นึกว่าแกนวาร์ป! เมืองในลิทัวเนียและโปแลนด์เปิดตัว “เดอะ พอร์ทัล” มองเห็นกัน สื่อสารกันได้แบบสดๆผ่านหน้าจอกลางเมือง

เกริก บุณยโยธิน 02 June, 2021 at 14.33 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


แกนวาร์ป หรือประตูต่างมิติ อาจจะดูไม่ได้เป็นของใหม่สำหรับคอหนัง Sci-Fi หรือเหล่าแฟนอนิเมะ แต่สำหรับในชีวิตจริงเรื่องดังกล่าวดูจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่มุมมองของใครหลายๆคนคอนเซปท์ของเรื่องดังกล่าวอาจไม่ได้มีสาระสำคัญที่หมายถึงการเคลื่อนย้ายวัตถุจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งในแบบฉับพลันเสมอไป เช่นเดียวทีมงานผู้พัฒนาโครงการ “The Portal” ในเมืองวิลนิอุส (Vilnius) ในประเทศลิทัวเนีย และเมืองลูบลิน (Lubin) ของโปแลนด์ ที่มองว่าสาระสำคัญของเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นการสะท้อนถึงภาพการเชื่อมต่อกันทางวัฒนธรรมของทั้งสองเมือง ที่ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมาก่อน

Source: https://www.air.tv/watch?v=van34DAzQGatby_ayzHpmg

 

เมืองวิลนิอุส และลูบลิน คือสองเมืองใหญ่ที่ครั้งนึงได้มีความเกี่ยวพันกันทางประวัติศาสตร์ร่วมกันจนถึงขนาดที่ว่าเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเดี่ยวที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรปในช่วงปี ค.ศ. 1569 ภายใต้ชื่อว่า “The Polish–Lithuanian Commonwealth – เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศโปแลนด์ – ลิทัวเนีย – เบลารุส – แลตเวีย และพื้นที่ส่วนใหญ่ของยูเครน เอสโตเทีย และบางส่วนของรัสเซียในปัจจุบัน ก่อนที่จะล่มสลายไปในช่วงค.ศ. 1791 ได้ถูกเลือกให้เป็น 2 เมืองแห่งแรกในการพัฒนาโปรเจค “The Portal” โครงการเพื่อสังคมที่มีวัตถุประสงค์ในการที่จะทำให้ผู้คนทั่วโลกเชื่อมต่อกันโดยปราศจากการแบ่งแยกทางสังคม และมองโลกเป็นหนึ่งเดียว โดย Benediktas Gylys หนึ่งในผู้พัฒนาโครงการมองว่าโลกในปัจจุบันนั้นสุ่มเสี่ยงมากเหลือเกินต่อการเกิดมหันตภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนไป และปรากฎการณ์โพลาไรเซชั่น ซึ่งมาจากการขาดความเข้าใจที่มากพอเกี่ยวกับโลกในหมู่ผู้คนส่วนใหญ่ ดังนั้นโครงการ The Portal จึงเกิดขึ้นเพื่อรวมใจชาวโลกเข้าไว้ด้วยกัน ผ่านวัตถุรูปทรงกลมที่เป็นสัญลักษณ์ของวงล้อแห่งกาลเวลา และมีแผงหน้าจอที่ทำหน้าที่ในการสะท้อนเรื่องราวความเป็นไปของชาวเมืองวิลนิอุส และลูบลิน ในแบบเรียลไทม์ โดยตัวหน้าจอนี้จะตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีรถไฟเมืองวิลนิอุส และที่ย่าน Plac Litewski ในเมืองลูบลิน

Image credits: Vilnius Tech Linkmenų fabrikas

ตัว The Portal เองจะมีทั้งหน้าจอและกล้องเพื่อที่จะถ่ายทอดวิถีชีวิตของผู้คนที่ผ่านไปมาในทั้งสองเมืองนี้แบบสดๆ ซึ่งภาพที่ได้จากหน้าจอนี้จะดูเหมือนกับภาพที่มนุษย์อวกาศมองจากหน้าต่างยานอวกาศมาสู่โลกเบื้องล่าง หรือที่มักจะเรียกว่า “Over View Effectผลกระทบจากทัศนียภาพมุมสูง” ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนความคิดของเหล่านักบินอวกาศที่ได้รับรู้ว่าหากเราได้มองโลกในมุมที่สูงกว่า ก็จะรู้ได้ทันทีเลยว่าโลกของเรานั้นมันช่างน้อยนิดและควรช่วยกันรักษาเอาไว้ แทนที่จะมานั่งแบ่งแยก เหยียดกันไปมา โดยใช้ความต่างเป็นเหตุผลในความแบ่งแยก จนก่อเกิดความเสียหายทั้งต่อมวลมนุษยชาติ และโลกใบนี้

Image credits: Vilnius Tech Linkmenų fabrikas

 

ดูจากภายนอกและคุณลักษณะของตัว The Portal เองอาจจะดูว่าทำได้ง่ายๆ แต่ความท้าทายของโปรเจคนี้มีมากทีเดียวโดยเฉพาะในเรื่องของการจัดหาส่วนประกอบทางอิเล็คทรอนิกส์ที่สามารถเข้ากันได้ดีกับรูปลักษณ์ของมัน โดยที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงมาลงตัวที่วัสดุอย่างสแตนเลส คอนกรีต กระจกเทมเปอร์ พร้อมหน้าจอคู่ขนาดกว้าง 3 เมตรที่มีน้ำหนักมากถึง 11 ตัน จากการร่วมแรงร่วมใจกันสร้างของเหล่าทีมงานจาก Vilnius Gediminas Technical University Creativity & Innovation Centre ที่ใช้เวลาในการทำงานยาวนานถึง 5 ปี

 

ข้อจำกัดของ The Portal ในตอนนี้ก็คือมันไม่มีเสียง เพราะว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในเชิงเทคนิคที่จะให้มีเสียงตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน อย่างไรก็ตามหากต้องการให้มีเสียงเป็นการชั่วคราว อย่างเช่น ช่วงการจัดอีเวนท์ก็สามารถทำได้ แต่แม้ว่ามันจะไม่มีเสียงผู้คนที่เดินผ่านก็ยังพยายามที่จะสื่อสารถึงกันด้วยรูปแบบอื่น เช่น การโบกมือ ส่งจูบ หรือแม้กระทั่งการวิดพื้น ซึ่งทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงการมีอัธยาศัยอันดีต่อกันแม้จะไม่ได้เจอกันในแบบซึ่งๆหน้า และยังเป็นการสร้าง Human Connection ที่ดีในช่วงที่เกิดโรคระบาด ทำให้คนส่วนใหญ่ได้ผ่อนคลายมากขึ้น

Image credits: LithuaniaMFA

Image credits: Vilnius Tech Linkmenų fabrikas

แน่นอนว่า “The Portal” จะมีตั้งบนสถานที่อื่นนอกเหนือจาก 2 เมืองดังกล่าวด้วยในอนาคต ซึ่งทีมงานผู้สร้างหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเชื่อมต่อเมืองอีกหลายสิบเมืองทั่วโลก โดยที่เมืองคู่ต่อไปที่น่าจะถูกเอาไปตั้งไว้ก็จะเป็นที่เมือง เรคยาวิก (Reykjavik) ในประเทศไอซ์แลนด์ และมหานครลอนดอน ในสหราชอาณาจักร โดยที่ “The Portal” ทั้ง 2 ชิ้นจะถูกนำออกจากเมืองวิลนิอุส และลูบลินในช่วงเดือนสิงหาคม ก่อนที่จะถูกย้ายไปที่แห่งใหม่ ซึ่งทีมพัฒนาคาดหวังว่าโปรเจคดังกล่าวจะมีต่อไปเรื่อยๆจนกว่าโลกจะล่มสลาย หรือปัญหาการแบ่งแยกทางสังคมจะสิ้นสุด

 

Source: https://www.boredpanda.com/virtual-door-lublin-vilnius-portal/

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง