ทำไมย่านพระโขนง – บางนาจึงถูกวางให้เป็นย่านนวัตกรรมของกรุงเทพมหานคร ?

ชยางกูร กิตติธีรธำรง 26 April, 2023 at 11.19 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ก่อนอื่นผู้เขียนจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจก่อนว่าย่านนวัตกรรมคืออะไร? ทำไมถึงต้องเป็นย่านนวัตกรรม?

ย่านนวัตกรรม หรือ Innovation District เป็น การนำคำว่า “นวัตกรรม” กับ “ย่าน” มารวมกัน ซึ่งย่านนวัตกรรมเป็นการรวมตัวกันของคนและพื้นที่การสร้างงาน สร้างกิจกรรม โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวนิยามของ การพัฒนาย่านนวัตกรรม ไว้ 3 องค์ประกอบหลัก ประกอบไปด้วย

1. Economic asset หน่วยงานที่สนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมของย่านนวัตกรรม, 2.Physical asset เป็นพื้นที่หน่วยงานต่างๆของรัฐและเอกชน และ 3.Network asset ความสัมพันธ์ตัวผลักดันในด้านนวัตกรรม เช่น ความสัมพันธ์ของนักลงทุนกับธุรกิจ  ซึ่งการพัฒนาย่านนวัตกรรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับทางเศรษฐกิจ โดยการดึงดูด นวัตกร (Innovator) เข้ามาทำงานในพื้นที่ ซึ่งกลุ่มนวัตกรเหล่านี้จะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม

 

ถ้าทุกท่านยังนึกภาพไม่ออก ในต่างประเทศก็มีการพัฒนาเมืองโดยใช้แนวคิดย่านนวัตกรรมเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวโน้มในการวางผังเมือง และ ยังเป็นรูปแบบที่กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในเมืองมหานครทั่วโลก โดยในปัจจุบันมีการสร้างย่านนวัตกรรมหลายแห่ง เช่น เมือง บาร์เซโลนา ประเทศสเปน, เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ สิงคโปร์ก็มีโครงการพัฒนาย่านนวัตกรรมอย่าง จูร่ง (Jurong Innovation District) ที่มีพื้นที่กว่า 600 Hectare พัฒนาเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำ โรงงานแห่งอนาคต ภาคการผลิตขั้นสูง รวมถึงมีระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ

ภาพจาก : Jurong Innovation District (aecom.com)

 

 

สำหรับในประเทศไทย ก็มีหลายย่านที่จะพัฒนาเป็นย่านนวัตกรรมเช่นเดียวกัน ซึ่งทาง NIA หรือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายร่วมกันศึกษา ได้มีการพัฒนาย่านนวัตกรรม 11 พื้นที่ โดยย่านนวัตกรรมในกรุงเทพฯมีทั้งหมด 7 ย่านที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่  Medical  Knowledge Quarter ย่านโยธี, Central Innovation District ย่านลุมพินี ปทุมวัน, Community Based Innovation ย่านคลองสาน, The Leading hub of creative รัตนโกสินทร์ และ ย่านอื่นๆอย่าง อารีย์ ลาดกระบัง กล้วยน้ำไท ปุณณวิถี(ย่าน พระโขนง – บางนา) โดยย่าน ปุณณวิถี ทาง NIA ได้ทำการร่วมมือกับ True Digital Park เพื่อพัฒนาเป็น Bangkok Cybertech District นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาย่านนวัตกรรมในภาคตะวันออกของประเทศไทยใน 4 พื้นที่ คือ บางแสน ศรีราชา พัทยา และ อู่ตะเภาบ้านฉาง เป็นต้น

ภาพจาก : ย่านนวัตกรรม พื้นที่พัฒนาอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วยนวัตกรรม | Innovation Thailand

 

ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่าง ย่านพระโขนง – บางนา ซึ่งเป็นอีก 1 ย่านที่มีศักยภาพสูงและน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานรัฐและเอกชน และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนภาคเอกชน ซึ่งถ้าย้อนกลับไป 10-20 ปี ย่านพระโขนง – บางนา ถือว่าเป็นย่านชานเมืองของกรุงเทพมหานคร ที่มีราคาที่พักอาศัยไม่สูงมากนัก แต่จากการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐทำให้เมืองเติบโตขยายออกจากพื้นที่ใจกลางเมืองมากยิ่งขึ้น มีการพัฒนารถไฟฟ้าหลายเส้นทางรวมถึงส่วนต่อขยาย ซึ่งในย่านพระโขนง-บางนา เป็นช่วงสถานีปลายทาง คือ สถานีอ่อนนุช-แบริ่ง ก่อนที่จะมีการขยายต่อไปจนถึงสมุทรปราการในช่วงปีพ.ศ.2561 ทำให้พื้นที่ในย่านนี้เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยจาก Developer จำนวนมาก รวมไปถึงเป็นที่ตั้งสำนักงานหลายแห่งทั้งรายใหญ่และรายย่อย อย่างเช่น True Digital Park ซึ่งศักยภาพของ ย่านพระโขนง – บางนา ผู้เขียนได้สรุป 5 ประเด็นสำคัญที่ ย่านพระโขนง – บางนา มีศักยภาพต่อการเป็นย่านนวัตกรรม

 

 

1. ย่านพระโขนง – บางนา มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับครบครัน ทั้งที่อยู่อาศัยหลากหลายรูปแบบ และ ห้างสรรพสินค้า โดยที่อยู่อาศัยมีอยู่หลายโครงการ เช่น โครงการ Whizdom Connect, Essence, Inspire Sukhumvit, โครงการ Skyrise AVENUE Sukhumvit 64 โครงการ Quinn Sukhumvit 101 และ โครงการพาณิชยกรรม เช่น โครงการ Seacon square, โครงการ Paradise park และอื่นๆ

2. ย่านพระโขนง – บางนา เป็นที่ตั้งของโครงการสำนักงานทันสมัยหลายแห่ง โดยโครงการที่มีความโดดเด่นมาก คือ โครงการ True Digital Park ซึ่งมีพื้นที่กว่า 230,000 ตารางเมตร มีพื้นที่รองรับกลุ่ม Startup ครบครันรวมถึงอุปกรณ์ด้าน IOT ดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆในการรองรับการทำธุรกิจ เช่น e-Payment หรือ Cloud computing ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลของญี่ปุ่นก็ได้มาดูงานที่ True Digital Park

ในฐานะศูนย์กลางนวัตกรรมและแหล่งบ่มเพาะของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ก็ยังมีโครงการอื่นและศูนย์จัดแสดง อย่าง Energy Tech บางจาก, BiTEC บางนา และ บริษัท Tech รายเล็กหลายแห่ง

และอีก 1 โครงการที่สร้างความฮือฮาให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทย คือ โครงการ Cloud 11 จาก MQDC เพราะเป็นโครงการ Mixed-use บนพื้นที่ 27 ไร่ มีมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท เป็นพื้นที่ที่ตอบสนองกับคนรุ่นใหม่ สร้างเป็น innovation cluster ที่ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Content Creation Ecosystem, Virtual Physical Bridge และ Inclusive Progress ซึ่งถูกออกแบบพื้นที่ให้สามารถตอบรับกับการทำงานยุคใหม่ทั้งกลุ่ม Startup หรือ Content creator พร้อมทั้งในตัวโครงการยังมีพื้นที่สีเขียวลอยฟ้าขนาดใหญ่ พื้นที่ Retail รวมถึง โรงแรม และคาดว่าโครงการจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2567

 

3. ย่านพระโขนง – บางนา เป็นย่านที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่ใจกลางเมือง เพราะ เป็นย่านที่มีรถไฟฟ้าตัดผ่าน คือรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งเป็นสายที่สามารถนั่งเข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมืองอย่างอโศก หรือ สยามได้ และ สำหรับผู้ใช้รถยนต์ยังใกล้กลับทางพิเศษเฉลิมมหานคร สามารถเดินทางเข้าเมืองในบริเวณ สีลม -สาทร ภายในระยะเวลาประมาณ 15 – 20 นาที ทำให้การเดินทางในย่านนี้มีความสะดวกสบาย

 

4. ในอนาคตย่านพระโขนง – บางนา ยังมีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่น

โครงการรถไฟฟ้า สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร ถูกพัฒนาตามแนวถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อการเดินทางของพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกลงสู่พื้นที่ย่านสำโรง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ย่านนี้มีทางเลือกในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น

ภาพจาก : กรมขนส่งทางราง

 

5. จากแผนการพัฒนาของกทม. ย่านพระโขนง – บางนา ถูกตั้งเป็น ศูนย์พาณิชยกรรมย่อย ซึ่งเป็นแนวคิดในการกระจายการเติบโตไปสู่พื้นที่ชานเมือง ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดฝั่งตะวันตกก็จะเป็นบริเวณ โซนเดอะมอลล์บางแคซึ่งถูกตั้งเป็นศูนย์พาณิชยกรรมย่อยเช่นเดียวกัน ซึ่งการกำหนดแผนดังกล่าวทำให้เอื้อต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน ทำให้พื้นที่นี้เปรียบเสมือนกับย่านพาณิชยกรรมย่อยๆ อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

ซึ่งจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่าย่านนี้จะอยู่ถัดออกไปจากพื้นที่เมือง แต่จากศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านทำเลที่ตั้ง การมี Asset ที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ทำให้พื้นที่พระโขนง–
บางนา เป็นย่านที่มีศักยภาพในการเป็นย่านนวัตกรรมของกรุงเทพมหานครที่สามารถดึงดูดการทำงานของกลุ่ม Startup และ บริษัท Tech ชั้นนำได้

อ้างอิง :

MQDC ผุดเมกะโปรเจกต์ ‘Cloud 11’ มูลค่า 4 หมื่นล้าน ยกชั้น ‘อ่อนนุช-อุดมสุข-บางนา’ เมืองนวัตกรรม (mgronline.com)

โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล 14 สายทาง ระยะทาง 553.41 กม. 367 สถานี – กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม (drt.go.th)

ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ (truedigitalpark.com)

ส่องทิศทางการพัฒนาย่านพระโขนง-บางนา (theurbanis.com)

-มติชน – “ย่านนวัตกรรม หมุดอนาคต ประเทศไทย”

 

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

สถาปนิกจบใหม่ กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มีความสนใจด้านอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภทตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ คอนโด โรงแรม และชอบไปดูโครงการและงานออกแบบอยู่เสมอ เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

เว็บไซต์

แอสปาย ห้วยขวาง

เดอะ วัน ซิกเนเจอร์ บางนา-พระราม9

โนเบิล นอร์ส กรุงเทพกรีฑา

หากจินตนาการถึงโครงการบ้านเดี่ยวเปิดใหม่บนทำเลติดถนน...

18 June, 2024

แอดเลอร์ ถนนจันทน์

ย่านศูนย์กลางธุรกิจสำคัญอย่างสีลม-สาทร บนถนนจันทน์ เ...

30 May, 2024

นิว ครอส คูคต สเตชัน

หากใครที่มีโอกาสได้นั่งรถไฟฟ้าไปยังสถานีคูคต หรือขับ...

29 May, 2024

นิว โนเบิล ไฟฉาย - วังหลัง

พร้อมอยู่ พร้อม Shine ชีวิตให้เฉิดฉาย ที่ “Nue Noble...

10 May, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง