“BANGKOKVERSE” จักรวาลนฤมิตที่เสมือนโลกจริงมากที่สุดกำลังมาถึงแล้วในไตรมาสสามปีนี้!
อาจกล่าวได้ว่าในปีนี้ถนนทุกสายจากทุกอุตสาหกรรมล้วนมุ่งหน้าสู่โลก Metaverse หรือจักรวาลนฤมิต ซึ่งนับว่าเป็นโลกเสมือนจริงใบใหม่ที่นำพาโอกาสมาได้อย่างไม่สิ้นสุด ในแบบที่หาไม่ได้จากโลกจริง จากการผสานดิจิทัลเทคโนโลยีหลากแขนงทั้ง AR, VR, XR, Blockchain กับสินทรัพย์ดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน โดยธุรกิจอสังหาฯเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงมากที่สุดกับ Metaverse ทั้งในเรื่องของกระแสการลงทุนอสังหาฯในแพลตฟอร์ม Metaverse ชั้นนำอย่าง Sandbox, Decentraland, Cryptovoxels, Jakaverse และ Somnium ที่สามารถสร้างรายได้รวมกันมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา หรืออาจจะเป็นการสร้าง Metaverse ของแบรนด์ตัวเองขึ้นมาใหม่เพื่อสร้าง Branding Experiences ใหม่ๆให้กับลูกค้า เหมือนอย่างเช่นที่เราเห็นจากการประกาศรุกเข้าตลาดของ MQDC กับ Translucia Metaverse และ PF กับ Brandverse
แต่ต้องบอกว่าจากบรรดาผู้พัฒนา Metaverse ที่มีอยู่ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อจำกัดในเรื่องของการจำลองโลกเสมือนจริงให้มีความเหมือนจริง สมบูรณ์แบบมากที่สุด เพื่อให้ผู้เล่นได้สัมผัสถึงประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบและมีสีสันมากกว่า การจำลองเมืองทั้งเมือง ตึกทั้งตึกให้ดูสมจริงเหมือนดั่งที่เห็นจากโลกจริงดูจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากสำหรับโปรเจค Metaverse ทั่วไป แต่ประเด็นดังกล่าวดูจะเป็นเรื่องที่ง่ายไปเลยจากการมาของ “BANGKOKVERSE” ซึ่งต้องบอกได้ว่านี่คือโปรเจคหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นมาจากการจับมือของ top 3D Creators ของวงการออกแบบและอสังหาฯไทย
โดยล่าสุดบริษัทพันธมิตรในกลุ่ม Thai 3D Creators ได้แก่ บริษัท เด็พออฟฟิลด์ จำกัด, บริษัท ดี อี ซี มีเดีย จำกัด, บริษัท เอาล์ สตูดิโอ มัลติมีเดีย พรีเซนเทชั่น จำกัด และ บริษัท จอมโอเวอร์โมชั่น จำกัด ได้ประกาศร่วมสร้าง “BANGKOKVERSE” ให้เป็น metaverse platform เพื่อวงการออกแบบและอสังหาริมทรัพย์ แห่งแรกของประเทศไทย พร้อมจับมือผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุกขนาด สถาปนิก นักออกแบบ กลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้าง ที่สนใจนำธุรกิจเข้าสู่โลก metaverse
คุณเอก กฤตภัค กุลบุศย์ ตัวแทนกลุ่มบริษัทพันธมิตร Thai 3D Creators กล่าวว่า ปัจจุบันมี metaverse platform เกิดขึ้นมากมายทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่ปัญหาที่ผู้ประกอบการในกลุ่มอสังหาฯและงานออกแบบพบคือ platform ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับการนำเสนอผลงานของธุรกิจในกลุ่ม ทั้งข้อจำกัดในการออกแบบและจัดสร้างชิ้นงาน รวมทั้งผู้ประกอบการไม่สามารถหา creator ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาเป็นผู้พัฒนา content ให้กับธุรกิจของตนได้