HOF UDOMSUK โฮมออฟฟิศ พื้นที่เยอะที่หยิบเอารูปแบบการใช้เสปซของ ‘เรือนไทย’ มาประยุกต์ใช้

เกริก บุณยโยธิน 14 September, 2021 at 13.51 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ด้วยความเชื่อที่ว่า ‘คุณค่าของงานออกแบบสามารถช่วยแก้ไขปัญหา รวมทั้งพัฒนาคุณภาพให้แก่การอยู่อาศัย การใช้ชีวิตของผู้คน และเมือง อีกทั้งยังสามารถสร้างความคุ้มค่าในแง่ของโอกาสด้านการลงทุนได้ในเวลาเดียวกัน’ UNI-Living บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างกลุ่มสถาปนิกจึงตั้งใจที่จะพัฒนาโครงการเพื่อสร้างประสบการณ์และนำเสนอความเป็นไปได้ใหม่ๆ โดยนำเอาความรู้ด้านออกแบบและอสังหาริมทรัพย์มาสร้างสรรค์รูปแบบที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่เพียงแต่จะตอบรับกับการดำเนินชีวิตของคนเมืองในเวลานี้ และช่วยบรรเทาปัญหาจากการที่ต้องเผชิญกับสภาพการจราจรเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการแก้ปัญหาของอาคารทาวน์โฮม อาทิ วัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง ด้วยการรวมเอาฟังก์ชั่นสำนักงานและส่วนอยู่อาศัยมาไว้ด้วยกันตั้งแต่แรก อันส่งผลต่อการกำหนดจำนวนชั้น การออกแบบลักษณะและหน้าที่ใช้สอยของพื้นที่

 

ภายใน รวมทั้งการก่อสร้างเพื่อให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ภายใต้โครงการ ‘HOF UDOMSUK’ ภายในซอยอุดมสุข 18 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสถานีอุดมสุขเพียงไม่กี่นาที บนพื้นที่ใช้สอยรวม 388 ตารางเมตร ต่อ 1 หลัง โดยมี IF เข้ามารับหน้าที่ออกแบบโครงการในครั้งนี้

 

สำหรับ HOF UDOMSUK นั้นมีความแตกต่างในเชิงสถาปัตยกรรมที่ชัดเจน นั่นคือการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่สำนักงานและพื้นที่พักอาศัยออกจากกันอย่างเป็นสัดเป็นส่วนตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ โดยโครงการซึ่งมีขนาดรวม 3 ชั้น กับอีกหนึ่งชั้นลอยและหนึ่งชั้นใต้ดิน ได้มีการเพิ่มขนาดหน้ากว้างให้มากกว่าอาคารตึกแถวทั่วไป พร้อมๆ ไปกับขยายขอบเขตพื้นที่ชั้นล่างด้วยการกดพื้นให้มีระดับต่ำกว่าพื้นดินลงไป 0.9 เมตร และยกพื้นชั้นหนึ่งขึ้นสูงขึ้นไป 2 เมตร เพื่อให้ทั้งชั้นสามารถใช้เป็นส่วนจอดรถได้ทั้งหมด โดยสามารถจอดรถได้ 5-8 คัน

จากส่วนจอดรถ จะพบกับพื้นที่ในชั้นแรกซึ่งถูกออกแบบมาให้เข้าถึงได้ง่ายและมีความเป็นสาธารณะ อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานขนาดกลางที่สามารถรองรับพนักงานจำนวน 15-20 คน ในชั้นที่ 1 IF ทำการเพิ่มชานด้านหน้าเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ด้านในและด้านนอกเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริบทรายรอบกับผู้ใช้งาน ขณะเดียวกันก็มีการใส่รายละเอียดอย่างกระถางต้นไม้ในพื้นที่ส่วนนี้เพื่อสร้างบรรยากาศที่ร่มรื่นให้แก่ผู้อยู่อาศัย พร้อมๆ ไปกับการช่วยส่งเสริมด้านทัศนียภาพที่สวยงามให้กับพื้นที่แวดล้อม สำหรับพื้นที่ด้านในอาคารถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่แบบโอเพ่นสเปซเพื่อเปิดโอกาสให้

 

ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนและแบ่งกั้นพื้นที่ได้ตามลักษณะงานและความต้องการ โดยจะมีห้องน้ำจำนวน 1 ห้องที่แยกสัดส่วนชายหญิงอย่างชัดเจนอยู่ในชั้นเดียวกันนี้ด้วย

 

เมื่อขึ้นบันไดมายังส่วนชั้นลอยที่ถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นห้องประชุมนั้น ได้มีการวางระบบที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการวางระบบไฟ จุดเชื่อมต่อปลั้กไฟ ระบบการใช้งานคอมพิวเตอร์ ท่อแอร์ ตำแหน่งเสาและคาน และงานระบบอื่นๆ ที่เอื้อให้เกิดความสะดวกสบาย โดยพื้นที่โล่งในลักษณะดับเบิ้ลสเปซที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ทำงานชั้นล่างนั้น ถูกออกแบบไว้สำหรับการต่อเติมหรือขยับขยายพื้นที่ใช้งานได้ในอนาคต

ด้วยความตั้งใจที่ต้องการจะแยกโซนทำงานและการอยู่อาศัยออกจากกันอย่างชัดเจน ส่วนพักอาศัยในชั้นถัดมา จึงสัมผัสได้ถึงการไล่ระดับความเป็นส่วนตัวด้วยการออกแบบลิฟท์ที่สามารถขึ้นตรงมาจากลานจอดรถเพื่อเข้าถึงส่วนพักอาศัยที่ชั้น 2 ได้อย่างเป็นส่วนตัวโดยไม่จำเป็นต้องผ่านชั้นทำงานด้านล่าง

 

ส่วนพักอาศัยในชั้น 2 นี้ ทีมออกแบบได้นำเอารูปแบบการใช้เสปซของ ‘เรือนไทย’ มาประยุกต์ใช้ โดยถ่ายทอดออกมาเป็นพื้นที่ ‘ชานบ้าน’ ที่เมื่อผู้ใช้งานเดินทางออกมาจากลิฟท์แล้วจะได้พบกับพื้นที่ชานบ้านนี้ก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งพื้นที่ชานบ้านนี้จะเป็นพื้นที่แบบ semi-outdoor ซึ่งเป็นเสมือนพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสเปซก่อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน อีกทั้งยังมีการนำประตูบานเลื่อนมาใช้เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถปรับเปลี่ยนหน้าที่ใช้สอยได้ตามความต้องการของการใช้พื้นที่ในแต่ละโอกาส ไม่ว่าจะเป็นส่วนต้อนรับแขก สังสรรค์ การเป็นสวนขนาดย่อม และเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ชานบ้านดังกล่าวนอกจากจะช่วยแยกพื้นที่ส่วนรวมออกจากพื้นที่ส่วนตัวได้อย่างอิสระ แต่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของบ้านทั้งหลังแล้ว การแบ่งพื้นที่บ้านในลักษณะดังกล่าว ยังทำให้ผิวผนังบ้านสัมผัสกับธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งช่วยให้สามารถเปิดช่องหน้าต่างรับลมระบายอากาศได้มากขึ้นตามไปด้วย

 

‘ชาน’ หรือพื้นที่กึ่งอเนกประสงค์อันเป็นพื้นที่สัญจรนี้ยังทำหน้าที่เป็นส่วนต่อเชื่อมไปยังห้องนั่งเล่นแบบดับเบิ้ล สเปซด้านในที่ให้บรรยากาศแบบโล่ง โปร่ง สบาย พร้อมการจัดผังแบบโอเพ่นสเปซเพื่อให้ยืดหยุ่นไปกับการใช้งานที่แตกต่างและเฉพาะตัวของผู้อยู่อาศัย โดยสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นได้ตามความต้องการ อาทิ การขยายเป็นห้องนอนเพื่อรองรับจำนวนสมาชิกที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

ภายในพื้นที่ดังกล่าวยังมีการติดตั้งบันไดไม้ให้ยื่นออกมาจากผนังเพื่อทำหน้าที่เป็นพระเอกของพื้นที่ อีกทั้งเพิ่มช่องทางรับแสงจากด้านบนเพื่อแก้ปัญหาความอับทึบที่มักพบได้ในอาคารห้องแถวหรือทาวน์โฮม โดยส่งผลให้แสงธรรมชาติสามารถตกกระทบและไหลเข้ามายังตัวบ้านได้อย่างเพียงพอ ขณะเดียวกัน IF ยังได้เข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องของการถ่ายเทอากาศภายในตัวบ้านด้วยการเจาะช่องหน้าต่างทั้งด้านหน้าและด้านหลังบ้าน เพื่อเกิดการไหลเวียนของลมที่เหมาะสม

 

เมื่อก้าวสู่ชั้น 3 จะเป็นที่ตั้งของห้องนอนมาสเตอร์ ซึ่งมีคาแร็คเตอร์ของสเปซเป็นหลังคารูปทรงจั่ว โดยโครง สร้างจั่วดังกล่าวเกิดจากการนำข้อจำกัดในเรื่องของกฎหมายควบคุมความสูงอาคารมาเป็นโจทย์หลักในการออกแบบเพื่อช่วยเพิ่มสเปซการใช้งานให้รู้สึกโปร่งโล่งและสูงที่สุด โดยสเปซส่วนนี้ยังสะท้อนออกมาเป็นหน้าตาของตัวโครงการด้วยในตัว ในส่วนถัดมาคือห้องแต่งตัวที่มีความยาวขนาด 5 เมตร ซึ่งเชื่อมต่อไปยังห้องน้ำมาสเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีความโปร่งและถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้พร้อมกัน 2 คน ขณะที่พื้นที่ด้านหลัง จะมีการกั้นพื้นที่ขนาดย่อมซึ่งมีการเจาะช่องสกายไลท์ไว้ด้านบน เพื่อให้ผู้อยู่สามารถใช้เป็นสวนส่วนตัว พร้อมๆ ไปกับการเพิ่มความสว่างให้แก่ห้องน้ำ

ในส่วนของแนวทางการตกแต่งภายในจะเน้นความเรียบง่าย มีการใช้โทนสีขาวเป็นหลัก ทั้งในส่วนผนังและฝ้าเพดาน การนำกระเบื้องลายและคอนกรีตมาเป็นวัสดุในส่วนพื้นห้อง ขณะเดียวกันก็มีการเพิ่มความอบอุ่นให้บรรยากาศโดยรวมด้วยการนำไม้มาเป็นองค์ประกอบสำคัญ อาทิ บันไดไม้ สำหรับการตกแต่งภายนอกอาคาร จะเน้นการเปิดเผยให้เห็นพื้นผิวธรรมชาติของวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กที่ถูกใช้ในส่วนหน้าอาคาร ราวกันตก ครีบอาคาร รวมทั้งการใช้ตะแกรงเหล็กในส่วนพื้น ไปจนถึงกระถางคอนกรีตลวดลายไม้ เป็นต้น

อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ IF คำนึงถึงก็คือการหมุนเวียนและการระบายอากาศ การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องกล่าวย้อนไปยังต้นกำเนิดของตึกแถว (Shophouse) ในประเทศไทย โดยโครงการลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยปัจจัยหลักๆ คือการอพยพเข้ามาของชาวจีนโพ้นทะเลสู่ประเทศไทย โดยชาวจีนที่ถนัดในเรื่องการค้ามักก่อสร้างบ้านเรือนด้วยสองวัตถุประสงค์คือเพื่อทำการค้าและเพื่ออยู่อาศัย ประกอบกับข้อกำหนดของการเก็บภาษีตามความกว้างของหน้าบ้าน ทำให้พวกเขาจึงนิยมสร้าง

อาคารในแบบตึกแถวที่มีหน้าบ้านไม่กว้างมากนัก แต่ตัวอาคารมีลักษณะยาวและลึกแทน

แม้อาคารประเภทตึกแถวจะถูกออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรองรับทั้งในเรื่องการค้าและการอยู่อาศัยได้อย่างดี ทว่า ด้วยรูปทรงที่มีลักษณะแคบและยาว การปลูกสร้างในลักษณะที่ชิดติดกันไม่ต่ำกว่า 10 ห้องต่อ 1 บล็อก รวมไปถึงการวางตําแหน่งของบันไดที่ตรงกันตลอดทั้งอาคาร ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัย และก่อให้เกิดจุดด้อยในเรื่องแสงสว่างและการระบายอากาศ ทั้งนี้เพราะมีเพียงห้องที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังสุดเท่านั้นที่จะได้รับแสงและลมธรรมชาติ ขณะที่อาคารหลังอื่นๆ จะประสบกับปัญหาของความมืดและอับทึบ

 

ในการออกแบบ HOF UDOMSUK โครงการประเภทโฮมออฟฟิศซึ่งมีลักษณะอาคารแบบเดียวกับตึกแถวนั้น IF จึงได้แก้ปัญหาข้อด้อยดังกล่าวด้วยการนำลักษณะการออกแบบอาคารที่เน้นพึ่งพาและอาศัยประโยชน์จากธรรมชาติ (Passive Design) มาใช้เป็นแนวทางหลัก เพื่อสร้างภาวะอยู่สบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย ตั้งแต่การวางแนวอาคารให้สัมพันธ์ไปกับทิศทางของแสงและลมธรรมชาติ การกำหนดตำแหน่งช่องเปิดอย่างหน้าต่างบานใหญ่ทั้งด้านหน้าและหลังในทุกชั้นของอาคารเพื่อให้ลมสามารถหมุนเวียนเข้าออกภายในอาคารได้ดี การนำลักษณะพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซมาใช้บริเวณชั้นลอย อันเป็นพื้นที่ส่วนทำงาน และบริเวณชั้น 2 ของอาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องนั่งเล่นในส่วนพักอาศัย เพื่อให้แสงธรรมชาติสามารถตกกระทบเข้าสู่สเปซภายในได้อย่างทั่วถึง การติดตั้งสกายไลท์เพื่อนำอินไดเร็คไลท์จากแสงแดดเข้าสู่พื้นที่ในอาคาร อีกทั้งยังมีการติดตั้งกระถางต้นไม้ไว้ด้านหน้าอาคารเพื่อช่วยกรองความร้อนจากแสงแดด โดยพื้นที่สีเขียวดังกล่าวยังมีประโยชน์ในแง่ของการให้ร่มเงา ตลอดจนขับเน้นและสร้างเอกลักษณ์ให้แก่อาคาร พร้อมๆ ไปกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับทั้งผู้อยู่ พื้นที่สาธารณะและผู้คนรายรอบตัวโครงการ

 

การออกแบบและการนำสุนทรียภาพจากธรรมชาติมาใช้งานในลักษณะดังกล่าวของ HOF UDOMSUK ไม่เพียงแต่จะตอบรับกับจุดประสงค์ในเรื่องความงามและช่วยสร้างมิติให้กับพื้นที่ที่ผู้ใช้งานอาคารสามารถสัมผัสได้ผ่านสายตาและความรู้สึกรวมทั้งเพิ่มคุณภาพการใช้งานและจัดสรรพื้นที่ภายในอาคารให้ดีขึ้น ตลอดจนเป็นโครงการที่พัฒนาควบคู่ไปกับการรักษาสภาพแวดล้อมและพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนเท่านั้น แต่เป้าหมายสำคัญคือการแก้ปัญหาในเรื่องความอับทึบและมืดของอาคารตึกแถว โดยพื้นที่ภายในจะสามารถเปิดรับแสงแดดและลมประจำทิศให้สามารถเข้า-ออก และหมุนเวียนในปริมาณที่เพียงพอได้ทั่วทั้งอาคาร อันส่งผลต่อเนื่องไปสู่การช่วยลดปริมาณพลังงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในอาคารด้วยเช่นกัน

 

สิ่งที่ทำให้โครงการ HOF UDOMSUK แตกต่างไปจากอาคารทาวน์โฮมทั่วไป ก็คือลักษณะการออกแบบของสเปซภายในให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้ผู้อยู่สามารถใช้งานได้หลากรูปแบบ การออกแบบส่วนโครงสร้างและงานระบบให้สามารถรองรับการขยับขยายและการต่อเติมในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและตอบสนองกับวิถีชีวิตในปัจจุบันที่มีความต้องการเชื่อมโยงพื้นที่อาศัยและพื้นที่ทํางานให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่ด้วยจุดแข็งทั้งเรื่องทำเลที่ตั้ง ความโดดเด่นในเชิงสถาปัตยกรรม ตลอดจนคุณภาพของฟังก์ชั่นใช้งาน ก็ยังเพิ่มโอกาสในแง่ของการลงทุนซึ่งคุ้มค่าสำหรับที่ดินใจกลางย่านธุรกิจ ที่จะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการปล่อยเช่าหรือขายต่อในอนาคตได้เช่นเดียวกัน

 

Project                                  HOF UDOMSUK

Building Type                         Home Office

Location                                   Udomsuk District, Bangkok, Thailand

Developer                                UNI-Living

Architect                                  IF (Integrated Field Co., Ltd.)

 

Other Collaborators:

Lighting Designer                       Kullakaln Gururatana

FF&E Design                                24percent.home

Interior Contractor                     FINTERIOR

Engineering Designer                Boonchu Sedchaicharn

Main Contractor                          NAWA ATSAVA ARCHITECTURE AND DESIGN CO., LTD.

Construction Manager               2B1 CONSULTING CO., LTD

Architecture                                 2000 sq.m.

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง