“ห่างกันสักพัก” ประเด็นสังคมที่ยิ่งสำคัญขึ้นกับ ผู้สูงอายุ #รักกันให้ห่างกัน #รักบ้านให้อยู่บ้าน #lovehome #stayhome
ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยพบผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกช่วงอายุ
เราได้เห็นว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ กลายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ เช่นเดียวกันกับนักกีฬาที่ฟิตร่างกายให้เฟิร์มและแข็งแรงมาเสมอยังเป็นกลุ่มผู้ติดเชื้อด้วยเช่นกัน จึงเกิดคำถามตามมาว่าใครคือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้?
นอกเหนือจากผู้ป่วยด้วยโรคอื่นที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน แน่นอนว่ากลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงอยู่อันดับต้น ๆ เป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก กลุ่ม “ผู้สูงอายุ”ที่มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยไวรัสโควิด – 19 ช่วงวัยอื่น ๆ ทั่วโลกดังนั้นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงควรทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อลดการสัมผัสกับไวรัส รักษาช่องว่างระหว่างบุคคล เช่นหลีกเลี่ยงการแสดงความรักกับลูกหลานหรือคนในครอบครัวหรือหากจำเป็นต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่ผู้คนแออัดก็ควรป้องกันและควบคุมปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดการแพร่เชื้ออย่างเต็มที่ พกเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือบ่อย ๆและถ้ามีการระบาดของโควิด-19รุนแรงในบริเวณใกล้เคียงที่พักอาศัยก็ให้อยู่บ้านให้มากที่สุด
เวิลด์อีโคโนมิคฟอรั่มระบุว่าในขณะที่ทุกภาคส่วนวางแผนรับมือการแพร่กระจายหรือติดเชื้อไวรัส COVID-19ทุกคนในครอบครัวจำเป็นต้องรับรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงต่าง ๆที่มีต่อผู้สูงอายุที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่า
ซึ่งในกรณีนี้ทุกคนรวมถึงตัวผู้ใหญ่ในครอบครัวเองด้วยที่ต้องสำรองยารักษาโรคหรือสิ่งที่ต้องใช้เป็นประจำไว้ให้พอเพียงและต้องเก็บให้ปลอดเชื้อด้วยสำหรับครอบครัวที่สมาชิกหลากหลายช่วงวัยหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุควรต้อง
วางแผนสำรองอื่น ๆ กรณีจำเป็นด้วยเช่นกันนอกจากนี้สมาชิกแต่ละคนสามารถแสดงความใส่ใจกันและกันได้มากขึ้นด้วยการ
ถามไถ่หรือสังเกตสุขภาพของผู้สูงวัยในครอบครัวหรืออำนวยความสะดวกเมื่อต้องเดินไปห้องน้ำ ห้องครัวหรือห้องนอน
ไปจนถึงจัดระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นที่เป็นทางหยิบใช้ได้เมื่อต้องการ
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนี่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคนี้ได้คือการจำกัดการมาเยี่ยมเยียนของญาติมิตรหรือเพื่อนบ้านเป็นการชั่วคราวฟังดูอาจเป็นเรื่องลำบากใจสำหรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ยังยินดีกับการไปมาหาสู่กันโดยเฉพาะในสังคมไทย คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยจอห์นฮอบกินส์ระบุว่าการเว้นระยะห่างทางสังคมไม่ได้หมายความว่าต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวแต่อย่างใดการอยู่อย่างโดดเดี่ยวอาจส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของบรรดาผู้ใหญ่ในบ้านซึ่งสมาชิกในครอบครัวต้องทำความเข้าใจร่วมกันถึงความจำเป็นที่ต้องจำกัดการไปมาหาสู่กันการส่งข้อความหรือการวิดีโอคอลหรือแม้แต่ชะเง้อคุยข้ามรั้วบ้านก็อาจเป็นเรื่องที่เหมาะกว่าในเวลานี้