วิธีแก้ไขรถติด รถไฟฟ้าแน่น คือ Work Anywhere ไม่ต้องออกจากบ้านไปทำงานในเมือง ใช้ชีวิตแบบ Freelance & Digital Nomad

ต่อทอง ทองหล่อ 01 June, 2019 at 00.08 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ภาพจาก https://pixabay.com/

 

ปัญหารถติดนี้เป็นปัญหาคลาสสิกฮิตคู่กรุงเทพมานานแสนนาน แต่ตอนนี้ปัจจุบันปี 2019 แล้ว ในกรุงเทพเราก็ยังคงเห็นภาพคนทำงานแย่งกันใช้ถนน แย่งกันขึ้นรถเมล์ แถมขึ้นไปเบียดกันบนรถไฟฟ้า ออกไปทำงานเช้าก็แน่นกลับเย็นก็แน่นเหมือนเดิม ปัญหามันควรจะลดลงได้อีกนี่นา แล้วคนเมืองเราจะช่วยแก้ปัญหารถติดอย่างไรได้บ้างนะ

 

รัฐบาลมีความพยายามแก้ไขรถติดหลายวิธี เช่น สร้างรถไฟฟ้า สร้างถนนเพิ่ม  แต่ในขณะเดียวกัน สร้างรถไฟฟ้าขึ้นมาแต่ไม่สร้างระบบ Feeder รับส่งคนไปซอยย่อย ไปถึงประตูบ้านคน คนก็เลยขับรถออกมาเลยทีเดียว เพราะประหยัดเงินกว่า แต่เสียเวลามากกว่า ผลลัพธ์การแก้ไขจากภาครัฐอย่างเดียวก็อย่างที่เราเห็นคือยังแก้ไขไม่สำเร็จ เพราะสาเหตุรถติดมีหลายอย่างเกี่ยวโยงใยกับทุกคนทุกวงการทุกอุตสาหกรรม ทุกคนต้องช่วยกัน

 

วันนี้มีหนึ่งในวิธีช่วยแก้ไขรถติดมาฝ่ากครับ เป็นแก้ไขไปที่ต้นเหตุ คือ ลดการเดินทางออกจากบ้านพร้อมกันของคนในเมือง เมื่อไม่ต้องเดินทางพร้อมกัน จำนวนรถบนถนนในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ลดลงทำให้ปัญหารถติดน้อยลง เมื่อคนไม่จำเป็นต้องออกจากบ้าน รถเมล์ก็ไม่แน่นมาก รถไฟฟ้าก็ไม่ต้องมาเบียดแน่นกันในช่วงเวลาพีคๆ อีกต่อไป

บริษัทในกรุงเทพจะช่วยแก้ปัญหารถติดได้อย่างไร

ผู้เขียนขอเสนอให้บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ช่วยกันออกนโยบาย “ Work Anywhere ให้พนักงานทำงานที่บ้าน ไม่ต้องออกมาเจอกันทุกวันก็ได้”

 

บริษัทควรออกแบบรูปแบบการทำงานแบบ Work Anywhere เอื้อให้การทำงานที่บ้านมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับการทำงานในสำนักงานโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและบริหารจัดการ

 

บริษัทอาจวางรูปแบบการทำงานและการวัดผลงานของพนักงานประจำให้เหมือน Freelance หรือ Digital Nomad ก็ได้ครับซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่ถูกใจคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ที่ต้องการความอิสระในการใช้ชีวิต และต้องการโอกาสบริหารจัดการเวลาด้วยตัวเองได้

 

คนยุคใหม่ ไม่ได้หมายถึงคนรุ่นใหม่เท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงคนทำงานทุกวัยต่างก็ต้องการอำนาจในการบริหารการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มีโอกาสรับจ๊อบหาเงินเพิ่มบ้างเพราะปัจจุบันทำงานที่เดียวเงินใช้ไม่พอแน่นอนครับ จะไปคาดหวังให้ค่าตอบแทนรายเดือนเพิ่มก็คงยาก ทางเดียวที่จะรอดได้คือรับจ๊อบเสริม ไม่ก็เปลี่ยนงานไปเลย หนักเข้าคือบินหนีไปทำงานบริษัทเมืองนอกเสียเลย เกิดปัญหาสมองไหลและมีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวได้

 

ถ้าบริษัทมองว่าทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพมีค่าและต้องการดึงดูดคนเก่งๆ ที่บริหารจัดการชีวิตดีและต้องการไลฟ์สไตล์การทำงานอย่างที่กล่าวมานี้ก็ควรรีบปรับตัวองค์กรครับ เดี๋ยวนี้มีบริการแนว Digital Transformation มากมาย ลองถามดูกันเองครับ หรือพูดคุยกับผู้เขียนก็ได้ครับ พอจะแนะนำให้ได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ ตามเท่าที่มีความรู้

 

การทำงาน Work Anywhere สไตล์ Freelance หรือ Digital Nomad มีความเป็นมาอย่างไร

กระแส Work Anywhere นี้เริ่มตั้งแต่มีหนังสือเรื่อง “The 4-Hour Workweek ทำน้อยแต่รวยมาก” มาตั้งแต่ปี 2007 เป็นหนังสือขายดีมากๆๆ ที่ต่างประเทศ ผู้เขียนชื่อ Timothy Ferriss เขาเขียนเล่าการใช้ชีวิตที่น่าอิจฉาสำหรับคนทำงานในยุคนั้น โดยเขาแนะวิธีการหนีจากงานประจำที่ต้องตอกบัตร เข้างาน 9 โมงเช้า เลิกงาน 5 โมงเย็นแบบเดิมๆ แต่เขาสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ในโลก เมื่อไหร่เวลาไหนก็ได้ และบอกว่าเราจะทำเงินพร้อมท่องเที่ยวไปทั่วโลกได้ยังไงโดยไม่ต้องรอเกษียณอายุทำงานจนแก่แล้วค่อยไปเที่ยว

 

ภาพจาก www.Amazon.com

 

เมื่อเกิดกระแสแนวคิด “ไม่เอาแล้ว ไม่อยากทำงานประจำนั่งโต๊ะ” ประกอบกับการเกิด “Financial Crisis” สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกในยุคนั้นก็ไม่ค่อยสู้ดีนักเพราะมีวิกฤติทางการเงินทำให้บริษัทต่างๆ ก็ต้องปรับตัวเพื่อดำเนินธุรกิจได้ต่อ วิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในการปรับตัวคือลดจำนวนพนักงานประจำ เกิดการ lay-off พนักงานเป็นปกติ เมื่อลดจำนวนพนักงานพื้นที่อาคารสำนักงานก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตอีกต่อไป ช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายค่าเช่าสำนักงานได้อีก

 

แต่อย่างไรก็ตามบริษัทก็ยังคงต้องสร้างงานสร้างเงินขึ้นมาอยู่ดี จึงทำให้เกิดอาชีพสไตล์ Freelance รับจ้างรับงานรับเงินเป็นจ๊อบๆ ไป ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับคนทำงานรุ่นใหม่ในยุคนั้นเพราะมีอิสระในการใช้ชีวิตมากกว่า ประกอบกับโลกเริ่มเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานดิจิทัลก็เบ่งบานขึ้นมา

 

เมื่อเกิดลักษณะการทำงานแนว Work Anywhere นี้เพิ่มขึ้นจึงมีการสร้างระบบทำงานร่วมกันออนไลน์ Collaboration system และ Project Management ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การทำงานแบบไม่ต้องเจอหน้ากันให้ดีขึ้น เช่น  บริการของ 37Signals ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Basecamp ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับคนทำงานด้านไอที หลังจากนั้นก็มีอีกสารพัดเครื่องมือออกมาตอบโจทย์ธุรกิจและรูปแบบงานหลากหลายมากขึ้น มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน

 

ปัจจุบัน platform ที่นิยมเช่น Trello, Jira, Wrike, Asana, Slack, Bitrix24 และมีตัวใหม่ๆ เช่น nTask, Monday นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือสำหรับนักบัญชีเช่น Xero, Quickbooks, Zipbooks เป็นต้น สรุปว่าที่ต่างประเทศมีการทำงานรูปแบบที่ไม่ต้องพบปะเจอกันตัวต่อตัว ไม่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศใกล้กัน ทุกคนสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้บนโลก (ขอแค่มีอินเทอร์เน็ตที่เร็วพอ)

 

ส่วนไลฟ์สไตล์แบบ Digital Nomad นั้นมีความแตกต่างจากคำว่า Freelance นิดหน่อย ตรงที่พวก Nomad ที่แปลว่าการร่อนเร่พเนจรท่องเที่ยวไป จะมีคอนเซปต์หลักๆ ในการใช้ชีวิตที่ว่า “หาเงินจากที่หนึ่ง แต่เอาเงินไปใช้อีกที่หนึ่ง” ซึ่งส่วนใหญ่การตัดสินใจก็จะเป็นการรับงานรับเงินจากเมืองที่ให้รายได้สูงกว่าเมืองที่เลือกไปใช้ชีวิต เช่น รับเงินสกุลดอลล่าร์จากอเมริกาแต่เอาเงินมาใช้ที่บาหลี กรุงเทพ เวียดนาม เป็นต้น นอกจากได้กำไรเรื่องเงินเพราะได้มามากแต่จ่ายออกน้อยแล้ว ผลพลอยได้จากการมาใช้ชีวิตไปตามเมืองต่างๆ ทั่วโลกก็คือได้ท่องเที่ยวไปในตัวครับ

 

งานที่ Digital Nomad มักจะทำเลือกคืองานที่ทำผ่านระบบออนไลน์ได้ มีครอบคลุมไปตั้งแต่งาน Web, Mobile & Software Dev, IT & Networking

,Data Science & Analytics , งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม Engineering & Architecture ,งานออกแบบและสร้างสรรค์ Design & Creative ,งานเขียน Writing , งานแปล Translation , กฎหมาย Legal , งานสนับสนุน Admin Support , บริการลูกค้า Customer Service , งานขายและการตลาด Sales & Marketing, บัญชี และที่ปรึกษา Accounting & Consulting ซึ่งลองหางานที่ตรงใจเองได้ที่ https://www.upwork.com/hire/  ส่วนเว็บไซต์ของไทย เช่น https://fastwork.co

 

เทรนด์ Work Anywhere ทำงานจากที่ไหนก็ได้ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในวงการอสังหาฯ

ภาพจาก https://pixabay.com/

 

การทำงานออนไลน์ที่ฮอตฮิตแบบนี้ทำให้เกิดธุรกิจ Co-working Space เป็นพื้นที่สำนักงานให้เช่าทำงานร่วมกันเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและยืดหยุ่น วันไหนไม่มาทำงานก็ไม่ต้องจ่าย ทีมเราเล็กๆ ก็จ่ายพื้นที่แค่เล็กๆ แต่ได้ facility สำหรับทำงานแบบ full service เทรนด์ Co-working Space ปัจจุบันกลายเป็นกระแสฮิตติดลมบนในประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพ

 

ผู้เขียนเคยเขียนให้ความเห็นในบทความเรื่อง “อ่านก่อนลงทุนทำ CO-WORKING SPACE ให้เช่าสำหรับคนไทย

 

คอนเซปต์การจัดพื้นที่ให้เป็นรูปแบบ Co-working Space ลามไปจนถึงวงการคอนโดมิเนียมที่ทุกแห่งต้องมี Facility เปลี่ยนชื่อจากคำว่า Library ให้กลายเป็น Co-working Space เพื่อความเก๋และตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัย (แต่ Co-working Space ในคอนโดมิเนียมบางแห่งกลับไม่มีอินเทอร์เน็ตให้นะครับ อยากให้ช่วยติดเน็ตให้นิดนึง ฮา)

 

ในประเทศไทยลูกค้าของ Co-working Space ส่วนใหญ่จะเป็น Digital Nomad ชาวต่างชาติ ไม่ค่อยมีคนไทย เพราะเหตุผลหลักๆ คือองค์กรในไทยยังไม่ออกแบบการทำงานรูปแบบ Work Anywhere เพราะขาดดีมานด์จากองค์กรใหญ่ที่จะเป็นผู้นำในการทำงานรูปแบบนี้ และขาดเครื่องมือทำงานร่วมกันบนออนไลน์สำหรับคนไทยที่เหมาะกับพฤติกรรมการทำงานคนไทย ปัจจุบันมีผู้พัฒนาโปรแกรมทำงานในไทย เช่น Ekoapp ที่ใช้ในเครือ TRUE ส่วนผู้เขียนเองก็เคยพัฒนา platform ตัวหนึ่งชื่อว่า Workinroom  https://youtu.be/DIt0SCvgPGs สำหรับทำงานร่วมกันบนโลกออนไลน์เพื่อใช้ในงานของตัวเอง แต่ปัจจุบันเลิกทำไปแล้วเพราะไม่มีเงินทุนทำต่อ (ฮา) และคิดว่าใช้ของที่เมืองนอกทำมาดีกว่า ไม่ต้องมานั่ง maintainance เองด้วย

 

ปัจจุบัน platform ที่คนทำงานไทยนิยมใช้ทำงานร่วมกันมากที่สุดคือของฟรีทั้งหลาย เช่น LINE, Facebook Messenger, Facebook Group, Google Drive เป็นต้น ซึ่งจริงๆ ก็สามารถใช้งานเบื้องต้นได้ แต่ถ้างานมีความซับซ้อนจะเริ่มยากในการบริหารจัดการข้อมูลครับ ควรจะใช้ platform ที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการทำงานร่วมกันไปเลยดีกว่า

 

เล่าประสบการณ์การทำงานแบบ Work Anywhere

ขอเล่าประสบการณ์ส่วนตัว ชีวิตผู้เขียนก็ทำงานประจำครับ รับเงินเดือนปกติทั่วไป แต่เนื้องานไม่จำเป็นต้องเจอกับคนในออฟฟิศทุกวัน ส่วนการติดต่อสื่อสารในองค์กรส่วนใหญ่ก็ใช้อีเมลหรือโทรศัพท์กันอยู่แล้ว เมื่อมีการประชุมที่ต้องนัดเจอหน้ากันก็นัดวันเวลาเป็นครั้งคราวกันไป ปัจจุบันโต๊ะทำงานที่ผู้เขียนทำงานอยู่กลายเป็นโต๊ะวางสิ่งของหรือไม่ก็ให้น้องฝึกงานนั่งแทนไปแล้วเรียบร้อย ส่วนร่างของผู้เขียนก็จะสิงอยู่ที่บ้านตัวเอง พอเบื่อๆ ก็จะออกไปอยู่ตามคาเฟ่ ร้านอาหารที่คนไม่เยอะ ห้องสมุด ห้างที่มีที่นั่งทำงานฟรี Co-working Space แบบเสียเงินบ้าง บางทีผู้เขียนก็จะไปเช่าที่พักในทำเลที่เราไม่เคยอยู่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ก็ขน Laptop ไปทำงานด้วย สัมผัสประสบการณ์และใช้ชีวิตในถิ่นที่เราไม่คุ้นเคย ก็เหมือนได้อารมณ์ความเป็น Nomad ได้ดี

 

เพื่อนของผู้เขียนทำงานด้านธุรกิจออกแบบ เป็นงานดิจิทัลแนวๆ นี้ ก็มีวิถีชีวิตคล้ายๆ ผม แต่เขาจะชอบอยู่ใน Co-working Space มากกว่าเพราะเขาต้องการพื้นที่คุยงานประจำให้ทีมงานของเขาและต้องการบรรยากาศที่เหมาะสมกับการทำงานมากกว่าร้านคาเฟ่

 

ส่วนบริษัทองค์กรใหญ่ๆ ก็เริ่มมีการขยับแล้ว ได้ข่าวว่ามีบริษัทอสังหาเจ้าใหญ่บางราย เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในงานมากขึ้นเพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้จำนวนคนทำงานลดลง และพนักงานก็ happy กับรูปแบบการทำงาน Work Anywhere ถือว่าได้ประโยชน์ทั้งคู่ บริษัทลดค่าใช้จ่าย ส่วนพนักงานได้เวลาและความอิสระเพิ่ม

 

เรื่องแบบนี้ผู้บริหารองค์กรต้องมองเห็นความสำคัญของการออกแบบวิธีการทำงานลักษณะนี้เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดการทำงานที่แตกต่างไปครับ

 

เมื่อ Work Anywhere ก็ Live Anywhere ได้

อนาคตถ้าเทรนด์ Work Anywhere ในไทยบูมขึ้นมา ก็ย่อมส่งแรงกระเพื่อมถึงวงการอสังหาแน่นอน ลูกค้าจะเริ่มมีโจทย์ใหม่ๆ เช่น

– ทำไมฉันต้องซื้อคอนโดแพงๆ ใกล้ออฟฟิศอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพ ในเมื่อเลือกอยู่ชานเมืองได้

– ทำไมฉันต้องเสียค่าเช่าแพงๆ ให้เปลืองเงินไปทำไม ในเมื่อฉันเช่าที่ถูกกว่าได้

– ทำไมฉันต้องทนอยู่ห้องเล็กๆ ในกรุงเทพ ในเมื่อออกไปอยู่บ้านกว้างๆ ที่ต่างจังหวัดได้

– ทำไมฉันต้องทำงานหาเงินมาผ่อนบ้านคอนโด ในเมื่อฉันเช่าแทนก็ดีกว่า

– ทำไมฉันต้องอยู่แค่ทำเลเดิมๆ ในเมื่อฉันกระโดดไปอยู่ทำเลอื่นๆ ได้

 

โจทย์ใหม่เหล่านี้จะทำให้เกิดโอกาสธุรกิจใหม่ๆ อย่างแน่นอน โปรดเตรียมตัวรับมือไว้ในอนาคตครับ

 

แนะนำคอนโดมิเนียมนอกเขตกรุงเทพชั้นใน สำหรับมนุษย์ Digital Nomad / Freelance ใช้ชีวิตสะดวกสบาย จ่ายน้อยกว่า

ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตแบบ Freelance เราก็ใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad แบบไทยๆไม่ต้องบินไปเมืองนอกก็ได้ครับ เลือกรับเงินจากงานเงินดีๆ ในเขตกรุงเทพชั้นใน แต่ไปเลือกใช้ชีวิตบนทำเลนอกเมืองหรือต่างจังหวัดที่ได้คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ห้องกว้างกว่า Facility ที่จัดเต็มกว่า ของกินอร่อยและถูกกว่า มีค่าครองชีพต่ำกว่า ค่าเช่าต่ำกว่า คอนโดถูกกว่า ผ่อนน้อยกว่า

 

สำหรับกลุ่มคนที่ชอบอยู่บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ก็เลือกได้ตามใจชอบครับ แต่สำหรับคนที่ยังมีชีวิตที่พึ่งพาเมืองกรุงอยู่ก็ควรจะเลือกทำเลที่ใกล้รถไฟฟ้าครับ เวลาเข้าไปฟังบรีฟงานต่างๆ ก็เดินทางเข้าเมืองสะดวกกว่า

 

คอนโดมิเนียมทำเลชานเมืองที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้า ได้แก่

 

แนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง

ย่านบางใหญ่ เช่น Plum Condo Central Station , Casa Condo Bangyai , Bang Yai Square , The Iris Bangyai, Iris Westgate, Plum Condo Bangyai

 

ย่านรัตนาธิเบศร์ เช่น Sammakorn S9 Condominium , Grow Rattanathibet , D Condo Rattanathibet , Dcon Prime@Rattanathibet, Lumpini Park Rattanathibet, The Hotel Serviced Condo, City Home Rattanathibet, Supalai Veranda Rattanathibet, A Plus inspire @Rattanathibet 11 , Aspire Rattanatibet 2, Baan Suanthon Rattanathibet, Orchids Park, Supalai Park Khaerai-Ngamwongwan, The Breeze Condominium, Vio Khae Rai

 

ย่านติวานนท์ เช่น Unio H Tiwanon, AMBER BY EASTERN STAR, The Fifth Avenue Ratchada-Wongsawang, Centric Tiwanon Station, Supalai Vista @ Tiwanon Intersection, Vio Tiwanon, Supalai Park Tiwanon, The Tempo Tiwanon, Budget Condo Tiwanon, Niche MONO Tiwanon, Knightsbridge Duplex Tiwanon, The Privacy Rewadee, Aliss Tiwanon, Notting Hill Tiwanon, Vio Khaerai 2

 

ย่านบางซ่อน เช่น U Delight @ Bangson Station, Ideo Mobi Wongsawang – Interchange, Regent Home Bangson, Regent Home 20 Prachachuen 16, Prachachuen Condominium, Supalai Veranda Ratchavipha – Prachachuen, U Delight 2 @ Bang Sue Station, Richpark @ Bangson Station, U Delight @ Bang Sue Station, Metro Sky Prachachuen, Fresh Condominium

 

แนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ย่านเพชรเกษม เช่น Chewathai Phetkasem 27, Supalai Park Ratchaphruek-Phetkasem, The President Sathorn-Ratchaphruek 2, Aspire Sathorn – Ratchaphruek, The President Sathorn-Ratchaphruek , The President Sathorn – Ratchaphruek 3, Chaiyo Condominium, The Base Phetkasem, Charn Issara City Home , The Lake Kallapraphruk – Wutthakat, Bangkok Horizon P 48

 

ย่านบางพลัด เช่น The Tree Charan Bang Phlat, De Lapis Charan 81, The Tree RIO, City Home Ratchada-Pinklao, Bang Ao Riverview

 

แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ย่านปากน้ำ เช่น The Parkland Lite Sukhumvit-Paknam, Knightsbridge Sky River Ocean, The Trust BTS Erawan, Aspire Erawan, Tropicana Condominium, Supalai Veranda Sukhumvit 117

 

ย่านแพรกษา เช่น Notting Hill Sukhumvit -Praksa, The President Sukhumvit-Samutprakan

 

นอกจากนี้อีกทางเลือกก็คือคอนโดมิเนียมต่างจังหวัด เหมาะสำหรับคนที่สามารถ Hideaway จากกรุงเทพไปได้ อาจจะเลือกไปอยู่เมืองต่างๆ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ ตาก พัทยา ภูเก็ต หาดใหญ่

 

รวมลิงค์แหล่งข้อมูล:

https://basecamp.com/about

https://www.ntaskmanager.com/blog/free-basecamp-alternatives/

https://propholic.com/prop-talk/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3-co-working-space-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%8A/

www.hipflat.co.th

https://www.upwork.com/hire/

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง