เบเยอร์ตอกย้ำผู้นำ “สีนวัตกรรมรักษ์โลก” จับมือพันธมิตร จัดงานเสวนา “Net Zero Design” ตั้งเป้ายกระดับอาคารไทยสู่ “Green Building”

เกริก บุณยโยธิน 16 September, 2024 at 12.38 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


เบเยอร์ (Beger) ในฐานะผู้นำนวัตกรรมสีที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมายาวนานกว่า 6 ทศวรรษ สานต่อแนวคิด “Eco-Wellness Innovation” หรือ สีนวัตกรรม รักษ์โลก รักคุณ ผนึกภาคีเครือข่ายและพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานจัดกิจกรรมสัมมนา “Net Zero Design” วางเป้าหมายร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอาคารไทยสู่อาคารสีเขียวรักษ์โลก

งานเสวนา “Net Zero Design” ได้รับเกียรติจาก คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ มาร่วมเป็นพิธีกรภายในงานซึ่งงานนี้ ได้รับการตอบรับที่ดี จากคนในวงการสถาปนิก และนักออกแบบเป็นจำนวนมาก ที่ให้ความตระหนักถึงการร่วมเป็นหนึ่งในการผลักดันไทยสู่ “Green Building”  โดย ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ เปิดเผยว่า สำหรับเบเยอร์เรายังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์คุณภาพสีที่ขานรับต่อทุกความต้องการของผู้บริโภคและสอดคล้องต่อทิศทางของเทรนด์โลก ทั้งในมิติของการใส่ใจสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบแนวคิด “Eco-Wellness Innovation” ด้วยความสำคัญดังกล่าวจึงได้จับมือกับพันธมิตร คู่ค้า ในห่วงโซ่อุปทานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนจัดเสวนาในหัวข้อ “Net Zero Design” โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอาคารที่สอดคล้องกับแผนทิศทางของเป้าหมายของประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็นอาคารรักษ์โลกหรือ “Green Building”

ดร.จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท เก็นสเล่อร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าการพัฒนาและออกแบบเพื่อมุ่งสู่การสร้าง “Green Building” กลายเป็นเทรนด์ที่ทุกภาคส่วนต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน โดยมิติการออกแบบจากเก็นสเล่อร์เรานำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้ทุกการดีไซน์สอดรับกับบริบทของอาคาร อย่างไรก็ตามการพัฒนา “Green Building” จะสำเร็จได้ต้องพัฒนาร่วมกันในทุกห่วงโซ่อุปทานทางธุรกิจ ซึ่งนี่คือความท้าทายในการปรับตัวครั้งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจร่วมกัน ทั้งนี้ที่ผ่านมาทางบริษัทได้ร่วมงานกับพันธมิตรที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ อาทิ ทางเบเยอร์ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ความใส่ใจในเรื่องความยั่งยืน ฉะนั้นนี่คือการเริ่มต้นที่ดีในการสร้าง “Green Building”
ให้เกิดขึ้นในไทยร่วมกัน

คุณอมรรัตน์ เดชอุดมทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียวและที่ปรึกษาโครงการ Green Building Market Transformation กล่าวว่า “Green Building” กลายเป็นสิ่งที่ต้องทำ ซึ่งไม่ใช่แค่เทรนด์อีกต่อไปแต่วันนี้มีเรื่องของกฎหมายเข้ามากำกับ ซึ่งเรื่องอาคารและการก่อสร้างถือเป็นหนึ่งสาเหตุหลักในวันนี้ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฉะนั้นแล้วการพัฒนาในเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ อาทิ เบเยอร์ที่วันนี้ได้หันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามโจทย์สำคัญในวันนี้ไม่เพียงแต่เร่งพัฒนาอาคารให้กลายเป็นอาคารรักษ์โลกเพียงแค่การใช้เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ต้องเร่งปลูกฝังให้ผู้บริหาร พนักงาน ที่อยู่ในอาคารต่าง ๆ มีแนวคิด พฤติกรรม ในการพัฒนา “Green Building” ร่วมกันซึ่งนี่จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ผศ.ดร.สรรพวัฒน์ จตุพัฒน์วรางกูร Digital Practice Leader บริษัท Aurecon Thailand กล่าวว่า วันนี้เรื่องของ Green Building ไม่ใช่เรื่องใหม่ และที่สำคัญคือสุขภาวะพื้นฐานของงานออกแบบและเป็นโจทย์สำคัญในการเติมเต็มเพื่อการอยู่อาศัย โดยมิติการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมวันนี้งานออกแบบได้หากรอบมาสร้างแบบแผนในการดำเนินการเพื่อยกระดับและสร้างมาตรฐานระดับสากล อาทิ มีการอยู่อาศัยที่ดี ลดการใช้พลังงานได้ แต่ทว่างานออกแบบอย่างไม่สามารถบรรลุผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้ แต่ต้องอาศัยทั้งองคาพยพในห่วงโซ่อุปทานทางธุรกิจร่วมขับเคลื่อนร่วมกัน

ดร.วรวัฒน์ กล่าวเสริม สำหรับการพัฒนา “Net Zero Design” ในอุตสาหกรรมก่อสร้างและสีทาอาคาร เบเยอร์ มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ คือ ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ
ภาคการผลิต การจัดส่ง รวมถึงหลังใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้มีการพัฒนากลุ่มสินค้าที่สอดรับกับการขับเคลื่อนดังกล่าวในหลากหลายผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาเทคโนโลยีเซรามิกคูลลิ่งที่จะช่วยสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้สูง
ถึง 97.2% รวมถึงการไม่ปล่อยสาร VOCs ซึ่งเป็นสารที่สามารถทำปฏิกิริยากับแสงแดดกลายเป็นก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น
และที่สำคัญเบเยอร์ยังมุ่งมั่นในการสร้างต้นแบบอาคารรักษ์โลกโดยในภาคการผลิตสีที่ต้องใช้การผลิตไฟฟ้าจำนวนมาก
โดยทางเบเยอร์สามารถลดการใช้ไฟฟ้าด้วยการติดตั้งโซลาเซลล์บริเวณด้านบนอาคาร รวมไปถึงได้นำสารประกอบที่ทำมา
จากพืช (BIO-BASE) มาใช้ทดแทนวัตถุดิบบางอย่างที่ทำจากปิโตรเลียมเพื่อเป็นลดมลพิษ โดยที่ผ่านมาสีเบเยอร์ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 336,600,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e) หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้โตเต็มวัยมากกว่า 5,500,000 ต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการขับเคลื่อนที่สำคัญของเบเยอร์ในการมุ่งสู่การเป็นอาคารสีเขียวและเป็นธุรกิจสีเขียว (Green Business) สอดรับกับเป้าหมายในการเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ที่สามารถหวังผลในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2593

ภายในงาน ทางเบเยอร์ ยังมอบต้นไม้ให้แขกที่มาร่วมงานทุกท่าน ผ่านแอพพลิเคชั่น EcoMatcher จำนวน 1,000 ต้น ในพื้นที่การปลูกป่า จังหวัดกระบี่ จากการร่วมมือกับพันธมิตร EcoMatcher ในการส่งต่อการรักษ์โลกผ่านการมอบของขวัญเป็นต้นไม้ให้กับพันธมิตรและผู้เข้าร่วมงานในกิจกรรม Net Zero Design” โดยมีหมุดหมายที่สำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งสร้างแหล่ง Carbon Offset” หรือ การชดเชยทางคาร์บอนให้กับสังคมโลกในอนาคตปิดท้ายงานอย่างสนุกสนานจาก อะตอม ชนกันต์ ที่มาร้องเพลงร่วมสร้างความสุขในงาน

 

#PaintBegerPaintTheWorldGreen #FutureWEFutureWORLD #BEGER #สีเบเยอร์ #สีรักษ์โลก

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง