เผยงานวิจัย Homeownership การมีบ้านเป็นของตัวเองส่งผลดีต่อสังคม เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งการเรียนจบของลูกได้อย่างไร

ต่อทอง ทองหล่อ 30 July, 2019 at 11.25 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


Photo by Mike Marquez on Unsplash

 

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้มีงานวิจัยที่อเมริกาเรื่อง Social Benefits of Homeownership and Stable Housing โดย Yun and Evangelou ได้ทำการศึกษาและรวบรวมความสำคัญของการมีบ้านเป็นของตนเองว่ามีผลดีต่อในระดับสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างไรบ้าง โดยสรุปออกมาในแง่หลักๆ ได้หลายประเด็น ตั้งแต่

 

– การมีผลต่อการทำหน้าที่พลเมืองที่ดี โดยกลุ่มคนที่ซื้อบ้านเป็นของตัวเองมีแนวโน้มที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น ออกไปเลือกตั้งมากกว่ากลุ่มคนที่อาศัยบ้านเช่า ด้วยความตระหนักถึงนโยบายที่อาจส่งผลกระทบต่อพวกเขาโดยตรง เช่น การส่งต่อมรดกบ้านไปสู่ลูกหลาน อีกทั้งยังพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้มักจะลงทุนในการดูแลรักษาบ้านซึ่งรวมไปถึงพื้นที่โดยรอบในชุมชนให้อยู่ในสภาพดี และมีการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสังคมที่มากขึ้น

Photo by Parker Johnson on Unsplash

 

– ส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางกายและจิตใจ โดยมีหลายการศึกษาพบว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองช่วยเพิ่มความมั่นใจในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิต และรับรู้ถึงความสามารถในการควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น

– มีส่วนช่วยในการลดการเกิดอาชญากรรม เนื่องจากบรรดาเจ้าของบ้านทั้งหลายมักเป็นหูเป็นตา หาแนวทางสอดส่องป้องกันไม่ให้มีการเกิดเรื่องไม่น่าพึงปรารถนาทั้งหลายในพื้นที่ของตนเอง

– เป็นภาระหรือต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานส่วนกลางน้อยลง เช่น หากในกรณีตกงาน ผู้ที่มีบ้านเป็นของตนเองจะยังสามารถประคองชีวิตของตนเองต่อไปได้ด้วยการใช้เครดิตทรัพย์สินที่มีอยู่ภายในบ้าน ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากสังคมมากนัก

– และประเด็นสุดท้ายที่ดูไม่น่าจะเกี่ยวแต่ก็ยังเข้ามาเกี่ยวจนได้ คือ มีผลต่อความสำเร็จทางการศึกษาของเด็กที่ผู้ปกครองมีบ้านเป็นของตนเอง โดยมีผลการศึกษาออกมาให้เห็นมาตั้งแต่ช่วงปี 2540 โดย Green และ White พบว่าการอยู่อาศัยในบ้านที่เป็นของตนเองนั้นมีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความสำเร็จทางการศึกษาของเด็ก การตัดสินใจที่จะเรียนต่อในโรงเรียนของเด็กกลุ่มนี้สูงกว่าเด็กกลุ่มที่อาศัยอยู่ในบ้านเช่า ยิ่งไปกว่านั้นเด็กผู้หญิงยังมีอัตราการท้องก่อนวัยอันควรที่ต่ำกว่า ด้วยคำอธิบายที่ว่าผู้ปกครองของเด็กย่อมมักจะมีการคิดพิจารณามาอย่างดีแล้วก่อนการที่จะตัดสินใจใช้เงินจำนวนมากมาซื้อบ้าน ผู้ปกครองคำนึงถึงแง่ของปัจจัยต่างๆ ที่อาจชักจูงลูกหลานของพวกเขาไปในทางที่แย่ลง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่สำคัญอย่างเพื่อนบ้าน อีกทั้งการผันตัวมาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เรียกว่าบ้านเต็มตัวยังบังคับให้ผู้ปกครองเองต้องมีความรับผิดชอบที่มากขึ้นในการบริหารจัดการชีวิตในด้านต่างๆ เช่น การเงิน จึงเป็นไปได้ที่ทักษะในการจัดการชีวิตเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปยังเด็กในบ้าน แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ก็ยังไม่สมบูรณ์เสียทีเดียว

Photo by Les Anderson on Unsplash

ต่อมาภายหลังก็ยังมีงานวิจัยมากมายที่พบว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองส่งผลต่อความสำเร็จทางการศึกษาของเด็กเช่นเดียวกัน  จนกระทั่งเมื่อปี 2553 Weiss และคณะ ได้ทำการศึกษาในมุมมองที่แตกต่างออกไป โดยพิจารณาไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างการมีบ้านเป็นของตัวเองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่บ้าน โรงเรียนและชุมชน โดยมุ่งสนใจที่ตัวแปรอย่าง การมีส่วนร่วมในโรงเรียนของผู้ปกครอง ความถี่ในการอ่านหนังสือให้เด็กในบ้านฟัง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เหมาะสมของเด็ก และเวลาในการอยู่หน้าจอของเด็ก (เช่น ดูทีวี เล่นวีดิโอเกมส์) โดยผู้วิจัยมองว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในสองทาง คือ

1. เชิงเศรษฐกิจ ผู้ปกครองจะมีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในโรงเรียนและกับเพื่อนบ้านได้มากกว่าผู้ที่อาศัยบ้านเช่า

2. เชิงจิตสังคม ผู้ปกครองในกลุ่มมีบ้านนี้มักรู้วิธีการบริหารจัดการทางการเงินของตนเองได้ดีพอจนกระทั่งสามารถกู้ยืมเงินซื้อบ้านได้ อีกทั้งยังมีสภาพคล่องทางการเงินที่สูงกว่ากลุ่มที่ยังเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัย ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดความตึงเครียดเมื่อเกิดปัญหาทางการเงินจนส่งผลไปถึงเด็กในบ้านน้อยกว่า

Photo by wu yi on Unsplash

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเนื่องจากกลุ่มเจ้าของบ้านในงานวิจัยนี้ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ 38% ที่ 30 ปี ผู้ปกครองเหล่านี้จึงไม่ต้องประสบกับวิกฤติทางการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงลิ่วจากวิกฤตซับไพรม์ ในท้ายที่สุดคณะผู้วิจัยเสนอแนะว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองและมีความมั่นคงทางการเงินอาจเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมกับเด็กในทิศทางที่ดีขึ้นอันส่งผลไปสู่ความสำเร็จทางการศึกษาของเด็กอีกต่อหนึ่ง

 

แต่อย่างไรก็ตามผลการศึกษาที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นจัดทำในบริบทของประเทศอเมริกา ซึ่งอาจจะมีผลที่แตกต่างออกไปหากทำการวิจัยในลักษณะเดียวกันที่ประเทศไทย หากมีหน่วยงานใดสนใจทำการศึกษาเรื่องนี้สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทางเรายินดีแนะนำแหล่งข้อมูลให้แก่ท่านด้วยความยินดี

 

#PsychologyOfRealEstate

 

แหล่งข้อมูล

https://realtoru.edu/wp-content/uploads/2014/06/Homeownership-Stable-Housing.pdf

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง