COTTO เปิดบ้านต้อนรับ ว่าที่สถาปนิกใหม่ พร้อมเชื่อมต่อแนวคิดการออกแบบบ้านรับวิถีชีวิตแนวใหม่แห่งการผสมผสานระหว่างนวัตกรรมและความยั่งยืน ตอกย้ำผู้นำเทรนด์วัสดุตกแต่ง
การแพร่ระบาดของโควิด 19 ตลอดระยะเวลา 3-4 ที่ผ่านมา นับเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญ ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงในแทบทุกบริบทของสังคม โดยเฉพาะพฤติกรรม ความเป็นอยู่ มุมมอง แนวคิดที่ถูกกระตุ้น จนทำให้เกิดนิยมของคำว่า วิถีชีวิตแนวใหม่ หรือ New Normal ที่ถูกพูดถึงมาอย่างต่อเนื่อง
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ลักษณะของบ้านที่เป็นที่ต้องการ หรือสามารถตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ หรือการใช้พื้นที่ตามวิถีการดำรงชีวิตแนวใหม่ ที่มีให้เห็นตั้งแต่การปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรูปแบบของ Work From Home ในระยะต้น จนถึงงานออกแบบสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะ ที่พักอาศัย ในนิยามใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม
ซี่งแน่นอนว่าการพัฒนางานออกแบบใหม่ ด้วยเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สถาปนิกยุค New Normal นอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับเกณฑ์ออกแบบใหม่ที่สัมพันธ์กับไลฟสไตล์ใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงไปการเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการ หรือนวัตกรรมใหม่ของวัสดุตกแต่งบ้าน เพื่อนำมาสร้างสรร หรือตอบโจทย์การออกแบบ ก็มีความสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน
จากการเปิดเผยของอาจารย์สรเชษฐ์ ชลประเสริฐ ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความเห็นที่น่าสนใจถึงความเปลี่ยนแปลงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่า “ในแง่การออกแบบสถาปัตยกรรมน่าจะมีผลเรื่องของการกลับมาโฟกัสเรื่องของ Private Space ที่มีความสำคัญขึ้นและมีคำจำกัดความที่เปลี่ยนแปลงไปกว่าเมื่อก่อนที่เราจะให้ความสำคัญในหน้าตารูปลักษณ์ของ Public Space หรือหน้าร้านเป็นหลัก ดังนั้นสิ่งน่าสนใจในเรื่องไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป คือ การออกแบบพื้นที่ที่จะเชื่อมชีวิตทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน รองรับความยืดหยุ่นของการใช้งานที่ลื่นไหลและหลากหลายด้านประโยชน์ใช้สอย
จากการที่ได้ใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้นกว่าเดิมของคนเมือง ที่เมื่อก่อนอาจจะเป็นแค่ Resting Place เพื่อให้มีแรงออกไปต่อสู้ชีวิตประจำวันต่อไปได้นั้น คงมีDynamicเปลี่ยนไป คือ มีทั้งส่วนที่ Passive และ ส่วนที่Active ของกิจกรรมของผู้อยู่อาศัย Common Area ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ถูกเรียกว่าห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าวแบบเมื่อก่อนอีกต่อไป แต่เป็น Sharing Space สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันของคนในบ้านซึ่งในส่วนของพัฒนาการของวัสดุตกแต่งในประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ คำนึงถึงผลกระทบในแง่ของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทางการก่อสร้างมากขึ้น”อาจารยกล่าวและเพิ่มเติมว่า
“อย่างไรก็ดี นิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ที่เป็นGen-Z ซึ่งสังเกตได้ว่าเป็นคนกลุ่มคนที่มองเรื่องอิสรภาพและทางเลือกในการใช้ชีวิตเป็นเรื่องสำคัญกว่าคนรุ่นก่อนมาก ประเด็นที่พวกเค้าสนใจในช่วงหลัง ๆ จะเป็นเรื่องของ Work-Life Balance ที่ไม่ได้เป็น Routine แบบเรา ๆ ซึ่งน่าสนใจ การเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ได้เข้าเยี่ยมชมและเข้าถึงนวัตกรรมของวัสดุตกแต่งจากผู้ผลิตชั้นนำ จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีความหลากหลาย และเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้นด้วย”