ตั้งราคาขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยเทคนิคทางจิตวิทยา
นอกจากป้ายคำว่า Sale ที่ดึงดูดสายตาขาช้อปให้เข้าไปมุงกันมานักต่อนัก ราคาสินค้าที่พบเจอแทบจะทุกชนิดที่ลงท้ายด้วยเลขเก้า อย่าง 99 บาท ก็ช่วยสร้างความรู้สึกถึงราคาถูกให้แก่ผู้พบเห็นได้ไม่ยาก แต่สำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์การตั้งราคาแบบไหนให้ผลดีผลเสียอย่างไร เรามาดูกันเลย
อย่าเอะอะๆ ก็ลงเลขเก้า
กลยุทธ์การตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยเลย 9 นี้มีให้เราพบเห็นกันได้ทั่วไป ตั้งแต่คอนโดราคา 999,999 บาท หรือจะเป็น 1,999,900 บาท หรือ 1.99, 2.99, 3.99 ล้านบาท) ราคาอสังหาฯ ในตลาดมักมีหน้าตาประมาณนี้แทบทั้งสิ้น ว่ากันว่าหลักการตั้งราคาที่ลงท้ายด้วย 9 นั้นเริ่มมาตั้งแต่ยุคปี 2400 ไว้ใช้สำหรับตบตาลูกค้าที่หลอกง่ายให้รู้สึกว่าตนได้รับส่วนลดพิเศษ พ่อค้านายหน้าทั้งหลายจึงนิยมใช้เทคนิคนี้ในการตั้งราคา แต่อยากจะบอกว่ามันใช้ไม่ได้ผลกับคนฉลาดหรอกนะ!
อีกทั้งเวลาที่คนมองหาบ้านหรือคอนโดมิเนียมสักแห่งทางอินเทอร์เน็ต สิ่งที่พวกเขาทำคือใส่ตัวเลขงบประมาณของตนเองลงไปในช่องค้นหา เช่น งบ 1,000,000 – 2,000,000 บาท ราคาประกาศขายอยู่ที่ 999,999 บาทจึงไม่มีทางปรากฏขึ้นมาสู่สายตาลูกค้าเป็นแน่ นอกจากนี้การซื้อขายอสังหาฯ ควรเป็นการวางจุดยืนของตนเองไปที่การขายทรัพย์สินที่หรูหรามีระดับ ไม่ใช่ของลดราคาค้างปี เราคงไม่เคยเห็นรถเฟอร์รารี่ราคา 29.99 ล้านบาท แต่เป็น 30 ล้านบาท คิดว่าการตั้งราคาแบบนี้ช่วยให้ผู้ซื้อรับรู้ถึงคุณค่าของสินค้าเพิ่มขึ้นหรือไม่? คำตอบคือ ใช่ เพราะแบรนด์หรูเหล่านี้คิดว่าใช่ก็แล้วกัน