EEC พลิกโฉม Greater Bangna สู่ Aerotropolis-เมืองศูนย์กลางการบินแบบสากล ฟัลครัมฯ เดิมพันสูงปูพรมผุด 3 โครงการที่อยู่อาศัยกว่า 1,000 ยูนิตรวม 5,000 ล้าน
ผลพวง EEC และการพัฒนา‘เมืองศูนย์กลางการบิน’–Aerotropolis ที่มีการสร้างเมืองล้อมรอบสนามบินแบบสากล ฉุดโซน Greater Bangna พลิกโฉมสู่ทำเลทองที่อยู่อาศัย ที่ดินพุ่งคุ้มค่าการลงทุน คาดราคากระฉูดสูงขึ้น 50% ภายใน 10 ปี ด้านฟัลครัม เวนเจอร์ส เดิมพันสูงปูพรมผุด 3 โครงการแนวราบครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮาส์ รวมกว่า 1,000 ยูนิต มูลค่ารวม 5,000 ล้านบาท
มร.อมฤทธิ์ทานชู รอย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท กรีนฟิลด์ แอดไวซอรี่ จำกัด บริษัท ทุนสิงคโปร์ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ฟัลครัม เวนเจอร์ส จำกัด ผู้ดำเนินโครงการพานารา เทพารักษ์ กล่าวว่า ปลายทางด่วนบางนา-ตราด คือ ที่ตั้งของทำเลดาวรุ่งเศรษฐกิจโซนบางนา ซึ่งครอบคลุมเขตบางนาและพื้นที่โดยรอบ (Greater Bangna) พื้นที่บริเวณนี้มีการปรับเปลี่ยนจากศูนย์กลางอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ไปสู่ย่านศูนย์การค้าสุดหรูและที่อยู่อาศัย โดยเป็นผลมาจากรัฐบาลกำหนดให้เป็นพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ECC) ทั้งยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เพื่อรองรับ เช่น การจัดตั้งศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 400,000 ตารางเมตร โดยนำเสนอแบรนด์ระดับโลกมากมาย เช่น IKEA, Zara และมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่หลากหลาย เช่น โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ และสวนน้ำ เป็นต้น
‘เมืองศูนย์กลางการบิน’–Aerotropolis การสร้างเมืองล้อมรอบสนามบินแบบสากล
ทั้งนี้เขตลาดกระบังและเทพารักษ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโซน Greater Bangna อยู่ไม่ไกลจากสนามบินสุวรรณภูมิ โดยใช้เวลาขับรถเพียง 25 นาที ในอดีต สนามบินมักจะถูกสร้างอยู่ภายในเมือง แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มการสร้างเมืองล้อมรอบสนามบิน หรือที่เรียกว่า ‘เมืองศูนย์กลางการบิน’ (Aerotropolis) เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากหลายๆ ประเทศ เช่น สนามบินสคิปโฮล (Schiphol) ที่อัมสเตอร์ดัม, สนามบินชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (Charles de Gaulle) กรุงปารีส, สนามบินดูไบ (Dubai), อินชอน (Incheon) และเมมฟิส (Memphis) โครงการพัฒนาพื้นที่ Greater Bangna รอบๆ สนามบินสุวรรณภูมิส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นทำเลทองที่มีศักยภาพสูง โดยมีการเชื่อมโยงกับเส้นทางคมนาคมสายหลักอย่างเช่น ทางด่วนบางนา-ตราด และโครงข่ายทางด่วนพิเศษเฉลิมมหานคร รวมไปถึงระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง และทำให้ Greater Bangna กลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการคมนาคมขนส่งและการเชื่อมต่อที่ดีที่สุดในกรุงเทพ
บริษัทขนาดใหญ่หลายๆ บริษัท เช่น คิง เพาเวอร์ ได้ย้ายที่ตั้งมายังบริเวณนี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างโรงแรม ศูนย์การค้า และศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งจะทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่เมืองเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของกิจกรรมสันทนาการ โซน Greater Bangna มีสนามกอล์ฟหลายแห่งที่จัดว่าดีที่สุดในเอเชีย เช่น ธนาซิตี้ คันทรี คลับ, เลควูด คันทรี คลับ และอีกหลายๆแห่ง คนทั่วไปสามารถขับรถเดินทางมายังพื้นที่บางนาเพราะมีตลาดขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าราคาถูก และเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทย ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษา โดยมีโรงเรียนมัธยมชื่อดังหลายแห่ง เช่น โรงเรียน ดิ อเมริกัน สคูล ออฟ แบงค็อก (The American School of Bangkok), โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ (Verso International School) และยังมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งในโซนนี้
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า ตลาด โรงพยาบาล ฯลฯ คาดว่าจะพลิกโฉมหน้าพื้นที่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมในอดีตแห่งนี้ นอกจากนี้ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรายเริ่มเข้ามาจับจองทำเลศักยภาพนี้และดำเนินโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยกันอย่างจริงจัง ส่งผลให้ผู้ซื้อบ้านมีทางเลือกที่หลากหลาย สามารถเลือกโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการและงบประมาณได้อย่างแท้จริง