RE2021 ยืนหยัดอย่างฮีโร่เพื่อความอยู่รอด พร้อมแนะไอเดียการตลาดที่น่าสนใจในปีนี้
“บนเส้นทางอันยาวไกล ไร้ซึ่งทัศนวิสัย และเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง บุคคลที่เป็นฮีโร่จะไม่ยอมหันหลังกลับ แต่จะเดินหน้าไปอย่างมั่นคง จนกว่าจะได้พบเจอกับชัยชนะ ด้วยความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า แม้ว่าจะต้องแลกด้วยชีวิตของตนเอง ซึ่งในท้ายที่สุดความเชื่อนั้นก็จะแปรเปลี่ยนมาเป็นแรงบันดาลใจ ให้คนหมู่มากได้รับรู้ว่าจริงๆแล้วเราทุกคนก็เป็นฮีโร่ได้”
Source: https://www.rfi.fr/tw/
มู่หลาน (花木蘭) คือวีรสตรีจีนในตำนาน ที่เรื่องราวของเธอถูกนำมาบอกเล่าในเอกสารทางประวัติศาสตร์ บทกวีวรรณกรรม งานศิลปะและภาพเขียน หลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 โดยในยุคปัจจุบันเราอาจจะคุ้นชินกับภาพของมู่หลานในรูปแบบของสื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์ และอนิเมชั่น เป็นหลัก เรื่องราวของมู่หลานถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นฮีโร่ ผู้มอบแรงบันดาลใจ ยินดีที่จะเสียสละเพื่อคนที่ตนเองรัก และยืดหยัดต่อสู้ด้วยความเชื่อมั่นในความสำเร็จ ท่ามกลางความเชื่อของสังคมจีนที่มองว่าเพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอจำเป็นที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบจารีต หากใครที่ได้รับชมภาพยนตร์ก็จะพบว่าเนื้อเรื่องของมู่หลานนั้นเต็มไปด้วยเรื่องราวของการเดินทางเพื่อเอาชนะอุปสรรค ไม่ได้เป็นฮีโร่มาตั้งแต่เกิดเหมือนดั่ง วันเดอร์ วูแมน หรือฮีโร่อื่นๆในการ์ตูน แต่ต้องผ่านซึ่งอุปสรรคความท้าทายต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา… สะท้อนถึงผู้คนทั่วโลก ทุกสาขาอาชีพในขณะนี้ ที่กำลังเชิญกับวิกฤตอันแสนสาหัส อันนำมาซึ่งปัญหา และความท้าทายใหม่ๆที่ยากจะแก้ไขด้วยวิธีการในแบบเดิมๆ บางคนอาจเลือกที่จะหันหลังกลับ หรือเอามือปิดตาเพื่อปาดคอตัวเอง แต่ความเป็นสัจธรรมก็คือทุกคนมีความเป็นฮีโร่ในตัวเองอยู่แล้ว ไม่มีใครที่ได้รับชัยชนะโดยที่ไม่เคยแพ้ ไม่มีใครที่ปีนขึ้นสู่ยอดเขาได้โดยที่ไม่พบเจออุปสรรค สิ่งสำคัญที่เราควรที่จะต้องคิดในปีนี้ก็คือการปลุกความเป็นฮีโร่ในตัวคุณให้ตื่นขึ้นมาเพื่อฝ่าฟันทุกอุปสรรค พร้อมที่จะรับเปลี่ยนหนทาง ยุทธวิธีเพื่อนำไปสู่ชัยชนะครับ
มาถึงวันนี้คงไม่ต้องพูดอีกแล้วครับว่าสถานการณ์ COVID-19 ที่ยืดเยื้อ มานานข้ามปีนั้นได้ส่งผลกระทบอะไรกับแวดวงอสังหาฯบ้านเรา เพราะจากสถิติที่ทยอยออกมา โดยเฉพาะตัวเลขในเรื่องของการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้ง ยอดขาย ยอดโอน จำนวนยูนิต มูลค่าโครงการ ราคาขายเฉลี่ย และอัตราการดูดซับ ก็ล้วนแต่มีน้อยลงจากปี 2019 ทั้งนั้น แม้ว่าช่วงต้นไตรมาสที่สี่ของปี 2020 จะยังพอมีการเปิดตัวโครงการใหม่ให้ได้หายคิดถึงกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วก็ยังนับว่าน้อยที่สุดในรอบ 10 ปีอยู่ดี…น้อยในแบบที่รู้สึกได้ชัดเจน โดยที่ไม่ต้องดูข้อมูลทางสถิติ
โดยหากอ้งอิงข้อมูลจาก บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom: LWS) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน)(LPN) จะพบว่าปี 2563 คาดว่าจะมีอัตราการเปิดตัวโครงการใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ที่ประมาณ 65,000 – 70,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 250,000 – 300,000 ล้านบาท
ในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม-ตุลาคม) ของปี 2563 มีที่อยู่อาศัยเปิดตัวโครงการใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 58,087 หน่วย ลดลง 36% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2562 ที่มีจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่อยู่ที่ 90,935 หน่วย ขณะที่มีอัตราการขายโครงการใหม่ที่เปิดตัวในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 19% ของจำนวนหน่วยที่เปิดขายทั้งหมด ลดลงเมื่อเทียบกับอัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ 26% ของจำนวนหน่วยที่เปิดขายในปี 2562 โดย 65% ของจำนวนที่อยู่อาศัยที่เปิดใหม่ทั้งหมดในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 เป็นที่อยู่อาศัยในแนวราบทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ โดยระดับราคาที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดเป็นทาวน์เฮ้าส์ที่ระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อหน่วย และที่เหลือ 35% เป็นคอนโดมิเนียม โดยระดับราคาคอนโดมิเนียมที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดเป็นระดับราคาที่ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย ในขณะที่มูลค่าของการเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 อยู่ที่ 231,111 ล้านบาท ลดลง 35% เมื่อเทียบกับมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่ในระยะเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่อยู่ที่ 354,268 ล้านบาท
ผลลัพธ์ก็คืออสังหาทุกประเภททั้ง Commercial, Residential, Hospitality รวมไปถึง Office Space ล้วนแล้วแต่ต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อที่จะหารายได้เข้ามาชดเชยกับรายจ่ายที่ไหลออกในแต่ละวัน เพราะธุรกิจอสังหาเป็น High Involvement Product ที่ต้องนำเสนอประสบการณ์ในการใช้ชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อเป็นตัวกระตุ้นอารมณ์ความอยากได้ (Want) ให้เกิดขึ้นในจิตใจของลูกค้า เพื่อให้เกิดการซื้อหรือใช้บริการครับ
คลิกเพื่ออ่านแนวทางการปรับตัวของธุรกิจอสังหาฯในยุค Covid ได้ที่นี่ คนอสังหาฯจะทำตัวยังไงให้อยู่ได้ท่ามกลางหายนะ COVID-19
สำหรับใครที่มีข้อโต้แย้งว่า ไม่จริงหรอก การซื้อบ้านหรือซื้อคอนโดแต่ละยูนิต สำหรับพวก Real Demand ที่ต้องการเข้าอยู่ ในแบบปัจจุบันทันทีเนี้ย ยิ่งเป็นในยุคโควิดเนี่ย มักจะเกิดจากเหตุผลเป็นตัวตั้งทั้งนั้น เน้นความคุ้มค่า ราคาถูกกว่าโครงการอื่นๆใกล้เคียงให้มากที่สุดก็ขายได้แล้ว ไม่มีหรอก Emotional Drive ที่สะท้อนถึงความต้องการอะไรบางอย่างในจิตใจเราน่ะ ก็ขอให้ลองคิดดูใหม่ตาม infographic ที่ผมยกตัวอย่างดังนี้ครับ
Source: Adaptation from Brandscape’s Tool
จาก infographic ด้านบน ถ้าเราเอามาอนุมานกับการซื้อโครงการอสังหา หรือคอนโดก็จะพบว่า สาเหตุที่แท้จริงในการซื้อบ้านหรือคอนโดของคุณนั้น หาใช่เหตุผลในเชิงตรรกะ แต่เป็นในเชิงอารมณ์ต่างหาก ยกตัวอย่างเช่น หากคุณตัดสินใจซื้อโครงการอย่าง 98Wireless ลองคิดดีๆว่าเหตุผลที่คุณซื้อนั้นจริงๆแล้วมันเป็นเพราะโครงการมีความสวยงาม ออกแบบระดับโลก หรือว่าเป็นเพราะคุณรวยมากและอยากที่จะมีของเหมือนกับเพื่อนของคุณ เพื่อให้ได้การยอมรับซึ่งสถานะทางสังคมในระดับเดียวกัน (I’m Special & Accomplishment)
หรือหากคุณตัดสินใจซื้อโครงการ Supalai Premier Charoennakorn ลองถามตัวคุณเองอีกครั้งว่าคุณซื้อเพราะที่นี่มันถูก มันติดรถไฟฟ้า ใกล้ไอคอนสยาม หรือคุณซื้อเพราะคุณโลภ (Greed) อยากจะเก็งกำไรจากการขายต่อเยอะๆกันแน่ หรือแม้กระทั่งการที่คุณตัดสินใจเลือกโปรโมชั่นสุดฮิตอย่างอยู่ฟรี 24 เดือน นั้นคุณเลือกเพราะคุณชอบในทำเลและตัวสินค้าที่ใกล้รถไฟฟ้า หรือคุณเลือกเพราะคุณมองว่าการซื้อแบบนี้จะช่วยปลดล็อคความกังวลของคุณในเรื่องของการผ่อนท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนแบบในปัจจุบัน (Fear)
ในขณะที่มาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่จากเดิมก็เหมือนเป็นแค่ยาชา ที่ออกฤทธิ์ชั่วคราวแค่บางเซกเมนท์ ก็กลับถูกปล่อยให้หมดอายุขาดหายไปเฉยเลยตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หรือไม่ก็ปล่อยเรื่องให้หายไปกับสายลม ราวกับจะเป็นการบอกกลายๆว่าจากนี้ไปก็ช่วยเหลือตัวเองกันนะ ไม่ว่าจะเป็น มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองสำหรับ ระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อยูนิต เหลือรายการละ 0.01%, ผ่อนปรนการบังคับใช้เกณฑ์ LTV และขยายการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% รวมไปถึงข้อเสนอที่ทุกดีเวลลอปเปอร์อยากได้อย่างเพิ่มสัดส่วนโควต้าการซื้อของชาวต่างชาติ ให้วีซ่าระยะยาว ขยายระยะเวลาในการเช่าที่ดิน ที่จะเป็นทางลัดมากที่สุดในการเร่งการตัดสินใจซื้อของกลุ่มลูกค้านอกประเทศ อันเป็นลูกค้ารายใหญ่ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ที่ผมว่าน่าจะ work นะเพราะตอนนี้พวกเขาเหล่านั้นเริ่มที่จะได้รับวัคซีนกันบ้างแล้ว และมองภาพไปถึงการเดินทางที่ปลอดภัยดั่งเช่นในอดีต…ความไม่แน่นอนทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อการวางกลยุทธ์ธุรกิจของดีเวลลอปเปอร์ทุกราย ทั้งๆที่ในปีที่ผ่านมาภาคเอกชนหลายฝ่ายก็เป็นกลจักรสำคัญในการช่วยกันลากธุรกิจอสังหาฯให้เชิดหัวขึ้นในแบบเท่าที่ทำได้มากที่สุด ทั้งการเปิดเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายใหม่ การลดค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีก การขายแบบอยู่ก่อนผ่อนทีหลัง เฉือนกำไรเพื่อระบายสต๊อคคงค้าง ไปจนถึงการขายแบบปล่อยเช่าก่อนแล้วค่อยซื้อทีหลัง
สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด ก็ดูเหมือนจะเป็นแคมเปญเก่านำมาเล่าใหม่ที่เน้นกลุ่มตลาดคนต่างชาติอย่างโครงการ “Elite Flexible One” โดยบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด ที่มองหาดีเวลลอปเปอร์พันธมิตร เพื่อเป็นผู้แทนจำหน่ายบัตรสมาชิกพิเศษ Elite Flexible One ซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญในการขยายฐานลูกค้าชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรก็คือ
– ผู้สมัครต้องมีการลงทุนในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมใหม่ที่ก่อสร้างเสร็จพร้อมอยู่ในประเทศไทย โดยมีมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งห้องชุดที่ซื้อนั้นจะต้องเป็นของผู้ประกอบการรายเดียวกัน หรือบริษัทเดียว แต่สามารถกระจายทำเลในการซื้อห้องชุดได้
– ในกรณีที่ห้องชุดมีราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท หรืออาจเลือกซื้อห้องชุดในโครงการเดียวกัน แต่ต้องมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท โดยโปรแกรมพิเศษดังกล่าวจะมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 และจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธ.ค. 65
– Elite Flexible One ขายในราคา 5 แสนบาท (ดีเวลลอปเปอร์จะแจกให้ผู้ซื้อเลย หรือจะขายก็ได้) โดยบัตรจะมีสิทธิพิเศษต่างๆ อาทิ วีซ่าประเภท Privilege Entry อายุ 5 ปี การใช้บริการผู้ช่วยส่วนตัวที่สนามบิน เป็นต้น โดย ททท. คาดว่าจะมีนักธุรกิจหรือนักลงทุนสนใจลงทุนโปรแกรมนี้อย่างน้อย 100 ราย และมีเม็ดเงินลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมากกว่า 1,000 ล้านบาท
– และผู้เป็นสมาชิกของ Thailand elite ได้สิทธิ์ในการเดินทางเข้าประเทศได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านทางโครงการ Tem-Q ที่ได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ จาก ศบค ที่มีมาตรการรัดกุมและปลอดภัย
ไรมอน แลนด์ เป็นดีเวลลอปเปอร์รายแรกที่เข้าร่วมโครงการ “Elite Flexible One” และชิงแถลงข่าวเซ็น MOU ก่อนจากดีเวลลอปเปอร์ที่สนใจมากกว่า 40 ราย
โครงการนี้ TPC ต้องการดีเวลลอปเปอร์ หรือดีเวลลอปเปอร์ต้องการ TPC?
ตลาดอสังหาเมืองไทยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมานับว่าเนื้อหอมมากในสายตาของคนต่างชาติทั่วโลกครับ เราได้เห็นกระแสชาวต่างชาติมากมายโดยเฉพาะชาวจีนที่มาซื้อคอนโดในประเทศไทยในแบบกรุ๊ปทัวร์ เราได้เห็นการร่วมทุนในการพัฒนาโครงการกันหลายโครงการ เราได้เห็นการไปทำ Roadshow ขายของในต่างประเทศแทบจะทุกเดือน จนบางดีเวลอปเปอร์มียอดรายได้จากการขายชาวต่างชาติที่สูงเกินครึ่งนึงของมูลค่าโครงการ แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ลูกค้าต่างชาติที่มาซื้อโครงการคอนโด แต่ทั้ง Ecosystem ของอสังหาฯเองก็ถูกรุมทึ้งโดยชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเอเจนท์ต่างชาติที่มาจับกลุ่มตลาดต่างชาติ แพลตฟอร์มออนไลน์บุคกิ้งจากต่างชาติ แม้กระทั้งดีเวลอปเปอร์ต่างชาติเองก็มาเปิดกิจการในไทยกันอย่างกว้างขวาง…ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลโดยตรงมาจากความเฟื่องฟูของตลาดท่องเที่ยวของไทยเราครับ แต่เมื่อเจอกับสถานการณ์ COVID-19 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลายเป็นโดยกระทบแบบเต็มๆทั้งห่วงโซ่ การเข้า-ออกประเทศไม่สามารถทำได้เหมือนแต่ก่อน แม้จะมี Tool ในการขาย แต่อสังหาฯยังไงก็ต้องมาดูให้รู้ เห็นให้ชัวร์ก่อนจะทำการโอน ถ้ามันมี Barrier เยอะแบบนี้ ผลร้ายและตกอยู่กับกลุ่มดีเวลลอปเปอร์ที่มียอดขายที่ค่อนข้างดีกับชาวต่างชาติครับ เพราะอุปสรรคเหล่านี้คือปัจจัยที่พร้อมทำให้กลุ่มคนเหล่านั้นทิ้งเงินดาวน์ ไม่มาโอนตามนัด โดยจากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่าสถานการณ์ท่องเที่ยว 11 เดือนแรกของปี 2563 ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน พบว่า ภาคท่องเที่ยวไทย มีรายได้รวม 760,000 ล้านบาท ลดลง 1.93 ล้านล้านบาท หรือติดลบ 71.75 % จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย 6.69 ล้านคน ลดลง 29.27 ล้านคน หรือติดลบ 81.38% จากช่วงเดียวกันของปี 2562
หากมองในแง่มุมนี้ก็จะเห็นได้ว่าทางหน่วยงานอย่าง TPC นั้นมองข้อเท็จจริงที่ว่าในอดีตที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2546 ที่ชาวโลกได้รู้จัก Thailand Elite Card โดย TPC ทางบริษัท TPC เองรวมถึง Authorized Agent อื่นๆที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันขาย มีการเน้นจุดขายหลักในเชิงไลฟ์สไตล์, การบริการในระดับ VIP และสิทธิ์ในการถือครองวีซ่าระยะยาวเท่านั้น ซึ่งรูปแบบ Benefits ดังกล่าวไม่สอดคล้องกันกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เราสามารถได้ Benefits ที่ทัดเทียมกันเหล่านี้จากการซื้อ Membership ของหน่วยงานเอกชนหลายแห่ง หรือแม้กระทั่งคนต่างชาติที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ก็สามารถขอวีซ่าประเภท พำนักระยะยาว 10 ปี (Non – Immigrant Visa “O – X” Long Stay) ได้อยู่แล้วเช่นกัน…ในมุมมองการตลาดเท่ากับว่า Thailand Elite Card ในแพคเกจเดิม แทบจะไม่มี Competitive Advantage ที่ดึงดูดคนต่างชาติที่มีเงินเยอะให้มาซื้อได้เลย
Source: https://www.thai-elite.com
แต่การเปิดแพคเกจใหม่เป็น Elite Flexible One โดยให้ดีเวลลอปเปอร์เป็นตัวแทนในการขาย (แน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วดีเวลลอปเปอร์ที่ร่วมโครงการคงไม่เอาไปขายในแบบ 500,000 บาท + กับคอนโดอีก 10 ลบ.หรอก แต่น่าจะเป็นการขายแบบพ่วงลงใปแล้ว ไม่ต้องจ่ายค่าบัตรเพิ่มอีกมากกว่า) นับว่าเป็นการเจาะกลุ่มตลาดที่ไม่ได้เป็น Lifestyle Segment สายท่องเที่ยว แต่เป็น กลุ่ม Long stay Segment ที่มีกำลังซื้อสูง และมองหาที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแทนการเช่า เช่นเดียวกับกลุ่มนักลงทุน ที่ทั้งสองกลุ่มนี้ยังไงเค้าก็ต้องมาซื้อคอนโดเราอยู่แล้ว แต่การได้ Valued Added Benefits เพิ่มเติมอย่าง Long Stay Visa และ VIP Benefits อื่นๆในแบบอัตโนมัติไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ยังไงก็คุ้มกว่า การซื้อแล้วไม่ได้อะไรเลย…ในมุมมองดีเวลลอปเปอร์ ผมเชื่อว่าในตอนนี้แม้จะมีหลายรายที่ไม่อยากจะเข้าร่วมเพราะว่าดูโครงการนี้จะเอื้อให้กับดีเวลลอปเปอร์ที่มีสต็อคที่มีราคา และมีจริตของโครงการที่ตรงใจชาวต่างชาติมากกว่า แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องเข้าร่วมครับ เพราะจากนี้ไปหากคุณจะขายของให้คนต่างชาติ สต็อคของคุณจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับของเจ้าอื่นๆที่บัตรนี้แถมขึ้นมาทันที พร้อมด้วยเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ในหัวว่า แล้วทำไมฉันต้องซื้อด้วยล่ะ! นี่คือโอกาสทางธุรกิจที่คุณจะต้องเสียไปครับ…ผมเห็นด้วยนะกับการที่ถ้าต่างชาติจะซื้อต้องมีมูลค่ารวม 10 ลบ.ขึ้นไป เพราะยังไงคนพวกนี้ก็มีเงินในการจับจ่ายอยู่แล้ว แต่หากจะให้ซื้อในระดับราคาไหนก็ได้ คิดว่าก็คงจะส่งผลกระทบต่อมุมมองของคนไทยส่วนใหญ่ว่าทำไมได้ Benefits เยอะกว่าเราขนาดนี้ แต่จะดียิ่งขึ้นถ้าจะให้ครอบคลุมถึงตลาดคอนโด Leasehold ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้หากคุณเป็นดีเวลอปเปอร์ที่ขายของให้คนต่างชาติมากๆ และต้องรอให้เค้าเดินทางเข้ามาโอนเนี้ย ยังไงก็เป็น A Must ครับจากสิทธิประโยชน์ในการเดินทางเข้า-ออก ประเทศที่ง่ายมากกว่าปกติหลายเท่า ในทางกลับกันทาง TPC เองก็น่าจะได้รับยอดขายจากแพคเกจนี้ไปได้มากเลยทีเดียว (ผมเองก็ไม่ทราบว่าราคาบัตร 500,000 บาทนี้จะแบ่งค่าคอมมิชชั่นอะไรกันยังไง แต่เชื่อว่า Developer เค้าก็ไม่ได้หวังยอดคอมมิชชั่นล่ะครับ) จนบางทีอาจจะต้องหาทางไป Reconcile กับทาง Authorized Agent ที่ขายบัตรแพคเกจอื่นๆว่าจะขายด้วยกลยุทธ์แบบไหนดี