Apartment แนวคิดใหม่ ในย่าน Tolbiac กลางกรุงปารีส

ชยางกูร กิตติธีรธำรง 21 May, 2024 at 10.16 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ภาพจาก: Archello, Luc Boegly

ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก AAVP (Atelier Architecture Vincent Parreira)
โครงการมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในย่าน Tolbiac ของประเทศฝรั่งเศส

ภาพจาก: Archello, Luc Boegly

กับคำถามสำคัญ ‘ที่อยู่อาศัยคืออะไร?’
เป็นคำถามที่ฟังดูง่ายๆ แต่เป็นคำถามสำคัญที่นำมาใช้กำหนดแนวคิดในการออกแบบ โดยที่อยู่อาศัยควรจะช่วยยกระดับผู้อยู่อาศัยของโลก ผ่านการสร้างบ้านและเมือง ในส่วนโครงสร้างควรที่จะสัมผัสได้ถึงแร่และไม้ ความสว่างและความมืด ความโอบรับและความหยาบกร้าน ความชัดและไม่ชัด ให้เป็นเสมือนที่ต้อนรับแบบเดียวกับการอยู่โรงแรม แต่ยังคงรู้สึกเรียบง่ายเหมือนกับที่พักอาศัยทั่วไป

ภาพจาก: Archello, Luc Boegly

 

โดยที่อยู่อาศัยที่ดี ต้องรู้จักการที่จะปรับตัวในเมืองใหญ่ รู้การที่สร้างให้เกิดพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ รู้กระท่อมและวัง รู้คุณภาพชีวิตที่ดีและรู้ถึงการพักผ่อน โดยไม่ได้ละเลยเรื่องของสัดส่วนทางสถาปัตยกรรม

โครงการ Tolbiac พยายามที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่หลากหลาย ผ่านการศึกษาถึงวัสดุ ความสำคัญของ พื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่สีเขียว และการจัดวางต่างๆ เพื่อให้เชื่อมโยงกับพื้นที่ และประวัติศาสตร์

ภาพจาก: Archello, Luc Boegly

 

เป็นเวลานานที่จุดตัดของถนน Tolbiac และ Chevaleret ได้มีการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในพื้นที่สำหรับชาวปารีส เส้นทางตั้งแต่ชานเมืองอันหนาแน่นไปสู่ทางรถไฟ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ทอดยาวด้วยสะพานโลหะ โดยการพัฒนาของย่าน Seine Rive Gauche มีการลบงานศิลปะออกและนำรางรถไฟออกไป ซึ่งทำให้เมืองมีรูปแบบเหมือนกับเมืองทั่วๆไปซึ่งแทบจะไม่ได้แสดงออกถึงความเฉพาะเจาะจงของย่านในบริเวณนี้เลย

โดยทางตัดผ่านระหว่างพื้นที่เก่าและใหม่ โปรเจค Tolbiac ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ที่ยังคงความเป็นอดีตที่สื่อถึงความเป็นชาวปารีสเอาไว้ ซึ่งนำมาสู่เอกลักษณ์ของการอยู่อาศัยในเมือง แต่ก็ยังไม่ละทิ้งการคำนึงถึงความเป็นส่วนตัว และการลดความวุ่นวายและความรำคาญออกไปให้ได้มากที่สุด

ภาพจาก: Archello, Luc Boegly

 

Urban Façade
พื้นที่ตั้งอยู่บนมุมถนน 2 สายซึ่งมีระดับที่แตกต่างกันเกือบ 7 เมตร โดยมีบันไดที่มีอยู่ดั้งเดิมทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างถนนทั้ง 2 สาย โดยพื้นที่ของงานเวิร์กช็อปและโกดังที่สร้างขึ้นในช่วงทศวรรษปี 1920 ถึงปี 1960 ถูกแทนที่ด้วยอาคารแบบผสมผสานที่มีทั้งพื้นที่เชิงพาณิชย์กว่า 3,000 ตารางเมตร และพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยอีก 5,000 ตารางเมตร

ซึ่งพื้นที่เชิงพาณิชย์จะตั้งอยู่ในบริเวณชั้นแรกของถนนทั้ง 2 สาย ในส่วนพื้นที่อพาร์ทเมนท์จะมีทั้งหมด 88 ห้อง แบ่งออกเป็น 4 ตึก โดย 3 ตึกเชื่อมต่อกันด้วยพื้นที่ส่วนกลาง

ภาพจาก: Archello, Luc Boegly

 

A mixed wood and concrete project
2 วัสดุคอนกรีตและไม้ เป็นวัสดุหลักในการพัฒนาโปรเจคนี้ โดยคุณสมบัติของคอนกรีตคือความทนทานต่อไฟ และสามารถช่วยป้องกันเสียงรบกวนได้ ทำให้คอนกรีตถูกนำไปใช้เป็นโครงสร้างหลัก ส่วนไม้ Larch wood ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุหุ้มในทุกพื้นผิวของอาคาร ในขณะที่โครงสร้างของผนังโครงไม้และเสาแนวตั้งด้านหน้าอาคารทำจาก Douglas fir ซึ่งไม้จะมองเห็นเป็นไม้สีเข้ม ชวนให้นึกถึงส่วนหน้าของโกดังเก่าในเขตอุตสาหกรรมของปารีส

และไม้เนื้อแข็งจะนิยมใช้ไม้ลามิเนตติดกาวสำหรับเสาด้านหน้าอาคาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพของวัสดุ ส่งเสริมลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ให้นึกถึงต้นกำเนิดตามธรรมชาติ โดยองค์ประกอบลามิเนตที่ติดกาวถูกนำมาใช้เป็นครั้งคราวเพื่อสร้างคานโค้งในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง ในส่วนราวบันไดจะใช้เป็นวัสดุโลหะโดยมีการเคลือบสีกันเมทัลกับราวทั้งหมด

ภาพจาก: Archello, Luc Boegly

 

อ้างอิง

Archello | When wood shapes Paris | Atelier Architecture Vincent Parreira – AAVP | Archello

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

สถาปนิกจบใหม่ กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มีความสนใจด้านอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภทตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ คอนโด โรงแรม และชอบไปดูโครงการและงานออกแบบอยู่เสมอ เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

เว็บไซต์

ดิสทริค สุขุมวิท 77

นิว คอนเน็กซ์ คอนโด ดอนเมือง

แอริ สุขุมวิท-บางนา กม.5

โครงการ AIRI Sukhumvit - Bangna KM. 5 มาพร้อมคอนเซปต...

25 September, 2024

นิว โนเบิล รัชดา-ลาดพร้าว

ย่านรัชดา – ลาดพร้าว เรียกได้ว่าเป็นทำเลที่อยู่ใน Tr...

23 August, 2024

ศุภาลัย ไอคอน สาทร

นับตั้งแต่ที่ศุภาลัยเป็นผู้ชนะการประมูลที่ดินสุด Pri...

2 August, 2024

แอสปาย ห้วยขวาง

AP THAILAND ภายใต้คำมั่นสัญญา “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองไ...

15 July, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง