Gig Economy มีผลยังไงต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา
Gig Economy คืออะไร
เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่เจนเนเรชั่น Y และ Gen ใหม่ๆ ที่กลายมาเป็นกำลังหลักในตลาดแรงงาน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน Gig Economy ซึี่งหมายถึงการทำงานรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่การจ้างงานประจำ แต่เป็นการจ้างงานในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทั้งในลักษณะ Part-time, Freelance, Self-employed และ Outsource เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้คนหนึ่งคนสามารถรับงานได้หลายประเภทในเวลาเดียวกัน อันเป็นลักษณะการทำงานที่ยืดหยุ่น มีอิสระ และมีโอกาสสร้างรายได้ไม่จำกัด ถูกใจคนรุ่นใหม่หลายๆ คน
การเติบโตของ Gig Economy ในสหรัฐอเมริกา
จำนวนผู้คนที่เข้ามาอยู่ใน Gig Economy ของสหรัฐอเมริกามีเพิ่มขึ้นถึง 27% ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของพนักงานจ้างแบบรายเดือนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเสียอีก หากมองเจาะลึกลงไปในบางอุตสาหกรรมอย่างการขนส่งและคมนาคมก็จะยิ่งเห็นได้ชัด เพราะมีการเติบโตขึ้นถึง 44% มากกว่าอัตราการเติบโตของพนักงานจ้างรายเดือนแบบทั่วไป อีกทั้งสัดส่วนการเติบโตนี้ไม่ได้มาจากเฉพาะการจ้างงานทางด้านการพัฒนาซอฟแวร์ งานออกแบบ หรืองานเขียนที่ใช้การส่งงานผ่านระบบออนไลน์เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงจำนวนงานแบบสัญญาจ้างในบางอุตสาหกรรม เช่น การศึกษา การบริการสุขภาพที่บ้าน ที่เติบโตขึ้นถึง 400% ระหว่างปี 2548 – 2558
Photo by Robert Anasch on Unsplash
อย่างไรก็ตามหากการเพิ่มขึ้นของ Gig Economy ได้รับการบริหารจัดการจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบระเบียบแล้ว โมเดลการหารายได้ใหม่นี้ก็จะไม่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจมากนัก แต่หากการมาซึ่ง Gig Economy นำการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไปอย่างผิดที่ผิดทาง เพราะถ้าผู้กุมระบบแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีเกิดบีบคั้นและปฏิเสธการร่วมเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานหรือมีการละเมิดสิทธิแรงงานอื่นๆ Gig Economy แบบนี้ก็จะนำมาซึ่งหายนะที่สามารถทำลายระบบการหารายได้อย่างเป็นธรรม แต่โชคดีที่เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาได้มีการยกระดับมาตราฐานความคุ้มครองของลูกจ้างสัญญาจ้างชั่วคราวให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น