เส้นทางสายสีเขียว Lisbon เจ้าของรางวัล 2020 European Green Capital Award Winner!
วิวเมือง Lisbon ภาพจาก olyavolja.com/lisbon-as-a-touristic-destination-9117ce37e04c
2020 European Green Capital Award Winner คือ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่และเป็นของขวัญปีใหม่ 2020 ให้ชาวเมืองลิสบอน (Lisbon) เมืองหลวงและเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการเมืองและการค้าสำคัญของประเทศโปรตุเกสมายาวนาน แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยจนมีผลกระทบไปทั่วโลกไม่เว้นประเทศโปรตุเกส แต่ก็ยังคงทุ่มงบประมาณและให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเสมอมา อาจเป็นเพราะทิศทางนโยบายการบริหารประเทศโปรตุเกสยังคงไม่ลดละความพยายามที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นกว่าเดิมและยังตั้งใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนในเขตเมืองต่างๆจนประสบความสำเร็จอย่างที่คาดไว้ไม่มีผิด
การคัดเลือกเมืองแห่งสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน คือ หนึ่งในเป้าหมายหลักของสหภาพยุโรป(European Union)ที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับประเทศสมาชิกให้ปรับปรุงและลดต้นเหตุที่จะนำไปสู่ภาวะโลกร้อนลงให้กลายเป็นความรับผิดชอบร่วมกันอย่างจริงจังของทุกคนในสังคม ดังนั้นความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นนโยบายระดับประเทศเพื่อพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของประชากรและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นตามไปด้วยควบคู่ไปกับความร่วมมือด้านการค้าระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้มีการชิงรางวัลสุดยอดเมืองสีเขียวที่คัดเลือกโดยสหภาพยุโรป(European Union)ปีละครั้ง ผู้ชนะปี 2020 นั่นคือ เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรปเพื่อใช้รักษาสิ่งแวดล้อมของเมืองนี้ไว้ให้สมบูรณ์ที่สุดต่อไปเป็นจำนวน €350k (11,803,589.96 ล้านบาท)
คืนชีพ ลิสบอน เมืองหลวงที่เคยพังพินาศจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ค.ศ. 1755
ภาพวาดบันทึกเหตุการณ์การกู้ชีพหลังแผ่นดินไหว เมืองลิสบอน 1775 www.citylab.com/equity/2013/11/scenes-1755-earthquake-turned-lisbon-ruins/7448/
ภาพวาดบันทึกเหตุการณ์คลื่นสึนามิซัดเข้าสู่เมืองลิสบอน 1775 ภาพจาก www.britannica.com/event/Lisbon-earthquake-of-1755
กว่าเมืองลิสบอนจะมีวันนี้ได้ก็ใช้เวลาปรับปรุงและพัฒนาเมืองมายาวนานถึง 245 ปีเชียวนะ เนื่องจากเมื่อปี ค.ศ. 1775 เกิดเหตุภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรปนั่นก็คือ “แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดและคลื่นสึนามิที่เมืองนี้ทำให้สิ่งก่อสร้างเกือบทั้งเมืองถล่มลงมาเป็นเพียงซากปรังหักพักส่งผลให้สถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองนี้ถล่มลงอย่าน่าเสียดาย แม้แต่พระราชวังเก่าแก่ในขณะนั้นก็ไม่เหลือรอด สิ่งที่น่าสลดใจที่สุดคือการศูนย์เสียชีวิตที่ไม่มีวันกลับมาของคนเมืองนี้เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการซ้อมอพยบหนีภัยธรรมชาติหรือเครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกจึงไม่มีความเป็นไปได้เลยที่ชาวลิสบอนจะรู้ล่วงหน้าถึงหายนะครั้งนั้น และยังโชคร้ายเป็นสองเท่าหลังจากแผ่นดินไหวก็มีไฟไหม้เมืองต่อเนื่องถึง 6 วัน (Top 5 fun facts about Lisbon /Anna on June 21, 2018 via www.discoverwalks.com/)” หากจะให้บรรยายให้เห็นภาพเหตุการณ์โกลาหลในอดีตของที่นี่ก็คล้ายๆภัยธรรมชาติในหนังเรื่องปอมเปอี(Pompeii)ที่เกิดเหตุภูเขาไฟระเบิดไปทั่วทั้งเมืองจนไม่เหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการนั้นเลย หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้นทำให้ผู้คนต้องอพยบออกจากเมืองและกลายเป็นคนไร้บ้านกินหลายปีกว่าทางรัฐบาลในเวลานั้นค่อยๆใช้เวลาฟื้นฟูเมืองขึ้นมาได้ จนปัจจุบันมีประชากรหนาแน่นมากว่า 500,000 คน. อาศัยอยู่ที่เมืองสีเขียวแห่งนี้
ด้วยความที่มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่น่าสนใจจึงได้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตของทวียุโรปที่นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันอยากจะมาให้ได้สักครั้ง ยิ่งกว่านั้นการได้รับรางวัลสุดยอดเมืองสีเขียวของยุโรปมีความหมายกับเมืองนี้มาก เพราะรางวัลนี้คือความสำเร็จที่ช่วยการันตีว่า เมืองลิสบอนนี่แหละคือเมืองต้นแบบเพื่อความยั่งยืนตัวจริงเสียงจริงที่ไม่ว่าใครก็ปฏิเสธไม่ได้ มีทั้งอากาศที่สุดเฟรชจนใครๆก็อิจฉา ไหนจะเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและยังสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียว บำบัดน้ำเสียได้ดีขึ้น และแก้ปัญหาการจราจรเพื่อลดมลพิษบนท้องถนนได้อย่างน่าพอใจทีเดียว เพราะทางรัฐบาลโปรตุเกสมีเป้าหมายอย่างชัดเจนเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจะสายเกินแก้ในอนาคต เช่น น้ำท่วมครั้งใหญ่ ความแห้งแล้ง และอากาศร้อนเกินกว่าที่ความคุมได้ แหม่… อะไรจะชั่งแตกต่างกับสถานการณ์เรื่องฝุ่น PM 2.5 ที่ประเทศไทยเหลือเกิน เพราะดูแล้วการแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยรวมจะไม่เข้าใกล้คำว่า “Green City” เลย
เมืองลิสบอนปัจจุบัน ภาพจาก ec.europa.eu/environment/europeangreencapital/winning-cities/2020-lisbon/