ไขปัญหา The Tulip ตึกระฟ้าที่นักท่องเที่ยวชอบ แต่ลอนดอนเนอร์ไม่ต้องการ

Pawida W. 03 January, 2020 at 13.40 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ภาพจำลอง The Tulipและวิวเมืองลอนดอน

ภาพจาก www.dezeen.com/2018/11/19/tulip-viewing-tower-foster-partners-london-gherkin-architecture-news/

The Tulip ได้รับการอนุมัติจาก City of London Corporation (CLC) หรือเทศบาลเมืองลอนดอนให้สามารถดำเนินการก่อสร้างตึกสูงระฟ้านี้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายนปี 2019 ที่ผ่านมา (www.bbc.com)” แต่แล้วจู่ๆ นายกเทศมนตรีเมืองลอนดอน Sadiq Khan (ซาดิค ข่าน) กลับยับยั้งการก่อสร้างโครงการนี้ไว้เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาในปีเดียวกันจนเป็นข่าวใหญ่ของเมืองเมื่อไม่นานมานี้เอง ทำให้โครงการ The Tulip ที่นำทีมโดยสถาปนิกฝีมือระดับโลกอย่าง Foster+Partners เลยต้องชวดงานนี้ไปอย่างน่าเสียดาย เพราะถ้าหาก The Tulip ถูกสร้างจนเสร็จ มันจะกลายเป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดอันดับที่ 2 ของลอนดอนและกลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ใจกลางเมืองลอนดอนทันทีด้วยความสูงถึง 1,000 ft. (305 ม.) นั่นก็หมายความว่ามันจะกลายเป็นอาคารที่สูงที่สุดในลอนดอนด้วยนั่นเอง แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อความสูงปี๊ดของ The Tulip กลายเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันในวงกว้างเนื่องจากเมืองลอนดอนก็ไม่เคยมีตึกสูงระฟ้าที่สูงขนาดนี้มาก่อนจึงทำให้ทางการวิตกกังวลถึงคุณภาพชีวิตทางเดินเท้าบนถนนที่เป็นพื้นที่สาธารณะของชาวลอนดอนเนอร์ บ้างก็ว่า “ความสูงระฟ้าของ The Tulip จะบดบังทัศนียภาพเมืองแห่งประวัติศาสตร์แห่งนี้ บ้างก็ว่ามันอาจจะทำให้คุณภาพถนนลดลง (Tulip tower: Mayor rejects plans for London skyscraper by BBC.com)” โดยภาพรวมแล้วก็มีหลากหลายกระแสทั้งจากนักการเมืองท้องถิ่นและชาวลอนดอนเนอร์ในหลากหลายแง่มุมทั้งแง่บวกและแง่ลบจนสุดท้ายแล้วทำให้ The Tulip ถึงจุดจบ ต้องเก็บพับโครงการไว้ก่อน แต่ก็ยังคงมีคำถามคาใจใครหลายๆคน เราจึงได้หยิบประเด็นที่น่าสนใจมาวิเคราะห์กันหลังจากวันหยุดยาวช่วงปีใหม่ 2020    

 

มีอะไรเจ๋งๆที่ The Tulip ?

ภาพจำลองทางเดินวนรอบหอคอยและจุดชมวิว The Tulip

ภาพทั้งหมดด้านบนจาก www.dezeen.com/2018/11/19/tulip-viewing-tower-foster-partners-london-gherkin-architecture-news/

ภาพจำลอง Aerial Eye View

The Tulip จะกลายเป็นจุดชมวิวเมืองแห่งใหม่ที่สามารถมองได้ทั่ว 360 องศา เพราะโครงสร้างอาคารจะใช้กระจกเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างจึงทำให้มองเห็นได้ทั่วทุกทิศทาง แม้กระทั่งมองเห็นท้องฟ้าได้เต็มที่อีกด้วย พร้อมด้วยภัตรคารและสวนหย่อมที่มีไว้บริการนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นได้ใช้บริการอย่างคุ้มค่า นอกจากนี้แล้ว ก็มีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือ ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองลอนดอนเพื่อให้คนรุ่นหลังเรียนรู้พัฒนาการผังเมืองและปลูกฝังให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเมืองไปด้วยเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตในอนาคตต่อไป

ภาพจำลองการทัศนศึกษาภายใน The Tulip

ต่อด้วยการทำความรู้จักเมืองลอนดอน หนึ่งในเมืองสำคัญของหน้าประวัติศาสตร์อังกฤษและประวัติศาสตร์โลก พื้นที่ของ “ลอนดอนถูกตั้งให้เป็นเมืองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1826 จากนั้นก็ได้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของโลกเรื่อยมาเพราะโลเคชั่นตรงนี้ง่ายต่อการทำการค้าและการส่งสินค้าออกนอกประเทศ ปัจจุบันนี้มีประชากรรวม 2.5 ล้านคน เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญมากของอังกฤษที่เด่นเรื่องนวัตกรรม แหล่งรวมวัฒนธรรม และการค้า (Strategic Plan for the City of London. 2019-2023)”

โดยปกติแล้วเมืองนี้ไม่ค่อยมีตึกระฟ้า “ส่วนใหญ่มักนิยมสร้างไม่เกิน 20 ชั้นเท่านั้น นอกจากลอนดอนก็มีเมืองอื่นๆที่มีแผนว่าจะสร้างตึกระฟ้าไว้แล้วได้แก่เมือง Manchester(แมนเชสเตอร์), Bristol(บริสตอล) และ Norwich(นอร์วิช) (Reality Check: What are the rules on building skyscrapers? by bbc.com)” โดยเมืองทั้งหมดนี้คือเมืองเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษทั้งนั้นด้วย เหตุผลหลักๆที่เมืองใหญ่ๆของอังกฤษมีตึกระฟ้าเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับตึกระฟ้าที่มีอยู่ตามเมืองเศรษฐกิจใหญ่ๆของประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และดูไบ ก็เพราะนโยบายเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่ของอังกฤษเน้นไปที่ประโยบชน์ใช้สอยส่วนรวมของพื้นที่สาธารณะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดถึงแม้ว่าจะมีประชากรที่หนาแน่นก็ตาม ดังนั้นเมื่อมีโครงการใหญ่ๆของตึกระฟ้าเข้ามาจึงมักเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันถึงผลประโยชน์ที่คนทั่วไปจะได้รับมากกว่าการสร้างแลนด์มาร์คใหญ่ๆมาลดพื้นที่สีเขียวและลดความเหลื่อมล้ำเรื่องที่อยู่อาศัยในเมืองจนเป็นหนึ่งในประเทศในฝันของเศรษฐีต่างชาติที่อยากอพยพย้ายถิ่นฐานมาปักหลักบ้านใหม่ที่นี่ยาวๆนั่นเอง

London City, Aerial View ภาพจาก wallpaperstream.com/collection/london/London-City-View

 London City, Aerial View with Tower Bridge and Thames River

ภาพจาก Loan Panaite (pixels.com/featured/london-city-aerial-view-with-tower-bridge-and-thames-river-ioan-panaite.html)

เป้าหมายของการพัฒนาและคุณภาพชีวิตเมืองลอนดอน ถูกวางแผนไว้โดย Strategic Plan for the City of London ที่เน้นเป้าหมายหลักไปที่การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรักษาพื้นที่สีเขียวไว้เพื่อความยั่งยืนที่จะควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ชาวลอนดอนเนอร์ได้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกอย่างที่สำคัญพอๆกันคือการพัฒนาเศรษฐกิจของลอนดอนที่เป็นหนึ่งในผู้นำเศรษฐกิจโลกควบคู่ไปด้วยกันกับทุกๆนโยบาย ดังนั้นโครงการสิ่งปลูกสร้างในลอนดอนจึงจำเป็นต้องสร้างด้วยกรอบ Sustainable City(City Green) ตามนโยบายและเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาวลอนดอนเนอร์ทุกๆคนอย่างเท่าเทียมกัน

 

สาเหตุที่ทำให้ The Tulip ถูกยุติลง

Sadiq Khan(Mayer of London) ไม่สนับสนุนโครงการนี้ เพราะเขาเห็นว่ามันยังไม่ตอบโจทย์วิถีชีวิตชาวเมืองลอนดอนเท่าไรเลย เขามีความเห็นว่าเมื่อเทียบกับความเวอร์ของโครงการกับประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับมันไม่สมน้ำสมเนื้อกันสักเท่าไรด้วย 4 เหตุผลหลักนี้

1. ดีไซน์ของ The Tulip ยังไม่ครอบคุมความต้องการในโลเคชั่นนี้มากพอเมื่อเทียบกับการลงทุนมหาศาลของโครงการ

2. ความสูงและวัสดุที่ใช้อาจจะส่งผลเสียต่ออาคารเก่าแก่ที่อนุรักษ์ไว้ต่างๆที่ลอนดอน

3. อาณาเขตรอบถนน Bury ไม่มีความปลอดภัยและป้องกันเพียงพอสำหรับเขตพื้นที่แออัด

4. แทบไม่มีพื้นที่จอดรถจักรยานเพื่อรองรับการคมนาคมในลอนดอน

ดังนั้น โดยภาพรวมจากการวิเคราะห์แล้ว The Tulip เป็นโครงการที่ยังไม่สอดคล้องกับนโยบายท้องถิ่นเมืองลอนดอนที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมพื้นที่สีเขียวให้มีคุณภาพสูงสุดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวลอนดอนเนอร์ทุกๆคน อีกอย่าง “โครงการนี้ไม่ได้ตอบโจทย์ World Class Architecture เพราะโครงการนี้ยังไม่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อพื้นที่สาธารณะที่เปิดโล่ง ไม่สมเหตุสมผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนเมื่อเทียบกับความสูงของตึกระฟ้าที่อาจส่งผลกระทบต่อเส้นขอบฟ้าเมืองลอนดอน (Tulip tower: Mayor rejects plans for London skyscraper by BBC.com)”  ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้จึงทำให้ The Tulip  ไม่ได้รับการอนุมัติโดยนายกเทศมนตรี Sadiq Khan

ภาพจำลอง The Tulip

 

อนาคตเมืองลอนดอนจะเป็นอย่างไรต่อไป ?   

ภาพจำลองบรรยากาศโครงการในอนาคต

ภาพจาก www.newcivilengineer.com/latest/london-city-airport-opposes-tulip-tower-gondolas-29-11-2018

ในอนาคตลอนดอนอาจจะกลายเป็นเมืองใหญ่ที่มีพื้นที่สีเขียวมากที่สุดก็เป็นไปได้ เพราะนโยบายท้องถิ่นที่วางไว้ระยะยาวถึงปี 2024 ตั้งใจไว้ว่าจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากส่งผลให้ลดภาวะโลกร้อนได้ในระยะยาวอีกด้วย และที่น่าจับตามองอีกอย่างคือเรื่องการลดปัญหาคนไร้บ้านให้มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นแหล่งเพราะส่วนใหญ่ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของเมืองที่มีประชากรหนาแน่นและค่าครองชีพสูงอยู่แล้ว หากนโยบายนี้สำเร็จภายในปี 2024 ที่นี่จะกลายเป็นบ้านในฝันของใครอีกหลายคนทั่วโลกเลยทีเดียว

 

#cityofLodon #Tuliptower #thetulip #Londonarchitect #England #skyscraper #SadiqKhan #MayorofLondon #modernarchitect #BuryStreet #fosterandpartners #sustainablecity #Londonstreet

 

Resources

www.bbc.com

www.thetulip.com

www.london.gov.uk

www.citylab.com

www.theguardian.com

www.theweek.co.uk

www.newcivilengineer.com

Pawida W.

Pawida W.

นักเขียน Gen Y โลกสวยที่เชื่อว่า การออกแบบที่ดีจะทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ผังเมือง การเมือง สังคม หรือแม้แต่การออกแบบชีวิตของตัวเอง มีความคาดหวังที่จะได้ใช้โอกาสของการเป็นนักเขียนมาเขียนเล่าถึงการออกแบบที่ทันสมัยและการออกแบบของหมวดอสังหาฯ ให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง