนพวกนี้เนื่องจากเห็น ป้ายมันหมดทุกโครงการ เค้าก็จะแวะไปทุกโครงการที่เห็นป้ายแหละครับ ผลลัพธ์ก็คือ Walk in สูง แต่ปิดกันไม่ค่อยได้ครับ เพราะว่าผู้ที่แวะเข้าไปส่วนใหญ่ยัง virgin ในเรื่องอสังหาอยู่เลยครับ กล่าวคือ ไม่ได้มีการศึกษาหาข้อมูลพื้นฐานเอาไว้ก่อนเลย ว่าโครงการมันมีที่มาที่ไปอย่างไร ราคาเท่าไหร่ หน้าตาเป็นอย่างไร แถวนี้มีอะไรบ้าง กว่าเซลล์จะอธิบายกันรู้เรื่อง กว่าจะปิดการขายได้ก็เหนื่อยกันไปไม่รู้เท่าไหร่ จาก nature ของอสังหาที่เป็น High Involvement Product อยู่แล้ว มันก็เลยกลายเป็น super high เลยครับ ซื้อแค่ครั้งเดียวพอในชีวิต เหนื่อยแล้ว ไม่อยากหาบ้านใหม่แล้ว

ปัจจุบันนี้บริษัทดังๆหลายบริษัท ได้เล็งเห็นปัญหานี้ครับ นักการตลาดที่ชาญฉลาด รู้จักวิเคราะห์ (อย่างผม…) มองปร้าดเดียวก็รู้เลยครับว่า หากอสังหาริมทรัพย์จะขายมากกว่าที่เป็นอยู่ มันต้องไปเปลี่ยน nature มันจาก High Involvement Product ที่ซื้อเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต และกว่าจะซื้อทีต้อง walk in ไปไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยที่ มาเป็นA little bit high involvement product ครับ (555…) ที่บอกว่า a little bit high นี่ก็หมายความว่าต่ำกว่า high ลงมานิดนึงนะครับ แต่จะให้มาเป็น low involvementproduct แบบสบู่ แชมพู มันฝรั่งทอด กล้วยทอด มันก็คงเป็นไปไม่ได้น่ะครับ สิ่งที่ผมว่าเป็น a little bit คือ ซื้อได้ 2-3 ครั้งในชีวิตครับ >>> เห็นมั้ยครับ แค่นี้ Lifetime purchasing volume ของผู้บริโภคแต่ละคนก็สูงขึ้นเป็น 2-3 เท่าแล้วนะครับจินตนาการว่าหากทั้งตลาดคิดแบบนี้เหมือนกันหมด demand ทั้งตลาดก็จะเพิ่มตามนะครับ

แล้วถามว่าไอ้การที่จะคิดกลยุทธ์ หรือแทคติก ที่มันจะล้อกันกับความเป็น a little bit high involvement product นี่คืออะไรครับ? เพื่อความรวดเร็ว เพราะผมขี้เกียจอธิบายให้มันยาวยืด ผมขอเขียนเป็น Bullet นะครับ

  • สร้างบริษัท broker หรือนายหน้าซื้อขาย อสังหาเพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้า ในการขายต่อซะเลย
  • เป็นพันธมิตรกับสถาบันการเงินเพื่อสร้างแต้มต่อด้าน การผ่อนดาวน์ที่น้อยและนาน จะได้ล่อตาล่อใจกลุ่มนักลงทุน
  • กระตุ้น impulse purchasing ด้วยแพกเกจการจ่ายเงินดาวน์ พร้อมทำสัญญาที่ต่ำ แถมแบ่งจ่าย 0% ได้อีก หรือจะเป็นการซื้อบ้านแถมรถยนต์ หรือสารพัดการลด แลก แจก แถมส่วนลด voucher
  • เอายูนิตที่ขายยาก บล๊อควิว สุดซอย ชั้นต่ำสุด ไปแจกฟรีในงานบ้านและคอนโด หรือเอาไปจับฉลากตามงาน Mid Night Sale หรือทำการันตีค่าเช่ามันซะเลย
  • สร้าง third place brand touch point ประมาณแบบ longue/ Coffee Shop/ Retail Space เก๋ๆ ให้ผู้บริโภคในอนาคตได้สัมผัส และซึมซับถึง brand experience ของสินค้า แถมความเป็น engagement ไปด้วย เผื่อว่าพอเรียนจบ หรือ พอคิดอยากมีบ้าน ก็จะได้นึกถึงเราเป็นเจ้าแรกแล้วกัน
  • ทำลวดลายบนบัตรเครดิต พร้อม Double Point, Triple Point หรือสารพัดจะ Point มันไปเลย
  • สร้าง unmet need หรือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการแต่ยังหาไม่เจอ (อารมณ์ประมาณว่าลูกค้ากำลังสับสนตัวเองว่าต้องการอะไร) เพื่อให้เกิด demand ในส่วน niche market

64360e0ce

643608f0e

 

64360b9d1

 

ข้อสุดท้ายนี่แหละครับที่ผมจะพูดวันนี้…แต่ยังก่อน!!! ผมยังไม่เข้าเรื่องครับ ขอต่อเรื่อง a little bit high involvement ให้จบก่อนครับ ทีนี้เนี่ยผมเชื่อว่าตั้งแต่ช่วงปีสองปีมานี้ นักการตลาดอสังหาส่วนใหญ่คงนั่งกลุ้มอก กลุ้มใจเรื่อง walk in น้อยแน่ๆใช่ไหมครับ?อย่าเพิ่งตกใจไปครับ…. จากการวิเคราะห์ของผม หาก nature ของอสังหาริมทรัพย์เคลื่อนย้ายสถานะจาก High involvement product จริงๆ ดังนั้นเชื่อขนมกินได้เลยครับว่ายอด walk in จะน้อย!!!!!!! อ้าว แล้วหยั่งงี้จะทำยังไงล่ะครับผู้อ่าน ปิดกิจการมันไปเลยมั้ย ลดแล้วแทบจะแจกฟรีอยู่แล้ว โบกธงมันทุกวัน ทั้งวันทั้งคืนไฉนคนจึงเข้ามาน้อย???

ผมจะตอบให้ครับว่าทำไม >>> ด้วย nature และ trend ของการบริโภคสื่อที่สอดรับกัน กล่าวคือสื่อดิจิตอลถูกผู้บริโภคเลือกใช้มากขึ้น และอสังหาริมทรัพย์เป็นสินค้าที่ต้องพินิจพิจารณานาน ดังนั้นลูกค้าสมัยนี้จึงเลือกที่จะศึกษาหาข้อมูลทางสื่อที่ให้ข้อมูลครบถ้วนและสะดวกที่สุด อย่างอินเทอร์เนตก่อนครับ สมัยนี้ง่ายครับ ผมอยากหาคอนโดแถวซอยทองหล่อ ผมเข้า google พิมพ์คำว่า คอนโดทองหล่อ ผลลัพธ์ออกมามีมากกว่าล้าน ให้ผมนั่งอ่าน ศึกษาหาข้อมูล เปรียบเทียบ ไปได้ทั้งวันเลยครับ คิดดูว่ามันประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากรกว่าการที่จะต้องไปขับรถ โบกรถ นั่งรถ ไปตามหาคอนโดในฝัน ตามสถานที่ต่างๆมากแค่ไหน?

ตรงนี้นักการตลาดที่อ่านขาด เขาจะไม่ serious เรื่องยอด walk in เลยครับ เพราะเขารู้ว่า ถึงยอด walk in น้อย แต่การันตีว่า walk เข้าไปมี Potential แน่ๆ โอกาสปิดได้แน่นอนครับ ฟันธง@!!! เพราะลูกค้าฉลาดหมดแล้วครับ อ่านมาก่อน ดีไม่ดีรู้ข้อมูลเยอะกว่าเซลล์อีก ขอให้เซลล์จำเอาไว้ครับว่าถึงมีน้อย แต่เขามีเราอยู่ในใจแล้วถึงwalk in เข้ามาครับ ในทางกลับกันยอด Call in รวมถึงยอด Page View ของสื่อดิจิตอลของเราต่างหากครับ ที่จะเป็นตัววัดว่าเราประสบความสำเร็จในการทำการตลาดมากแค่ไหน ผมถามว่า Call in นี่มาจากไหนครับ? กรณีที่ไม่ได้มีการทำสื่อ offline ใดๆเลย แน่นอนว่ามันมาจากสื่อดิจิตอลที่เราวางแผนเอาไว้นั่นเองแหละครับ ถ้าเราวางแผนสื่อดี มี content แน่น สินค้าตรงกับความต้องการ มีหรือที่จะไม่มีคนโทรมาครับ โดยเฉพาะยอด Page View ไม่ว่าจะผ่านทาง google organic/ CPC/ web referral/ direct url มันเป็นดัชนีชี้วัดได้ชัดเจนครับว่าแคมเปญ หรือสินค้าเรานั้นมีCost Per Action และ Cost Per Engagement เท่าไหร่?

ย้อนกลับมาที่คำว่า Unmet Need แล้วครับ หลังจากนอกเรื่องไป 3 หน้า… จากที่ผมบอกไปว่า unmet need นั้นหมายความอย่างง่ายๆว่า สิ่งที่ลูกค้ารู้สึกว่าจำเป็น ต้องการแน่ๆ แต่ยังหาไม่พบ ซึ่งนักการตลาดจะต้องไปล้วงลับตับแตก จากการทำ focus group หรือ depth interview เองครับ ผมยกตัวอย่างอุตสาหกรรมอื่นที่นักการตลาดหา unmet need เจอ เพื่อให้เข้าใจภาพได้ง่ายๆครับ

ตลาดผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย >>> เริ่มต้นก็ทำแค่ให้มันหอม ใครจะไปรู้ล่ะครับว่าปัจจุบัน ว่าผู้บริโภคต้องการ unmet need อย่างเช่น การโชว์ผิวใต้วงแขนที่เรียบ เนียน ขาว แห้งเร็ว ไม่เป็นคราบเหลือง

ตลาดเครื่องสำอาง >>> เริ่มต้นมีแค่ของผู้หญิง ปัจจุบันมีของผู้ชาย ซึ่งทำไปทำมาตลาด ผู้ชายเริ่มที่จะแซงตลาดผู้หญิงแล้วครับ

ตลาดยาสีฟัน >>> เมื่อก่อนก็แค่รักษาความสะอาดประจำวัน เดี่ยวนี้มีการแบ่งตลาดแบบซอยย่อยสุดๆครับ เช่น กลิ่นปากหอมในตอนเช้า ฟันขาวสวย ปกป้องเหงือก สมุนไพร ดำ หยาบ เฝื่อน ฯลฯ

แล้วอสังหาริมทรัพย์มันมี unmet need ตรงไหนล่ะครับ? ที่ผ่านมาผมเห็นรายใหญ่ๆอย่าง…. (คิดไปคิดมาไม่อ้างชื่อดีกว่าครับ) มีการทำการตลาดแบบ lifestyle segmentation เต็มที่เลย แบ่งประเภทโปรโมชั่น ตาม concept อายุและความชอบละตัวบุคคล มีการวาง character ของแบรนด์ซะจัดเต็มเลยครับ คอนโดผมนะต้องเป็นบี้ เดอะ สตาร์ คอนโดผมต้องระดับ Marthar Steward คอนโดของดิฉันต้องเป็นสิบล้อ แต่ผลที่ออกมา…คนซื้อเป็นอาเจ๊ก อาแปะ อาม่า อาซิ้ม คนต่างจังหวัด แต่งตัว หรือไลฟ์สไตล์อะไร ก็ไม่ได้ตรงตามคอนเซปท์อะไรที่วางเอาไว้เลยครับ

ตรงนี้ไม่ใช่ความผิดของแผนกการตลาดนะครับ ผมบอกไว้ก่อน เพียงแต่ว่าเราต้อง“อิน” และเริ่มคิดเรื่องพวกนี้ตั้งแต่ยังไม่เกิดผลิตภัณฑ์ครับ ลองไปดูอุตสาหกรรมอื่นๆ นีเวียคิด roll on สำหรับผู้ชาย เค้าก็ทำโรลออนสำหรับผู้ชายครับ ไม่ใช่ไปทำโรลออนแบบเดิมๆแล้วมาแก้ไข copy หรือ  key visual ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย พูดแบบนี้คุณผู้อ่านพอเห็นภาพไหมครับ? ผมจะบอกว่าหากคุณค้นพบ unmet need แล้ว ก็พยายาม research and development และผลิตมันออกมาให้มันตอบโจทย์ครับ โชคดีที่ผมเกิดทันยุคที่อสังหาหลายเจ้ามีการคำนึงถึงเรื่องนี้ครับ

สามสี่ปีที่แล้วผมเคยนึกว่าคงจะดีไม่น้อยที่คอนโดที่เหมาะกับคนรักสัตว์ มีคอนโดที่เหมาะกับการใช้ชีวิตครอบครัว ร่วมกับผู้สูงอายุ มีคอนโดที่สามารถใช้เป็น shelter เล็กๆในราคาไม่แพงมากแต่อยู่ใจกลางเมือง หรือมีคอนโดที่เน้นการสร้าง eco value แบบเต็มที่

ปัจจุบันนี้ผมเห็นแล้วครับ!!! ก่อนหน้านี้มีใครรู้จักบริษัท Infinite real estate บ้างครับ?บริษัทนี้มี Positioning ชัดเจนที่จะพัฒนาคอนโดที่ตอบโจทย์เฉาะกลุ่มครับ เริ่มต้นจากการทำคอนโดที่ตอนแรกผมคิดว่าเค้ากล้าให้มากครับ คือ Happy Condo ที่มีสนามฟุตบอลขนาดใหญ่ ย้ำนะครับ ว่าใหญ่มากๆ แข่งโอลิมปิกได้อ่ะครับ แถมทำเลก็ไม่ได้หลุดไปนอกเมืองอยู่แค่รัชดา ซอย 18 เอง

ล่าสุดเมื่อเดือนที่แล้วทางบริษัทฯก็ได้มีการเปิดตัวโครงการคอนเซปท์คอนโดที่ฮือฮามากครับ นั่นคือคอนโดที่อนุญาตให้เลี้ยงสุนัข และแมวได้ (หลายๆคนคนเห็นโฆษณาที่มี บอย ปกรณ์ เป็นพรีเซนเตอร์แล้วนะครับ) ผมขอ quote ข่าวจากโพสท์ ทูเดย์มาแล้วกันครับ…

“โพสต์ทูเดย์ -อินฟินิท ทุ่ม 30 ล้าน ปลุกกระแสคอนโด จับกลุ่มคนรักสุนัข ดึง “บอย ปกรณ์” ช่วยทำตลาด มั่นใจเปิดตัวขายเกลี้ยง

นายสุรพล กอวรกุล ประธานกรรมการ บริษัท อินฟินิท เรียลเอสเตท ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้แบรนด์ แฮปปี้ คอนโด และแฮปปี้โฮม กล่าวว่า บริษัทได้เตรียมงบประมาณจำนวน 30 ล้านบาทเพื่อใช้ทำตลาดโครงการแฮปปี้คอนโด ลาดพร้าว 101 เฟส 2 ที่มีจุดขายจับกลุ่มผู้บริโภคที่ชอบเลี้ยงสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงอื่นที่ถูกกฎหมาย

งบดังกล่าวจะใช้ผ่านสื่อต่างๆรวมทั้งการเปิดตัว บอย-ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ นักแสดงชื่อดังมาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับโครงการ โดยคาดว่าหลังจากทำตลาดอย่างเป็นทางการ จะสามารถปิดการขายโครงการที่มีอยู่จำนวน 160 ยูนิต ได้หมดในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่ผ่านมามียอดพรีเซลแล้ว 20%

“หลังจากเริ่มทดลองทำตลาดปรากฏว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากลูกค้าที่มีสัตว์เลี้ยง เพราะปกติคอนโดมิเนียมทั่วๆ ไปจะไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ในโครงการ ถ้าจะเลี้ยงก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ หรือไม่ก็ตัดสินใจไม่อยู่คอนโดมิเนียมเลยโครงการนี้จึงตอบโจทย์คนรักสัตว์ได้อย่างตรงจุด เพราะนอกจากจะให้เลี้ยงสัตว์ในโครงการได้แล้ว ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสัตว์ไว้รองรับด้วย” นายสุรพล กล่าว

สำหรับโครงการแฮปปี้ คอนโดลาดพร้าว 101 แบ่งการพัฒนาเป็น3 เฟส โดยในเฟสแรกมีจำนวนกว่า300 ยูนิต ขณะนี้สร้างเสร็จแล้วและมียอดขายไปแล้ว 80% ขณะที่เฟส 2 กำลังเปิดขายอีกจำนวน 160 ยูนิต ราคาเริ่มต้นที่ 1.1 ล้านบาท

ขณะที่โครงการในเฟส 3 อีกจำนวนกว่า 300 ยูนิต จะสร้างให้เสร็จก่อนขาย ซึ่งหากโครงการสำหรับคนรักสัตว์ประสบความสำเร็จ จะนำรูปแบบเดียวกันมาใช้กับโครงการในเฟส 3 นอกจากนี้ในโครงการดังกล่าวยังมีคอมมูนิตีมอลล์แฮปปี้ อเวนิว ให้บริการด้วย”

สิ่งสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร้จ ไม่ใช่แค่คอนเซปท์ หรือพรีเซนเตอร์นะครับ แต่เป็นตัว Product ที่ออกแบบมาให้เกิดความเป็น Functional ด้านการเลี้ยงสัตว์ได้อย่างจริงจังครับ

สำหรับ unmet need อีกอันนึงที่ผมอยากยกมาเป็นตัวอย่างก็คือ คอนโดสำหรับกลุ่ม Multi Family ที่ให้ความใส่ใจในสุขภาพของผู้สูงวัยครับ เท่าที่กวาดสายตาดูในตลาดก็จะมี LPN ที่สบช่องพัฒนามากว่า 5 แล้ว รวมถึงรายอื่นๆอย่างเช่น บ้านกานดา และกลุ่มแมกโนเลีย ในเครือ CP ที่เลือกที่จะพัฒนาในรูปแบบบ้านเดี่ยวครับ โดย LPN ใช้กลยุทธ์หลักในการขายว่า Family Zone ครับ เนื่องจากหากใช้คำว่าสูงวัย สูงอายุมาก็จะดูห่อเหี่ยว พาลจะขายไม่ได้เอาน่ะครับ สำหรับรายละเอียดของ Family Zone มีดังนี้ครับ

“มีการผสานแนวคิดของกลุ่มคน 3 รุ่น ได้แก่ ปู่-ย่า, ตา-ยาย, พ่อ-แม่ และหลาน มาอยู่ร่วมกันแม้จะเป็นโครงการคอนโดฯ ก็ตาม โดยใช้แนวคิด “FAMILY ZONE” ที่ได้ผสานความสมดุล ระหว่างวิถีชีวิตที่ดูแล ห่วงใยและแบ่งปันความสุข กับ วิถีชีวิตคนเมืองปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ ด้วยการออกแบบ family zone ให้เป็นพื้นที่พิเศษสำหรับครอบครัว ซึ่งมีเฉพาะชั้น 4-5-6 เฉพาะโครงการลุมพินี วิลล์ นาเกลือ-วงศ์อมาตย์ ซึ่งเป็นโครงการแรกที่ ลองชิมลาง โครงการดังกล่าวสานสายใยของคน 3 วัยไว้ด้วยกัน ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการ ที่สามารถรองรับคนในแต่ละวัย ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว ดูแล และห่วงใย “สะดวก สบาย เป็นอิสระ

ที่นี่ จะทำให้ทุกวันของครอบครัวมีแต่ความอบอุ่นและมีความสุข ด้วยกลิ่นอายของวิถีชีวิตไทย ๆ ที่แวดล้อมด้วยสังคมเมืองใหม่ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ให้บริการทางด้านสุขภาพ การดำเนินชีวิต และนันทนาการ จากทีมงานบริหารชุมชนที่ได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี และความร่วมมือจากพันธมิตรทางด้านการแพทย์จากโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาล

643605d99

เอาล่ะครับ หวังว่าวันนี้คุณผู้อ่านทุกท่านคงได้เข้าใจถึงความหมายของหลายๆคำศัพท์นะครับ ไม่ว่าจะเป็น a little high involvement product/ unmet need/ lifestyle segmentation รวมถึง Trend ของตลาดอสังหาที่นับวันจะมีแต่ยอด walk in ที่น้อยลงครับ ครั้งหน้าเจอกันใหม่ (น่าจะหลังสงกรานต์มั้งครับ..) ก็จะมีเรื่องราวน่าสนใจ เกี่ยวกับ Real Estate Branding ในมุมมองที่เชื่อว่าคุณจะไม่สามารถหาอ่านได้จากที่ไหนแน่นอนครับ แล้วเจอกันหนหน้าครับ

หากเพื่อนๆหรือคุณผู้อ่านคนไหนอยากให้ผมเขียนเรื่องอะไร และจะแนะนำติชมอะไรขอให้ส่งเมลมาได้ที่ kirk.bu@gmail.com นะครับ อะไรที่หามาได้ ก็จะเอามาเขียนตอบแน่นอนครับ ส่วนอะไรที่ตอบไม่ได้ก็รอไปก่อนนะครับ แต่สัญญาว่าจะหามาให้ได้ครับ

บทความโดย เกริก บุณยโยธิน

 

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง