การจัดการล้ำสมัยแบบศุภาลัย
ในสถาบัน MBA ต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือทวีปอะไร ต่างสอนเกี่ยวกับ “ความเสี่ยง” และ “ผลตอบแทน” ในทิศทางเดียวกันว่า:
ถ้าหวัง “ความเสี่ยงต่ำ = จะได้ผลตอบแทนต่ำ”
ถ้ายอมรับ “ความเสี่ยงสูง = จะได้ผลตอบแทนสูง”
แต่การสอนใน “บมจ.ศุภาลัย” นั้นแตกต่างออกไป ในทางตรงกันข้าม :
เราสอนว่า : เราต้องการ “ความเสี่ยงต่ำ = แต่หวังผลตอบแทนสูง”
สิ่งนี้เป็นไปได้จริงหรือ แล้วจะทำได้อย่างไรเล่า ?
โดยปกติแล้ว ความเสี่ยงมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
“ความเสี่ยงทางธุรกิจ” และ
“ความเสี่ยงทางการเงิน”
แนวทางของศุภาลัยในการลด “ความเสี่ยงทางธุรกิจ” คือ:
– หลีกเลี่ยงโครงการและทำเลที่มีความเสี่ยงสูง
– พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีที่สุด โดยนำมาตรฐาน ISO 9001:2015, ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) และการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมมาใช้ เป็นต้น
– “คุณภาพ” ที่ดีจะสร้าง “แบรนด์” ให้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงแต่กลับเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น
– ขยายธุรกิจทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อเพิ่มการเติบโตและบรรลุ “Economy of Scale” ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนลดลงและได้กำไรมากขึ้น
– ดำเนินธุรกิจ นอกจากบนพื้นฐานที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ต้องถูกจริยธรรม + จรรยาบรรณที่ดีด้วย
วิธีการลด “ความเสี่ยงทางการเงิน” ของศุภาลัย คือ:
– รักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity) และอัตราส่วนหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย / ส่วนของทุน (Gearing Ratio) ให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความน่าเชื่อถือ
– ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับสูง = “A”
– ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งช่วยให้ขยายการเติบโตได้อย่างกว้างขวางทั้งในตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ
รูปแบบการเติบโตของศุภาลัย:
“Dual Track” พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบและแนวสูง กรุงเทพฯ และเมืองต่างจังหวัด
ปัจจุบัน “ศุภาลัย” กำลังพัฒนาโครงการ 250 โครงการใน 29 จังหวัดทั่วประเทศไทย
นอกจากนี้ ศุภาลัยยังได้ขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนและออสเตรเลีย การลงทุนในออสเตรเลียได้เติบโตขึ้นจาก 1 โครงการเมื่อ 11 ปีที่แล้ว เป็น 24 โครงการใน 4 รัฐ 6 เมืองในปัจจุบัน
กลยุทธ์ “Dual Track” และ “Triple Track” มีเป้าหมายเพื่อเพิ่ม “ศักยภาพการเติบโต” และ “กระจายความเสี่ยง” ซึ่งทั้ง 2 กลยุทธ์นี้ตอบโจทย์ทั้ง 2 เป้าหมายได้เป็นอย่างดี
แล้วในส่วนของ “ผลตอบแทนสูง” เล่า เป็นอย่างไร ?
วิธีที่ดีที่สุดในการวัด “ผลตอบแทนสูง” คือการเปรียบเทียบกับบริษัทจดทะเบียน 10 อันดับแรกในอุตสาหกรรมเดียวกัน