เมื่อไร้ทางแก้…ก็ลองทำ Brand Health Check ดูไหม?
คุณผู้อ่านยังจำบทความหนึ่งที่ผมเคยบอกว่าหากที่ดินในเมืองมันแพงขึ้นเรื่อยๆแล้ว developer จะต้อง ทำยังไงให้ขายได้ ได้ไหมครับ? มีอยู่ข้อนึงที่ผมเห็นทุกเจ้านิยมทำกันก็คือการปรับขนาดของห้องให้เล็กลง เพื่อให้ราคาต่อยูนิตมีขนาดที่ถูกกว่าเดิม แบบที่อยู่ใน price range ที่ 2-3 ล้านเนี่ยกำลังดี ถ้าห้องมันเล็กต่อให้เกินตรมละแสนก้น่านะขายได้ เพราะมันมี research รองรับว่าคอนโดราคาประมาณนี้นี่แหละที่ขายดี (เอ๊ะ ไม่รู้ว่าข้อมูล research จากสำนักไหน หรือว่าเป็น press release จากบรรดา agency กันแน่นะ… ฮา)
ในการเปิดขายคอนโดแต่ละที่นั้น แน่นอนครับว่าผลลัพธ์ที่ต้องการก็ต้องเป็นยอดขายนั้นและครับ (ยอดโอนไว้ก่อนเดี่ยวค่อยไปไล่บี้อีกสองปีให้หลัง) ส่วนใหญ่ developer ก็อยากจะขายให้หมดเร็วๆไว้ก่อน มีแค่เจ้าใหญ่สอง-สามเจ้าเท่านั้น…อ่ะ ผมให้อย่างมากไม่เกิน 5 เจ้า!!! ที่ไม่เน้นยอดขาย แต่ไปเน้นที่การขายให้ real demand ที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่เอง เพื่อการันตีว่าห้องจะถูกโอนหมด…ในโลกของการตลาดนั้นหาก แบรนด์ไหนติดตลาดอยู่แล้ว และทำเลค่อนข้างจะดูดี เป็นธรรมดาครับ ว่ามันง่ายมากๆที่จะขายให้หมดในช่วงพรีเซล (ภายใต้งบประมาณการตลาดที่เพียงพอนะ…โดยปกติจะอยู่ที่ 1-2.5% จาก property value) >>> แต่ถ้าผลมันออกมาตรงกันข้ามกันหละ ถ้ายอดขายไม่วิ่งอย่างที่ต้องการ หรือแม้กระทั่งเมื่อใกล้กำหนดโอนแล้วกลับมีคนทิ้งเรื่อยๆไม่ยอมโอน จะทำยังไงต่ออ่ะครับ…สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แทบทุกบริษัทก็จะ มีการเรียกประชุมกันทั้งหน่วยงานหลังบ้าน หน้าบ้าน เหล่าขุนพลการตลาดเต็มไปหมด พร้อมที่จะมานำเสนอ chart ต่างๆนานา สารพัด stat เรื่องดัชนีราคาเปรียบเทียบ ว่าของเราขายแพงกว่าชาวบ้าน ของเราไม่มีเฟอร์เหมือนชาวบ้าน ของเราตึกไม่สวย เห็นมั้ยตรงนี้มันมี supply เยอะมากเลยนะ แถม demand ก้เน้นอยู่เองเป็นหลัก absorption rate มันก็เลยมีน้อย….เพราะฉะนั้น มันขายกับโอน ไม่ได้ถึงเป้าแน่ๆ จบนะ!!! เอ่า แล้วทำไมตอนเปิดโครงการไม่รู้จักเอาข้อมูลพวกนี้มาประกอบการพิจารณาวาง target ก่อนละครับ พี่น้อง?