3 แนวทางควบคุมปัญหา AIRBNB อย่างไรไม่ให้มีดราม่า
Airbnb นั้นดี แต่ก็สร้างปัญหาเช่นกัน
แพลตฟอร์มให้บริการที่พักชื่อดังอย่าง Airbnb นั้นพัฒนาขึ้นมาจนก้าวเข้าสู่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในภาคส่วนการท่องเที่ยวในหลายปีที่ผ่านมา Airbnb ช่วยให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์การพักอาศัยของคนในพื้นที่จริงๆ อย่างที่ไม่เคยมีใครให้โอกาสนี้มาก่อน
แม้ว่าเหล่าเจ้าของที่พักอาศัยสามารถสร้างรายได้จากการนำที่พักขึ้นสู่แพลตฟอร์ม แต่การทำที่พักระยะสั้นแบบนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจผู้ให้บริการที่พักแบบดั้งเดิมรวมไปถึงกลไกการจัดสรรที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาการเข้าถึงที่อยู่และความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้คนอาจยากลำบากขึ้นเมื่อบ้านที่มีจุดประสงค์เพื่อการพักอาศัยกลายเป็นพื้นที่ให้เช่าสำหรับนักท่องเที่ยวไปเสียหมด หน่วยงานรัฐบาลทั่วโลกต่างทำงานอย่างหนักเพื่อหาวิธีควบคุมกลไกการให้บริการที่พักระยะสั้นรวมถึงผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น
Airbnb ในมุมมองของลูกค้าผู้เช่านั้นถือว่าทางเลือกที่ยอดเยี่ยมเพราะได้ห้องพักราคาถูกกว่าโรงแรมทั่วไปและบางครั้งก็ได้คุณภาพในบางมิติที่มากกว่าอีกด้วย แต่ทว่าก็มีผลกระทบต่อสังคมด้วยเช่นกัน อย่างในประเทศไทยเองก็มีปัญหาระหว่าง Host ที่ปล่อยเช่าที่พักรายวันบน Airbnb ปะทะกับลูกบ้านในคอนโดมิเนียมเดียวกันจนเกิดเป็นดราม่ามาหลายต่อหลายแห่งจนเหมือนเป็นปัญหาโลกแตกที่สามารถแก้ไขได้ แถมยังมีปัญหากับหน่วยงานรัฐที่ไม่สามารถเก็บภาษีจากรายได้ที่ปล่อยเช่าได้ด้วย ปัญหานี้จะจบอย่างไร วันนี้ขอนำเสนองานศึกษาวิจัยเรื่อง Regulating Airbnb: how cities deal with perceived negative externalities of short-term rentals เป็นผลงานวิจัยที่ศึกษาโดย Shirley Nieuwland &Rianne van Melik ตีพิมพ์ลงวารสาร Current Issues in Tourism ในปี 2018 เรามาร่วมดูกันว่าทางออกของปัญหานี้จะลงเอยด้วยวิธีการใดบ้าง