พบกับนิยามใหม่ของความหรูหรา ให้คุณได้สัมผัสคุณภาพการใช้ชีวิตเหนือระดับที่แท้จริง ที่ ANIL Sathorn 12
ในยุคที่โครงการที่พักอาศัยมีการแข่งขันกันอย่างสูง โครงการคอนโดที่เปิดขายใหม่ในแต่ละเดือนล้วนแต่ชูจุดขายที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไป และด้วยสาเหตุที่แหล่งเงินทุนไม่ใช่ปัญหาหลักในการพัฒนาโครงการสำหรับดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ การทุ่มทุนซื้อที่ดินใจกลางเมืองในราคาแพงลิบลิ่ว และว่าจ้าง Partner ที่มีชื่อเสียงมาร่วมกันพัฒนาโครงการดูจะเป็นเรื่อง New Normal ในสายตาใครหลายๆคน คอนโดระดับ Super Luxury หลายๆแห่งมักจะใช้ความเป็นทำเลนำ และตามด้วยการเลือกใช้วัสดุแบรนด์เนมมาเป็นองค์ประกอบหลักในการก่องสร้างและตกแต่ง เช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่โต ทันสมัย เต็มไปด้วย Gimmick ล่อตาล่อใจเหล่าผู้มีกำลังซื้อสูง แต่หลายคนคงลืมนึกไปว่าการใช้ชีวิตเหนือระดับบนสุดยอดคอนโดหรูของตัวเอง อาจจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างด้อยประสิทธิภาพ จนนำมาซึ่งสุขภาวะที่ไม่ดีสำหรับผู้อยู่อาศัยเอง และสังคมรอบข้าง
หลายเดือนมานี้กรุงเทพฯประสบปัญหาฝุ่นควัน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนหลายคนบอกว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำใจสำหรับชาวกรุงเทพฯ เนื่องจากสาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาก็มาจากการขยายตัวของเมือง และการจราจรอันคับคั่ง ในขณะที่ทรัพยกรธรรมชาติที่ทำหน้าที่ในการสร้างอากาศบริสุทธิ์ก็มีจำนวนน้อยลงสวนทางกับปริมาณรถยนต์ และอาคารสูง จนนำไปสู่ปัญหามลพิษทางสภาวะแวดล้อมของเมืองกรุง การก่อสร้างอาคารจำนวนมากในมหานคร ที่เป็นส่วนหนึ่งของการก่อมลภาวะ และถึงแม้ปัจจุบันจะมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการก่อสร้าง โดยเฉพาะอาคารสูง อาทิ อาคารสำนักงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และคอนโด แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อมโดยรอบทั้งระหว่างการก่อสร้าง จนถึงหลังการใช้งาน เพราะยิ่งอาคารสูง คนยิ่งเยอะ ยิ่งใช้ทรัพยากร และปล่อยมลภาวะออกมาให้กับเมืองทั้งสิ้น การพัฒนาโครงการในยุคปัจจุบัน หลายโครงการจึงคำนึงถึงการลดมลภาวะ ด้วยการใช้นวัตกรรมการก่อสร้าง หรือวัสดุ เครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งการก่อสร้างบนมาตรฐานการพัฒนาโครงการที่ยอมรับกันในระดับโลก อาทิ LEED ที่หลายคนน่าจะคุ้นหู เพราะมีหลายอาคารที่ผ่านมาตรฐานนี้กันอยู่บ้าง และอาจรู้จักในนาม อาคารสีเขียวนั่นเอง
มาตรฐานอาคาร LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) พัฒนาโดย U.S. Green Building Council (USGBC) คือ มาตรฐานอาคารสีเขียวที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งเป็นที่นิยมไปทั่วโลกนั้น เป็นมาตรฐานการออกแบบอาคารที่มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์อย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น การใช้นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่เน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ลดการปล่อยมลภาวะ การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การก่อสร้างตามลักษณะของการประหยัดพลังงาน และการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากการกำหนดมาตรฐานการออกแบบที่เป็นที่นิยมใช้อย่าง LEED แล้ว ยังมีมาตรฐานที่ออกโดยสถาบันระดับสากล International Well Building Institute (IWBI) ที่เป็นที่รู้จักในนาม WELL ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน แต่เป็นมาตรฐานของการอยู่อาศัยที่สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้ใช้งาน ด้วยการปฏิวัติแนวคิดและการออกแบบอาคารสมัยใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง ระบบระบายอากาศและแสงสว่าง เน้นบูรณาการแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการก่อสร้างและการออกแบบ เข้ากับการวิจัยทางการแพทย์และ วิทยาศาสตร์ ภายใต้แนวคิดทั้ง 7 ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของผู้อยู่อาศัย ทั้ง คุณภาพอากาศที่บริสุทธิ์ คุณภาพน้ำดื่มน้ำใช้ สุขภาวะด้านโภชนาการ การออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสม สุขภาพความแข็งแรงของร่างกาย ความรู้สึกสบาย และ ความสุขทางใจ
ข้อมูลจาก GBIG ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รวบรวมฐานข้อมูลเกี่ยวกับอาคารสีเขียวทั่วโลก เผยว่ามีอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเพียง 20 โครงการเท่านั้นที่ได้รับการรับรองระดับสูงสุด LEED Platinum และก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น จากการตระหนักถึงสุขภาวะที่ดีในการอยู่อาศัย และการพัฒนาโครงการที่จำเป็นต้องเน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน การลดการปล่อยมลภาวะ และการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทั้งนี้อาคารที่ตั้งเป้าว่าจะเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทยที่รับรองโดยมาตรฐานอาคารระดับโลก LEED Gold และ WELL Gold คือ โครงการ The PARQ แต่นั่นก็เป็นโครงการ Commercial Use อันประกอบด้วยสำนักงานและร้านค้าปลีก ไม่ได้เป็นโครงการที่พักอาศัยแต่อย่างใด (การได้รับมาตรฐาน LEED และ WELL จะได้รับการประเมินและตรวจรั