เคล็ดความสำเร็จค้าปลีกราคาประหยัด Miniso-Moshi Moshi จากสาขาแรกสู่ตลาดหุ้น

นเรศ เหล่าพรรณราย 27 December, 2022 at 20.21 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ธุรกิจค้าปลีกสินค้าแฟชั่นราคาถูกอาจถูกมองว่าไม่น่าจะเป็นธุรกิจที่มีกำไรดีหรือสามารถที่จะเติบโตได้เลย แต่สำหรับร้านค้าปลีกราคาถูกที่มีต้นแบบมาจากร้าน 100 เยนจากญี่ปุ่นนั่นคือ Miniso สัญชาติจีน และ Moshi Moshi จากประเทศไทยกลับมีธุรกิจที่เติบโตและสามารถระดมทุนในตลาดหุ้นได้ทั้งคู่

 

อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของทั้งสองธุรกิจนี้และสามารถฉีกหนีภาพที่ถูกมองว่าก๊อปปี้แบรนด์ญี่ปุ่นได้อย่างไร ศึกษาได้จากบทความนี้

ที่มาภาพ: miniso.com

 

Miniso

ผู้ก่อตั้ง Miniso คือนาย Ye Guofu นักธุรกิจชาวจีน โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างธุรกิจนี้จากร้าน 100 เยนของญี่ปุ่น เพื่อสร้างความแตกต่างจากร้านค้าปลีกทั่วไป เขาจึงตัดสินใจร่วมมือกับดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่น Miyake Junya ในการออกแบบคาแรกเตอร์ของร้านให้มีกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นด้วยสไตล์แบบ Minimal จนได้รับความนิยมไปทั่วประเทศจีนจากการนำเสนอที่แปลกใหม่

 

เคล็ดลับความสำเร็จของ Miniso ที่สามารถดึงให้ลูกค้ายังเลือกที่จะเดินเข้าร้านทุกครั้งที่เดินผ่านก็คือการเพิ่มสินค้าใหม่ๆด้วยความรวดเร็วทำให้ลูกค้าเกิดความคาดหวังว่าทุกครั้งที่เดินเข้าร้านจะพบกับสินค้าใหม่ทุกครั้ง เพราะถ้าเดินเข้าไปแล้วพบแต่สินค้าเดิมๆก็คงไม่มีใครอยากจะเข้าอีก

 

นอกจากนี้ยังเน้นคุณภาพสินค้าระดับสูง ใช้งานได้จริง มีลูกเล่นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ แต่ขายในราคาที่ไม่แพงมากและดึงกำไรให้ต่ำเพื่อดึงความสนใจให้ลูกค้ากล้าที่จ่ายเงินบ่อยๆ โดยอาศัยความได้เปรียบที่มีโรงงานผลิตในประเทศจีนที่มีต้นทุนการผลิตและการขนส่งต่ำ

 

จุดเปลี่ยนสำคัญของ Miniso คือการขยายธุรกิจในต่างประเทศโดยเริ่มต้นเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2016 (ประเทศไทยก็เปิดดำเนินการในปีเดียวกัน) รวมถึงอีก 50 ประเทศทั่วโลก มีจำนวนสาขากว่า 1,000 แห่งและสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คได้ในที่สุด

Moshi Moshi

แม้ว่าจะมีชื่อเป็นญี่ปุ่นแต่จริงๆแล้วเป็นธุรกิจของคนไทย 100% และเพิ่งจะเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นคือ Moshi Moshi โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากร้านค้าปลีกประเภทกิ๊ฟช๊อปย่านฝั่งธนบุรีตั้งแต่สมัย 40 ปีมาแล้ว โดยทำธุรกิจนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายจนเริ่มขยายไปยังธุรกิจค้าส่งรวมถึงค้าปลีกมีสาขาแรกที่ย่านสำเพ็ง ปัจจุบัน Moshi Moshi มีจำนวนสาขากว่า 100 สาขา กว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศ

 

โปรดักต์ที่ขายในร้านมีตั้งแต่เครื่องเขียน สินค้าความงาม สุขภาพ อุปกรณ์ไอที ขนม รวมแล้ว 12 กลุ่มสินค้า กลุ่มเป้าหมายหลักของ Moshi Moshi คือกลุ่มคนช่วงอายุ 18-25 ปี กลยุทธ์ที่ใช้ในการดึงลูกค้าเข้าร้านจะเน้นใช้สีพาสเทลในการออกแบบสินค้าและการตกแต่ง Display ให้สวยงามเพื่อจับกลุ่มวัยรุ่นนักเรียนนักศึกษา

 

นอกจากนี้สินค้าเกือบทั้งหมดในร้านยังเป็นโปรดักต์ที่บริษัทฯออกแบบเองทั้งหมด โดยมีจำนวนสินค้ามากกว่า 18,000 SKUs นอกจากนี้แต่ละปียังมีการปรับเปลี่ยนสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่องกว่า 8,000 SKUs ทำให้สินค้ามีความสดใหม่อยุ่ตลอเวลาและปรับเปลี่ยนไปตามเทศกาล

 

วิเคราะห์ความสำเร็จของ Miniso และ Moshi Moshi

ทั้งสองแบรนด์มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือได้รับต้นแบบมาจากร้านจำหน่ายของใช้ราคาถูกจากญี่ปุ่นที่เรียกว่าร้าน 100 เยน โดยแบรนด์ที่เป็นผู้นำและมีการขยายธุรกิจไปทั่วโลกนั่นคือ Daiso อย่างไรก็ตามจุดด้อยของร้าน Daiso คือการมุ่งเน้นที่ตัวสินค้าซึ่งตอบโจทย์การใช้งานและราคาแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับหน้าร้านและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ลูกค้าที่เข้ามาในร้าน Daiso จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อซื้อสินค้าที่ต้องการใช้เท่านั้นถ้าไม่มีความต้องการใช้สินค้าก็จะไม่มีเหตุผลในการเดินเข้าร้าน

 

แต่ทั้ง Miniso และ Moshi Moshi ต่างให้ความสำคัญกับการออกแบบหน้าร้านและสินค้าให้มีความโดดเด่นเพื่อดึงดูดให้ผู้คนเดินเข้าไปในร้านแม้ว่าอาจจะยังไม่มีความต้องการใช้สินค้าก็ได้ แต่เข้าไปในร้านเพื่อดูว่ามีสินค้าใหม่ๆเข้ามาหรือไม่

 

เช่นเดียวกับการจำหน่ายสินค้าที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง แม้จะเป็นของราคาถูกแต่ก็ไม่ดูเชยเวลานำออกมาใช้งาน แต่ขณะเดียวกันแบรนด์ยังดูทันสมัยถูกใจคนรุ่นใหม่ที่อาจจะยังไม่มีกำลังซื้อมากนักแต่สามารถสร้าง Brand Loyalty ให้เกิดขึ้นได้

 

แม้ว่าทั้งสองแบรนด์จะเพิ่มช่องทางการขายสินค้าทางออนไลน์เข้ามาในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดจนทำให้เกิดการ Lockdown แต่จุดเด่นของทั้งสองแบรนด์คือลูกค้าตั้งใจที่จะเดินเข้าไปเลือกชมสินค้าด้วยตัวเองถึงสาขามากกว่าที่จะสั่งทางออนไลน์ ถือเป็นจุดแข็งที่แบรนด์ค้าปลีกส่วนใหญ่ต้องการจะเป็นให้ได้ จึงนับได้ว่า Miniso และ Moshi Moshi เป็นแบรนด์ที่มีความเข้มแข็งสูง

 

ความเสี่ยงในอนาคตของธุรกิจค้าปลีกสินค้าราคาประหยัด

จุดแข็งของทั้ง Miniso และ Moshi Moshi คือการขายสินค้าราคาไม่สูงแต่มีคุณภาพและการดีไซน์ที่ดึงดูด ทำให้ผู้บริโภคใช้เวลาตัดสินใจซื้อไม่ยากนักและเน้นการขายในปริมาณมากเพื่อให้เกิด Economy Of Scale เพื่อให้เกิดกำไร

 

แต่นั่นถือเป็นความเสี่ยงเช่นกันเพราะธุรกิจที่เน้นขายสินค้าปริมาณมากๆและมีอัตราการหมุนเวียนของสินค้าที่รวดเร็ว ถ้าหากไม่สามารถรักษาระดับยอดขายไว้ได้จะทำให้เกิดต้นทุนในการที่จะต้องสต๊อกสินค้าทันที รวมถึงการที่จะต้องจับเทรนด์ของตลาดรวมถึงรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็วให้ได้ตลอดเวลา

 

ทั้งสองแบรนด์ยังต้องมีภารกิจในการขยายสาขาให้ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าหากมีจำนวนสาขามากขึ้นเท่าไรก็จะยิ่งเป็นการเพิ่ม Economy Of Scale  ให้ใหญ่ขึ้นซึ่งจะช่วยกดต้นทุนสินค้าให้ลงไปได้อีก แต่การเร่งขยายสาขามากเท่าไรก็จะเพิ่มความเสี่ยงทางธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น

 

บทสรุปคือการมีแบรนด์ที่เข้มแข็งตลอดจน Brand Loyalty และภาพลักษณ์ที่ดูไม่เหมือนสินค้าราคาถูกทั่วไปทำให้ทั้ง Miniso และ Moshi Moshi เติบโตมาได้อย่างต่อเนือง แต่ก็เป็นความท้าทายเช่นกันที่จะต้องรักษาจุดเด่นของตัวเองไว้ให้ได้ยาวนานพอเพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

นเรศ เหล่าพรรณราย

นเรศ เหล่าพรรณราย

นเรศ เหล่าพรรณราย FB:Gap Theory Twitter:@Nares_sd28 Chief Operation Officer Stock Quadrant (Thailand) Co.Ltd กรรมการ สมาคมฟินเทคประเทศไทย คนสื่อที่มีประสบการณ์ในแวดวงข่าวเศรษฐกิจโดยเฉพาะวงการตลาดหุ้นนานกว่า10ปี อยู่เบื้องหลังหนังสือด้านการลงทุนและธุรกิจมามากกว่าสิบเล่ม เคยทำงานหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจอันดับหนึ่ง ปัจจุบันทำงานในบริษัทสื่อที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีความเชื่อว่าการเงินไม่ใช่เรื่องไกลตัวและทุกคนต้องรู้

เว็บไซต์

นาวว์ เมกา

แชปเตอร์ วัน สปาร์ค จรัญ

ศุภาลัย เซนส์ ศรีนครินทร์

โครงการ Supalai Sense Srinakarin แบรนด์ใหม่ ถูกใจผู้...

9 November, 2023

เฟล็กซี่ ริเวอร์วิว-เจริญนคร

FLEXI Riverview - Charoennakorn เป็นคอนโดแบรนด์ Fle...

27 October, 2023

โมดิซ โวยาจ ศรีนครินทร์

Modiz Voyage Srinakarin (โมดิซ โวยาจ ศรีนครินทร์) ตั...

19 October, 2023

โนเบิล เอควา ริเวอร์ฟร้อนท์ ราษฎร์บูรณะ

เชื่อแน่ว่า หากใครที่เคยได้ไปล่องเรือเที่ยวหรือดินเน...

11 October, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง