3 แนวทางควบคุมปัญหา AIRBNB อย่างไรไม่ให้มีดราม่า

Propholic EditorialTeam 27 November, 2019 at 14.45 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


Airbnb นั้นดี แต่ก็สร้างปัญหาเช่นกัน

แพลตฟอร์มให้บริการที่พักชื่อดังอย่าง Airbnb นั้นพัฒนาขึ้นมาจนก้าวเข้าสู่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในภาคส่วนการท่องเที่ยวในหลายปีที่ผ่านมา Airbnb ช่วยให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์การพักอาศัยของคนในพื้นที่จริงๆ อย่างที่ไม่เคยมีใครให้โอกาสนี้มาก่อน

แม้ว่าเหล่าเจ้าของที่พักอาศัยสามารถสร้างรายได้จากการนำที่พักขึ้นสู่แพลตฟอร์ม แต่การทำที่พักระยะสั้นแบบนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจผู้ให้บริการที่พักแบบดั้งเดิมรวมไปถึงกลไกการจัดสรรที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาการเข้าถึงที่อยู่และความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้คนอาจยากลำบากขึ้นเมื่อบ้านที่มีจุดประสงค์เพื่อการพักอาศัยกลายเป็นพื้นที่ให้เช่าสำหรับนักท่องเที่ยวไปเสียหมด หน่วยงานรัฐบาลทั่วโลกต่างทำงานอย่างหนักเพื่อหาวิธีควบคุมกลไกการให้บริการที่พักระยะสั้นรวมถึงผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น

Airbnb ในมุมมองของลูกค้าผู้เช่านั้นถือว่าทางเลือกที่ยอดเยี่ยมเพราะได้ห้องพักราคาถูกกว่าโรงแรมทั่วไปและบางครั้งก็ได้คุณภาพในบางมิติที่มากกว่าอีกด้วย แต่ทว่าก็มีผลกระทบต่อสังคมด้วยเช่นกัน อย่างในประเทศไทยเองก็มีปัญหาระหว่าง Host ที่ปล่อยเช่าที่พักรายวันบน Airbnb ปะทะกับลูกบ้านในคอนโดมิเนียมเดียวกันจนเกิดเป็นดราม่ามาหลายต่อหลายแห่งจนเหมือนเป็นปัญหาโลกแตกที่สามารถแก้ไขได้ แถมยังมีปัญหากับหน่วยงานรัฐที่ไม่สามารถเก็บภาษีจากรายได้ที่ปล่อยเช่าได้ด้วย ปัญหานี้จะจบอย่างไร วันนี้ขอนำเสนองานศึกษาวิจัยเรื่อง Regulating Airbnb: how cities deal with perceived negative externalities of short-term rentals เป็นผลงานวิจัยที่ศึกษาโดย Shirley Nieuwland &Rianne van Melik ตีพิมพ์ลงวารสาร Current Issues in Tourism ในปี 2018 เรามาร่วมดูกันว่าทางออกของปัญหานี้จะลงเอยด้วยวิธีการใดบ้าง

แนวทางการควบคุม Airbnb ที่ได้ผล มีอะไรบ้าง

ความท้าทายในการพยายามควบคุม Airbnb คือ โดยปกติแล้วโมเดลทางธุรกิจส่วนใหญ่เป็นไปในรูปแบบของ ธุรกิจสู่ธุรกิจ (B2B) หรือ ธุรกิจสู่ผู้บริโภค (B2C) สิ่งที่ต้องทำเมื่อต้องการควบคุมธุรกิจเหล่านี้คือการพุ่งเป้าไปยังการควบคุมผู้ผลิตต้นทางหรือ Producer แต่ Airbnb เป็นรูปแบบของ Peer to Peer (P2P) เจ้าของบ้านผู้ให้บริการที่พักหรือ Host ควรมีบทบาทในการรับผิดชอบมากกว่าตัวแพลตฟอร์มอย่าง Airbnb เอง ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะตรวจสอบว่าเจ้าของที่พักใดบ้างที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาก่อนหน้าที่ได้พูดถึงแนวทางในการควบคุม Airbnb 3 ประการ ได้แก่

1. The Laissez-faire approach หรือ การปล่อยให้ธุรกิจดำเนินไปโดยปราศจากการแทรกแซงจากทางรัฐบาล ซึ่งที่จริงแล้วแนวทางนี้แทบจะไม่นับเป็นแนวทางการควบคุม แต่ในบางกรณีทางรัฐบาลอาจทำข้อตกลงร่วมกับ Airbnb ในการจัดเก็บภาษีที่เกิดจากการทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มได้

2. การควบคุมอย่างเต็มรูปแบบ ห้ามไม่ให้มี Airbnb ในพื้นที่ที่กำหนด แต่นั่นก็หมายรวมถึงการที่ทางภาครัฐจะอดได้ภาษีจาก Airbnb และมีความเสี่ยงต่อการเกิดการลักลอบทำ Airbnb อย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นแนวทางสุดท้ายจึงดูมีความเป็นไปได้ที่สุด

3. การกำหนดข้อบังคับ Airbnb ด้วยเกณฑ์ที่แน่นอน โดยแบ่งออกเป็น 4 ข้อกำหนดย่อย

– ข้อกำหนดเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวนห้องพักระยะสั้นต่อหนึ่งอาคาร ปริมาณผู้เข้าพักที่ได้รับอนุญาตต่อครั้ง จำนวนวันและระยะเวลาการเข้าพักตลอดทั้งปี

– ข้อกำหนดเชิงพื้นที่ในทำเลที่เฉพาะเจาะจง

– ข้อกำหนดเชิงความหนาแน่นในการให้บริการที่พักระยะสั้นในย่านที่กำหนด

– ข้อกำหนดเชิงคุณภาพ หมายรวมถึง ชนิดของที่พัก ความปลอดภัยตามมาตราฐาน เช่น มีการติดตั้งเครื่องดักจับควัน โดยข้อกำหนดนี้มักควบคู่ไปกับออกคำสั่งให้เจ้าของที่พักต้องมีใบอนุญาตในการปล่อยเช่าบ้านของตนเอง

 

แต่ละเมืองควรใช้กลยุทธ์อะไรในการควบคุม Airbnb

ทั้งนี้นักวิจัยหลายคนเห็นว่าไม่จำเป็นที่ทุกเมืองจะต้องนำกลยุทธ์ไปปรับใช้เหมือนกันทั้งหมด เพราะแต่ละเมืองต่างได้รับผลกระทบจาก Airbnb ในระดับที่แตกต่างกัน ดังเช่นบางเมืองอาจใช้ Airbnb เข้ามาช่วยในการกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่บางเมืองที่เป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่แล้ว มีความหนาแน่นของการให้บริการในลักษณะนี้จนขาดแคลนที่อยู่อาศัยจริงมากกว่า อาจไม่ต้องการให้มี Airbnb อยู่ในพื้นที่ของตนเอง

นอกจากนี้จากการศึกษายังพบอีกว่าเมืองจากทางฝั่งยุโรปมีความโอนอ่อนผ่อนปรนให้กับ Airbnb มากกว่าเมืองที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาที่มีการถามหารายละเอียดด้านความปลอดภัย แต่ในภาพรวมยังถือได้ว่าไม่มีที่ใดห้ามการใช้แพลตฟอร์ม Airbnb เสียทีเดียว ยกเว้นที่เมืองท่องเที่ยว Anaheim อันเป็นที่ตั้งของดิสนีย์แลนด์แห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่มีการห้ามใช้บริการ Airbnb อย่างเข้มงวดจนถึงขั้นหากมีกรณีที่เกิดความเสียหายรุนแรงประการใดจากการแอบใช้บริการเข้าพักระยะสั้นแล้ว ไม่เพียงแต่ตัวแพลตฟอร์มและเจ้าของที่พักที่จะถูกปรับ แต่ยังรวมถึงตัวแขกผู้ใช้บริการเองด้วย

แล้วคุณผู้อ่านคิดว่าในประเทศไทยควรมีแนวทางการควบคุม Airbnb อย่างไรดี มาร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้

 

แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ

https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/13683500.2018.1504899?src=recsys

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง