TOD กับหลัก 5D ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง
การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟแบบ TOD (Transit Oriented Development) ไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบพื้นที่ให้เป็นศูนย์รวมการคมนาคมเท่านั้น แต่ยังเป็นการออกแบบพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงชีวิตคนเมืองและการเดินทางได้อย่างลงตัว ต่อไปนี้คือหลักในการพิจารณา 5 D ที่จะนำไปสู่การออกแบบที่ ปีเตอร์ คาลธอร์ป ผู้คิดค้นแนวคิด TOD ได้วางรากฐานแนวทางเอาไว้ในการพัฒนาเมืองโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งสาธารณะอย่างยั่งยืน
Density ความหนาแน่น
การจะสร้างพื้นที่ TOD นั้น ขั้นตอนแรกสุดคือ การประเมินความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ว่าอยู่ในกลุ่มใด ตั้งแต่พื้นที่ประชากรเบาบาง พื้นที่ประชาชนกรปานกลาง ไปจนถึงพื้นที่ประชากรหนาแน่นสูง เป็นตัวกำหนดการออกแบบพื้นที่นั้นอย่างเหมาะสมกับจำนวนประชากร โดยดูจากจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยในพื้นที่มีจำนวนประชากรวัยเรียน วัยทำงาน หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนเท่าไหร่
จำนวนประชากรเหล่านี้จะถูกนับเป็นจำนวนผู้โดยสาร ที่จะเข้ามาใช้บริการสถานีขนส่งสาธารณะทั้งหมด เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางการออกแบบโครงข่ายทางเดินเท้าเพื่อเข้าถึงบริเวณสถานีอย่างสะดวกสบาย สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนในพื้นที่ใช้ปั่นจักรยานหรือใช้โครงข่ายทางเดินเท้า ลดการใช้งานรถยนต์ส่วนบุคคล