AP presents PYMK The Exhibition เมื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยกลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบพื้นที่ชีวิต

เกริก บุณยโยธิน 21 July, 2025 at 14.37 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


Design creates culture. Culture shapes values. Values determine the future.” — Robert L. Peters

คำพูดดังกล่าวฉายภาพให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างการออกแบบ วัฒนธรรม และภาพในอนาคตได้อย่างชัดเจน จนอาจกล่าวได้ว่า เมื่อเรานำ “วัฒนธรรมร่วมสมัย” มาเป็นแกนหลักในการออกแบบพื้นที่ชีวิต ก็เท่ากับว่าเรากำลังสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่สะท้อนและหล่อหลอมค่านิยมของคนในยุคนั้น ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังอนาคตได้

“…สวัสดีทุกคนค่ะ คุณอยู่กับ FAROSE Podcast และนี่คือ People You May Know เรื่องราวของบุคคลและผลงานดัง…”People You May Know หรือ PYMK คือรายการยูทูบที่เริ่มต้นเมื่อ 5 ปีก่อนในสตูดิโอเล็ก ๆ เป็นหนึ่งในรายการที่ทำให้ ฟาโรส – ณัฏฐ์ กลิ่นมาลี เริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะครีเอเตอร์นักเล่าเรื่อง จนมาถึงวันนี้ที่ PYMK เป็นหนึ่งในรายการพอดแคสต์ยอดนิยม และกลายเป็นจักรวาลเรื่องเล่าที่ชวนให้ผู้ฟังหลายแสนคนตั้งคำถาม ต่อยอดจินตนาการ และสนุกสนานกับการรับรู้เรื่องราวและผลงานของ “บุคคล” ที่เคยฝากร่องรอยไว้ไม่ว่าจะเป็นนักประดิษฐ์ ศิลปิน นักวิทยาศาตร์ หรือบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก

 

PYMK ไม่ได้เป็นแค่รายการพอดแคสต์ที่เปี่ยมไปด้วยสไตล์การเล่าเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ ในแบบเน้นรู้จัก ไม่เน้นรู้จริง และสนุกไว้ก่อน เพียงเท่านั้น แต่ทุกเรื่องราวของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ถูกบอกเล่าภายในรายการ ได้ถูกเชื่อมโยง ร้อยเรียง และปฏิสัมพันธ์ ในหมู่ “ชาวช่อง” จนส่งผลให้เกิดการหลอมรวมทางประสบการณ์เชิงวัฒนธรรมสู่ “พื้นที่ทางวัฒนธรรมร่วมสมัย” ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต ความคิด และรสนิยมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวช่อง โดยเปรียบคุณฟาโรส เสมือนทูตทางวัฒนธรรม ที่พร้อมปะติดปะต่อ ถ่ายทอดทุกเรื่องราวในอดีตให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับสังคมในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่ออนาคตได้อย่างไม่สิ้นสุด

ในครั้งนี้ FAROSE Studio ได้จับมือกับ AP Thailand ยกรายการพอดแคสต์ออกจากโลกออนไลน์มาสู่รูปแบบใหม่ของการเล่าเรื่อง ให้เป็นประสบการณ์ใหม่ที่สัมผัสได้อย่างใกล้ชิด ใน AP presents PYMK The Exhibition” นิทรรศการเชิงประสบการณ์ที่จะพาผู้ชมไปค้นหาแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ ด้วยการทำความรู้จักกับ “บุคคล” ที่เคยฝากร่องรอยไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะด้วยผลงานอันยิ่งใหญ่ หรือด้วยเรื่องราวที่โลกอาจลืม… ทำไม AP ถึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับงาน PYMK The Exhibition ถึงขนาดเป็น Main “Title” Sponsor มีอะไรน่าสนใจภายในงาน? รวมถึงมีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ท่านใดในงานนี้ ที่เปลี่ยนความเข้าใจของผู้คนที่มีต่อ ‘การใช้ชีวิต’ ไม่ใช่แค่ให้ ‘อยู่ได้’ แต่ต้อง ‘ใช้ชีวิตได้’ อย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ Brand Promise ของเอพี “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” ในฐานะที่เป็นผู้ออกแบบพื้นที่ชีวิตบนความสุขที่คนทุกคนสร้างคำจำกัดความขึ้นมาเอง ไปร่วมหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้เลยครับ

 

AP Thailand กับกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ผ่านวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่ถูกเปลี่ยนเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกตารางนิ้วของชีวิตคุณ

ธุรกิจอสังหาฯในปัจจุบันเป็นยุคที่มีการแข่งขันสูง ทั้งในเรื่องของการพัฒนารูปแบบโครงการ การตลาด รวมถึงกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ ในอดีตที่ผ่านมาแหล่งเงินทุน และ Know How อาจจะเป็น Barrier สำคัญที่ช่วยกันไม่ให้มีผู้เล่นถาโถมเข้ามาในตลาดมากจนเกินไป แต่เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในแบบก้าวกระโดด ได้เชื่อมต่อโลกให้ไร้พรมแดนมากยิ่งขึ้น ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากเหล่าพันธมิตรต่างชาติ รวมถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่มีการแลกเปลี่ยน แชร์กันผ่านโลกออนไลน์ทุกวินาที ล้วนแต่ช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้เล่นในแต่ละรายได้แบบมีนัยสำคัญ ผลลัพธ์ก็คือแบรนด์เก่าๆ ที่เคยดังเป็นที่รู้จักในอดีตหลายแบรนด์กลับเพลี่ยงพล้ำให้กับแบรนด์ใหม่หลายๆ แบรนด์ที่เพิ่งจะผ่านการเปิดตัวโครงการมาแค่ไม่กี่โครงการ โดยที่ไม่ได้หมายความว่าแบรนด์ใหม่ๆ เหล่านั้นจะพัฒนาโครงการที่ดีกว่ามีคุณภาพกว่าเสมอไป ในทางกลับกันแบรนด์ใหม่ๆ ที่ครองใจกลุ่มตลาดเจนใหม่ในยุค Digital Disruption ล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์ที่เน้นหนักในเรื่องของกลยุทธ์การสร้างแบรนด์เพื่อให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในทุกไลฟ์สไตล์และทุก Customer’s Journey ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งช่วง Pre-Purchasing, Purchasing และ Post – Purchasing ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงจากอดีตที่ผ่านๆ มา …ในเมื่อโลกเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยน จึงอาจกล่าวได้ว่าการสร้าง Brand Touchpoint ในยุคปัจจุบันคงไม่สามารถที่จะกำหนดได้อย่างชัดเจนว่าจะต้องอยู่ใน Sale Site, Sale Gallery หรือในโลกออนไลน์เสมอไป ด้วยการที่ในปัจจุบันผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารในแบบ Multi–Channel มากขึ้น โลกออนไลน์กลายเป็น Digital Red Ocean จนนักการตลาดไม่สามารถจะ Track ลงลึกไปถึงรายละเอียดได้อีกแล้วว่า Customer’s Journey Timeline ในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งนั้นเริ่มที่ไหน และจบเพราะสื่ออะไร

 

นอกจากนี้การสร้าง Brand Touchpoint ใหม่ๆ ยังหมายถึงการขยาย Brand Awareness & Recognition ไปสู่กลุ่มฐานลูกค้าใหม่ๆ ในแบบข้าม Business Category ซึ่งน่าจะเป็นคำตอบที่ยั่งยืนมากกว่าในยุคที่ตลาดอสังหาฯกำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ด้วยความใหม่ สดของลูกค้าที่ยังไม่เคยได้ลองซื้อสินค้าประเภทอสังหาฯมาก่อน แต่กับดักสำคัญของการวางแทคติคเพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์นี้ก็คือ นักการตลาดส่วนใหญ่มักจะมองว่าเรื่องนี้เป็นแค่เรื่องของการซื้อสื่อ แค่วางแผนสื่อไปลงในสื่อที่เน้น Target ที่เราต้องการก็จบ เน้นการเข้าถึงและยอดวิวเป็นหลัก แต่ไม่ได้คำนึงถึงการสร้าง Valued Content ที่จะช่วยสื่อสารถึงคุณประโยชน์ของสินค้าเราไปสู่กลุ่มที่มองว่าเป็น Prospect Buyer สุดท้ายแล้วแบรนด์เราก็ไม่ได้มีอะไรที่จับใจลูกค้า ไม่เกิดแม้กระทั่ง Product Trials

 

ผลลัพธ์ก็คือ External Collaboration Engagement การหาจุดเชื่อมโยงแบรนด์กับผู้บริโภคที่มากกว่า Brand Touchpoint ของตัวเอง หรือเรียกอีกอย่างง่ายๆ ว่าการ “สร้างความสัมพันธ์ข้ามสายธุรกิจ” จึงถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนา Brand Touchpoint ที่ช่วยสร้างเสน่ห์ ความประทับใจ ประสบการณ์ใหม่ๆ อันแตกต่างและน่าจดจำ จนนำมาซึ่งการตัดสินใจซื้อในท้ายที่สุด มากกว่า Brand Touchpoint ในแบบเดิมๆ ที่เจ้าของแบรนด์ดูเหมือนจะ Push คุณลักษณะของสินค้าไปให้ลูกค้าได้รับทราบในแบบยัดเยียดจนเกินไป จนลืมอธิบายไปเลยว่าสินค้านั้นๆ มันมีอะไรที่เป็นจุดเชื่อมโยงกับความต้องการในใจของลูกค้า ณ ขณะนั้น…การหาจุดเชื่อมโยงแบรนด์กับผู้บริโภคที่มากกว่า Brand Touchpoint ของตัวเองจะทำให้ผู้บริโภคที่ไม่ได้คิดมาก่อนเลยว่าฉันจะต้องซื้อสินค้าประเภทนี้ เกิดสนใจที่จะซื้อขึ้นมา ด้วย Brand Touchpoint ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับประสบการณ์ของแบรนด์นั้นๆ ในทุกมิติ จนผู้บริโภคสามารถจำได้ แม้คนเหล่านั้นจะไม่เคยได้พบเจอกับแบรนด์นี้ด้วยตัวเอง ไม่เคยเห็นโฆษณา ไม่เคยคิดอยากจะซื้อ แต่กลับสนใจที่จะทดลองเข้าไปดู หรือหาข้อมูลเพิ่มเติม…อาจกล่าวได้ว่า นี่คือแนวทางในการหาลูกค้าใหม่ในแบบ Cross Sell Strategy ที่ไม่ได้มีการขายของในแบบซึ่งหน้าครับ

ในมุมของ AP Thailand งาน “AP presents PYMK The Exhibition” ไม่ใช่แค่การเป็น “สปอนเซอร์” แต่คือการใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อสื่อสารแบรนด์อย่างลึกซึ้ง ด้วยกลยุทธ์ External Collaboration Engagement ที่สะท้อน Vision ของ AP Thailand ได้ชัดกว่าการทำโฆษณา และยังช่วยยืนยันวิสัยทัศน์ของแบรนด์ว่า “เราไม่ได้สร้างแค่บ้าน…แต่สร้างพื้นที่ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต” และ “ชีวิตดีๆ ต้องเกิดจากการออกแบบ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ” ในฐานะผู้นำอสังหาฯ ที่เข้าใจพฤติกรรมและคุณค่าของคนรุ่นใหม่ โดยที่ยังเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากงาน FaraTalk ที่ทำให้แบรนด์ AP Thailand ไปอยู่ในใจชาวช่องได้อย่างมหาศาล

เจาะเบื้องหลังการพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ AP ผ่านแรงบันดาลใจจาก Le Corbusier

นิทรรศการครั้งนี้คือของขวัญแทนคำขอบคุณจากพวกเรา FAROSE Studio ที่อยากจะมอบให้กับชาวช่อง งานนี้ไม่ใช่การจัดแสดงเบื้องหลังการถ่ายรายการ แต่เป็นการชวนชาวช่องมาดูความเชื่อมโยงในเรื่องราวของตัวบุคคลที่เราคัดสรรมาอย่างตั้งใจ ทั้งคนที่เคยปรากฏใน PYMK หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยถูกพูดถึงในรายการเรายกแนวคิดของจักรวาล PYMK จากโลกออนไลน์ออกมาถ่ายทอดเป็นนิทรรศการ ที่เปิดโอกาสให้ชาวช่องได้พบปะ พร้อมสนุกไปกับความเนิร์ด ร่วมกันค้นหา คิด และตั้งคำถามจากเรื่องราวของบุคคลเหล่านี้ เพื่อเปิดมุมมองใหม่ที่จะเติมเต็มความหมายของประวัติศาสตร์ในแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ฟาโรส – ณัฏฐ์ กลิ่นมาลี

 

ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้เราได้เห็นรูปแบบการเล่าเรื่องภายในนิทรรศการที่ไม่สามารถสัมผัสได้จากบนโลกออนไลน์ทั่วไป หรือเป็นแค่การยกพอดแคสต์มาตั้งจอเปิดในห้องนิทรรศการ แต่ทุกพื้นที่จัดแสดงคือเวทีของการเล่าเรื่อง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวคุณฟาโรส มานั่งบอกเล่าเรื่องราวให้ฟัง แต่เป็นการเปลี่ยนรสชาติของเนื้อหาเดิมให้เป็นประสบการณ์ใหม่ที่สัมผัสได้อย่างใกล้ชิด โดยยังคงเสน่ห์แบบ PYMK เอาไว้ครบถ้วน ด้วยการนำเรื่องราวของบุคคลสำคัญทางประวิติศาสตร์ในสาขาต่างๆมาจัดแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ ที่ล้วนส่งอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สังคม และค่านิยม ในแต่ละยุคสมัย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่ออนาคต อาทิ The Visionaries – เจ้าของวิสัยทัศน์เปลี่ยนโลก / The Bridge Builders – บุคคลผู้เชื่อมโยงโลก / The Hidden Figures – คนเบื้องหลังที่โลก (เกือบ) ลืม และ / The Revolutionaries – ขบถผู้ปฎิวัติขนบโลก

ที่หมวด The Revolutionaries – ขบถผู้ปฎิวัติขนบโลก เราจะได้รู้จักกับ หนึ่งในบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ AP Thailand ขอร่วมยกย่อง คือ Le Corbusier (เลอ กอร์บูซีเย) ซึ่งเป็นนามแฝงของ ชาร์ล-เอดัวร์ ฌานแร-กรี (Charles-Édouard Jeanneret-Gris) (ค.ศ. 1887-1965) หนึ่งในบุคคลสำคัญและทรงอิทธิพลที่สุดในวงการ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ในฐานะที่เป็นสถาปนิกผู้ปฏิวัติวงการที่อยู่อาศัยของโลกในศตวรรษที่ 20 ผู้เชื่อว่า… A house is a machine for living in. บ้าน คือเครื่องจักรที่ออกแบบเพื่อรองรับการมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่แค่โครงสร้าง…แต่คือระบบที่หล่อเลี้ยงชีวิต

คำพูดที่ดูเรียบง่ายนี้ กลับปฏิวัติความเข้าใจของผู้คนที่มีต่อ ‘บ้าน’ และ ‘การอยู่อาศัย’ ไปตลอดกาล เขามองว่าบ้านไม่ใช่เพียงพื้นที่แห่งความสะดวกสบาย แต่คือ ‘เครื่องมือ’ ที่รองรับและส่งเสริมการใช้ชีวิต โดยมีหัวใจสำคัญคือ การออกแบบเพื่อมนุษย์ ไม่ใช่ เพื่อความหรูหรา หรือ ภาพจำทางสังคม

 

ซึ่งก่อนหน้ายุคของ Le Corbusier สถาปัตยกรรมมักเน้นความสวยงามโอ่อ่า การประดับประดา หรือความยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ แต่ในยุคที่สังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนหลั่งไหลเข้าสู่เมือง ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้บ้านหลายหลังเป็นเพียงที่ซุกหัวนอน ขาดสุขอนามัยที่ดี และไม่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการใช้ชีวิต Le Corbusier มองเห็นปัญหานี้ เขาเชื่อว่าสถาปัตยกรรมที่ดีควรจะรับใช้มนุษย์ ควรจะเป็น “เครื่องจักรสำหรับการอยู่อาศัย” (A machine for living in) ซึ่งไม่ได้หมายถึงบ้านที่แข็งกระด้างเหมือนโรงงาน แต่หมายถึงบ้านที่ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่ โดยผลงานที่พิสูจน์ให้เห็นถึงแนวคิดนี้ และยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับวงการสถาปัตยกรรมจนถึงปัจจุบัน คือแนวคิด Unité d’Habitation (หน่วยที่อยู่อาศัยแบบร่วมกัน) ซึ่งเป็นการพัฒนาอาคารที่พักอาศัยขนาดใหญ่ ที่ออกแบบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านค้า โรงเรียนอนุบาล สระว่ายน้ำ อยู่ภายในอาคารเดียวกัน ราวกับเป็นเมืองขนาดย่อม เพื่อลดความจำเป็นในการเดินทางและสร้างชุมชนภายใน แต่ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของแต่ละยูนิต และใช้หลักการออกแบบที่ช่วยลดเสียงรบกวน นี่คือการ ‘ใช้ชีวิตได้’ ที่สะดวกสบายแต่ยังคงรักษาคุณภาพของการพักผ่อน เพื่อตอบสนองความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้นในยุคหลังสงคราม โดยอาคาร La Cité Radieuse’ ที่เขาได้ออกแบบด้วยแนวคิดนี้ที่มาร์กเซย ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลกของยูเนสโก’ ในปี 2016 และได้รับสถานะเป็น ‘อนุสรณ์สถาน’ จากกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส เพราะนี่คือจุดปฏิวัติงานสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราในทุกวันนี้ไปตลอดกาล และเป็นต้นกำเนิดของ ห้องแถว ห้องชุด แฟลต และคอนโดมิเนียมสำหรับยุคปัจจุบัน

 

Le Corbusier ไม่เพียงเปลี่ยนวิธีการสร้างบ้าน แต่เปลี่ยนความเข้าใจของผู้คนที่มีต่อ ‘การใช้ชีวิต’ ไม่ใช่แค่ให้ ‘อยู่ได้’ แต่ต้อง ‘ใช้ชีวิตได้’ อย่างมีคุณภาพ และนั่นคือจุดร่วมระหว่างแนวคิดของ Le Corbusier กับหัวใจสำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของ AP Thailand ที่เชื่อว่า บ้านที่ดี ไม่ใช่แค่ ‘อยู่ได้’ แต่ต้อง ‘ใช้ชีวิตได้’ ทุกฟังก์ชัน ทุกดีไซน์ ทุกตารางนิ้วภายในบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม บ้านแฝด และคอนโดมิเนียมเครือ AP ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน…เหมือนเครื่องจักรที่เข้าใจมนุษย์ เพื่อให้คุณใช้ชีวิตในแบบที่คุณเลือกเองได้…ทุกวัน

พร้อมกันนี้ ทาง AP Thailand ยังได้เตรียมของที่ระลึกอย่าง AP Sketchbook – Design Your Life ไว้ให้กับผู้ร่วมงานทุกท่าน ไว้สำหรับสเก็ตช์รูปแบบชีวิตที่ต้องการ เพราะชีวิตดี ๆ ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจาก การเลือก และ การออกแบบชีวิตของตัวเอง รวมถึงกิจกรรม Postcard เขียนไว้ให้เธอ ที่ภายใน AP Sketchbook จะซ่อน Poster ไว้ให้ชาวช่องได้เขียน How to ออกแบบชีวิตยังไงให้สุขในทุกวัน เพื่อเป็นการส่งต่อพลังบวกไปยังชาวช่องท่านอื่นๆ อีกด้วย

 

ทางทีมงาน FAROSE Studio ยังคงไม่ลืมที่จะย้ำให้ผู้ชมได้เห็นว่า การบอกเล่าเรื่องราวและประวัติของแต่ละบุคคลนั้น เป็นเรื่องเล่าของคนที่เล่าได้ไม่มีวันจบ จนไม่สามารถปักใจเชื่อว่าเรื่องไหนจริงไม่จริง แล้วแต่เราว่าจะตีความผ่านการค้นคว้าได้ลึกซึ้งรอบด้านแค่ไหน ซึ่งสุดท้ายแล้วการนำหลักฐานแหล่งที่มาทางประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้มาปะติดปะต่อกันก็จะเป็นตัวบอกเสมอว่าเป็นใครที่พูดได้จริงที่สุด ผ่านการนำเสนอจากห้อง The Narrators – เล่าคนละเรื่องเดียวกัน ที่ชี้ให้เห็นว่า เรื่องของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ที่อยู่ใน EP แรกของ PYMK กลับถูกเล่าออกมาได้มากถึงหลายแง่มุมที่แตกต่างกันไปตามความถนัดของผู้เล่า โดยที่ปัจจุบันก็มีข้อพิสูจน์แล้วว่า เรื่องเล่าบางอย่างก็ไม่ได้เป็นเรื่องจริงเสมอไป

ในโลกทุกวันนี้ที่การสื่อสารไม่มีข้อจำกัด ผู้ชมสามารถเลือกได้ว่าจะเสพเรื่องราวแบบไหนบนพื้นที่ใด ตราบใดที่เรื่องนั้นยังสร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายความคิด และสร้างความสุขในการเรียนรู้ นิทรรศการนี้จึงเปรียบเสมือนชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ ผู้ชมสามารถเลือกได้เองว่าจะเดินเส้นทางไหน จะหยุดอ่าน จะฟัง จะดู หรือจะนั่งคิดเงียบๆ อยู่ตรงมุมไหนของห้องก็ได้ และนี่คือเสน่ห์ของ PYMK ที่ยังคงเหมือนเดิม แต่เติมเต็มด้วยประสบการณ์ในโลกออฟไลน์ให้ทุกคนได้เข้ามาสัมผัสและมีส่วนร่วม โดยที่เชื่อแน่ว่าประสบการณ์ที่ผู้เข้าร่วมได้รับจากงานนี้ จะช่วยสร้าง Mindshare ของแบรนด์ AP ไปสู่ใจของชาวช่องได้ดีมากกว่าการทำโฆษณาในแบบเดิมๆ ครับ

 

มาเริ่มต้นบทสนทนาแห่งแรงบันดาลใจ ไขข้อสงสัย และเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ไปพร้อมกันในงาน “AP presents PYMK The Exhibition” ได้ที่ TCDC กรุงเทพฯ ไปรษณีย์กลางบางรัก ชั้น 1 ห้อง Gallery เข้าชมฟรี! ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม – 17 สิงหาคม 2568 เวลา 10.30 – 19.00 น. (ปิดวันจันทร์)

 

#APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 #APThai #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #APxPYMK #PYMKTheExhibition #Farose

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

แอสปาย สุขุมวิท – พระราม 4

บางกอก บูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ-ชัยพ...

แอสปาย อ่อนนุช สเตชั่น

ASPIRE อ่อนนุช สเตชั่น (ASPIRE Onnut Station) คือคอน...

2 June, 2025

เรฟเฟอเรนซ์ เกษตร ดิสทริค

Reference เป็นแบรนด์ดีไซน์คอนโดในกลุ่ม Mid-Tier ของ ...

9 March, 2025

นิว โคสต์ คูคต สเตชัน

หากถามว่าย่านชานเมือง ช่วงรอยต่อของกรุงเทพฯ และปริมณ...

6 March, 2025

ศุภาลัย เอสเซ้นส์ บางนา - สุวรรณภูมิ

“เราเชื่อว่าบ้านที่ดีที่สุด คือบ้านที่ทำให้รู้สึกคิด...

4 March, 2025

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง