อะไรคือ Power of Purpose สรุปประเด็นเด็ดจากแนวคิดผู้บริหาร AP ในงานสัมมนา CTC 2021 Online
CTC 2021 Online ในปีนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า “AP Thailand and SEAC Present Creative Talk Conference CTC 2021 Online Never Stop Learning” เป็นงานสัมมนาออนไลน์สุดยิ่งใหญ่รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความรู้และความคิดใหม่ๆ จาก Speakers คนสำคัญไว้มากมายจากหลากหลายวงการธุรกิจในประเทศไทย เนื้อหาในงานครอบคลุมความสนใจในหลายด้านได้แก่ ด้าน Creative รวมทุกแง่มุมของความคิดสร้างสรรค์ สำหรับคนสายครีเอทีฟ โฆษณา มีเดีย และนักออกแบบ, ด้าน Marketing อัปเดตเทรนด์และวิเคราะห์แนวโน้มการตลาดออนไลน์และโซเชียลมีเดีย, ด้าน Innovation เจาะลึกนวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตและการประยุกต์ใช้, ด้าน Entrepreneurship เนื้อหาสำหรับผู้บริหารและนักธุรกิจโดยเฉพาะ และด้าน People การพัฒนาตัวเองและทีมในด้าน Hard Skill และ Soft Skill เพื่อให้ทุกคนก้าวทันโลกที่ไม่หยุดนิ่งและไม่หยุดเรียนรู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
เชื่อแน่ว่าสำหรับคนส่วนใหญ่ในปีนี้ “ความกังวลในความไม่แน่นอน” คือสิ่งที่เกิดขึ้นวนเวียนอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นยามหลับหรือยามตื่น อะไรที่เราคาดหวังว่าจะทำ หรือเคยทำได้มาตลอดก็กลับไม่ง่ายเหมือนที่แล้วมา สถานการณ์รอบตัวของเราที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาอย่างคาดเดาไม่ได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรน้อยใหญ่ ที่ต้องรับมือกับความกดดันจากวัฒนธรรมองค์กรที่สั่นคลอน อันสืบเนื่องมาจากความคิดที่ขัดแย้งกันของพนักงานจำนวนมาก ไปจนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มองโจทย์ในการซื้อสินค้าและบริการที่ต่างไปจากเดิม เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวเริ่มลุกลามจนกลายเป็นอุปสรรคในการขวางให้องค์กรของเราเดินหน้าต่อไปได้ แล้วอะไรคือทางออกของปัญหา และเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้องค์กรเดินไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกันได้…มารับชมคำตอบไปด้วยกันครับ แล้วคุณจะรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายๆครั้งล้วนเกิดมาจากการที่เราไม่ได้เข้าใจชัดเจนในเป้าหมายที่เราจะทำว่ามีประโยชน์อะไรต่อตัวองค์กรและลูกค้า เปรียบดั่งการติดกระดุมเม็ดแรกที่ผิด ที่หากจะแก้ก็ต้องไปเริ่มติดใหม่ตั้งแต่ต้นครับ โดยหนึ่งใน session ที่น่าสนใจของงาน CTC2021 Online นั่นก็คือประเด็นที่เกี่ยวกับข้องกับเรื่อง Power of Purpose ซึ่งคุณวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดและนำเสนอให้ทุกคนได้ร่วมขบคิดกัน มีบทสรุปความคิดไว้ดังนี้ครับ
– โลกผันผวนเปลี่ยนแปลง เราต้องยืดหยุ่นเสมอ
ปี 2021 สถานการณ์ผันผวนตลอดเวลาและเปลี่ยนแปลงในหลายรูปแบบทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ในปัจจุบัน แทบไม่มีความแน่นอนในชีวิตเพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพยายามจะทำคือเราต้องทำตัวของเราให้มีความยืดหยุ่นสูงๆ เราต้องเตรียมความพร้อมให้มากไว้ก่อน เราจะต้องปรับตัวให้เร็วให้ทันสถานการณ์ ทันกระแส การวางแผนระยะยาวเริ่มใช้จริงไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็นแผนระยะสั้น จากที่เคยวางแผน 5 ปี ก็ต้องเปลี่ยนเป็นแผน 1 ปี จากแผน 1 ปีก็ต้องซอยย่อยออกเป็นแผนรายเดือน เพราะว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นอีกหรือเปล่าไม่มีใครรู้ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องมีคือ Purpose ของชีวิตเพื่อไม่ให้หลงทาง
– ความหมายของคำว่า Purpose คือ เป้าหมายที่เราอยากจะเป็นในอนาคต
Purpose คือเป้าหมายที่เราอยากจะทำ สิ่งที่เราอยากจะเป็น ซึ่ง Purpose ใช้ได้กับทั้งของคนและองค์กร ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากๆ นั้นก็เหมือนกับฝุ่นตลบ ถ้าเราไม่มีเป้าหมาย ไม่มีสิ่งที่เราต้องการจะทำ ถ้าไม่รู้ว่าความหมายของตัวเราเองคืออะไร และถ้ายิ่งในองค์กรใหญ่ มีคนเยอะ มีการตัดสินใจหลากหลาย ถ้าเราไม่มีเป้าให้ชัดและไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วความหมายของเราอยู่เพื่ออะไร ถ้าไม่มี Purpose จะทำให้การตัดสินใจยิ่งหลงทาง สรุปว่า Purpose เป็นเหมือนกับทิศทางที่เราทุกคนจะเดินไปนั่นเอง
– ความท้าทายที่เกิดขึ้น เมื่อกติกาสังคมเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
สิ่งที่พิสูจน์แล้วว่ากติกาของสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว คือเรื่องวัคซีนโควิดที่ต้องเร่งผลิตแข่งกับเวลา เหตุการณ์นี้ทำให้วิธีคิดของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำให้วิธีการทำงานก็เปลี่ยนตาม คนในสังคมสามารถยอมรับวัคซีนได้แม้วัคซีนจะมีประสิทธิภาพไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม เมื่อสถานการณ์บีบบังคับก็สามารถเปลี่ยนทั้งวิธีการทำงานและเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายที่เราทุกคนที่ทำธุรกิจต้องรับมือ และทุกคนก็จำเป็นต้องยอมรับด้วย ในมุมมองของเอพีเราเองความท้าทายนั้นก็มีอยู่สามเรื่องด้วยกัน
– ความท้าทายที่ 1 Consumers demanding more ลูกค้ามีความต้องการที่มากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เราต้องตามลูกค้าให้ทัน
ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าของ AP อยากได้ทุกอย่างที่เป็นการปรับเปลี่ยนเองได้ (Personalized offerings) อยากได้รับประสบการณ์การบริการดูแลลูกค้าแบบ real-time ตลอดเวลา อยากได้คนที่ช่วยแก้ปัญหาได้ตลอดเวลาเหมือนเป็นคนในครอบครัวที่ไว้วางใจได้ (Trusted partner & enhanced experience ) ลูกค้าอยากได้ของใหม่ๆ ทั้งการออกแบบเลย์เอาท์ห้องหรือระบบรักษาความปลอดภัยที้เทคโนโลยีใหม่ๆ (Continuous innovation) ซึ่งทั้งหมดนี้คือไม่ใช่แค่การประกอบของ feature หลายๆ อย่างแล้วแต่มันต้องตอบโจทย์เรื่องของ experience ที่ลูกค้าอยากประสบพบเจอด้วย
– ความท้าทายที่ 2 Competition is fierce การแข่งขันที่รุนแรงมาก
ปัจจุบันนี้การแข่งขันผลิตสินค้าออกมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้านั้นถือว่าแข่งกันรุนแรงมาก อย่างเช่นในวงการอสังหาทุกเจ้าจะสื่อสารเน้นเรื่องโลเคชั่น คุณภาพ และนวัตกรรมซึ่งเป็นเรื่องของฟังก์ชั่นทั้งนั้น ทุกเจ้าแม้จะใช้คำต่างกันแต่เนื้อหาแท้จริงนั้นเหมือนกันหมด (Common messaging) นอกจากนี้เรื่องพัฒนาสินค้าผลิตออกมาก็ทำฟังก์ชั่นได้เท่ากัน เพราะเดี๋ยวนี้สามารถเลียนแบบกันได้ง่ายและไม่มีใครสามารถพูดได้ว่าของตัวเองจะมีฟังก์ชั่นที่เหนือกว่าได้อีกแล้ว (Equivalent functionality) ดังนั้นเราจะต้องทำให้เหนือกว่าเดิมที่เคยทำมา (Innovative Offerings)
– ความท้าทายที่ 3 Ununified Culture วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เป็นหนึ่งเดียว
ท่ามกลางสภาวะฝุ่นตลบความเปลี่ยนแปลงมากมายอย่างรวดเร็ว ในองค์กรจะเกิดความวุ่นวายและทำให้แต่ละคนสนใจแค่เป้าหมายของตัวเองเป็นหลัก (Individual focus) และคนจะทำงานกันแบบ silo คือต่างคนต่างทำไม่แบ่งข้อมูลกัน (Siloed workstreams) เพราะฉะนั้นถ้าองค์กรไม่มี Purpose หรือไม่มีเป้าหมายแล้วจะทำให้ทุกคนตัดสินใจกันสะเปะสะปะ
– การมี Purpose ทำให้เราก้าวเดินต่อไปและยังคงชนะในทุกสถานการณ์
การมี Purpose หรือมีเป้าหมายที่ชัดเจนในหน่วยงานหรือองค์กรของเราจะทำให้ผู้นำและทุกคนในทีมตัดสินใจไปในทิศทางเพื่อไปยังเป้าหมายเดียวกัน และจะทำให้คนทำงานร่วมกับเรารู้ว่าจะต้องเดินไปยังไง ถือว่าเป็นการ Lead with purpose และเมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนที่ดีและถูกต้องแล้วจะก่อให้เกิดพลังหรือ Power ขึ้นมาตามหัวข้อที่ว่า Power of Purpose นั่นเอง
– Purpose ที่ดี จะทำให้เราเข้าใจลูกค้า แตกต่างจากคู่แข่ง และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้
เมื่อมี purpose ที่ชัดเจนแล้วจะทำให้เราก้าวไปได้มากกว่าการสร้างฟีเจอร์ใหม่ๆ จะทำให้เรามีpower ที่สามารถลงลึกไปถึงการเข้าใจความต้องการของลูกค้าและตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้ และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีจนกระทั่งลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ (Build deeper and more meaningful relationships with customers)