บทวิเคราะห์สถานการณ์ COVID-19 ล่าสุดจากผู้บริหารชั้นนำของอเมริกา

Propholic EditorialTeam 27 April, 2020 at 11.46 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้กลายมาเป็นวิกฤติครั้งสำคัญของมวลมนุษยชาติและส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจไปทั่วโลก ในบทความนี้จาก McKinsey ได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจจากกลุ่มผู้บริหารชั้นนำของสหรัฐอเมริกาถึง 5 ปัจจัยหลักทางด้านสุขภาพที่ผู้นำทั่วโลกควรให้ความสำคัญ และ 4 ประเด็นเจาะลึก เพื่อเตรียมการฟื้นคืนเศรษฐกิจโดยเร็ว

 

5 ปัจจัยหลักทางสุขภาพที่ผู้นำทั่วโลกควรให้ความสนใจ

 

1. การรับมือเคสผู้ติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพและความสามารถในการรองรับผู้ป่วย

ในประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องหาวิธีขยายความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของตนเพื่อหลีกเลี่ยงจำนวนผู้เสียชีวิตให้ได้มากที่สุด นี่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของตัวเลขแต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนที่มีต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ

2. วิธีการตรวจหาโรค การสืบประวัติที่มาของการติดเชื้อ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายการกักตัว ในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่

ทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์ต่อยอดติดเชื้อของประชากรดังกราฟด้านล่าง โดยพบว่าประเทศที่สามารถทำการตรวจคัดกรองเชื้อในประชากรได้มาก จะพบเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับต่ำ เป็นนัยว่าหากสามารถตรวจคัดกรองประชาชนได้ทั่วถึงและเร็วมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสามารถจัดการวางแผนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ดังเช่น ประเทศเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฮ่องกง ในขณะที่ประเทศไทย เวียดนาม หรืออินเดีย ที่ถึงมียอดรายงานผู้ติดเชื้อต่ำก็จริงแต่นี่เป็นเพราะว่ามีการตรวจหาโรคในประชาชนในปริมาณที่ต่ำด้วยเช่นกัน

3. การพัฒนายาต้านไวรัสและความรู้ความเข้าใจที่มีต่อความชุกของโรค

เพราะเราไม่รู้เลยว่าจะมีสักกี่คนที่ติดเชื้อไปแล้วจะแสดงอาการออกมาบ้าง และยิ่งในประเทศที่เลือกจะทำ Herd immunity นั่นหมายความว่าประเทศนั้นต้องมีชุดทดสอบอาการที่พร้อม รองรับต่อการติดเชื้อรอบใหญ่ ซึ่งในขณะนี้หลายๆ ชุดทดสอบกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา โดยมีความความยากคือ การทำให้ชุดทดสอบมีความถูกต้องแม่นยำและมีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน

4. ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

จากการที่เคยมีเคสผู้ติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์อื่นสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาด้วยตัวเองได้ภายหลังเมื่อกลับมาหายดีแล้ว แต่เราก็ยังไม่อาจรู้ได้ว่ากับสายพันธุ์ COVID-19 นี้ มันจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ และจากที่มีรายงานว่าผู้เคยติดเชื้อและหายดีแล้ว พบผลทดสอบการติดเชื้อซ้ำอีกครั้งในภายหลัง จึงทำให้เกิดคำถามว่ากลุ่มไวรัสนี้สามารถถูกกระตุ้นขึ้นมาอีกครั้งได้จริงหรือไม่ หลายฝ่ายกำลังศึกษาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและหากมีความคืบหน้าประการใด คงมีการประกาศออกมาให้ทราบโดยทั่วกัน

5. การใช้นวัตกรรมคิดค้นและพัฒนายาต้านไวรัส

ในขณะนี้มียาต้านและวัคซีนมากมายที่กำลังอยู่ในขั้นพัฒนา ในสถาบันบางแห่งได้มีอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง และเริ่มมีการลองใช้วัคซีนกับมนุษย์จริงๆ แล้ว แม้ว่าสเกลการผลิตและแจกจ่ายไปทั่วโลกดูเหมือนจะยังไม่สามารถทำสำเร็จได้ในเร็วๆ นี้แต่ก็นับว่าเป็นก้าวสำคัญของการต่อสู้กับ COVID-19

4 ประเด็นเจาะลึก เพื่อเตรียมการฟื้นคืนเศรษฐกิจโดยเร็ว

 

1. เราจะฟื้นคืนเศรษฐกิจท่ามกลางวิกฤตินี้ได้อย่างไร

ปัญหา COVID-19 จะคลี่คลายลงก็ต่อเมื่อโลกของเรามีผู้คนที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้อย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นเพราะมีวัคซีนป้องกันโรคแล้วหรือร่างกายมนุษย์สามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันขึ้นมาด้วยตัวเองในที่สุด แต่กว่าจะถึงวันนั้น รัฐบาลที่อยากจะฟื้นคืนเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีระบบบริการทางสุขภาพที่แข็งแกร่งพอในการตรวจหาเชื้อและรับมือกับมัน

 

ปัจจัยประการแรกที่จะช่วยบอกว่าประเทศไหนมีความพร้อมต่อการฟื้นเศรษฐกิจแล้ว คือ จำนวนการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละพื้นที่ หากกลับมาเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในที่ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องอยู่ก็จะยิ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อให้มากขึ้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ การบริหารจัดการให้ความต้องการเข้ารักษาพยาบาลนั้นต่ำลง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีกำลังในการรับมือกับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ไม่เกิดภาวะผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล

ปัจจัยที่สอง คือ ระบบการตรวจหา บริหารจัดการ และป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวมไปถึงการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในเคสที่ต้องใช้ห้อง ICU ซึ่งควรจะมีสัดส่วนที่เพียงพอ

หากเรานำระบบการวัดระดับความพร้อมรวมเข้ากับการประเมินความรุนแรงของการแพร่ระบาดในพื้นที่ เราก็จะสามารถประเมินความพร้อมในการกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ตามตาราง ด้านล่าง

โดยแบ่งความพร้อมออกเป็น 4 ระดับจากพร้อมมากที่สุด (Stage 1) ไปจนถึง ยังไม่พร้อมต่อการกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจ (Stage 4) จะเห็นได้ว่าในพื้นที่ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านระบบสาธารณสุขและมีจำนวนการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในระดับต่ำจะมีความพร้อมต่อการดำเนินธุรกิจมากที่สุด

 

2. ยุโรปต้องเตรียมความพร้อมที่จะกลับไปทำงานอย่างปลอดภัยตั้งแต่วันนี้

ประเทศในยุโรปเริ่มพิจารณาปลดล็อคการปิดประเทศโดยมีปัจจัยคำนึง คือ จะใช้วิธีการวัดผลอย่างไร

เมื่อไร และที่ไหน ซึ่งหากเป็นไปได้ควรทำกันในระดับเขตต่อเขต เพราะระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดและสภาพทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องใช้ 3 องค์ประกอบในการจัดการ ได้แก่

1) ผู้นำต้องกระจายโครงสร้างอำนาจไปยังแต่ละท้องถิ่นให้พร้อมลงมือทันที เช่น ในอิตาลีที่รัฐบาลประสานงานกับโรม อนุญาตให้ส่วนท้องถิ่นปรับเพิ่มลดความเข้มงวดของกฎได้ตามความจำเป็น

2) แนวทางและวิธีแก้ไขปัญหาต้องชัดเจนและเรียบง่าย เพื่อที่ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ นี่อาจรวมถึงการใช้ช่องทางสื่อสารรูปแบบใหม่ เช่น ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือประชาชนโดยตรง

3) การบังคับใช้มาตราการต้องมีความคงเส้นคงวา เช่น หากอนุญาตให้คนเข้าไปใช้พื้นที่ในร้านค้าได้ 5 คนต่อครั้งในระยะเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน แล้วสัปดาห์ถัดไปกลับเปลี่ยนเป็น 2 คน ในระยะเวลา 8 ชั่วโมง ผลที่ได้คือประชาชนจะไม่ยอมทำตามกฎอีกต่อไปและหมดความเชื่อมั่นในผู้มีอำนาจ

 

3. แผนการจัดการกับ COVID-19 ในระดับท้องถิ่น

ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลักที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญ

1) หน่วยงานต้องนำแผนงานสุขภาพที่มีอยู่มาพิจารณาอย่างละเอียดและเลือกหนึ่งฉบับที่สามารถนำมาใช้เป็นระบบสาธารณสุขพื้นฐานได้

2) หาแนวทางที่จะได้รับความร่วมมือจากผู้คนในสังคม เพื่อลดจำนวนการติดเชื้อมากที่สุด ดีกว่าการเดินหน้าปรับหรือลงโทษคนที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือเพียงอย่างเดียว

3) พัฒนาความสามารถในการรองรับการรักษา หลีกเลี่ยงปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล

4) แนวทางหนุนภาคธุรกิจ หากการแพร่ระบาดยังคงดำเนินต่อไป 12-18 เดือนผู้นำจากภาคส่วนต่างๆ ควรช่วยกันเสนอแนวทางการปรับตัวสำหรับภาคธุรกิจ ซึ่งอาจรวมถึงนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม การมีวันลาป่วยให้แก่พนักงานที่ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

5) การปกป้องกลุ่มเสี่ยง ซึ่งรวมไปถึง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ขาดแคลนอาหารและที่พักที่เหมาะสม

6) สุขภาพทางเศรษฐกิจ ผู้นำท้องถิ่นจำเป็นต้องพัฒนาข้อเท็จจริงพื้นฐานจากสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ของตน และทำให้แน่ใจว่างบประมาณได้ถูกแจกจ่ายไปถึงมือประชาชนอย่างสะดวกและรวดเร็ว

 

4. เอเชียอาจเป็นผู้นำทิศทางการใช้ชีวิตใหม่หลัง COVID-19

จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาด COVID-19 มากจากเอเชีย และก็เป็นเอเชียเองที่สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที ณ ขณะนี้ จีนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันตามปกติและมียอดการซื้อขายอสังหาฯ ใกล้เคียงกับช่วงเดือนมกราคม ประชาชนเริ่มมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งประเทศ จีน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ก็ประสบความสำเร็จในการจัดการกับปัญหา COVID-19

จากการที่บริษัทต่างๆ กลับมามีกิจกรรมทางธุรกิจได้อีกครั้ง นี่อาจนำไปสู่การแปลงโฉมทิศทางการใช้ชีวิตและธุรกิจ โดยมีจุดเริ่มต้น จากเอเชีย ได้ 4 แง่มุม

1) การทบทวนสัญญาประชาคม ถึงบทบาทหน้าที่ของทั้งส่วนบุคคลและสถาบันต่างๆ ที่มีอยู่ จากเหตุการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น คงทำให้ทุกคนเห็นชัดขึ้นว่าสิ่งใดสำคัญและจำเป็นที่ควรให้มีอยู่ต่อไป หรือต้องปรับปรุงแก้ไขให้เข้าที่เข้าทาง

2) นิยามใหม่ของการทำงานและการบริโภค ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้นมา เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในเอเชีย ตั้งแต่อีคอมเมิร์ซ การทำงานแบบ Remote work การศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้ง Alibaba Dingtalk, Wechat work, Tencent Meeting ช่องทางช้อปปิ้งใหม่ๆ จะกลายมาเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตคนในอนาคตอย่างแน่นอน

3) การระดมทรัพยากรที่รวดเร็วและขยายไปสู่สเกลใหญ่ได้ จากการที่จีนสามารถสร้างโรงพยาบาลนับพันเตียงได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แสดงให้เห็นแล้วว่ามีความสามารถในการระดมทรัพยากรได้ดีเพียงใด

4) จากโลกาภิวัฒน์ (Globalization) สู่ ภาคาภิวัฒน์ (Regionalization) การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทำให้เราเห็นว่าห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) นั้นมีความเปราะบางเพียงใด จะเห็นได้ว่า จีน กินสัดส่วนเป็นผู้ส่งทองแดง แร่ ถ่านหิน ไปยังทั่วโลกที่ต้องการทรัพยากรเหล่านี้ 50-70% เมื่อจีนหยุดชะงักจึงเกิดผลกระทบเป็นทอดๆ หลังจากนี้เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่จากภาคการผลิตที่จะเลือกแหล่งทรัพยากรจากพื้นที่ใกล้เคียงของตนหรือไม่ก็อยู่ในส่วนภูมิภาคเดียวกันมากยิ่งขึ้น

 

หมายเหตุ: รายงานฉบับนี้ถูกเผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา หากมีความคืบหน้าของสถานการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจใดเกิดขึ้น เราจะมาอัพเดทให้ทราบในรายงานถัดไป

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

https://www.mckinsey.com/business-functions/risk/our-insights/covid-19-implications-for-business

https://unsplash.com/photos/Q8m8cLkryeo

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง