อาคารพักอาศัยแห่งแรกในไทเปโดย OMA ที่ถูกปรับปรุงใหม่ หลัง Post-Pandemic
ภาพจาก designboom
OMA BUILDS METROPOLITAN VILLAGE IN TAIPEI
ที่อยู่อาศัยในไทเปซินยี่-เหวินชาง (Xinyi-Wenchang) มีการตอบสนองความเปลี่ยนแปลง การอยู่อาศัยและการทำงาน หลังจากการแพร่ระบาด Post-Pandemic ถูกออกแบบโดยทาง OMA
โดยอาคารมีความสูง 23 ชั้น หรือประมาณ 95 เมตร มีตำแหน่ง ที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ Business District ของไทเป โดยแต่ละชั้นของแผงอลูมิเนียม(Aluminum Panel) และระบบ curtain wall ที่เอื้อให้เกิดการสร้าง unit types ในการอยู่อาศัยที่แตกต่างกันถึง 30 รูปแบบ ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความหลากหลายของบริบทเมือง(Urban Condition) โดยอาคารแห่งนี้จะนำเสนอไลฟ์สไตล์ในการอยู่อาศัยที่หลากหลาย หลังการแพร่ระบาด Post-Pandemic ตั้งแต่ห้องสตูดิโอขนาด 68 ตารางเมตร สำหรับคนทำงานแบบ remote working ไปจนถึงห้อง อพาร์ทเมนต์ขนาด 165 ตารางเมตร ที่มาพร้อมพื้นที่ครัวขนาดใหญ่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยเป็นครอบครัว และยูนิตส่วนใหญ่จะมีขนาดอยู่ที่ 120 ตารางเมตร ซึ่งง่ายต่อการปรับเปลี่ยนตามการอยู่อาศัย วิถีชีวิตประจำวัน การทำงาน และการพักผ่อน
ภาพจาก designboom
การปรับเปลี่ยนของอาคารที่อยู่อาศัยหลังการแพร่ระบาด (A HIGH-RISE RESIDENTIAL TOWER ADAPTING TO THE POST-PANDEMIC ERA)
อาคารมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางกระจายอยู่ทั่ว ที่สามารถนำมาใช้เป็นพื้นที่ร่วมกันได้ ซึ่งทางทีมดีไซน์ได้มีการวางแผนให้มีพื้นที่ศูนย์ธุรกิจและห้องประชุมไว้ในชั้นล่าง เพื่อใช้รองรับคนทำงานแบบ Remote working ให้สามารถรองรับการใช้งานจริง ในส่วนพื้นที่ชั้นบนเป็นพื้นที่อำนวยความสะดวก ซึ่งรวมไปด้วยพื้นที่ห้องสมุด บาร์ ร้านอาหาร ห้องออกกำลังกาย และระเบียงส่วนกลางบนชั้นดาดฟ้า(Rooftop) ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในชีวิตการทำงานที่สมดุล ซึ่งพื้นที่นี้เชื่อมต่อบริบทของพื้นที่ย่านการค้า Xinyi และย่าน Wenchang โดยตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ในส่วนยูนิตที่ชั้นล่างได้รับการยกระดับเหนือเส้นทางเดินที่เชื่อมโยงทั้ง 2 เขต แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับ Human Scale ที่ระดับถนนด้วย
“โครงสร้างอาคารสูง 95 เมตรมีทั้งหมด 23 ชั้น” / ภาพจาก designboom
ซึ่ง façade ภายนอกของอาคาร จะเป็นระบบ Curtain wall และแผงอลูมิเนียม(Aluminum Panel) ที่มีความแข็งแรง ทำหน้าที่เป็นเสมือนผืนผ้าใบสำหรับกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัย มีราวบันไดทำจากกระจกมีลวดลายซึ่งชวนให้นึกถึงการตกแต่งภายในอพาร์ทเมนต์แบบดั้งเดิมของไต้หวัน ช่วยให้มองเห็นพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวได้น้อยที่สุด ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่เปิดและความเป็นส่วนตัวนี้ส่งผลให้เกิดความไดนามิกของทางสถาปัตยกรรม ซึ่งอาศัยการเคลื่อนไหวของผู้อยู่ ในระหว่างพื้นที่พักผ่อนและพื้นที่ทำงาน