“Ananda BIG MOVE” ขยับตัวแรงสุดในอุตสาหกรรมช่วงไตรมาส 4 ด้วยการเปิดตัว 6 โครงการใหม่ พ่วงอีก 1 อีเวนท์สร้างชื่อ Ananda Urban Pulse 2022
“เมืองคืออะไร? และ Gen C ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของเราต้องการอยู่แบบไหน? นี่คือสิ่งที่เราตั้งคำถามมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหน รถติด น้ำท่วม เศรษฐกิจแย่ ทำงานที่บ้าน ไปจนถึงโรคระบาด เราต้องปรับตัวตามพฤติกรรมคนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่ก่อนอนันดาอาจจะเน้น Location เพียงอย่างเดียว แต่ตอนนี้มันต้องมีอย่างอื่นเพิ่มเข้ามา ในยุคโควิดเราเห็นทุกคนย้ายไปบ้านใหญ่มี Green Area ชานเมือง แต่พอตอนนี้รถติด ทุกอย่างกลับมาเป็นเหมือนเดิมต่อให้มีบ้านก็ไม่มีเวลาทำสวน ผมมองว่ายุคโควิดเรามีไลฟ์สไตล์แบบ Abnormal แต่ตอนนี้ไลฟ์สไตล์ของคนอยู่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย อนันดามองว่าเราต้องเน้นทั้ง Hardward ที่เห็นได้จากภายนอกและ Software ที่เน้นในเรื่องของการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง ที่ดีในการอยู่อาศัย ทั้ง Dusit กับ COCO Parc ทั้ง Scratch First กับ Culture และกับ The Ascotted Limited ที่ล้วนแต่มีชื่อเสียงในระดับโลกทั้งนั้น โดยแบรนด์ Culture ดูจะเป็นแบรนด์ที่เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีพฤติกรรมการอยู่อาศัยยั่งยืนแบบจริงจัง ที่อนันดาไม่เคยทำมาก่อนโดยมีเป้าหมายที่จะสร้าง Sustainable Community ให้ผู้เล่นรายอื่นเห็นว่าเราทำได้จริง โดยเราจะมี Community Leader ที่มาจากทีม Ascott – LYF มาเป็น Operation Team ในการจัดกิจกรรมต่างๆ….จากวันนี้ไปคอนเซปท์เพื่อการอยู่อาศัยของเราจะไม่ใช่แค่อิฐ หิน ปูน ทรายแล้ว แต่คือ Software เพื่อการใช้ชีวิต…” คุณชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
นับตั้งแต่ผมรู้จักอนันดามา ผมเคยเห็นบริษัทฯเปิดตัวโครงการใหม่มากที่สุดในคราวเดียวแค่ 4 โครงการภายใต้แบรนด์เดียว แต่การเร่งเปิดตัวโครงการใหม่ทุกระดับราคามากถึง 3 แบรนด์ใหม่ ได้แก่ แบรนด์โคโค่ (COCO) แบรนด์คัลเจอร์ (CULTURE) และแบรนด์อันดา (ANDA) จาก 6 โครงการใหม่ได้แก่ 1. โครงการ โคโค่ พาร์ค (COCO PARC) 2. โครงการ คัลเจอร์ ทองหล่อ (CULTURE THONGLOR) 3.โครงการ คัลเจอร์ จุฬา (CULTURE CHULA) 4.โครงการไอดีโอ รามคำแหง – ลำสาลี สเตชั่น (IDEO RAMKHAMHAENG LAMSALI STATION) 5. โครงการ อันดา ราชพฤกษ์ – แจ้งวัฒนะ (ANDA RATCHAPHRUEK-CHAENGWATTHANA) และ 6. โครงการ อาร์เทล อโศก – พระราม 9 (ARTALE ASOKE – RAMA 9) มูลค่ารวมกว่า 21,627 ลบ. ของอนันดาตั้งแต่ช่วงเดือนนี้เป็นต้นไป นับว่าเป็นดัชนีที่สำคัญในการวัดว่าอุตสาหกรรมอสังหาเริ่มกลับคืนสู่ภาวะปกติเทียบเท่า 3 ปีก่อนแล้วหรือยัง โดยหากใครที่ติดตามอนันดามาตลอดก็จะพบว่า 2 ปีที่ผ่านมา อนันดาค่อนข้างเก็บตัวเพื่อปรับปรุงงาน Operation ภายในองค์กร และมุ่งในการโอนสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ค่อนข้างเยอะ ควบคู่ไปกับการปรับตัวในแบบ BIG CHANGE เพื่อพัฒนาโครงการรูปแบบใหม่ที่อัพเกรด Software มาเพื่อคน Gen C ยุคนี้อย่างแท้จริง
ทำไมอนันดาถึงเชื่อมั่นในตลาดและสินค้าใหม่ของตัวเองมากขนาดนี้…ในมุมมองของพี่ประเสริฐ ครั้งนี้ไม่ใช่ BIG MOVE แต่เป็น BIGGEST MOVE ที่นอกจากจะเปิดตัวเยอะแล้ว ยังปรับตัวเยอะตามด้วยทั้งในเชิงโครงสร้าง และแนวคิดในการพัฒนาโครงการ ซึ่งได้ฉายภาพผ่านยอดโอนโครงการว่าวันนี้ผู้ที่ปรับตัวเร็วเท่านั้นถึงชนะ ด้วยจำนวนดีมานท์ที่มีจำกัด เจ้าตลาดต้องกล้าพัฒนา เพื่อจับลูกค้าในกลุ่มนั้นให้เร็วกว่าเจ้าอื่น และก็เปลี่ยนไปจับตลาดใหม่ทันที ตามคำจำกัดความว่า “The Winner & The Changer Push Market Growth & Take All” ซึ่งอนันดาเป็นหนึ่งในผู้นำที่ประสบความสำเร็จด้วยกลยุทธ์การปรับตัวเร็วจากสถิติยอดโอนที่เพิ่มขึ้น 27% ในไตรมาสที่สามของปีนี้ โดยในช่วง 4 วันสุดท้ายของไตรมาสสองเราโอนเกือบ 1,400 ล้านบาทสำหรับโครงการ Ideo Charan 70 Riverview ซึ่งมาจากการวาง Segment ที่ถูกต้อง และอีกหนึ่งโครงการคือ Ideo Rama 9 – Asoke ที่กวาดยอดโอนในเดือนกันยายนเพียงแค่ 10 วันไปถึง 1,531 ลบ. โดยยอดครึ่งนึงของการโอนเป็นลูกค้าต่างชาติ ซึ่งโครงการนี้คือตัวอย่างของการพัฒนาโครงการเพื่อการ Search for Yield ของลค.ต่างชาติ