เส้นทางสายสีเขียว Lisbon เจ้าของรางวัล 2020 European Green Capital Award Winner!

Pawida W. 04 February, 2020 at 11.49 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


วิวเมือง Lisbon ภาพจาก olyavolja.com/lisbon-as-a-touristic-destination-9117ce37e04c

2020 European Green Capital Award Winner คือ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่และเป็นของขวัญปีใหม่ 2020 ให้ชาวเมืองลิสบอน (Lisbon) เมืองหลวงและเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการเมืองและการค้าสำคัญของประเทศโปรตุเกสมายาวนาน แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยจนมีผลกระทบไปทั่วโลกไม่เว้นประเทศโปรตุเกส แต่ก็ยังคงทุ่มงบประมาณและให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเสมอมา อาจเป็นเพราะทิศทางนโยบายการบริหารประเทศโปรตุเกสยังคงไม่ลดละความพยายามที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นกว่าเดิมและยังตั้งใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนในเขตเมืองต่างๆจนประสบความสำเร็จอย่างที่คาดไว้ไม่มีผิด

การคัดเลือกเมืองแห่งสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน คือ หนึ่งในเป้าหมายหลักของสหภาพยุโรป(European Union)ที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับประเทศสมาชิกให้ปรับปรุงและลดต้นเหตุที่จะนำไปสู่ภาวะโลกร้อนลงให้กลายเป็นความรับผิดชอบร่วมกันอย่างจริงจังของทุกคนในสังคม ดังนั้นความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นนโยบายระดับประเทศเพื่อพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของประชากรและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นตามไปด้วยควบคู่ไปกับความร่วมมือด้านการค้าระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้มีการชิงรางวัลสุดยอดเมืองสีเขียวที่คัดเลือกโดยสหภาพยุโรป(European Union)ปีละครั้ง ผู้ชนะปี 2020 นั่นคือ เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรปเพื่อใช้รักษาสิ่งแวดล้อมของเมืองนี้ไว้ให้สมบูรณ์ที่สุดต่อไปเป็นจำนวน €350k (11,803,589.96 ล้านบาท)

 

คืนชีพ ลิสบอน เมืองหลวงที่เคยพังพินาศจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ค.ศ. 1755

ภาพวาดบันทึกเหตุการณ์การกู้ชีพหลังแผ่นดินไหว เมืองลิสบอน 1775 www.citylab.com/equity/2013/11/scenes-1755-earthquake-turned-lisbon-ruins/7448/

ภาพวาดบันทึกเหตุการณ์คลื่นสึนามิซัดเข้าสู่เมืองลิสบอน 1775 ภาพจาก www.britannica.com/event/Lisbon-earthquake-of-1755

กว่าเมืองลิสบอนจะมีวันนี้ได้ก็ใช้เวลาปรับปรุงและพัฒนาเมืองมายาวนานถึง 245 ปีเชียวนะ เนื่องจากเมื่อปี ค.ศ. 1775 เกิดเหตุภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรปนั่นก็คือ “แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดและคลื่นสึนามิที่เมืองนี้ทำให้สิ่งก่อสร้างเกือบทั้งเมืองถล่มลงมาเป็นเพียงซากปรังหักพักส่งผลให้สถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองนี้ถล่มลงอย่าน่าเสียดาย แม้แต่พระราชวังเก่าแก่ในขณะนั้นก็ไม่เหลือรอด สิ่งที่น่าสลดใจที่สุดคือการศูนย์เสียชีวิตที่ไม่มีวันกลับมาของคนเมืองนี้เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการซ้อมอพยบหนีภัยธรรมชาติหรือเครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกจึงไม่มีความเป็นไปได้เลยที่ชาวลิสบอนจะรู้ล่วงหน้าถึงหายนะครั้งนั้น และยังโชคร้ายเป็นสองเท่าหลังจากแผ่นดินไหวก็มีไฟไหม้เมืองต่อเนื่องถึง 6 วัน (Top 5 fun facts about Lisbon /Anna on June 21, 2018 via www.discoverwalks.com/)” หากจะให้บรรยายให้เห็นภาพเหตุการณ์โกลาหลในอดีตของที่นี่ก็คล้ายๆภัยธรรมชาติในหนังเรื่องปอมเปอี(Pompeii)ที่เกิดเหตุภูเขาไฟระเบิดไปทั่วทั้งเมืองจนไม่เหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการนั้นเลย หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้นทำให้ผู้คนต้องอพยบออกจากเมืองและกลายเป็นคนไร้บ้านกินหลายปีกว่าทางรัฐบาลในเวลานั้นค่อยๆใช้เวลาฟื้นฟูเมืองขึ้นมาได้ จนปัจจุบันมีประชากรหนาแน่นมากว่า 500,000 คน. อาศัยอยู่ที่เมืองสีเขียวแห่งนี้

ด้วยความที่มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่น่าสนใจจึงได้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตของทวียุโรปที่นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันอยากจะมาให้ได้สักครั้ง ยิ่งกว่านั้นการได้รับรางวัลสุดยอดเมืองสีเขียวของยุโรปมีความหมายกับเมืองนี้มาก เพราะรางวัลนี้คือความสำเร็จที่ช่วยการันตีว่า เมืองลิสบอนนี่แหละคือเมืองต้นแบบเพื่อความยั่งยืนตัวจริงเสียงจริงที่ไม่ว่าใครก็ปฏิเสธไม่ได้ มีทั้งอากาศที่สุดเฟรชจนใครๆก็อิจฉา ไหนจะเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและยังสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียว บำบัดน้ำเสียได้ดีขึ้น และแก้ปัญหาการจราจรเพื่อลดมลพิษบนท้องถนนได้อย่างน่าพอใจทีเดียว เพราะทางรัฐบาลโปรตุเกสมีเป้าหมายอย่างชัดเจนเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจะสายเกินแก้ในอนาคต เช่น น้ำท่วมครั้งใหญ่ ความแห้งแล้ง และอากาศร้อนเกินกว่าที่ความคุมได้ แหม่… อะไรจะชั่งแตกต่างกับสถานการณ์เรื่องฝุ่น PM 2.5 ที่ประเทศไทยเหลือเกิน เพราะดูแล้วการแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยรวมจะไม่เข้าใกล้คำว่า “Green City” เลย

เมืองลิสบอนปัจจุบัน ภาพจาก ec.europa.eu/environment/europeangreencapital/winning-cities/2020-lisbon/

Prop Alert: Marquês de Pombal เลขาธิการกรมการปกครองท้องถิ่นแห่งอาณาจักร ถูกยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของเมืองลิสบอน เนื่องจากเป็นผู้นำการฟื้นฟูเมืองลิสบอนหลังแผ่นดินไหว 1775 จนสำเร็จ ด้วยการรวบรวมสถาปนิกและวิศวกรเข้ามาช่วยกันสร้างลิสบอนให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง

จัตุรัส Marques de Pombal ในเมืองลิสบอน ภาพจาก www.trekearth.com/gallery/Europe/Portugal/South/Lisboa/Lisboa/photo1104113.htm

 

รวมภารกิจที่ทำให้ลิสบอนเป็นผู้ชนะ 2020 European Green Capital Award Winner

การเรียนรู้จากความล้มเหลวจากภัยธรรมชาติเมื่อปี 1775 คือ บทเรียนราคาแพงครั้งสำคัญที่ชาวเมืองลิสบอนจะไม่มีวันลืมและป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ดังนั้นการฟื้นฟูเมืองให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้งจึงเป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคตของเมืองนี้มาก ยิ่งมีกระแสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกแล้ว เมืองลิสบอนยิ่งต้องรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ให้ยั่งยืนในวงกว้างมากที่สุด จนเมื่อปี 2014 ได้มีการจัด Urban Future ขึ้นครั้งแรกที่ลิสบอนเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงานสะอาด, ที่อยู่อาศัย, ผังเมือง และการสื่อสารร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบเมืองลิสบอนให้เป็นเมืองและสังคมเพื่อความยั่งยืนพร้อมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันได้ยาวนานที่สุด สำหรับปีนี้ Urban Future Lisbon Conference 2020 ที่ลิสบอนมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 เม.ย. 2020 โดยปกติแล้วงานนี้จะจัดขึ้นเพียงแค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ตามด้วย International Conference on Urban Planning and Architectural Design for Sustainable Development (ICUPADSD 2020) หรือแปลเป็นไทยว่า การประชุมนานาชาติผังเมืองและออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อพัฒนาความยั่งยืน ในวันที่ 6-7 เม.ษ. 2020 ที่เมืองนี้ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน  (ผู้สนใจร่วมงานติดตามได้ที่ waset.org/urban-planning-and-architectural-design-for-sustainable-development-conference-in-february-2020-in-lisbon)

3 ภารกิจที่ใช้เวลากว่า 20 ปี เพื่อป้องกันภาวะโลกร้อน

1. ระหว่างปี 2004-2017 นโยบายสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลท้องถิ่นในเวลานั้นลดการใช้จ่ายน้ำได้ 46% (33% เฉพาะเขตเมือง) ส่วนหนึ่งมาจากยอดการบริโภคทรัพยากรน้ำลดลงเนื่องจากมีนโยบายให้นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ

2. ระหว่างปี 2002-2016 ลดการใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 42% เพราะรัฐบาบท้องถิ่นผลักดันให้ใช้รถสาธารณะเพื่อลดมลพิษทางอากาศอย่างจริงจังด้วยการเชื่อมต่อรถโดยสารสาธารณะทั่วทั้งเมืองด้วยระบบรถรางไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน และยังให้ความสำคัญกับคนเดินทางเท้าอีกด้วย สามารถพิสูจน์ได้จากภาพที่แนบมาด้านล่างจะเห็นว่าพื้นที่ทางเท้ากว้างเพียงพอให้คนเดินได้สบายๆไม่มีอุปสรรคขวาง

3. ยอดรีไซเคิลพุ่งทยานเป็น 34% ในเขตเมือง การแยกขยะเพิ่มขึ้นเป็น 28% และเหลือ 1-3% เป็นขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ถูกส่งไปเผาและฝังกลบดิน

 

นโยบายท้องถิ่นที่ตั้งเป้าหมายให้สำเร็จในอนาคต

– นายกเทศมนตรีลิสบอนวางแผนไว้ 700 โปรเจคสำหรับการพัฒนาในเขตเมืองและโครงการสวนผักอีก 20 แหล่งที่คาดว่าจะสำเร็จภายในปี 2021

– โปรเจปลูกต้นไม้เพิ่ม 20,00 ต้น ที่ Alto da Ajuda, Santa Clara, Areeiro, Marvila และ the green corridor of Monsanto

– ผลักดันการนำน้ำกลัมาใช้ซ้ำให้เพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 20% ภายในปี 2025 เพื่อล้างถนนและรดน้ำต้นไม้

เขตเมืองลิสบอน

แผนที่รถรางและรถไฟฟ้าใต้ดินรอบเมือง

เส้นทางรถรางสามารถสวนกันได้สบาย มีทางเดินเท้าข้างๆนิดหน่อย

ไม่ว่าจะรถราง รถเมล์หรือรถยนต์ส่วนบุคคลก็ใช้ถนนเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วคนที่นี่ก็ใช้รถสาธารณะกันซะมากกว่ารถยนต์ส่วนตัว เพราะการเดินทางสาธารณะเชื่อมถึงกันเกือบทั้งเมืองโดยเฉพาะเส้นทางริมทะเล ส่วนการจราจรของที่นี่ก็ค่อนข้างคล่องตัวมากๆ รถบนถนนไม่ได้มีมากจนเกินไป

ถนนตามตรอกแคบๆเป็นขั้นบันไดตลอดทางเดิน

ภาพด้านบนทั้งหมดจาก livingnomads.com

พื้นที่ทางเดินเท้าสาธารณะน่าเดินมากๆ

 

การจัดการพื้นที่สาธารณะในขณะที่นักท่องเที่ยวที่พุ่งสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ปราสาท Sao Jorge และวิวริมทะเลของเมืองลิสบอน ภาพจาก livingnomads.com

การท่องเที่ยวเมือลิสบอนมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา 4.5 ล้านคนต่อปี แต่ตัวเลขนี้ก้าวกระโดดจนทางรัฐบาลท้องถิ่นกังวลเรื่องนักท่องเที่ยวอาจจะล้นเมือง เพราะเมืองนี้ก็เป็นเพียงเมืองเล็กๆ มีพื้นที่สาธารณะอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นสูงหรือพูดง่ายๆก็คือ อาจจะเกิดปัญหาเรื่องปริมาณขยะอาจจะเพิ่มขึ้นจนมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเมืองลิสบอนในทางลบ ยกตัวอย่างเช่น ขยะบนถนนข้าวสารในกรุงเทพฯที่เป็นหนึ่งในถนนคนเดินยอดฮิตก็มีขยะเกลื่อนกราดจนส่งกลิ่นเหม็นเน่าคลุ้งไปทั้งถนน ไม่ได้ดูเจริญหูเจริญตาบ้านเมืองสักนิด ดังนั้นนโยบายการจัดการท่องเที่ยวจึงมีบทบาทมากขึ้นตามปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆปีจนอาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนเมืองลิสบอนจึงได้มีการลงทุนเพื่อเพิ่มการรักษาความปลอดภัยตามพื้นที่สาธารณะและเพิ่มการขนส่งมวลชนให้มากขึ้นตามความเหมาะสมโดยเฉพาะในส่วนของเขตเมือง ยิ่งทำให้สถานที่มีทั้งความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีก็เป็นจุดเด่นอีกอย่างที่จะดึงดูดในนักท่องเที่ยวนำรายได้เข้าเมือง เท่านี้ก็คุ้มค่ากับการลงทุนของรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองนี้เขาแล้วล่ะ เพราะนอกจากจะได้เป็นต้นแบบ Green City แล้วก็ยังทำกำไรเข้ากระเป๋าคนท้องถิ่นเต็มๆ

 

Prop Alert: จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ก็ระบุด้วยว่า มีคนเข้ามาอยู่อาศัยที่ลิสบอนเป็นชุมชนเมืองก่อนเมืองใหญ่ๆในยุโรปอย่าง ปารีส ลอนดอน หรือแม้กระทั่งโรมที่เป็นเมืองแห่งอารายธรรมเก่าแก่ของยุโรปอีกด้วยนะ

Belém Tower ภาพจาก www.themayor.eu/en/lisbon-municipality-reduces-its-water-consumption-by-half

Castelo São Jorge ภาพจาก www.discoverwalks.com

 

กรุงเทพฯ Smart City จะเป็น Green City อย่างลิสบอนได้ไหม ?

วิวเมืองกรุงเทพฯ ภาพจาก www.bangkokpost.com/business/1655864/the-coming-of-new-bangkok-city-plan

สำหรับกรุงเทพฯเราก็มีแผนการเปลี่ยนแปลงการจัดการเมืองตามนโยบายของสำนักผังเมืองกรุงเทพฯที่มีโครงการเชื่อมต่อการเดินทางสาธารณะจากนอกเมืองให้เข้าถึงตัวเมืองได้ง่ายขึ้น ซึ่งเราจะเห็นภาพชัดเจนการเดินทางที่สะดวกสบายกว่าเดิมได้ตั้งแต่กลางปี 2019 ที่ผ่านมาแล้ว ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และรถไฟฟ้า BTS ก็น่าจะเป็นโปรเจคที่จะช่วยแก้ปัญหารถติดในเมืองได้บ้าง โดยรวมแล้วการเปลี่ยนแปลงด้านคมนาคมในกรุงเทพฯที่พลักดันให้ใช้รถโดยสารสาธารณะมากขึ้นน่าจะประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งปี 2020 นี้เราน่าจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะเมื่อการเดินทางสะดวกขึ้นก็มีความเป็นไปได้สูงที่คนชานเมืองจะย้ายที่อยู่ไปแถวด้านนอกบ้างเพื่อลดความแออัดที่เป็นอยู่ปัจจุบัน แต่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ก็ต้องแลกด้วยมลพิษทางอากาศที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ผังเมืองกรุงเทพฯ 2556 ภาพจาก www.komchadluek.net/news/regional/404987

ผังเมืองกรุงเทพฯ ภาพจาก propholic.com/prop-talk/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%87/

เมื่อผังเมืองเปลี่ยนไปย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพฯแน่นอน เพราะมีพื้นที่สีเขียวน้อยลงเพื่อเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยย่านชานเมืองให้มากขึ้นจึงทำให้ความหวังที่จะเนรมิตให้กรุงเทพฯขึ้นแท่น Green City ยังห่างไกลความเป็นจริงอยู่ พื้นที่สีเขียวแถวชายขอบเมืองฝั่งตะวันออกก็มี เขตลาดกระบัง เขตหนองจอก เขตมีนบุรี ทางด้านฝั่งธนบุรีก็พอมีบ้างมี เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางบอน เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน และในเขตอื่นๆที่เป็นสวนสาธารณะบ้างนิดหน่อย

 

มลพิษทางอากาศ PM2.5 แพร่กระจายจะดีขึ้นไหม ?

สำหรับปัญหามลพิษของกรุงเทพฯนี่ก็ยังไม่มีวี่แววการแก้ปัญหาที่สมเหตุสมผลสักเท่าไร เพราะฝุ่น PM 2.5 ก็มีอยู่ตลอดแทบทุกวัน ยิ่งตอกย้ำสถิติปัญหาโรคปอดของคนกรุงเทพฯได้อย่างชัดเจนถึงการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ยิ่งมีการก่อสร้างทางรถไฟฟ้าใช้เวลานานเท่าไร คนกรุงเทพฯก็จะต้องทนสูดมลพิษเข้าร่างกายมากเท่านั้น สิ่งเหล่านี้อาจจะสายเกินแก้หากยังปล่อยมลพิษทางอากาศออกมามากเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นการลดพื้นที่สีเขียวลงก็เท่ากับตัวฟอกอากาศโดยธรรมชาติก็จะลดน้อยลงไปอีกซึ่งอาจจะมากกว่าทุกวันนี้เลยก็ได้

 

#UFGC20 #Lisbon #Greencity #Portugal #ICUPADSD2020 #Europe #EU #Urbancity #globalwarming #greenhouseeffect #Europetrip #Portugaltrip #traveladdict #bangkoksmartcity #bangkok #urbanisation #greencity #smartcity

 

Resources

www.bangkokpost.com

ec.europa.eu

www.discoverwalks.com

www.urban-future.org

www.citylab.com

www.britannica.com

www.theportugalnews.com

www.themayor.eu

www.hospitalitynet.org

Pawida W.

Pawida W.

นักเขียน Gen Y โลกสวยที่เชื่อว่า การออกแบบที่ดีจะทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ผังเมือง การเมือง สังคม หรือแม้แต่การออกแบบชีวิตของตัวเอง มีความคาดหวังที่จะได้ใช้โอกาสของการเป็นนักเขียนมาเขียนเล่าถึงการออกแบบที่ทันสมัยและการออกแบบของหมวดอสังหาฯ ให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง