Abe House บ้านที่มีแนวคิดการออกแบบ แยกสเปซภายในกับโครงสร้างหลักอาคาร

ชยางกูร กิตติธีรธำรง 27 September, 2023 at 10.38 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


บ้านอยู่อาศัยครอบครัวใหญ่ ตั้งอยู่ในเมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น จาก Masafumiharigaiarchitecture

Swaying Fixed Point – จะเป็นไปได้ไหมที่จะนึกถึงสถาปัตยกรรมในมุมมองของโครงสร้างเป็นปัจจัยหลักก่อน
โดยบ้านหลังนี้ในทางสถาปัตยกรรมผู้ออกแบบได้เริ่มกระบวนการคิดแยกกันระหว่าง โครงสร้างที่รับแรงทางนอน(Horizontal Force) และ โครงร่างกรอบตัวบ้าน ซึ่งข้อสรุปสุดท้ายทางผู้ออกแบบได้สร้างโครงร่างกรอบตัวบ้านที่เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมที่กำหนดพื้นที่ใช้สอยพื้นที่ห้องนั่งเล่นของตัวบ้าน ล้อมรอบโครงสร้างหลักที่คล้ายกระดูกสันหลังวางอยู่ตรงกลาง หรือ Spine-like polygon ซึ่งทั้งสององค์ประกอบราวกับว่ามีจุดประสงค์ที่แยกจากกัน แต่จริงๆแล้วมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน

หลังจากนั้น การตัดสินใจเรื่องตำแหน่งและความต้องการของผู้อยู่อาศัย ตำแหน่งพื้นที่ตัวห้องจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกทางกายภาพในการกำหนดขอบเขตภายใน แต่ยังอยู่ภายใต้ระบบวิศวกรรมที่เป็นไปได้ ซึ่งในกระบวนการออกแบบตัวโครงสร้างจะมีการยึดตำแหน่งหลัก(Fixed Point) กับตำแหน่งปรับเปลี่ยน (Oscillates) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระยะระหว่างเสากว้างเพียงพอก็จะทำให้มีพื้นที่กว้างสบายขึ้น หรือ ถ้าวางตำแหน่งองศาของเสาอยู่ลึกเข้าไป สเปซภายในก็จะให้ความรู้สึกเชื่อมต่อกันมากขึ้น เป็นต้น

โดยโปรเจคบ้านนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับการอยู่อาศัย 6 ครอบครัว มีทำเลที่ตั้งของบ้านที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง แต่ก็ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ชานเมือง เป็นพื้นที่กึ่งกลางระหว่างกลางเมืองและชานเมือง ซึ่งการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัวบนพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม สภาพแวดล้อมดี และไม่รบกวนกับพื้นที่ภายนอกอย่างชุมชน ทางผู้ออกแบบจึงได้มีการใส่พื้นที่ Courtyard เปิดโล่งสู่ด้านบน ในตำแหน่งกลางบ้าน ทำให้ครอบครัวที่มีจำนวนหลายคน สามารถมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันได้ แต่ก็ยังสามารถมีพื้นที่แยกออกจากกันอย่างอิสระของแต่ละครอบครัว

ทางผู้ออกแบบยังมีการจินตนาการของสเปซที่มีระยะห่างระหว่างความใกล้ชิดและความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็ยังต้องเคารพต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรู้สึกการกระทำของกันละกันด้วย ทำให้ตำแหน่งตัวเสาและคานที่ต่อเนื่องกัน คือ ทั้งหมดที่ประกอบขึ้นเป็นรูปหลายเหลี่ยมเป็นวงกลมปิด แต่ก็เป็นส่วนที่สร้างสเปซเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นทิวทัศน์ที่แบ่งพื้นที่ในการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างหลวมๆ โดยไม่รู้ตัว และพื้นที่จะให้ความรู้สึกเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเป็นเพื่อนไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ แม้ในพื้นที่ที่เชื่อมต่อกันสามารถเดินวนไปรอบๆหากันได้ รับรู้มุมมองที่หลากหลายทั้งที่เห็นและสัมผัสได้ จากตำแหน่งเสาต่างๆ ที่มีความซับซ้อน แต่พื้นที่บ้านก็ยังสามารถรองรับความต้องการของผู้อยู่อาศัยของแต่ละคนในครอบครัว ตามแต่ละเวลา ตามแต่ละโอกาส และงานต่างๆ ที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างลงตัว

สุดท้ายถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า สิ่งที่มีเหตุผลในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นำมาซึ่งระบบทางวิศวกรรม ทางผู้ออกแบบเชื่อว่ารูปแบบเชิงพื้นที่ซึ่งให้ความรู้สึกทางร่างกายสามารถเข้ามาอยู่ในกระบวนการคิด เนื่องจากปัจจัยกำหนดนั้นมาพร้อม มนุษย์ และ ความไดนามิก ซึ่งจะเป็นไปได้ไหม? ที่จุด Swaying Fixed Point จะแก้แนวคิดดั้งเดิม และสามารถเชื่อมโยงผู้คนกับสิ่งของ และผู้คนกับกิจกรรมได้อย่างลงตัว

 

อ้างอิง

Abe House / masafumiharigaiarchitecture | ArchDaily

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

สถาปนิกจบใหม่ กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มีความสนใจด้านอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภทตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ คอนโด โรงแรม และชอบไปดูโครงการและงานออกแบบอยู่เสมอ เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

เว็บไซต์

แกรนด์ บางกอก บูเลอวาร์ด บางนา-ก...

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

SOLACE ในภาษาอังกฤษสื่อถึง สิ่งที่ช่วยปลอบประโลมจิตใ...

19 March, 2024

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง