Urupe tower อาคารที่มีแนวคิดตอบรับการขยายตัวของเมืองและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

ชยางกูร กิตติธีรธำรง 11 September, 2023 at 11.02 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


แนวคิดการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตอบรับการขยายตัวของเมืองและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ในเมือง เซาเปาโล ประเทศบราซิล

พื้นที่ใจกลางเมือง เซาเปาโล ประเทศบราซิล เป็นหนึ่งในเมืองที่เติบโตของชุมชนสีเขียว โดยทางทีมผู้ออกแบบ Victor Ortiz เปิดเผยภาพโครงการ Urupe tower ซึ่งเป็นอาคารรูปแบบ Mixed use ที่ต้องการปรับปรุงทัศนียภาพใหม่ให้กับเมือง ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงการใช้แนวคิด Biophiilc Design ซึ่งใช้เป็นหลักการในการพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ถ่ายทอดผ่านพื้นที่สีเขียวที่จะอยู่บนผิวอาคารรวมถึงพื้นที่ระเบียง ซึ่งอาคารแห่งนี้จะกลายเป็นอาคารต้นแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานพื้นที่สีเขียวเข้าไว้ด้วยกันของประเทศบราซิล รวมถึงเป็นอาคารที่มีรากฐานจากความมุ่งมั่นในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและการออกแบบที่คิดถึงสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ในด้านการดีไซน์อาคาร Urupe tower สถาปนิกได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเติบโตของเห็ดรา(Fungal Growth Form) ที่มักเกิดขึ้นบนลำต้นของต้นไม้ โดยแรงบันดาลใจอันนี้ก็ถูกถ่ายทอดออกมาในส่วนของพื้นที่ใช้สอยในแต่ละชั้นของตัวอาคาร ซึ่งดีไซน์ของสถาปัตยกรรมอาคารนี้เป็นการผสานโครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นกับรูปแบบทางธรรมชาติ โดยอาศัยช่วงจังหวะการเติบโตและความเชื่อมต่อกัน ซึ่งดีไซน์นี้จะถ่ายทอดให้เห็นถึงความงามทางธรรมชาติที่สามารถอยู่ร่วมกันกับการอยู่อาศัยของมนุษย์ได้จริง

ด้วยแนวคิด Biophilic จะเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน โดยอาศัยการเลียนแบบกระบวนการจากธรรมชาติ และนำไปใช้ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นให้อยู่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สถาปนิกจึงนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ก่อสร้างและพื้นที่สีเขียวตามระเบียงต้นไม้ที่มีการกระจายตามรูปร่างของ Fungal Form ไปตามแต่ละชั้นของอาคาร ซึ่งระเบียงต้นไม้เป็นมากกว่าแค่องค์ประกอบที่ประดับไว้เฉยๆ แต่ยังเป็นพื้นที่ Pocket สีเขียวขนาดเล็กๆ ที่ให้อากาศสดชื่นในการใช้ชีวิตบนบริบทพื้นที่เมืองที่มีความวุ่นวาย

ทาง Victor B. Ortiz สถาปนิกผู้ออกแบบ จึงมีวัตถุประสงค์กับตัวอาคาร Urupê Tower ในการตอบสนองยุคสมัยใหม่ที่มีกระบวนการกลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว(Urbanization) รวมถึงความกังวลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี สถาปนิกมองว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เป็นผู้เล่นรายสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทีมของโปรเจคของโครงการนี้จึงมองไปสู่การที่จะทำให้เกิดการช่วย Ecological Footprint ผ่านการใช้การจัดสรรพืชพรรณสีเขียว และการใช้วัสดุหมุนเวียนอากาศ Micro Climate สุดท้ายแนวความคิดดังกล่าวจะทำให้อาคาร Urupê Tower เป็นอาคารตัวอย่างที่นำเสนอการทำงานร่วมกัน ระหว่างการก่อสร้างสมัยใหม่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติที่ต้องรักษาไว้ ว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้

ภาพ ระเบียงอันเขียวชอุ่มลัดเลาะขึ้นไปขึ้นไปเหมือนเห็ดราตามลำต้นของต้นไม้

ภาพ แนวคิดที่ทางสถาปนิกพยายามรื้อฟื้นพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง

ภาพ พืชพรรณจะถูกสอดแทรกไปแต่ละชั้นของตัวอาคาร

อ้างอิง:

lush terraces by victor ortiz climb urupê tower like fungal growths (designboom.com)

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

สถาปนิกจบใหม่ กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มีความสนใจด้านอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภทตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ คอนโด โรงแรม และชอบไปดูโครงการและงานออกแบบอยู่เสมอ เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

เว็บไซต์

แกรนด์ บางกอก บูเลอวาร์ด บางนา-ก...

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

SOLACE ในภาษาอังกฤษสื่อถึง สิ่งที่ช่วยปลอบประโลมจิตใ...

19 March, 2024

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง