พาชมไอเดีย Facade บานระแนงที่ปรับเปลี่ยนโหมดเป็นกันสาดอาคารได้
ภาพจาก designboom
PARAL·LEL โดย OHLAB เผยโฉมแผงระแนงไม้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกรองแสงอาทิตย์
OHLAB บริษัทสถาปัตยกรรมสเปน ได้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่อันเงียบสงบของ Bonanova ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปัล(Palma) โดยที่อยู่อาศัยทั้ง 12 ห้อง มีแนวคิดเชิงอุดมคติของชานเมืองทั้งในด้านความยั่งยืน การประหยัดพลังงาน ความเป็นส่วนตัว และพื้นที่สวนและสระขนาดเล็ก โดยที่อยู่อาศัยแห่งนี้จะแบ่งเป็นห้อง Duplex 6 ห้อง ตั้งอยู่บนชั้นล่างติดกับสวนและสระว่ายน้ำ ในขณะที่อีก 6 ห้องเป็น Penthouse ชั้นบน มาพร้อมกับสระว่ายน้ำบนดาดฟ้า ที่มอบวิวทัศนียภาพของ อ่าว Palma รวมถึง Cala Mayor และ IIIetas ในส่วนของ Façade หน้าอาคารมาพร้อมกับ ระแนงไม้แบบพับได้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกรองแสง ทำให้เกิดเอฟเฟกต์ที่ชวนให้นึกถึงร้านปลูกไม้เลื้อย และโครงตาข่ายแบบดั้งเดิมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็น Solution ที่สามารถใช้ควบคุมความเป็นส่วนตัวและแสงที่จะส่องเข้ามาได้ตลอดทั้งปี
‘Paral·lel Complex by OHLAB’ / ภาพจาก Jose Hevia, designboom
การออกแบบระแนงสู่กันสาดที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากประเพณี MALLORCAN
OHLAB ยังได้จินตนาการถึงผิวด้านหน้าอาคาร ให้แผงสามารถยกขึ้นและเปลี่ยนแผงกันแดดสู่กันสาดระแนงของอาคาร โดยมีที่มาจากความจำเป็นของการอยู่อาศัย ทั้งทิศทางการวางแนวและแสงแดดส่อง เป็นเทคนิคที่ช่วยให้รับแสงอาทิตย์ในฤดูหนาว และป้องกันความร้อนสูงในช่วงฤดูร้อน เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนต่อการใช้ชีวิตภายใน โดยการออกแบบแผงกันแดดได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมผ่านการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องแสงอาทิตย์และแรงบันดาลใจจากประเพณีดั้งเดิมพื้นถิ่นของ Mallorcan เมื่อผสมผสานกับการศึกษาเรื่องระบบระบายอากาศและระบบควบคุมแสง สถาปนิกก็ได้คำตอบในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดทั่วทั้ง Paral·lel มากไปกว่านั้นการใช้แผ่นไม้ที่ได้รับการรองรับเป็นวัสดุหลักของ façade อาคาร ทำให้โครงการนี้ได้มาตรฐานความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการได้วัสดุไม้มาใช้ต้องผ่านการจัดการป่าไม้อย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่ยังรับประกันในการตรวจสอบย้อนหลัง ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
‘โครงการที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อันเงียบสงบของ Bonanova’ / ภาพจาก Jose Hevia, designboom
บรรลุประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดและการใช้น้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการแห่งนี้ได้รับการออกแบบเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยออกแบบมาให้อาคารมีความต้องการในการใช้ความเย็นต่ำ ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการใช้เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นได้มากเมื่อเทียบกับอาคารในรูปแบบทั่วไป ส่งผลทำให้ได้ผลลัพธ์ในการลดต้นทุนด้านพลังงาน ในส่วนด้านหน้าของตัวอาคารมีกลยุทธ์ที่จะอยู่ร่วมกับบริบทของเมืองได้ ซึ่งในมุมมองด้านหน้าอาคารถูกออกแบบเพื่อจำกัดการมองเห็นจากเพื่อนบ้านรอบข้างและจากถนนที่อยู่ติดกัน เพื่อเป็นการการันตรีว่าผู้อยู่อาศัยจะมีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด ส่วนทางเลือกของพื้นผิวและสี Earth tone ที่แตกต่างกันของส่วนด้านอาคารเป็นส่วนช่วยในภาพรวมของตัวอาคารกับบริบทของเมืองและโครงสร้างเมือง ซึ่งความผิดปกติในการเปิดและการผสมผสานระหว่างพื้นผิวและโทนที่แตกต่างกัน เป็นการหลุดออกจากความเรียบและความสม่ำเสมอของ façade หน้าอาคาร ทำให้อาคารแห่งนี้มีคาแรกเตอร์ของความเป็นออแกรนิค และความเป็นธรรมชาติมากขึ้น
ภาพจาก Jose Hevia, designboom
ในส่วนของการกักเก็บน้ำฝน ตัวระบบจะถูกออกแบบรวมกับตัวอาคารโดยมีเป้าหมายในการใช้ทรัพยากรน้ำและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยระบบนี้ขึ้นอยู่กับการติดตั้งถังเก็บน้ำที่ช่วยกักเก็บและเป็นที่รองรับน้ำฝน ซึ่งมาจากบนดาดฟ้าของอาคารและผิวภายนอกอาคาร โดยการใช้น้ำที่เก็บไว้มีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน รวมไปถึงการจัดเตรียมน้ำไว้ซึ่งชดเชยสำหรับน้ำที่สูญเสียไปในสระน้ำ โดยการนำน้ำฝนกลับมาใช้ใหม่เพื่อเติมสระเป็นการช่วยหลีกเลี่ยงการใช้น้ำดื่มที่มากเกินไป นอกจากนี้ น้ำที่เก็บไว้ยังสามารถใช้สำหรับสวนสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนได้(Mediterranean-style gardens) ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องการบำรุงรักษาต่ำ และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศ ซึ่งน้ำฝนที่ใช้เพื่อการทดน้ำเป็นการช่วยลดปริมาณน้ำที่ใช้ในอาคาร ในส่วนการเลือกใช้วัสดุในโครงการนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสถาปัตยกรรมที่มีความยั่งยืนตามสภาพแวดล้อมแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในเรื่องนี้ได้มีการคัดสรรวัสดุท้องถิ่น และวัสดุธรรมชาติอย่างระมัดระวัง เพื่อช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่กลมกลืนระหว่างอาคารกับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
‘บานหน้าต่างไม้เป็นเสมือนที่กรองแสง’ / ภาพจาก Jose Hevia, designboom
วัสดุจากธรรมชาติ เช่น กระเบื้อง Mallorcan hydraulic และหินขัดสั่งพิเศษ ช่วยสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น และความเป็นกันเองภายในอาคาร ในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงประเพณีการก่อสร้างในท้องถิ่น โดยวัสดุเหล่านี้ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่ำในการสกัดและการผลิต เนื่องจากเป็นทรัพยากรในท้องถิ่นที่มีการแปรรูปทางอุตสาหกรรมน้อย และด้วยความเป็นวัสดุที่มาจากท้องถิ่นจึงลดการขนส่งและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเลือกใช้ไม้โอ๊ค(Oak Wood)สำหรับการปูพื้นและประตู ซึ่งเป็นวัสดุที่หรูหราและทนทานนำความอบอุ่นมาสู่พื้นที่
ภาพจาก designboom