“CPAC Green Solution” ชี้ 5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่แรงไม่หยุด
อุตสาหกรรมก่อสร้างถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยอ้างอิงจากรายงาน McKinsey ซึ่งระบุว่าการใช้จ่ายในอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกมีมูลค่าถึง 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นสัดส่วนสูงถึง 13% ของจีดีพีโลกแต่ก็มีอัตราการเติบโตที่ไม่หวือหวาเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตามตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการก่อสร้างชะลอตัวลง และต้องมีปรับตัวอย่างหนัก
โดยปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาประยุกต์และพัฒนาเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนแรงงาน หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อน-ระหว่าง-และหลังการก่อสร้าง CPAC Green Solution ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ไม่หยุดนิ่งที่พัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ต่อความต้องการให้แก่ทุกกลุ่มลูกค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมรวบรวมเทรนด์ในอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่กำลังมาแรงในช่วง 2 – 3 ปีข้างหน้า มาอัปเดตเพื่อเป็นไอเดียและยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
สำหรับ 5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่แรงไม่หยุด ได้แก่
1. การออกแบบการสร้างในโลกเสมือนจริง (Virtual Design and Construction – VDC) เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากทั่วโลก เพราะนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องการขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำงานซ้ำที่เกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนต่างๆ ซึ่งปกติจะสูงถึง 30% ของต้นทุนการก่อสร้างรวม โดยเครื่องมือที่ได้ความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร หรือ Building Information Modeling (BIM) จาก รายงานของ ReportLinker บริษัทวิจัยทางการตลาดจากประเทศฝรั่งเศสระบุว่า ตลาด BIM ในปี 2563 (2020) มีมูลค่าประมาณ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ – 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่จะหยุดชะวักเนื่องจากโรคระบาดโควิด-19 อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าตลาด BIM จะฟื้นตัวและมีอัตราเติบโตต่อปี 14.5% สอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกจากนี้ต่อไปในอีก 5 ปีข้างหน้า ในส่วนของประเทศไทยเองก็มีการเร่งพัฒนาบุคลากรในด้าน VDC เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. ตลาดการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป (Modular construction) แม้ว่าการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปจะมีการพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ตลาดนี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองและอุตสาหกรรม เพราะข้อดีหลักของการก่อสร้างแบบ Modular คือ สามารถที่วางแผนควบคุมต้นทุน และระยะเวลาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง จนกระทั่งจบงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถออกแบบได้อย่างนอกกรอบกว่าการสร้างแบบดั้งเดิมมาก โดยรายงานของ Straits Research บริษัทวิจัยชั้นนำของโลก คาดว่าตลาดการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปของโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 2.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2573 (2030) เพิ่มขึ้นจาก 1.38 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2564 (2021) โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ 8% ต่อปีระหว่าง 2656 – 2573 (2022 – 2030)