Abe House บ้านที่มีแนวคิดการออกแบบ แยกสเปซภายในกับโครงสร้างหลักอาคาร

ชยางกูร กิตติธีรธำรง 27 September, 2023 at 10.38 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


บ้านอยู่อาศัยครอบครัวใหญ่ ตั้งอยู่ในเมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น จาก Masafumiharigaiarchitecture

Swaying Fixed Point – จะเป็นไปได้ไหมที่จะนึกถึงสถาปัตยกรรมในมุมมองของโครงสร้างเป็นปัจจัยหลักก่อน
โดยบ้านหลังนี้ในทางสถาปัตยกรรมผู้ออกแบบได้เริ่มกระบวนการคิดแยกกันระหว่าง โครงสร้างที่รับแรงทางนอน(Horizontal Force) และ โครงร่างกรอบตัวบ้าน ซึ่งข้อสรุปสุดท้ายทางผู้ออกแบบได้สร้างโครงร่างกรอบตัวบ้านที่เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมที่กำหนดพื้นที่ใช้สอยพื้นที่ห้องนั่งเล่นของตัวบ้าน ล้อมรอบโครงสร้างหลักที่คล้ายกระดูกสันหลังวางอยู่ตรงกลาง หรือ Spine-like polygon ซึ่งทั้งสององค์ประกอบราวกับว่ามีจุดประสงค์ที่แยกจากกัน แต่จริงๆแล้วมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน

หลังจากนั้น การตัดสินใจเรื่องตำแหน่งและความต้องการของผู้อยู่อาศัย ตำแหน่งพื้นที่ตัวห้องจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกทางกายภาพในการกำหนดขอบเขตภายใน แต่ยังอยู่ภายใต้ระบบวิศวกรรมที่เป็นไปได้ ซึ่งในกระบวนการออกแบบตัวโครงสร้างจะมีการยึดตำแหน่งหลัก(Fixed Point) กับตำแหน่งปรับเปลี่ยน (Oscillates) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระยะระหว่างเสากว้างเพียงพอก็จะทำให้มีพื้นที่กว้างสบายขึ้น หรือ ถ้าวางตำแหน่งองศาของเสาอยู่ลึกเข้าไป สเปซภายในก็จะให้ความรู้สึกเชื่อมต่อกันมากขึ้น เป็นต้น

โดยโปรเจคบ้านนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับการอยู่อาศัย 6 ครอบครัว มีทำเลที่ตั้งของบ้านที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง แต่ก็ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ชานเมือง เป็นพื้นที่กึ่งกลางระหว่างกลางเมืองและชานเมือง ซึ่งการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัวบนพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม สภาพแวดล้อมดี และไม่รบกวนกับพื้นที่ภายนอกอย่างชุมชน ทางผู้ออกแบบจึงได้มีการใส่พื้นที่ Courtyard เปิดโล่งสู่ด้านบน ในตำแหน่งกลางบ้าน ทำให้ครอบครัวที่มีจำนวนหลายคน สามารถมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันได้ แต่ก็ยังสามารถมีพื้นที่แยกออกจากกันอย่างอิสระของแต่ละครอบครัว

ทางผู้ออกแบบยังมีการจินตนาการของสเปซที่มีระยะห่างระหว่างความใกล้ชิดและความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็ยังต้องเคารพต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรู้สึกการกระทำของกันละกันด้วย ทำให้ตำแหน่งตัวเสาและคานที่ต่อเนื่องกัน คือ ทั้งหมดที่ประกอบขึ้นเป็นรูปหลายเหลี่ยมเป็นวงกลมปิด แต่ก็เป็นส่วนที่สร้างสเปซเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นทิวทัศน์ที่แบ่งพื้นที่ในการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างหลวมๆ โดยไม่รู้ตัว และพื้นที่จะให้ความรู้สึกเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเป็นเพื่อนไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ แม้ในพื้นที่ที่เชื่อมต่อกันสามารถเดินวนไปรอบๆหากันได้ รับรู้มุมมองที่หลากหลายทั้งที่เห็นและสัมผัสได้ จากตำแหน่งเสาต่างๆ ที่มีความซับซ้อน แต่พื้นที่บ้านก็ยังสามารถรองรับความต้องการของผู้อยู่อาศัยของแต่ละคนในครอบครัว ตามแต่ละเวลา ตามแต่ละโอกาส และงานต่างๆ ที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างลงตัว

สุดท้ายถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า สิ่งที่มีเหตุผลในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นำมาซึ่งระบบทางวิศวกรรม ทางผู้ออกแบบเชื่อว่ารูปแบบเชิงพื้นที่ซึ่งให้ความรู้สึกทางร่างกายสามารถเข้ามาอยู่ในกระบวนการคิด เนื่องจากปัจจัยกำหนดนั้นมาพร้อม มนุษย์ และ ความไดนามิก ซึ่งจะเป็นไปได้ไหม? ที่จุด Swaying Fixed Point จะแก้แนวคิดดั้งเดิม และสามารถเชื่อมโยงผู้คนกับสิ่งของ และผู้คนกับกิจกรรมได้อย่างลงตัว

 

อ้างอิง

Abe House / masafumiharigaiarchitecture | ArchDaily

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

สถาปนิกจบใหม่ กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มีความสนใจด้านอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภทตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ คอนโด โรงแรม และชอบไปดูโครงการและงานออกแบบอยู่เสมอ เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

เว็บไซต์

นาวว์ เมกา

แชปเตอร์ วัน สปาร์ค จรัญ

ศุภาลัย เซนส์ ศรีนครินทร์

โครงการ Supalai Sense Srinakarin แบรนด์ใหม่ ถูกใจผู้...

9 November, 2023

เฟล็กซี่ ริเวอร์วิว-เจริญนคร

FLEXI Riverview - Charoennakorn เป็นคอนโดแบรนด์ Fle...

27 October, 2023

โมดิซ โวยาจ ศรีนครินทร์

Modiz Voyage Srinakarin (โมดิซ โวยาจ ศรีนครินทร์) ตั...

19 October, 2023

โนเบิล เอควา ริเวอร์ฟร้อนท์ ราษฎร์บูรณะ

เชื่อแน่ว่า หากใครที่เคยได้ไปล่องเรือเที่ยวหรือดินเน...

11 October, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง