Nursing Home to Aging in Place บ้านพักคนชราอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านกำลังกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่น่าสนใจกว่า

ต่อทอง ทองหล่อ 01 August, 2019 at 11.09 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ก่อนหน้านี้วิธีการดูแลผู้สูงอายุในอเมริกาจะโน้มเอียงไปทางการให้บริการบ้านพักคนชราหรือ Nursing Home แต่วันนี้วัฒนธรรมการดูแลผู้สูงอายุในอเมริกาเริ่มเปลี่ยนไป และคล้ายกับวัฒนธรรมของชาวเอเชีย แต่แตกต่างกันในรายละเอียด จะเป็นอย่างไรเรามาดูกันครับ

เรื่องราวของชารอนกับทางเลือกที่มากขึ้นสำหรับการดูแลคนวัยชรา

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคมปี 2543 เมื่อ Sharon Mile ดูแลแม่วัยชราของเธอ ทั้งสองอาศัยอยู่ในเมืองอัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโกมาเป็นเวลายี่สิบกว่าปีและกำลังเริ่มเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมาชารอนดูแลแม่มาด้วยตนเองเพียงลำพัง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานใดๆ การช่วยแม่อาบน้ำ จัดหาอาหารให้แม่ และอื่นๆ นั้นยากลำบากเกินกว่าจะรับมือไหว  ในที่สุดชารอนต้องตัดสินใจทำในสิ่งที่ทั้งเธอและแม่ก็ไม่ได้อยากให้เกิดขึ้น นั่นคือการส่งแม่ไปที่ “บ้านพักคนชรา” (Nursing Home)

 

แต่ในปัจจุบัน ทุกคนไม่จำเป็นต้องทำอย่างที่ชารอนเคยทำอีกแล้ว หากไม่ได้มีเรื่องที่จำเป็นสุดๆ จริงๆ การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุที่บ้านของตัวเองหรือ ‘Aging in Place’ เริ่มกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกทั้งยังมีราคาย่อมเยา แนวคิดนี้เริ่มมีความเป็นไปได้ในการนำมาปรับใช้จริงกับผู้สูงวัยหลายคน และชารอนเองก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหานี้ด้วย

 

หลังจากเกิดเรื่องราวที่แม่และชารอนต้องประสบ ชารอนตัดสินใจกลับไปเรียนต่อด้านสังคมสงเคราะห์สาขาการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และผ่านประสบการณ์การดูแลผู้สูงวัยที่องค์กรด้านการบำรุงรักษาสุขภาพ (Health Maintenance Organizations, HMO) จากนั้นชารอนได้กลายมาเป็นสมาชิกผู้เชี่ยวชาญคนใหม่ของผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุและก่อตั้งบริษัทของตนเองขึ้นมา ลูกค้าปัจจุบันของชารอนล้วนอยู่ในวัยประมาณ 80 ปี อาศัยอยู่ที่บ้านของตัวเองและไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกใดๆ

การดูแลผู้สูงอายุที่ดีต้องเริ่มจากการวางแผนที่ดีร่วมกัน

ในฐานะสมาชิกของ National Association of Professional Geriatric Care Managers ชารอนเชี่ยวชาญในด้านการให้ความช่วยเหลือผู้สูงวัยในการอยู่ตามลำพังให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในบ้านของพวกเขาเอง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของ American Association of Retired Persons (AARP) ที่พบว่า 85% ของผู้สูงวัยต้องการสิ่งนี้ ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Geriatric Care Manager)สามารถประเมินได้ว่าพวกเขาต้องการอะไร จากนั้นก็ช่วยจัดหาบริการที่เหมาะสม ให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านกฎหมาย การเงิน และประกัน ช่วยประสานงานกับหลายหน่วยงาน ทั้งรัฐบาล เอกชน บริการชุมชน ผู้ให้คำปรึกษา และทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อให้กับครอบครัวที่ผู้สูงวัยและลูกหลานอาศัยอยู่ไกลกันอีกด้วย

โดยส่วนใหญ่ชารอนได้ลูกค้ารายใหม่จากการติดต่อเข้ามาของลูกหลาน อย่างปีที่แล้วก็มีลูกสาวคนหนึ่งจากรัฐมิชิแกนที่พบบริการของชารอนจากเว็บไซต์ของสถาบันแห่งชาติและโทรเข้ามาหาชารอนและเล่าเกี่ยวกับแม่ของเธอที่อาศัยอยู่ตามลำพังในเมืองอัลบูเคอร์คีมาเป็นเวลา 45 ปี ลูกๆ สังเกตุเห็นว่าแม่ของพวกเขาเริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ และไม่จ่ายบิล พวกเขากังวลว่าแม่จะไม่ยอมรับการรักษา แถมแม่ยังมีสุนัขตัวน้อยคู่ใจและไม่อยากย้ายออกจากบ้านของตัวเอง

 

ชารอนและลูกค้ารายนั้นจึงเดินทางไปพบกับแม่ที่บ้านของเธอ คุณแม่น้ำหนักลดลง แต่งตัวกระเซอะกระเซิงทั้งๆ ที่ปกติเป็นคนเนี๊ยบ แม้กระทั่งอ่างอาบน้ำก็ถูกปล่อยละเลยให้ฝุ่นเกาะ ชารอนเริ่มพัฒนาแผนการดูแลให้กับครอบครัวนี้ คุณแม่มีเครื่องวิทยุติดตามตัวสำหรับใช้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านได้ในกรณีที่เธอล้มหรือบาดเจ็บ แม่จะได้กินอาหารกลางวันใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ จากกลุ่มอาหารชุมชนด้วยบริการรถขนส่ง แม่บ้านหรือผู้ดูแลจะเข้ามาที่บ้านทุกๆ เช้าเป็นเวลา 4 ชั่วโมงเพื่อช่วยดูแลการแต่งตัว รับประทานอาหารเช้า พาไปหาหมอตามนัด มีการติดตั้งเก้าอี้อาบน้ำ ฝักบัว ราวจับในห้องน้ำ ชารอนจัดการเอาพรมเก่าๆ โยนทิ้งไปแล้วเปลี่ยนเป็นพรมกันลื่นพื้นยาง เธอคอยกำกับดูแลตามแผนงานที่วางไว้อย่างต่อเนื่องและพร้อมปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมหากมีความต้องการใหม่ๆ อะไรเพิ่มเข้ามา

 

หลังจากที่ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุกำหนดแผนการดูแลหลักเรียบร้อยแล้ว องค์กรอื่นๆ สามารถเข้ามาเสนอความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ เช่น การปรับปรุงบ้านใหม่ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เอื้อให้ผู้สูงวัยสามารถอยู่อาศัยได้อย่างราบรื่น การปรับปรุงทางลาด เพิ่มราวจับ ติดตั้งไฟส่องสว่าง เปลี่ยนหัวก๊อกน้ำให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น เป็นสิ่งที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย แต่อย่าลืมว่าการเปลี่ยนแปลงบ้านที่ยากขึ้นไปหน่อยอย่างการขยายทางเดินและประตูให้กว้างขึ้น ปรับเคาน์เตอร์ครัวให้ต่ำลงก็ช่วยได้เช่นกัน  ทั้งนี้ AARP ได้จัดทำเช็คลิสต์เคล็ดลับการทำบ้านให้ปลอดภัย และงานอื่นๆ ให้เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ National Resource Center on Supportive Housing and Home Modification (https://homemods.org)

 

ความเหงาก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา เมื่อการออกไปพบปะเพื่อนฝูงของผู้สูงวัยอย่างการออกไปดูหนัง นั่งคุยกับเพื่อนบ้านไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไปในวันที่พวกเขาไม่สามารถขับรถเองได้ การที่ผู้ช่วยเข้ามากระตุ้นและช่วยกันวางแผนทำกิจกรรมเหล่านี้ก็ถือเป็นกำลังใจสำคัญ นอกจากนี้บริการขนส่งสาธารณะก็สามารถเข้ามาช่วยเติมเต็มช่องว่างตรงนี้ได้ด้วย

 

อยู่บ้านตัวเองถูกกว่าอยู่บ้านพักคนชรา

ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการการดูแลนี้มีตั้งแต่ 50 – 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง คิดเป็นเงินไทยราวๆ 1,500 – 4,000 บาท และเขตในเมืองมักจะมีราคาสูงกว่า กรมธรรม์ประกันระยะยาวบางตัวครอบคลุมค่าใช้จ่ายของการดูแลผู้สูงอายุ ขึ้นอยู่กับระดับแพ็คเกจที่ผู้สูงวัยแต่ละคนได้เลือกซื้อ รวมถึงโครงการประกันสุขภาพจากรัฐบาลก็อาจช่วยได้ แต่โดยปกติแล้วผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุสามารถปรับแผนการดูแลให้เหมาะสมกับงบประมาณของแต่ละครอบครัว และบริการการดูแลแบบ Part-time ก็ยังมีราคาถูกกว่าการย้ายผู้สูงวัยไปยังบ้านพักคนชราอยู่ดี

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุที่บ้านของตัวเอง ช่วยให้คนได้รู้สึกถึงความอบอุ่นคุ้นเคยของสิ่งที่เรียกว่า ‘บ้าน’

“ความเป็นบ้าน” คือสิ่งที่เราทุกคนไม่ว่าอยู่ในวัยไหนต่างก็ต้องการ ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้สูงวัยเท่านั้น

 

โจทย์นี้ฝากเป็นการบ้านให้กับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สนใจทำโครงการเจาะกลุ่มผู้สูงอายุและลูกหลาน ลองคิดกันดูว่าจะพัฒนาโครงการให้ออกมาเป็นรูปแบบใด

 

#wellbeing  #aging #nursinghome

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

https://www.webmd.com/healthy-aging/features/choosing-to-live-at-home#2

https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-3991873/

https://unsplash.com/photos/zdvrozV4Lr8

https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8-2906458/

https://unsplash.com/photos/gUzsm9gqKBE

https://unsplash.com/photos/og_p3b9bJ7E

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง