Telemedicine จะ disrupt โรงพยาบาลหรือไม่?!

Propholic EditorialTeam 13 June, 2020 at 12.23 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ตั้งแต่มี Covid-19 กระแสของ Telemedicine หรือการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการโต้ตอบสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์แบบเรียลไทม์ก็เริ่มเป็นกระแสที่มาแรงขึ้น เนื่องจาก Telemedicine ช่วยให้คนที่อยากคุยกับหมอแต่ไม่ต้องการออกไปที่โรงพยาบาลซึ่งเป็นสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มได้มีทางเลือกในการเข้าถึงแพทย์โดยที่ตัวยังอยู่ในบ้าน

ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ทางการแพทย์ต่างๆ เช่น Chiwii เว็บไซต์ปรึกษาหมอออนไลน์, แอปพลิเคชัน Raksa ป่วยทักรักษา, ใกล้มือหมอ, HD Honest Doctor, Diagme แอปคัดกรองโคเบื้องต้น และแพลตฟอร์มสำหรับพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอย่าง OOCA ให้เลือกใช้ตามสะดวก

ในขณะที่ธุรกิจ Telemed กำลังเริ่มมาแรงและเติบโตในไทย แต่ทางฝั่งอเมริกาถือว่าได้เติบโตล้ำหน้าไปมาก ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการตลาด Statista พบว่ามูลค่าตลาด Telemed ในระดับโลกเติบโตขึ้นจาก 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2015 มาเป็น 30.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 และคาดการณ์ว่าจะขยายไปถึง 35.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ และสูงถึง 41.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีหน้า

บางคนอาจมองว่า Telemed จะมา Disrupt โรงพยาบาล ด้วยความสะดวกในการเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพื้นฐานอื่นๆ เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดำเนินการของโรงพยาบาล แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าการมาของ Telemedicine ไม่น่าจะมา Disrupt โรงพยาบาลไปเสียทีเดียวแต่จะมาเป็นตัวส่งเสริมกัน เช่นเดียวกับในกรณีของธุรกิจค้าปลีกที่การเกิดขึ้นของออนไลน์ช้อปปิ้งที่ดูเหมือนจะทำให้การขายของแบบหน้าร้านตายจากไปในตอนแรก กลับเป็นส่วนที่เข้ามาส่งเสริมซึ่งกันและกันในภายหลังมากกว่า

ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์กับธุรกิจสุขภาพและการรักษาพยาบาล

มีรายงานจาก Bloomberg ว่าสตาร์ทอัพค้าปลีกออนไลน์อย่าง Warby Parker, Untucklt, Bonobos, Madison Reed และ Amazon Books กำลังเดินเกมรุกเตรียมปล่อยกลยุทธ์เพิ่มช่องทางการขายแบบหน้าร้านเร็วๆ นี้ เพราะสิ่งที่ช่องทางขายของแบบออนไลน์ให้ลูกค้าไม่ได้ก็คือประสบการณ์หน้าร้าน และการมีสินค้าที่จับต้องได้ให้ลูกค้าได้ลอง ได้สัมผัสก่อนการตัดสินใจซื้อ และการมีหน้าร้านเป็นของตัวเองยังช่วยปกป้องภาพลักษณ์ของแบรนด์ไม่ให้ถูกกลืนไปกับสินค้าคู่แข่งอีกนับร้อยพันบนเว็บไซต์ได้อีกด้วย

เช่นเดียวกันกับธุรกิจสุขภาพและการรักษาพยาบาล การทำให้การเข้าถึงการรักษาพยาบาลสะดวกสบายคือหัวใจสู่ความสำเร็จมากกว่าการเลือกเน้นการเข้าถึงด้วยช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ผู้ดำเนินธุรกิจต้องทำความเข้าใจว่าใครคือกลุ่มลูกค้าที่จะใช้ Telemedicine ใครที่ต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาล และใครที่สะดวกเลือกใช้บริการทั้งสองช่องทาง เมื่อเข้าใจข้อมูลเหล่านี้แล้วก็สามารถตัดสินใจได้ว่าควรใช้งบประมาณในการโฆษณาไปในแต่ละช่องทางอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สุดท้ายแล้ว Telemedicine จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่มันจะเป็นแค่หนึ่งในองค์ประกอบของธุรกิจสายสุขภาพในอนาคตเท่านั้น ณ วันนี้ผู้ดำเนินธุรกิจเพียงแค่ต้องหาวิธีปรับใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่นี้ให้เหมาะกับกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงของผู้ใช้บริการให้มีความสะดวกและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

แหล่งข้อมูล

http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20200517000110&np=4&mp=1

https://www.buxtonco.com/blog/telehealth-isnt-the-future-of-the-healthcare-industry-heres-why

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง