เมื่อสิงค์โปร์ไม่ได้เป็น Top destination สำหรับเหล่านักลงทุนอสังหาฯ
สวัสดีครับคุณผู้อ่าน ไม่ทันไรก็เข้าสู่ช่วงเดือนที่สองของปี 2014 แล้วนะครับ ในปีนี้ผมเห็นค่ายอสังหาเกือบทุกค่าย (ยกเว้นบริษัทที่ผมอยู่…) ปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์จาก Offensive มาเป็น Defensive ตั้งรับปรับตัวเต็มพิกัดนะครับ กวาดตาไปมองข่าวสารในตอนนี้ จากเดิมปีที่ผ่านมามีแต่ข่าวว่าเตรียมเปิดตัว เตรียมโอน ขาย Sold out 100%
มาตอนนี้กลับกลายเป็นมีแต่ข่าว ลดการเปิดโครงการ ปรับยอดลง เน้นตั้งรับ cut cost ลดจำนวนพนักงาน ฯลฯ กันเป็นแถวเลยครับ บ้างก็ว่าช่วงไตรมาสแรกคงจะต้องนั่งตบยุงกันไป รอดูสถานการณ์หลังจากเริ่มไตรมาสสองเป็นต้นไปจะเข้าท่าที่สุด ส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยนะครับกับกลยุทธ์การตั้งรับที่หลายๆบริษัททำกัน เพราะว่าสภาพการณ์ตอนนี้มันยากจะขายเดาถึงยอดผลประกอบการได้ครับ ที่สำคัญคือลูกค้าก็ยังไม่มั่นใจเลยว่าจะซื้อดีหรือไม่ซื้อดีครับ…อ้อ ยังพอมี positive sign บางอย่างเกิดขึ้นนะครับ เพราะเท่าที่เห็น ถึงการขายในส่วนของตลาด off plan (คอนโด presale ที่ยังไม่เริ่มสร้าง) จะไม่มียอด (ก็แหงล่ะเพราะนักลงทุนไม่อยากเสี่ยง) แต่การขายที่เน้นในส่วนของโครงการพร้อมอยู่ก็สามารถปิดการขายได้เรื่อยๆนะครับ(ก็เพราะว่าคนเค้ามีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ไง แถมตอนนี้จะบอกให้ว่าเป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนคอนโดหลายๆเค้า cut loss กันอ่ะครับ บางห้องกำไรหมื่นสองหมื่นก็เอา ดีกว่าโอนไปเสียดอกให้แบงค์ คนซื้อต่อก็เลยทำใจได้เพราะไม่โดนบวกเยอะ 555) อีกตลาดนึงที่ไม่ซบเซาเลยก็เป็นตลาดเช่านะครับ โดยเฉพาะตอนนี้มี demand จากกลุ่มคนต่างชาติเข้ามามากอย่างเหลือเชื่อทีเดียว
เอาล่ะครับ วันสองวันมานี้ผมได้มีโอกาสอ่านบทความ จากสื่อต่างประเทศหลายสำนัก เกี่ยวกับสภาพการณ์การลงทุนอสังหาของทั้งภูมิภาค Southeast Asia ว่าปีนี้ตลาดแต่ละประเทศมีแนวโน้มเป็นบวกหรือเป็นลบอย่างไร ผลปรากฎว่าผมเจอเรื่องที่เหนือความคาดเดาขึ้นมาครับ…