“แรงกระแทกใหญ่ชื่อ COVID-19 กับโลกคู่ขนานอุปสงค์และอุปทานอสังหาฯ” ที่มาพร้อมกับเทรนด์อสังหาฯ ในปัจจุบันจาก ดีดีพร็อพเพอร์ตี้
ข่าวการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งนี้มีแนวโน้มจะแพร่กระจายขยายขอบเขตกินวงกว้างทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งการระบาดนี้ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพเศรษฐกิจ รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมของผู้บริโภคในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการจับจ่ายใช้สอยที่ต้องคิดหน้าคิดหลังมากขึ้น ตั้งแต่ของชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงที่อยู่อาศัย ขณะที่ปัจจัยหลักที่ผู้บริโภคใช้พิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย นอกจากปัจจัยด้านราคา รายละเอียดสินเชื่อ และทำเล ผลสำรวจยังได้สะท้อนให้เห็นปัจจัยใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องรูปแบบโครงการที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ ซึ่งต้องตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคตที่มีการทำงานจากที่บ้านมากขึ้นอีกด้วย
ซึ่งแนวโน้มของราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ ลดลงจาก Q1 2564 และคาดว่าจะยังไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2564 ส่วนดัชนีอุปทาน มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงปลายปี 2563 เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มกลับมาเปิดตัวโครงการใหม่ ควบคู่กับการเร่งระบายสต็อกคงค้างโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่ รวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือเริ่มนำสินค้าออกมาขาย แต่หลังจากมีการระบาดอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคม 2564 คาดว่าจำนวนอุปทานจะปรับตัวลดลงอีกครั้ง
Price Trend
โดยปัจจุบันดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาส ในด้านของดีมานด์มีกำลังซื้อที่ลดลงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และราคากลางเฉลี่ย ล่าสุดก็ปรับตัวลดลง -4% ไตรมาสต่อไตรมาส ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำที่สุด นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2017
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เติบโตขึ้น 16% สามารถแบ่งได้ 5 ทำเล ที่มีดัชนีราคาที่อยู่อาศัยมีการเติบโตอย่างโดเด่นในรอบไตรมาส คือ เขตทวีวัฒนา +13%, เขตบางเขน +10%, เขตตลิ่งชัน +6%, เขตสะพานสูง +5% และเขตปทุมวัน +4%
และ 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยลดลงมากที่สุดในรอบไตรมาส คือ เขตสัมพันธวงศ์ -18%, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย-11%, เขตบางบอน -9%, เขตภาษีเจริญ -7% และเขตพระโขนง -6%
ส่วน 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่มีการเติบโตของคอนโด, บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ มากที่สุดในรอบปี มีดังต่อไปนี้
คอนโด
บ้านเดี่ยว
ทาวน์เฮ้าส์