คนวัย Millenials เอาตัวรอดอย่างไรในยุคเศรษฐกิจถดถอย?

Propholic EditorialTeam 13 January, 2020 at 11.14 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ความแน่นอนที่สุดอย่างหนึ่งบนโลกมนุษย์ก็คือความไม่แน่นอน สภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ตลาดก็เช่นกัน กลุ่มคนที่เกิดในช่วงต้นของชาวมิลเลนเนียล (Millenials คือคนที่เกิดช่วงปีค.ศ. 1981-1996) ก็ไม่สามารถควบคุมจังหวะเวลาที่ตัวเองต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานได้เช่นกัน ย้อนกลับไปเกือบสิบปีที่แล้วในปี 2010 อันเป็นช่วงเวลาที่พวกเหล่าชาวมิลเลนเนียลในยุคแรกๆ ทยอยจบการศึกษาและต้องก้าวสู่ตลาดแรงงานที่ไม่พร้อมต้อนรับพวกเขาเท่าไรนักจากภาวะผลกระทบหลังวิกฤติเศรษฐกิจในอเมริกา เส้นทางชีวิตของคนจำนวนไม่น้อยต้องผิดเพี้ยนไปจากที่เคยวาดฝันไว้เมื่อครั้งยังเยาว์วัย

Nick Walstra ทนายความประจำรัฐโอไฮโอวัย 37 ปีที่ปัจจุบันมีความมั่นคงทางหน้าที่การงานกับทางรัฐบาลได้ก้าวผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเช่นกัน ย้อนไปเมื่อปี 2007 ที่เขาตัดสินใจเข้าศึกษาด้านกฎหมาย Walstra ยอมรับว่าเขาไม่คิดไม่ฝันว่าชีวิตในปัจจุบันชีวิตจะออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาเช่นนี้

เขาจบการศึกษาในปี 2010 ที่อัตราการว่างงานของคนในประเทศอยู่ที่ 9.6% เขาตระหนักได้ว่าไม่มีสายอาชีพไหนที่จะรอดพ้นจากผลพวงทางวิกฤติเศรษฐกิจไปได้ เวลานั้นเขาขอให้ได้งานก็พอ ไม่จำเป็นว่าจะต้องตรงสายกับที่เรียนมาก็ได้ ที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ มีการเลย์ออฟนักกฎหมายไปแล้วในจุดต่ำสุดของช่วงวิกฤติเศรษฐกิจรวมแล้วมากกว่า 40,000 คนระหว่างธันวาคม 2007 ถึง ตุลาคม 2009 อ้างอิงข้อมูลจาก UCLA Law Review  และ14,000 คนระหว่างมกราคมปี 2008 ถึง มกราคม 2010 อ้างอิงข้อมูลจาก Fordham Law Review

Nick Walstra เล่าว่าในช่วงแรกเขาต้องเข้าทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ทนายความ จากนั้นก็ไปทำงานกับองค์กรไม่แสวงผลกำไร แม้กระทั่งโทรเจาะไปยังพ่อของ “แฟนเก่า” ที่ทำงานอยู่ในแวดวงและได้งานกับหน่วยงานรัฐในที่สุด

 

ทางด้าน Emily Ku ผู้จบการศึกษาในปี 2007 ก็ประสบชะตากรรมแห่งความเครียดและความไม่แน่นอนจากวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน Emily Ku จบทางด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์และได้งานที่บริษัทแห่งหนึ่งด้วยค่าตอบแทน 35,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (จากค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 45,725 ดอลลาร์สหรัฐ อ้างอิงข้อมูลจาก NACE’s Salary Survey) เธอเองก็มีความหวาดกลัวและวิตกกังวลกับสถานการณ์อันเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นจึงยอมรับข้อเสนองานด้วยผลตอบแทนจำนวนเท่านี้ไปหลังจากที่ตกงานมาเป็นเดือน แม้ว่าจะต้องใช้เวลาเดินทางไปทำงานหนึ่งชั่วโมงครึ่งต่อครั้งและถูกสั่งให้ทำงานที่นอกเหนือไปจากหน้าที่หลัก เช่น เตรียมอาหารกลางวันให้ลูกของเจ้านาย แต่เธอก็ยังรู้สึกว่ามันยังดีกว่าการไม่มีงานทำเลยแบบเพื่อนๆ ของเธอ

ทั้งสองคนนี้เป็นตัวอย่างของรุ่นพี่ยุคมิลเลนเนียลที่ก้าวเข้าสู่ตลาดงานในวันที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่เป็นใจ ทั้งอัตราการว่างงานสูง เงินเดือนต่ำและยังมีหนี้จากการศึกษางอกเงยขึ้นทุกวันมาสร้างความกดดันและความเครียดให้เพิ่มขึ้น

 

Nick Walstra รู้สึกว่าความถดถอยทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อเส้นทางอาชีพและการเงินของเขาใน 10 ปีถัดมาพอสมควร เขาหวังว่าตัวเองจะสามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมเรียนได้หมดอย่างรวดเร็วและเริ่มต้นลงทุนอะไรสักอย่าง แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ความเลวร้ายทางเศรษฐกิจผลักให้เขาห่างออกไปจากความหวังในด้านการลงทุน มันดูมีความเสี่ยงจนเกินไป ฐานะการเงินภาคครัวเรือนในอเมริกาลดลงไป 40% ระหว่างปี 2007 ถึง 2013 Nick Walstra หันมาให้ความสนใจกับการจัดการเงินออมเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินเพื่อให้ตัวเองมีเงินสดสำรองเพียงพอหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น มันดูเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเขาในตอนนั้น แม้ว่าเมื่อมองย้อนกลับไปในตอนนี้จะรู้สึกว่ามันไม่ใช่วิธีที่ฉลาดนัก หากย้อนเวลากลับไปได้เขาหวังว่าตัวเองจะเริ่มต้นในการลงทุนได้เร็วกว่านั้นเพราะเขาได้รู้แล้วว่าสุดท้ายสถานการณ์ต่างๆ มันจะคลี่คลายลง

 

การตัดสินใจพักมือการลงทุนในตอนนั้นหมายถึงการพลาดโอกาสในการร่วมลงทุนในตลาดกระทิงอันร้อนแรงในประวัติศาสตร์ หุ้นใน S&P 500 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสี่เท่าตั้งแต่ช่วงมีนาคม 2009 หลังจากการตกต่ำถึงขีดสุด หุ้นดีดตัวขึ้นมาให้ผลตอบแทนรวม 17.8% ใน 10 ปีต่อมา หมายความว่าหากลงทุน 1,000 ดอลลาร์ใน S&P 500 เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาสามารถสร้างมูลค่ากลายเป็น 4,300 ดอลลาร์ได้ในปัจจุบัน

 

Nick Walstra สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เริ่มลงทุนกันตั้งแต่วันนี้เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโอกาสจากผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวแม้ว่าจะมีความกังวลกับภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในเร็วๆ นี้ และนี่ก็สอดคล้องกับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน

 

ทางด้าน Emily Ku เธอถูกเลย์ออฟจากงานแรกหลังจากทำงานที่นั่นได้สามปีครึ่ง (ช่วงเวลาเดียวกับที่ Nick Walstra เรียนจบ) ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เธอตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทไปพร้อมๆ กับการทำงานเพื่อไม่เป็นการเพิ่มหนี้สินให้แก่ตัวเอง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะช่วยให้เธอหางานใหม่ที่ดีได้อย่างง่ายยิ่งขึ้น ปัจจุบันเธอกลายเป็น Project Manager ประจำที่ California Society of CPAs ตำแหน่งงานแสนรักของเธอ

 

คำแนะนำที่ Emily Ku อยากฝากไว้ให้แก่คนรุ่นใหม่คือ ให้ทำการบ้านเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนในสายงานของตัวเองและกล้าที่จะเจรจาต่อรองไม่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร และรู้จักเก็บออม ออม และออมเงิน เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า

 

สำหรับในประเทศไทย รุ่นน้องๆ ที่กำลังจะเรียนจบปี 2019-2020 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงเศรษฐกิจมีปัญหารุมเร้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ รุ่นพี่ก็ขอเอาใจช่วยและให้ทุกคนเรียนรู้ความผิดพลาดจากรุ่นพี่ทั้งหลายเพื่อจะได้ไม่ทำผิดซ้ำกัน โชคดีน้า

 

แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ

https://www.cnbc.com/2019/08/22/what-millennials-wish-they-knew-about-money-during-the-great-recession.html

 

https://www.naceweb.org/job-market/compensation/salary-trends-through-salary-survey-a-historical-perspective-on-starting-salaries-for-new-college-graduates/

 

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมชาว Millenials

เมื่อคนรุ่นใหม่วัย Millennial ในอเมริกาและไทยไม่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์อีกต่อไป

https://propholic.com/prop-globe/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-millennial-%E0%B9%83%E0%B8%99/

 

Consumer Insight in South Korea อ่านใจกลุ่มคนซื้อบ้านวัย Millennial ในเกาหลีใต้ เขาคิดอะไรยังไงกัน

https://propholic.com/prop-globe/consumer-insight-in-south-korea-%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9A/

 

ทำไม Gen Z อยากมีบ้านเป็นของตัวเองมากกว่าชาวมิลเลนเนียล

https://propholic.com/prop-globe/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1-gen-z-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/

 

เกาะเทรนด์ใหม่ผู้บริโภคอสังหาฯ เมื่อคนไม่ได้ซื้อบ้านให้ตัวเองแต่ซื้อให้น้องหมาอยู่

https://propholic.com/prop-globe/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0/

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง