LPN ยุคใหม่ภายใต้การนำของหัวเรือใหญ่ป้ายแดง พร้อมปรับตัวขนานใหญ่ด้วยกลยุทธ์การสร้างสมุดลให้กับทุกหน่วยธุรกิจในระยะยาว ปีนี้เปิด 6 โครงการ เป็นแนวราบ 5 และเล็งพัฒนาโครงการร่วมทุนครั้งแรก
เดิมทีเราคุ้นเคยกับ LPN ในฐานะที่เป็นเจ้าพ่อคอนโดระดับ Economy มาอย่างยาวนาน แต่ด้วยกาลเวลา และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันต่อเนื่อง ทั้งในมุมของเศรษฐกิจ เทรนด์การอยู่อาศัย พฤติกรรมการเลือกซื้อคอนโดของกลุ่มผู้บริโภค ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริษัทฯ ทำให้ 3 ปีที่ผ่านมา LPN ได้เริ่มที่จะใช้กลยุทธ์ใหม่ๆในการพยุงธุรกิจ และรักษาระดับการเติบโตให้เพียงพอที่จะก้าวต่อไปอย่างช้าๆ ท่ามกลางความเปราะบางของกลุ่มผู้บริโภคในระดับฐานราก ซึ่งเป็นกลุ่มฐานลูกค้าที่ใหญ่ที่สุด และเคย work ที่สุดสำหรับ LPN มานานหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Brand Platform ใหม่ที่เน้นกลุ่มพรีเมียม – ไฮเอนด์ ผ่านแบรนด์ Flagship ที่เน้นเลขมงคล อย่าง 168 เพื่อหวังที่จะขยายกลุ่มลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆที่ยังไม่เคยรู้จัก หรือโครงการ LPN มาก่อน, การปรับ Perception ให้กับแบรนด์ LPN เดิม ให้มีความทันสมัยมากขึ้น, การใช้ Core Competency ในด้านงาน Services ของตัวเอง ที่มี Branding ค่อนข้างแข็งแรงในหมู่กลุ่มลูกค้าเก่าและปัจจุบัน มาช่วยเสริมกลยุทธ์การสร้างรายได้ผ่าน Cross Category Segment ทั้งจากบริษัทบริหารจัดการโครงการภายใต้ บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัทที่ให้บริการด้านงานวิศวกรรมอย่าง บริษัท แอล พี เอส โปรเจค มาเนจเมนท์ จำกัด (LPS) และบริษัทด้านรักษาความปลอดภัยอย่าง บริษัท รักษาความปลอดภัย แอลเอสเอส โซลูชั่นส์ จำกัด (LSS) เป็นต้น รวมไปถึงการเริ่มเข้าไปบุกตลาดแนวราบในกลุ่ม Luxury บนทำเลเมืองส่วนต่อขยายอื่นๆ…แต่ภารกิจดังกล่าว อาจจะดูชะงักไปในพลันที่บริษัทฯ ได้ประกาศแต่งตั้ง ‘อภิชาติ เกษมกุลศิริ’ ขึ้นเป็นซีอีโอ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2567 แทน ‘โอภาส ศรีพยัคฆ์’ ที่เกษียณอายุไปแบบเงียบๆในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ การมาของ CEO ป้ายแดงที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในสายการเงินครั้งนี้ จะพา LPN กลับขึ้นไปสู่เส้นทางเดิมที่ได้วางเอาไว้หรือไม่ หรือจะไปได้ไวกว่านั้นผ่านการหาเส้นทาง Short cut ใหม่ๆ หรือจะกลับไปสู่วังวนเดิมๆที่เคยถนัดในกลุ่มลุกค้าระดับ Economy วันนี้ เรามาฟังคำตอบจาก CEO ท่านนี้กันครับ
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า LPN ยุคนี้จำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนองค์กรด้วยธุรกิจหลายประเภท นอกเหนือจากธุรกิจหลักที่เป็นธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมีคีย์เวิร์ดสำคัญก็คือ Rebalance ที่สื่อถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลให้กับทุกหน่วยธุรกิจขององค์กร เพื่อให้ทำงานสอดประสานกัน จนสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้วิ่งไปพร้อมกันได้มากที่สุด ตลอดจนการเฟ้นหาธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาสร้างผลตอบแทนในระยะกลาง และระยะยาวให้กับ ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างสมดุลในการเติบโตให้กับธุรกิจ ในระยะยาว ด้วยการทำงานที่สอดประสานกันในทุกภาคส่วนของธุรกิจ (Harmonization) นายอภิชาติ กล่าวโดยชี้เพิ่มเติมให้เห็นถึงภารกิจสำคัญลำดับแรกในฐานะที่เป็น CEO ที่มีประสบการณ์ทางด้าน Finance และมี Background จากสาย Banker ว่าคือการนำ LPP เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ภายในปีนี้
“…ผมจำได้ว่าเมื่อ 5 ปีแรกที่ผมเข้ามาทำงาน LPN กำไร 3 พันกว่าล้าน แต่พอมาถึงวันนี้กำไรเราเหลือแค่ 300 กว่าล้าน จะเห็นว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานของแอล.พี.เอ็น. อยู่ในภาวะถดถอยจากเดิม ในการทำกำไรที่ 1,256 ล้านบาท ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับ 353 ล้านบาทในปี 2566 ในขณะเดียวกัน แอล.พี.เอ็น. มีแผนที่จะนำบริษัทในเครือ ที่มีผลการดำเนินงานที่ดีเข้าระดมทุนในหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ เพื่อสร้างความสมดุลในการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคาดว่าการนำ แอล พี พี เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นการแยกธุรกิจบริการออกจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะช่วยให้ แอล.พี.เอ็น. รับรู้มูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจบริการ ที่ปัจจุบันรวมอยู่ในผลกำไร การดำเนินงานของแอล.พี.เอ็น.กว่า40% และยังเป็นการส่งเสริมกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2566 แอล พี พี มีรายได้ประมาณ 1,560 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 139 ล้านบาท…”นายอภิชาติ เกษมกุลศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)