สจล. โชว์ผลงาน “ดีไซน์ดิสรัปชัน” ลดเสี่ยงโควิด-19 ในพื้นที่ชุมชน – ห้องเรียน – โรงพยาบาล พร้อมรับมือคลายล็อกดาวน์เฟส 5

เกริก บุณยโยธิน 29 June, 2020 at 14.10 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


– อธิการบดี สจล. ชี้ 3 เทรนด์ดีไซน์ดิสรัปชัน ต้องรักษาความสะอาด – ต้อง User friendly – ต้องให้สังคมเข้าถึงได้

– เปิดผลสำรวจ นักศึกษาจำนวน 52.5% มีความสุขในระดับน้อยมากในช่วง Study from Home สจล. เผยความพร้อมห้องเรียนแบบ New Normal รับการกลับมาเรียนอย่างปลอดภัย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารกระบัง (สจล.) เปิด 3 คอนเซ็ปต์งานออกแบบที่เปลี่ยนไป เพื่อการอยู่ร่วมกันในยุคหลังโควิด-19 (Design disruption) ได้แก่ 1) งานออกแบบเพื่อสุขอนามัยส่วนตัวในพื้นที่ส่วนรวม 2) งานออกแบบเพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้งาน และเพื่อความสวยงาม และ 3) งานออกแบบที่สังคมเข้าถึงได้ พร้อมนำร่องโชว์ห้องเรียน New Normal ต้อนรับการเปิดเทอมในเดือนสิงหาคม ที่จะมีทั้งการเรียนแบบในห้องเรียนปกติ และแบบออนไลน์ โดยจากผลสำรวจพบว่า นักศึกษาจำนวน 52.5% มีความสุขในการเรียนแบบ Study from Home ในระดับน้อยที่สุด จากอุปสรรคด้านบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยถึง 71.4% และปัญหาด้านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสาร 62.4% ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจยังพบว่านักศึกษาและประชาชนจำนวน 90% มีความยินดีใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อย่างเหมาะสมกับผู้ใช้งาน (User friendly) นอกจากนี้ยังเตรียมนำแนวคิดดีไซน์ดิสรัปชันมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ (High risk) เช่น โรงเรียน ต้องคำนึงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ที่ต้องรักษาระยะห่าง (Physical distancing) โรงพยาบาล ต้องตั้งจุดคัดกรองตั้งแต่ก่อนเข้าอาคาร เพื่อเรียกความมั่นใจของประชาชนในการกลับมาใช้ชีวิตปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) อย่างปลอดภัย หลังมาตรการคลายล็อกดาวน์เฟส 5

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ตลอดช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา สจล. ได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ตรวจคัดกรอง และรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อาทิ นวัตกรรมตู้ตรวจเชื้อความดันลบ ความดันบวก รถตู้โมบายล์ Swab Test ระบบ AI คัดกรองอุณหภูมิ เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวเป็นผลสำเร็จจากการบูรณาการองค์ความรู้ด้านต่างๆ หนึ่งในองค์ความรู้ที่มีบทบาทสำคัญคืองานออกแบบอันชาญฉลาด ที่มีส่วนอย่างยิ่งในการผลิตนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลายลง แต่งานออกแบบจะยังคงมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมต่อไป โดยเฉพาะในด้านการออกแบบที่เปลี่ยนไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัยในยุคหลังโควิด-19 (Design disruption) โดย สจล. ได้เปิดตัว 3 แนวคิดดีไซน์ดิสรัปชัน ประกอบด้วย

1. งานออกแบบเพื่อสุขอนามัยส่วนตัวในพื้นที่ส่วนรวม ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลายลง ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น แต่การดูแลสุขอนามัยส่วนตัวในพื้นที่ส่วนร่วมยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ งานออกแบบจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) การติดตั้งระบบฆ่าเชื้อด้วย UV-C หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ การเลือกใช้วัสดุที่ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ การออกแบบระบบกรองอากาศเพื่อป้องกันเชื้อโรค เป็นต้น

2. งานออกแบบเพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้งาน และเพื่อความสวยงาม นอกจากหลักการออกแบบที่ต้องคำนึงถึงสุขลักษณะแล้ว การออกแบบยังต้องคำนึงถึงความสะดวกต่อการใช้งาน (User friendly) โดยหลักการออกแบบเพื่อผู้ใช้ทุกกลุ่ม (Universal design) จะต้องคิดครอบคลุมมากขึ้น ไปถึงการออกแบบให้ทุกคนเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างปลอดภัย และปลอดเชื้อไปพร้อมกัน ในขณะเดียวกัน การออกแบบเพื่อความสวยงามก็ยังคงเป็นสิ่งที่นักออกแบบต้องพัฒนาควบคู่กันไป

3. งานออกแบบที่สังคมเข้าถึงได้ อีกหนึ่งแนวคิดที่สำคัญอย่างยิ่งของดีไซน์ดิสรัปชันคือ การออกแบบต้องสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในสังคม ซึ่งถือเป็นความท้าทายของนักออกแบบที่ต้องวางแผนกระบวนการผลิตงานออกแบบออกมาเป็นจริงได้ ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุ การคำนวณต้นทุน ปริมาณการผลิตที่สมเหตุสมผล ตลอดจนการประเมินความสามารถในการใช้งานได้จริงในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น เพื่อให้งานออกแบบสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้เป็นวงกว้าง

ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สจล. ได้นำร่องประยุกต์ใช้แนวคิดการออกแบบดังกล่าว ในห้องเรียนเพื่อต้อนรับการกลับมาเปิดภาคเรียนในเดือนสิงหาคม ที่จะยังคงมีการเรียนทั้งในรูปแบบออนไลน์ และการเรียนในห้องเรียนอย่างปลอดภัยภายใต้สิ่งอำนวยความสะดวก และมาตรการป้องกันการติดเชื้อ โดยจากผลสำรวจพบว่า นักศึกษาจำนวน 52.5% มีความสุขในการเรียนแบบ Study from Home ในระดับน้อยที่สุด เนื่องจากอุปสรรคด้านบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยถึง 71.4% และปัญหาด้านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสาร 62.4% ฯลฯ อย่างไรก็ตาม สจล. ยังคงเดินหน้าพัฒนาระบบการเรียนรูปแบบออนไลน์ควบคู่ไปกับการเรียนในห้องเรียนแบบ New Normal เพื่อความพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ในอนาคต อีกทั้งผลสำรวจยังพบว่าคนทั่วไปและนักศึกษาจำนวน 90% พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

 

ด้าน ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ได้เตรียมนำแนวคิดดีไซน์ดิสรัปชันมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบในพื้นที่ความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ (High risk) และพื้นที่สาธารณะที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก หลังมาตรการคลายล็อกดาวน์เฟส 5 ซึ่งมีแนวโน้มที่ผู้คนจะเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามวิถีชีวิตปกติรูปแบบใหม่มากยิ่งขึ้น (New Normal) โดยตัวอย่างพื้นที่สาธารณะที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. กำลังเดินหน้าพัฒนางานออกแบบเพื่อยกระดับการอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย ได้แก่ งานออกแบบในโรงเรียน ต้องคำนึงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ที่ต้องรักษาระยะห่าง (Physical distancing) โดยใช้ระบบแบ่งกลุ่มจำนวนนักเรียนต่อห้อง การใช้ที่กั้นระหว่างโต๊ะเรียน โต๊ะอาหาร เป็นต้น งานออกแบบในโรงพยาบาล ต้องให้ความสำคัญกับการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งโรคติดต่ออื่นๆ โดยการตั้งจุดคัดกรองตั้งแต่ก่อนเข้าอาคาร ซึ่งอาจใช้ระบบการออกแบบห้องตรวจคัดกรองแบบความดันบวกเพื่อให้แพทย์ใช้ตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงติดเชื้ออย่างปลอดภัย การติดตั้งระบบกรองอากาศในบริเวณที่แพทย์ต้องทำหัตถการให้แก่ผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อ เป็นต้น

ในขณะที่ การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่ก็ต้องมีการออกแบบที่รองรับการอยู่ร่วมกันของคนแต่ละวัยอย่างปลอดภัย โดยลักษณะโดยทั่วไปของครอบครัวไทย เป็นครอบครัวที่มีคน 4 รุ่น อาศัยอยู่ร่วมกัน ได้แก่ รุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ รุ่นลูก และเด็กเล็ก ซึ่งคนในกลุ่มวัยทำงานและวัยเรียนอย่างรุ่นพ่อแม่ และรุ่นลูก ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อมากกว่าผู้ที่อยู่แต่ในบ้าน จากการต้องออกจากบ้านไปทำงานหรือไปเรียน ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุ รุ่นปู่ย่าตายาย เป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ด้วยระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่ต่ำกว่าคนวัยอื่น ดังนั้น การอยู่ร่วมกันในบ้าน จึงต้องมีการแบ่งเขต (Zoning) ระหว่างคนวัยเรียน ทำงาน และผู้สูงอายุ เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากผู้ที่ออกไปข้างนอกเป็นประจำ โดยอาจออกแบบให้ผู้สูงอายุอยู่ในห้องนอนติดกระจกใสชั้นล่าง เพื่อให้ยังมองเห็นคนในครอบครัว และไม่รู้สึกว่าถูกแยกขาดจากกันมากเกินไป นอกจากนี้ แม้ว่าสถานที่ทำงานหลายแห่งจะกลับมาเปิดทำการตามปกติ แต่แนวโน้มการทำงานจากที่บ้านจะมีเพิ่มขึ้น ดังนั้น การออกแบบบรรยากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการทำงานที่บ้าน (Work station) ก็เป็นอีกเทรนด์ออกแบบที่น่าสนใจ ผศ.ดร.อันธิกา กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ สจล. ได้จัดกิจกรรมเปิดตัวคอนเซ็ปต์ New Design for New Normal เมื่อเร็วๆ นี้ ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารกระบัง (สจล.) สำหรับผู้ที่สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. โทรศัพท์ 02-329-8111 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/kmitlofficial

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

แกรนด์ บางกอก บูเลอวาร์ด บางนา-ก...

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

SOLACE ในภาษาอังกฤษสื่อถึง สิ่งที่ช่วยปลอบประโลมจิตใ...

19 March, 2024

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง