ส่องสปอตไลท์ความเรืองรอง “เซ็นทรัล อยุธยา” สะท้อนอัตลักษณ์เมืองกรุงเก่าบอกเล่าความเป็นไทยในมุมมองใหม่ พร้อมให้ทุกคนสัมผัสความ “อัศจรรย์อยุธยา” ในวันที่ 30 พ.ย. 64 นี้
– ภายใต้บรรยากาศไทยร่วมสมัย Thai Twist ด้วยแรงบันดาลใจจากท้องถิ่น ผสมผสานมุมมองใหม่ของสถาปนิกไทย ผู้ออกแบบโรงแรมศาลาอยุธยา และบ้านป้อมเพชร
– ถ่ายรูปสวยทุกมุม เนรมิตอัศจรรย์แลนด์มาร์กดี ศรีอยุธยา Instagrammable Landmarks ทั่วทั้งศูนย์ฯ
จากความเรืองรองของเมืองหลวงเก่าอย่าง “อยุธยา” เมืองท่านานาชาติที่รุ่งเรืองที่สุดในแถบเอเชียในอดีต ยิ่งใหญ่ข้ามกาลเวลาสู่เมืองท่องเที่ยว UNESCO World Heritage ที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต้องมาเยือน ในวันนี้อยุธยายังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยความ ‘อัศจรรย์อยุธยา’ ในอีกหลายแง่มุมที่รอให้ทุกคนไปสัมผัส โดยที่ ‘เซ็นทรัล อยุธยา’ ซึ่งกำลังจะเปิดตัวในวันที่ 30 พ.ย. 64 นี้ จะมาส่องสปอตไลท์ให้อยุธยาโดดเด่น นำเสน่ห์ความเป็นกรุงเก่าที่ยังคงกลิ่นอายและมนต์ขลังมาทวิสต์กับความโมเดิร์นที่มีความร่วมสมัย โดยยังคงสื่อถึงอัตลักษณ์เมืองกรุงเก่าอย่างอยุธยาด้วยจุดเด่นสถาปัตยกรรมสะดุดตาตั้งแต่ Façade ที่ได้แรงบันดาลใจจากเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ไปจนถึง Must-Visit Instagrammable Landmarks ในรูปแบบของดีไซน์ฟีเจอร์ที่เป็นไฮไลท์สำคัญต่างๆ ภายใต้บรรยากาศแบบไทยร่วมสมัยหรือ Thai Twist ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากท้องถิ่น ได้แก่
1. Façade ย่อมุมไม้สิบสองด้านหน้าศูนย์การค้า: สถาปัตยกรรมย่อมุมไม้สิบสอง เป็นแนวคิดของช่างในสมัยอยุธยา เป็นแบบสถาปัตยกรรมของไทย ซึ่งมีวิธีย่อมุมละ ๓ หยัก ๔ มุม รวมเป็น ๑๒ ดังจะเห็นได้จากเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. ‘อยุธยา Outdoor Signature’ บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้า ที่คอยต้อนรับผู้มาเยือนด้วยTypo ตัวอักษรชื่อเมืองคำว่า “อยุธยา” ในรูปแบบ 3 มิติที่ตั้งอยู่บนพื้น ด้วยรายละเอียดบนแต่ละตัวอักษรที่ผ่านรูปแบบการลงเข็มกรองมาลัยออกมาเป็นรูปทรงของดอกไม้ชนิดต่างๆ อาทิ ดอกรัก ดอกพุดตูม ดอกมะลิ เป็นต้น ทำให้เกิดเป็นรายละเอียดที่อ่อนช้อยงดงาม มีมิติแสงและเงา ที่สร้างบรรยากาศที่แตกต่างกันไปในเวลากลางวัน และกลางคืน
3. ‘ลานพระนคร’ บริเวณลานด้านหน้าศูนย์การค้า ด้วยการนำเสนอพื้นที่ผ่าน Typo ตัวอักษรไทยที่ออกแบบขึ้นใหม่โดยผสานรวมเอกลักษณ์ของดอกบัวเข้ากับตัวอักษรไทย ใช้วัสดุทองเหลืองเพื่อแสดงถึงคุณค่าและสะท้อนความงดงามอันเหนือกาลเวลา เพื่อเชิดชูความเรืองรองในอดีตของอยุธยาในฐานะศูนย์รวมช่างฝีมือที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ช่างเขียน ช่างเงิน ช่างทอง ช่างแกะสลัก ช่างหล่อ ช่างปั้นดินเผา ช่างไม้ ช่างจักสาน ช่างปูน เป็นต้น