มิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกกำหนดแนวโน้มการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่

เกริก บุณยโยธิน 31 October, 2016 at 13.36 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ รายงานว่า คนรุ่น “มิลเลนเนียล” ในเอเชียแปซิฟิกมีการจัดลำดับความสำคัญของรูปแบบการดำเนินชีวิตในระยะยาวเหมือนกับคนรุ่นอื่นๆ  ซึ่งคนรุ่นมิลเลนเนียลมักถูกมองว่ามีความแตกต่างออกไป    รายงานฉบับพิเศษเล่มนี้ของซีบีอาร์อีเรื่อง มิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิก: กำหนดอนาคตตลาดอสังหาริมทรัพย์ (Asia Pacific Millennials: Shaping the Future of Real Estate) ได้เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อมิลเลนเนียลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และชี้ให้เห็นถึงวิธีการที่คนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของการใช้ชีวิตผ่านมุมมองด้านการอยู่อาศัย การทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว

 

ผลการสำรวจได้แสดงให้เห็นว่า ความคิดที่ว่ามิลเลนเนียลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกชอบทำงานอิสระ เปลี่ยนงานบ่อย และหลีกเลี่ยงที่จะมีภาระทางการเงินนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง    แผนกวิจัยซีบีอาร์อีเผยว่า มิลเลนเนียลส่วนใหญ่มีการเก็บออมเพื่อซื้อที่พักอาศัยและใช้เงินอย่างรอบคอบไม่ต่างจากคนรุ่นอื่นๆ  นอกจากนี้ รายงานยังได้ระบุอีกว่ากลุ่มคนรุ่นนี้ตั้งใจที่จะทำงานที่มีความมั่นคง แต่ก็ให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆ ด้วยเมื่อหางานใหม่ เช่น การออกแบบสำนักงาน   โดย 71 เปอร์เซนต์ของผู้ตอบแบบสอบถามจะยอมละทิ้งสวัสดิการอื่นๆ เพื่อให้มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดีขึ้น

นายสตีฟ สเวิร์ดโลว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีบีอาร์อี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “กลุ่มมิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตัวแปรสำคัญของทุกภาคธุรกิจ  ปัจจัยสำคัญในด้านการอยู่อาศัย การทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว รวมถึงลักษณะนิสัยของพวกเขาจะเป็นตัวกำหนดด้านเศรษฐกิจ  เปลี่ยนมุมมองด้านการออกแบบและการใช้งานพื้นที่ทำงาน  และก่อให้เกิดทัศนคติใหม่ต่อการบริโภคและประสบการณ์ในอนาคตข้างหน้าอันใกล้”

cbrem1

ดร. เฮนรี่ ชิน หัวหน้าแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ให้ความเห็นว่า “มิลเลนเนียลเป็นตัวแทนของกลุ่มกำลังซื้อที่มีความรวดเร็วมากที่สุดในภูมิภาค และเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดแนวโน้มของอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต โดยผ่านพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ความต้องการ และปัจจัยสำคัญในการอยู่อาศัย การทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว”

 

การอยู่อาศัย: รูปแบบใช้ชีวิตและที่พักอาศัย

 

เกือบ 2 ใน 3 ของมิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกยังคงอาศัยอยู่กับครอบครัว ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งวัฒนธรรมและสถานะทางการเงิน ในประเทศส่วนใหญ่ที่ซีบีอาร์อีทำการสำรวจ ค่าใช้จ่ายด้านที่พักอาศัยที่สูงทั่วภูมิภาคสร้างความท้าทายให้กับมิลเลนเนียลในการเก็บออมเงินเพื่อซื้อที่พักอาศัยเป็นของตัวเอง

 

จากการสำรวจพบว่า มิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง โดย 65 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมีแผนจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในอนาคต  แต่ 63 เปอร์เซ็นต์บอกว่าจำเป็นต้องเช่าที่พักอาศัยแทน เนื่องจากไม่มีศักยภาพพอที่จะซื้อ และจะเช่าต่อไปจนกว่ามีสถานะทางการเงินที่มากพอที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง    การสำรวจยังพบว่า เมื่อตั้งใจจะซื้อที่พักอาศัย มิลเลนเนียลจะยังไม่ซื้อจนกว่าจะเจอตัวเลือกที่ตรงกับมาตรฐานการใช้ชีวิตของตนเองในด้านคุณภาพ ขนาด และทำเล

 

“ผู้พัฒนาโครงการและเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสนใจกับแนวโน้มเหล่านี้โดยการสร้างที่พักอาศัยที่กลุ่มมิลเลนเนียลสามารถเช่าหรือซื้อได้  และเพื่อเป็นการช่วยเหลือกลุ่มมิลเลนเนียลในการเก็บสะสมเงินดาวน์  ควรจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสินเชื่อที่พักอาศัยสำหรับผู้มีอายุน้อยที่ซื้อบ้านหลังแรก” ดร. เฮนรี่ กล่าว

 

การทำงาน: พนักงานที่มีความสามารถและสถานที่ทำงาน

 

มิลเลนเนียลคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในวัยทำงานทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิก และเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในโลกธุรกิจ รวมถึงอนาคตของการออกแบบสถานที่ทำงาน

 

ถึงแม้เงินเดือนและสวัสดิการยังคงเป็นปัจจัยหลักเวลาเลือกงาน แต่มิลเลนเนียลยังพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตด้วย ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบสำนักงาน การทำงานที่มีความยืดหยุ่น ทำเลที่ตั้ง และระยะเวลาในการเดินทาง    ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี  ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า พวกเขาคิดว่านายจ้างควรพิจารณาเรื่องสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มากขึ้น     มิลเลนเนียลมองสำนักงานและสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวว่าเป็นเหมือนสังคมที่สามารถพักผ่อน พบปะผู้คน และทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ด้วย

cbrem2

ด้วยบทบาทของเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น มิลเลนเนียลจึงมีความต้องการมากขึ้นที่จะสามารถทำงานได้อย่างอิสระจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ มิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานและสามารถทำงานนอกสถานที่ได้

cbrem3

ความจงรักภักดีต่อองค์กรของมิลเลนเนียลนั้นมีมากกว่าที่เข้าใจกัน  โดย 2 ใน 3 ของมิลเลเนเนียลในเอเชียแปซิฟิกคาดหวังที่จะทำงานในบริษัทเดิมหรือเปลี่ยนเพียงไม่กี่บริษัทตลอดชีวิตการทำงาน    ผลสำรวจเผยว่า แรงบันดาลใจ หน้าที่ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้า คือสิ่งจำเป็นในการดึงดูดมิลเลนเนียลที่มีความสามารถและทำให้อยู่กับบริษัทได้นาน    กลยุทธ์การจัดพื้นที่ทำงานที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งยอมรับถึงความหลากหลาย  การสร้างตัวเลือก และมีชุมชนรอบๆ ตัว ล้วนเป็นสิ่งที่ดึงดูดมิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกในการหางาน ทำให้พนักงานมากความสามารถมีความสุขมากขึ้น มีส่วนร่วมมากขึ้น และสร้างผลงานได้มากขึ้น

cbrem4

cbrem5

การใช้ชีวิตส่วนตัว: การเข้าสังคมและช้อปปิ้ง

 

มิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาและเงินไปกับกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนและสร้างประสบการณ์ เช่น การท่องเที่ยว ความบันเทิง และการทานอาหาร มากกว่าคนรุ่นก่อนๆ

 

มิลเลนเนียลช้อปปิ้งออนไลน์เฉลี่ย 4.7 วันต่อเดือน แต่ร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะศูนย์การค้าเท่านั้นที่ให้ประสบการณ์และองค์ประกอบทางสังคมตามที่ต้องการได้  มิลเลนเนียลไปศูนย์การค้าเฉลี่ย 3 วันต่อเดือน และไปด้วยจุดประสงค์ที่หลากหลายที่ไม่ใช่แค่การซื้อของ  เช่น  ทานอาหารนอกบ้าน  ติดต่อธนาคาร  และเยี่ยมชมนิทรรศการ      อย่างไรก็ตาม แผนกวิจัยซีบีอาร์อีแนะว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและความตั้งใจที่จะเก็บออมเงินเพื่อซื้อที่พักอาศัยอาจยับยั้งการใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนในอนาคตของมิลเลนเนียลได้

 

“เพื่อที่จะได้ประโยชน์จากลักษณะนิสัยการใช้จ่ายของมิลเลนเนียล  ผู้ค้าปลีกควรเพิ่มองค์ประกอบที่ช่วยสร้างประสบการณ์และมุ่งเน้นในการสร้างสิ่งแวดล้อมให้ลูกค้าสามารถมาพบปะและพักผ่อนได้    นอกจากเพิ่มร้านอาหารและเครื่องดื่ม โรงภาพยนตร์ และกิจกรรมบันเทิงในศูนย์การค้า  เจ้าของศูนย์การค้าควรพิจารณาการจัดการแสดงสดต่างๆ ให้มากขึ้นเพื่อดึงดูดกลุ่มมิลเลนเนียล  แต่ก็ควรบริหารสัดส่วนของผู้เช่า (tenant mix) ให้มีความหลากหลาย เพื่อรองรับคนรุ่นอื่นๆ ด้วยเช่นกัน” ดร. เฮนรี่กล่าวเพิ่มเติม

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง